ตาเลือนรางรุมเร้า โรคฮิตใหม่คนไทย

แสดงความคิดเห็น

ดวงตา ไม่มีหนี้ ถือเป็นโชค ไม่มีโรค ถือ เป็นลาภนั้น คือ สัจธรรม...แต่เอาเข้าจริงจะมีผู้โชคดีสักกี่คนกันที่เกิดมาไม่เคยเป็นหนี้ใคร หรือไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ปีที่แล้วกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำรวจตัวเลขเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่าทั่วประเทศมีผู้พิการทางสายตา (ตาบอด) เฉพาะที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการทางสายตากับทางการ จำนวนทั้งสิ้น 143,630 คน ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 21,371 คน หรือคิดเป็นอัตราผู้พิการทางสายตาที่เพิ่มขึ้น 17.48% ใน จำนวนผู้พิการทางสายตาที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มีบุคคลซึ่งมี สายตาเลือนราง รวมอยู่ในนั้นด้วย กล่าวคือ บางคนมีอาการสายตาเลือนราง 1 ข้าง และตาบอดอีก 1 ข้าง คำว่า “ผู้มีสายตาเลือนราง” หมายถึง ผู้ซึ่งมีการสูญเสียการมองเห็นบางส่วน โดยอาจมีลักษณะของการมองเห็นภาพพร่ามัวอย่างถาวร มองไม่เห็นตรงกลางภาพ เหมือนมีอะไรมาบังหรืออาจจะมองเห็นแต่เฉพาะตรงกลางไม่เห็นภาพด้านข้างเช่นคนปกติ

การตรวจวัดสายตา ผู้มีอาการเหล่านี้ เมื่อมองจากภายนอกจะไม่ทราบเลยว่าผู้นั้นมีอาการสายตาเลือนราง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม การเป็นต้อกระจก ต้อหิน เบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม กระจกตาอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงบางโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อการมองเห็นประมาณการกันว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้ป่วยสายตาเลือนรางไม่ต่ำกว่า3แสนราย

ที่น่ากังวลก็คือ อาการสายตาเลือนรางที่เกิดขึ้นในเด็กวัยแรกเกิด จนถึง 6 ขวบ เมื่อเกิดภาวะความผิดปกติทางการมองเห็น พ่อแม่อาจไม่ทราบวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ทำให้พัฒนาการทางการมองเห็นของเด็กลดลงและอาจลุกลามกลายไปเป็นคนตาบอดได้ในอนาคต

อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้มีสายตาเลือนรางที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต้อหิน ต้อกระจก เบาหวาน หากคนกลุ่มนี้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง มีโอกาสกลายเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่อาการอาจลุกลามถึงขั้นตาพร่ามั่วจนมองไม่เห็นในที่สุด

ผู้ที่เคยมีสายตาปกติมาก่อน ต่อมามีอาการสายตาเลือนราง มักจะมีพฤติกรรมเก็บตัว ปฏิเสธสังคม ทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัว และใช้ชีวิตประจำวัน บางคนอาจหงุดหงิดและท้อแท้ถึงขั้นทำร้ายตัวเอง อาการ สายตาเลือนรางไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาด ทำได้แค่เพียงรักษาคุณภาพการมองเห็นให้คงที่ เพราะหากคุณภาพการมองเห็นลดลงเมื่อใดหมายถึงคนสายตาเลือนรางผู้นั้นจะกลายเป็นคนตาบอดทันที

ด้วยเหตุนี้ คนสายตาเลือนรางกลุ่มหนึ่งจึงได้รวมตัวกันก่อตั้ง “สมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย)” ขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาศักยภาพ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิราชสุดา ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่จัดตั้ง ที่ทำการสมาคมฯ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่กรรมการบริหารสมาคมฯ

ธวัชชัย ลลิตสุรเดช นายกสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) ธวัชชัย ลลิตสุรเดช นายกสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) บอกว่า “ด้วย ความที่คนสายตาเลือนรางยังพอจะมองเห็นได้อยู่บ้าง เราจึงได้รวมกลุ่มกันออกมาจัดตั้งสมาคมขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือกันและกัน หลายคนที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด และไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง เพื่อคงสภาพการมองเห็นไว้ อาจจะมีปัญหาในการปรับตัวเข้าสังคม ซึ่งทางสมาคมได้ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการปรับตัวและการใช้ชีวิตประจำวันของคนสายตาเลือนรางเป็นหลัก”

