หนุนป.เอกสร้างคนหูหนวกสู่อุตสาหกรรมเชื่อม

แสดงความคิดเห็น

รวมภาพงานแถลงข่าว “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม”  ของนางนาตยา แก้วใส นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

นางนาตยา แก้วใส นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยภายหลังงานแถลงข่าว “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” ว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation) ที่ได้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้คนหูหนวกสามารถประกอบอาชีพช่างเชื่อมได้ ด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นระบบผ่านสื่อและรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่จะทำให้คนหูหนวกสามารถเรียนรู้งานช่างเชื่อมตามมาตรฐานสากลและสามารถฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม เพื่อสร้างความชำนาญทางอาชีพ จนสามารถประกอบอาชีพช่างเชื่อมในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากปัญหาความต้องการตลาดแรงงานในประเทศไทยซึ่งพบว่ามีแนวโน้มความต้องการแรงงานช่างสูงมาก โดยเฉพาะช่างเชื่อม และพบว่าคนหูหนวกมีความต้องการและพร้อมรับการพัฒนาศักยภาพตนเองให้สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ เพียงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ในสาขาอาชีพดังกล่าว ในส่วนของการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมเป็นที่น่ายินดีที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม มจพ. สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 2 สุพรรณบุรี และภาค 10 ลำปาง บริษัท เอ็มบีเค จำกัด มหาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง ขอนแก่น จำกัด และบริษัท โตว่องไว จำกัด ที่ให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมในครั้งนี้

“จากรายงานผลการศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานในช่วงปีพ.ศ.2553 – 2557 ของกองวิจัยตลาดแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่า มีแนวโน้มความต้องการแรงงานช่างสูงมาก โดยเฉพาะ..ช่างเชื่อม…..มีความต้องการสูงถึงปีละไม่ต่ำกว่า 110,000 คน (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) จัดเป็นอันดับที่ 19 ของความต้องการแรงงานของภาคอุตสาหกรรม แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า จำนวนผู้เรียนและสำเร็จการศึกษาสาขาช่างเชื่อมในแต่ละปี จากวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 110 แห่ง ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตช่างเชื่อม มีประมาณ 13,200 คนเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะในบรรดาอาชีพช่าง "ช่างเชื่อม" เป็นสาขาที่นักเรียนให้ความสนใจเลือกเรียนต่อเป็นอันดับท้ายๆ ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันคือ งานหนัก อยู่กับกลิ่นไหม้ ไอร้อน เนื้อตัวสกปรกมอมแมม ไม่เท่ห์ ไม่เหมือนเด็กช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ทำให้เด็กรุ่นใหม่ปฏิเสธงานเชื่อม ถึงใครจะบอกว่าจบช่างเชื่อมแล้วไม่ตกงาน แถมค่าตอบแทนสูงกว่าช่างสายอื่นก็ตาม ขณะที่วัยรุ่นสมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเรียนช่างเชื่อม จนเกิดความขาดแคลนและเป็นปัญหานั้น กลับพบว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นพลังแฝงในการพัฒนาประเทศที่ต้องการโอกาสในการมีงานทำ คือ กลุ่มคนพิการ โดยเฉพาะกลุ่มคนหูหนวกซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน (เจ็ดแสนคน) ที่ไม่ได้ต้องการความเห็นใจหรือความสงสาร แต่ต้องการโอกาสในสังคมและต้องการทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ผู้วิจัยจึงสนใจสร้าง....รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม... (Model of Deaf Development for Industrial Careers) จึงเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการคือ ประการแรก เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ประการที่ 2 เพื่อสร้างวัสดุดำเนินการในรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ประการที่ 3 เพื่อพัฒนาครูฝึกอาชีพช่างอุตสาหกรรมสำหรับคนหูหนวก ประการที่ 4 เพื่อฝึกอบรมคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมโดยครูฝึกที่พัฒนาขึ้น และประการสุดท้ายเพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม โดยมี รศ.ดร.วรพจน์ ศรีวงษ์คล และ อ.ดร.ปิยะ กรกชจินตนาการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งนี้ประโยชน์ของงานวิจัยจะเกิดในวงกว้างทั้งประเทศกล่าวคือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพให้กับคนหูหนวก จะสามารถนำรูปแบบที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อม หรือช่างอุตสหากรรมอื่น ๆ ได้เช่นกัน ” นางนาตยากล่าว