เขาบอกด้วยว่า สมาคมคนสายตาเลือนรางฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิราชสุดา ทั้งด้านการเงิน และสถานที่ทำการ แต่เนื่องจากในปี 2556 นี้ สมาคมฯมีโครงการหลักที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เช่น จัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรก สำหรับเด็กพิการทางการมองเห็น แรกเกิดถึง 6 ขวบ เพื่อกระตุ้นการมองเห็นให้แก่เด็กเล็กอันจะเป็นการลดอัตราการตาบอดในเด็ก จัดตั้ง ศูนย์บริการคนสายตาเลือนรางถาวรแบบครบวงจร ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเหมือน “ศูนย์เพื่อนช่วยเพื่อน” คอยให้คำแนะนำปรึกษาในทุกเรื่อง ทั้งการปรับตัว การใช้ชีวิต และอุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นรวมทั้งจัดตั้ง กองทุนทำแว่นสายตาจากเลนส์พิเศษ สำหรับผู้สายตาเลือนรางที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

ธวัช ชัยบอกว่า ภารกิจดังกล่าวทำให้สมาคมฯมีภาระค่าใช้จ่ายมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ต้องรองรับผู้มีสายตาเลือนรางซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุก ปี จึงต้องมีการจัดหาทุน ล่าสุดภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิราชสุดา สมาคมคนสายตาเลือนรางฯ และห้างฯบิ๊กซี ได้จัดโครงการ “เดิน–วิ่งมินิมาราธอน เพื่อคนพิการสายตาเลือนราง” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปเมื่อวันที่17มีนาคม2556ที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก นายกสมาคมคนสายตา เลือนราง (ประเทศไทย) ตั้งหวังเอาไว้ว่าจะได้รับการสนับสนุนเช่นนี้ต่อไป เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการที่ตั้งใจไว้ ให้บรรลุตามเป้าหมาย

ทูน หิรัญทรัพย์ ดารานักแสดงชื่อดัง หนึ่งในสมาชิกสมาคมคนสายตาเลือนราง ทูน หิรัญทรัพย์ ดารานักแสดงชื่อดัง หนึ่งในสมาชิกสมาคมคนสายตาเลือนราง บอกว่า ทุกวันนี้ตาข้างขวาของเขาไม่สามารถใช้งานได้ (บอด) และตาข้างซ้ายมีอาการเลือนราง อันเนื่องมาจากการเป็นโรคเบาหวาน “สมัย เด็กๆผมชอบทานหวานมาก พออายุมากขึ้นก็ได้รับผลกระทบ เราคงมีอาการมานานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว คือมีความดันในดวงตา ทำให้ร่องน้ำตาตัน น้ำในตาไม่สามารถไหลระบายออกมาได้ ทำให้เส้นประสาทตาชำรุดเป็นมา4ปีกว่าแล้วเริ่มจากตาขวาก่อนแล้วข้ามมาตาซ้าย”

“ทีแรกมองเห็นอะไร เบลอๆ ก็คิดว่าเป็นไมเกรน เลยขยี้ๆตา แล้วก็กินยาแก้ปวดหัว แต่ก็ไม่หาย พอดีไปเจอจักษุแพทย์ท่านหนึ่ง มาดูตาให้ พบว่ามีความผิดปกติ ผมจึงเริ่มรักษาอย่างจริงจัง โดยเลือกรักษาตาข้างซ้าย เพราะข้างขวาประสาทตาชำรุด ทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็เพียงแค่เจาะให้น้ำที่ตันอยู่ไหลระบายออกมาเพื่อลดความดัน”

“ทุก วันนี้ต้องหยอดยาลดความดันตาทุกวัน ความสามารถในการมองเห็นเหลือแค่ตาซ้ายข้างเดียว รัศมีการมองเห็นไม่ได้เป็นแบบ 180 องศา เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ช่วงแรกที่เป็นใช้ชีวิตลำบาก เครียดมาก แต่ตอนนี้ไม่แล้ว เพราะได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง เลยตั้งเข็มทิศชีวิตใหม่ได้ แล้วก็ยังทำงาน หรือดำเนินชีวิตต่อไปอย่างปกติ”

อำนาจ มากมี พนักงานแผนกตรวจรับสินค้า ประจำบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ ผู้พิการทางสายตาเลือนราง จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง เป็นอีกหนึ่งคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ของผู้พิการในการพัฒนาศักยภาพตนเองและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในการดำรงชีวิต

อำนาจ มากมี พนักงานแผนกตรวจรับสินค้า ประจำบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ ผู้พิการทางสายตาเลือนราง จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง “ผม เป็นตาเลือนรางข้างขวา และตาข้างซ้ายบอด เป็นมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แต่พอจะปรับตัวได้ จึงได้เข้าเรียนหนังสือเหมือนเพื่อนๆคนอื่น เรียนจบแค่ชั้น ม.3 ก็ไม่ได้เรียนต่อ เพราะอยากทำงาน อยากมีรายได้เลี้ยงตัวเอง และได้ช่วยทางบ้านด้วย” อำนาจบอกว่า เขาเชื่อมั่นผู้พิการทุกคนมีความสามารถอยู่ในตัว อยากให้คนในสังคมเปิดใจยอมรับ และให้โอกาสคนสายตาเลือนรางได้ลองทำงานแบบที่คนปกติทำ เช่นเดียวกับที่เขาได้รับโอกาสอยู่ในขณะนี้ “แม้ว่าอาจต้องใช้เวลา มากหน่อย หรือมีอุปกรณ์ช่วยบ้าง แต่ผมเชื่อว่าพวกเราทำได้ และผมอยากให้คนทั่วไปในสังคมได้รู้จักว่าคนสายตาเลือนรางเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจพวกเรามากขึ้น และถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะมีโอกาสได้ช่วยเหลืองานที่สมาคมฯ เพื่อตอบแทนสังคมกลับคืนด้วยครับ”.