สำหรับอุปสรรคในการเรียนรู้ของคนหูหนวกซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดผลงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น...นางนาตยากล่าวว่า คนหูหนวกนั้นมีปัญหาใหญ่ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 การสื่อสารด้วยภาษาไทย เนื่องจากคนหูหนวกจะสื่อสารด้วยภาษามือไทยเป็นหลัก แต่หลักไวยากรณ์ของภาษามือไทย แตกต่างจากภาษาไทย และมีคำศัพท์จำกัด และ ประการที่ 2 คนหูหนวกใช้เวลาเรียนมากกว่าคนทั่วไปในเนื้อหาเดียวกัน แนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 นี้ คือ การใช้สื่อในการเรียนการสอนและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนหูหนวก ได้แก่ สื่อทางการรับรู้ทางสายตาเป็นหลัก ด้วยภาษามือไทยซึ่งเป็นสื่อที่ดีที่สุดสำหรับคนหูหนวก ดังนั้นการสอนคนหูหนวกให้มีความสามารถเป็นช่างเชื่อมหรือช่างอุตสาหกรรมจึงต้องใช้สื่อการสอนทางสายตา (visualization) ภาษามือไทย (Thai Sign Language) รวมถึงคำศัพท์ช่างภาษามือไทย ที่ต้องมีการกำหนดและสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ ให้สัมพันธ์กับวิธีการสอนตามธรรมชาติการเรียนรู้ของคนหูหนวก โดยผู้สอนที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการสอน 3 ด้านหลัก กล่าวคือ ความสามารถในด้านช่าง ความสามารถในการสอน และความสามารถในการสื่อสารกับผู้เรียนหูหนวกด้วยภาษามือไทยหรือด้วยสื่อการเรียนรู้ ซึ่งประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ต้องทำการสร้างและพัฒนาขึ้นมาใหม่ ใน “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” ในการวิจัยครั้งนี้

นางนาตยากล่าวถึงมุมทางด้านเศรษฐกิจในการทำวิจัยนี้ว่า การลงทุนทางการศึกษาสำหรับคนหูหนวกสามารถให้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจทั้งต่อตัวบุคคลและสังคม ทั้งนี้คนหูหนวกที่ไม่มีงานทำจะเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมที่ต้องดูแล แต่หากสามารถประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ได้ ไม่ใช่เพียงแค่หาเลี้ยงตนเองได้เท่านั้น แต่ยังสามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้อีกด้วย คนหูหนวกจึงควรได้รับโอกาสในการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพช่างอุตสาหกรรมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในขณะนี้ งานวิจัย "รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม" จึงเกิดขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการมีงานทำให้กับคนหูหนวก ลดจำนวนผู้เป็นภาระกับสังคมและลดปัญหาแรงงานช่างขาดแคลนที่ประสบอยู่ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานตามมาตรการระยะยาว เพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศให้มีรากฐานแรงงานอุตสาหกรรมอย่างมั่นคงในที่สุด และแน่นอนว่าในการเตรียมคนหูหนวกเข้าสู่อุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการโดยตรง จึงจะสามารถสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง โดยในเบื้องต้นนี้มี สถานประกอบการ 2 แห่งที่ยินดีสนับสนุนเงินทุน ดังได้กล่าวมาแล้ว