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/334075

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 23/03/2556 เวลา 03:28:39 ดูภาพสไลด์โชว์ ตาเลือนรางรุมเร้า โรคฮิตใหม่คนไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดวงตา ไม่มีหนี้ ถือเป็นโชค ไม่มีโรค ถือ เป็นลาภนั้น คือ สัจธรรม...แต่เอาเข้าจริงจะมีผู้โชคดีสักกี่คนกันที่เกิดมาไม่เคยเป็นหนี้ใคร หรือไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ปีที่แล้วกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำรวจตัวเลขเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 พบว่าทั่วประเทศมีผู้พิการทางสายตา (ตาบอด) เฉพาะที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้พิการทางสายตากับทางการ จำนวนทั้งสิ้น 143,630 คน ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถึง 21,371 คน หรือคิดเป็นอัตราผู้พิการทางสายตาที่เพิ่มขึ้น 17.48% ใน จำนวนผู้พิการทางสายตาที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว มีบุคคลซึ่งมี สายตาเลือนราง รวมอยู่ในนั้นด้วย กล่าวคือ บางคนมีอาการสายตาเลือนราง 1 ข้าง และตาบอดอีก 1 ข้าง คำว่า “ผู้มีสายตาเลือนราง” หมายถึง ผู้ซึ่งมีการสูญเสียการมองเห็นบางส่วน โดยอาจมีลักษณะของการมองเห็นภาพพร่ามัวอย่างถาวร มองไม่เห็นตรงกลางภาพ เหมือนมีอะไรมาบังหรืออาจจะมองเห็นแต่เฉพาะตรงกลางไม่เห็นภาพด้านข้างเช่นคนปกติ การตรวจวัดสายตา ผู้มีอาการเหล่านี้ เมื่อมองจากภายนอกจะไม่ทราบเลยว่าผู้นั้นมีอาการสายตาเลือนราง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม การเป็นต้อกระจก ต้อหิน เบาหวาน จอประสาทตาเสื่อม กระจกตาอักเสบเรื้อรัง หรือเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงบางโรค ซึ่งมีผลกระทบต่อการมองเห็นประมาณการกันว่าปัจจุบันทั่วประเทศมีผู้ป่วยสายตาเลือนรางไม่ต่ำกว่า3แสนราย ที่น่ากังวลก็คือ อาการสายตาเลือนรางที่เกิดขึ้นในเด็กวัยแรกเกิด จนถึง 6 ขวบ เมื่อเกิดภาวะความผิดปกติทางการมองเห็น พ่อแม่อาจไม่ทราบวิธีการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง ทำให้พัฒนาการทางการมองเห็นของเด็กลดลงและอาจลุกลามกลายไปเป็นคนตาบอดได้ในอนาคต อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้มีสายตาเลือนรางที่เกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากต้อหิน ต้อกระจก เบาหวาน หากคนกลุ่มนี้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ ปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง มีโอกาสกลายเป็นอีกกลุ่มเสี่ยงที่อาการอาจลุกลามถึงขั้นตาพร่ามั่วจนมองไม่เห็นในที่สุด ผู้ที่เคยมีสายตาปกติมาก่อน ต่อมามีอาการสายตาเลือนราง มักจะมีพฤติกรรมเก็บตัว ปฏิเสธสังคม ทำให้เกิดความยากลำบากในการปรับตัว และใช้ชีวิตประจำวัน บางคนอาจหงุดหงิดและท้อแท้ถึงขั้นทำร้ายตัวเอง อาการ สายตาเลือนรางไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาด ทำได้แค่เพียงรักษาคุณภาพการมองเห็นให้คงที่ เพราะหากคุณภาพการมองเห็นลดลงเมื่อใดหมายถึงคนสายตาเลือนรางผู้นั้นจะกลายเป็นคนตาบอดทันที ด้วยเหตุนี้ คนสายตาเลือนรางกลุ่มหนึ่งจึงได้รวมตัวกันก่อตั้ง “สมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย)” ขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูสมรรถภาพ และพัฒนาศักยภาพ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิราชสุดา ได้ให้ความอนุเคราะห์สถานที่จัดตั้ง ที่ทำการสมาคมฯ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่กรรมการบริหารสมาคมฯ ธวัชชัย ลลิตสุรเดช นายกสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) ธวัชชัย ลลิตสุรเดช นายกสมาคมคนสายตาเลือนราง (ประเทศไทย) บอกว่า “ด้วย ความที่คนสายตาเลือนรางยังพอจะมองเห็นได้อยู่บ้าง เราจึงได้รวมกลุ่มกันออกมาจัดตั้งสมาคมขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือกันและกัน หลายคนที่ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด และไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการดูแลตัวเอง เพื่อคงสภาพการมองเห็นไว้ อาจจะมีปัญหาในการปรับตัวเข้าสังคม ซึ่งทางสมาคมได้ให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวกับการปรับตัวและการใช้ชีวิตประจำวันของคนสายตาเลือนรางเป็นหลัก” เขาบอกด้วยว่า สมาคมคนสายตาเลือนรางฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิราชสุดา ทั้งด้านการเงิน และสถานที่ทำการ แต่เนื่องจากในปี 2556 นี้ สมาคมฯมีโครงการหลักที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ เช่น จัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรก สำหรับเด็กพิการทางการมองเห็น แรกเกิดถึง 6 ขวบ เพื่อกระตุ้นการมองเห็นให้แก่เด็กเล็กอันจะเป็นการลดอัตราการตาบอดในเด็ก จัดตั้ง ศูนย์บริการคนสายตาเลือนรางถาวรแบบครบวงจร ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเหมือน “ศูนย์เพื่อนช่วยเพื่อน” คอยให้คำแนะนำปรึกษาในทุกเรื่อง ทั้งการปรับตัว การใช้ชีวิต และอุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นรวมทั้งจัดตั้ง กองทุนทำแว่นสายตาจากเลนส์พิเศษ สำหรับผู้สายตาเลือนรางที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ธวัช ชัยบอกว่า ภารกิจดังกล่าวทำให้สมาคมฯมีภาระค่าใช้จ่ายมาก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ต้องรองรับผู้มีสายตาเลือนรางซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุก ปี จึงต้องมีการจัดหาทุน ล่าสุดภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิราชสุดา สมาคมคนสายตาเลือนรางฯ และห้างฯบิ๊กซี ได้จัดโครงการ “เดิน–วิ่งมินิมาราธอน เพื่อคนพิการสายตาเลือนราง” ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปเมื่อวันที่17มีนาคม2556ที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก นายกสมาคมคนสายตา เลือนราง (ประเทศไทย) ตั้งหวังเอาไว้ว่าจะได้รับการสนับสนุนเช่นนี้ต่อไป เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการที่ตั้งใจไว้ ให้บรรลุตามเป้าหมาย ทูน หิรัญทรัพย์ ดารานักแสดงชื่อดัง หนึ่งในสมาชิกสมาคมคนสายตาเลือนราง ทูน หิรัญทรัพย์ ดารานักแสดงชื่อดัง หนึ่งในสมาชิกสมาคมคนสายตาเลือนราง บอกว่า ทุกวันนี้ตาข้างขวาของเขาไม่สามารถใช้งานได้ (บอด) และตาข้างซ้ายมีอาการเลือนราง อันเนื่องมาจากการเป็นโรคเบาหวาน “สมัย เด็กๆผมชอบทานหวานมาก พออายุมากขึ้นก็ได้รับผลกระทบ เราคงมีอาการมานานแล้ว แต่ไม่รู้ตัว คือมีความดันในดวงตา ทำให้ร่องน้ำตาตัน น้ำในตาไม่สามารถไหลระบายออกมาได้ ทำให้เส้นประสาทตาชำรุดเป็นมา4ปีกว่าแล้วเริ่มจากตาขวาก่อนแล้วข้ามมาตาซ้าย” “ทีแรกมองเห็นอะไร เบลอๆ ก็คิดว่าเป็นไมเกรน เลยขยี้ๆตา แล้วก็กินยาแก้ปวดหัว แต่ก็ไม่หาย พอดีไปเจอจักษุแพทย์ท่านหนึ่ง มาดูตาให้ พบว่ามีความผิดปกติ ผมจึงเริ่มรักษาอย่างจริงจัง โดยเลือกรักษาตาข้างซ้าย เพราะข้างขวาประสาทตาชำรุด ทำอะไรไม่ได้แล้ว ก็เพียงแค่เจาะให้น้ำที่ตันอยู่ไหลระบายออกมาเพื่อลดความดัน” “ทุก วันนี้ต้องหยอดยาลดความดันตาทุกวัน ความสามารถในการมองเห็นเหลือแค่ตาซ้ายข้างเดียว รัศมีการมองเห็นไม่ได้เป็นแบบ 180 องศา เหมือนเมื่อก่อนแล้ว ช่วงแรกที่เป็นใช้ชีวิตลำบาก เครียดมาก แต่ตอนนี้ไม่แล้ว เพราะได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง เลยตั้งเข็มทิศชีวิตใหม่ได้ แล้วก็ยังทำงาน หรือดำเนินชีวิตต่อไปอย่างปกติ” อำนาจ มากมี พนักงานแผนกตรวจรับสินค้า ประจำบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ ผู้พิการทางสายตาเลือนราง จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง เป็นอีกหนึ่งคนที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ของผู้พิการในการพัฒนาศักยภาพตนเองและไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคในการดำรงชีวิต อำนาจ มากมี พนักงานแผนกตรวจรับสินค้า ประจำบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สาขาบางใหญ่ ผู้พิการทางสายตาเลือนราง จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง “ผม เป็นตาเลือนรางข้างขวา และตาข้างซ้ายบอด เป็นมาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แต่พอจะปรับตัวได้ จึงได้เข้าเรียนหนังสือเหมือนเพื่อนๆคนอื่น เรียนจบแค่ชั้น ม.3 ก็ไม่ได้เรียนต่อ เพราะอยากทำงาน อยากมีรายได้เลี้ยงตัวเอง และได้ช่วยทางบ้านด้วย” อำนาจบอกว่า เขาเชื่อมั่นผู้พิการทุกคนมีความสามารถอยู่ในตัว อยากให้คนในสังคมเปิดใจยอมรับ และให้โอกาสคนสายตาเลือนรางได้ลองทำงานแบบที่คนปกติทำ เช่นเดียวกับที่เขาได้รับโอกาสอยู่ในขณะนี้ “แม้ว่าอาจต้องใช้เวลา มากหน่อย หรือมีอุปกรณ์ช่วยบ้าง แต่ผมเชื่อว่าพวกเราทำได้ และผมอยากให้คนทั่วไปในสังคมได้รู้จักว่าคนสายตาเลือนรางเป็นอย่างไร จะได้เข้าใจพวกเรามากขึ้น และถ้าเป็นไปได้ ผมอยากจะมีโอกาสได้ช่วยเหลืองานที่สมาคมฯ เพื่อตอบแทนสังคมกลับคืนด้วยครับ”. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/334075

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...