นายไพศาล ว่องไวกลยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตว่องไว จำกัด ผู้ผลิตรถตอกเสาเข็มสิทธิบัตรแรกของโลก กล่าวว่า การให้การสนับสนุนการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมของบริษัทในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริม (CSR) ที่บริษัทดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โดยเนื้อหาของงานวิจัยยังเกี่ยวข้องกับลักษณะงานของบริษัทโดยตรง เนื่องจากในการผลิตรถตอกเสาเข็มต้องการช่างเชื่อมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้าร่วมงาน แม้ว่าการผลิตรถตอกเสาเข็มส่วนใหญ่จะใช้หุ่นยนต์ช่วยผลิตและเครื่องมืออื่น ๆ แต่ในงานสำคัญบางจุดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องใช้ช่างฝีมืออื่นๆ รวมทั้งช่างเชื่อมเข้ามาช่วยดูแล จากการดำเนินงานมาตลอด 20 ปี พบว่าปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างทางเลือกใหม่ให้คนหูหนวกเป็นช่างเชื่อมและเพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม จึงเปรียบเสมือนการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยเช่นกัน สำหรับการให้การสนับสนุนการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมตาม “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” นั้น นอกจากให้การสนับสนุนทางการเงินแล้ว บริษัทยังเปิดโอกาสให้คนหูหนวกได้มีงานทำอย่างสมศักดิ์ศรี ตามที่คนหูหนวกต้องการ โดยจะรับช่างเชื่อมที่จบการฝึกอบรมตามโครงการวิจัยนี้เข้าฝึกงานในบริษัท และเมื่อผ่านเกณฑ์มาตรฐานการฝึกงานก็จะรับเข้าเป็นพนักงานประจำโดยกำหนดอัตราการจ้างงานสูงกว่าค่าจ้างแรงงานมาตรฐานโดยทั่วไป 20-50 % ตามความสามารถและทักษะของแรงงาน

นางเพ็ญศรี แช่มปรีดา ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง ขอนแก่น จำกัด ผู้ผลิตที่นอนคุณภาพสูงเพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มความสุข ภายใต้แบรนด์...ดาร์ลิ่ง.... เปิดเผยว่า บริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2504 ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตที่นอนสปริงรายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีจากยุโรปและอเมริกา ผสมผสานกับความพิถีพิถัน และละเอียดอ่อนของงานฝีมือของคนไทย ได้กำเนิดเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่มีความเป็นสากล ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า....ที่นอนดาร์ลิ่งจะผลิตแต่สินค้าคุณภาพสูง ในราคายุติธรรม พร้อมสรรพด้วยสินค้า ที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เสมอตลอดระยะเวลากว่า 52 ปีที่ก่อตั้งบริษัท บริษัทได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง การให้การสนับสนุนการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมตาม “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่บริษัทภูมิใจ ทั้งนี้นอกจากการสนับสนุนทางการเงินแล้ว บริษัทยังยินดีที่จะให้คนหูหนวกที่ผ่านการฝึกอบรมด้านช่างเชื่อมตามรูปแบบในครั้งนี้ เข้าฝึกงานที่โรงงานดาร์ลิ่งที่ จังหวัดขอนแก่นด้วย และหากมีความสามารถตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด ทางบริษัทก็ยินดีรับคนหูหนวกดังกล่าวเข้าเป็นพนักงานของบริษัทเช่นกัน โดยคนหูหนวกจะได้รับสิทธิประโยชน์เต็มรูปแบบเช่นเดียวกับพนักงานทุกคนของบริษัท”

“เนื่องจากบริษัทเป็นผู้ผลิตที่นอนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ มีการผลิตที่นอนหลายแบบ ทั้งที่เป็นแบบมาตรฐาน และผลิตตามคำสั่งพิเศษ ซึ่งทุกขั้นตอนการผลิตจะเน้นคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญ โดยจะใช้เทคโนโลยีช่วยผลิตควบคู่ไปด้วย งานเชื่อมเป็นงานหนึ่งที่สำคัญในแผนกซ่อมบำรุง ในช่วงที่เราปรับปรุง ขยายอาคารผลิตที่ขอนแก่น งานเชื่อมกลายเป็นงานหลักอย่างหนึ่งทีเดียว และปัจจุบัน ดาร์ลิ่งได้เริ่มมีการผลิตเตียงเหล็ก เตียงเสริมให้กับลูกค้าโรงแรมแล้ว เราจึงยิ่งตระหนักถึงความสำคัญของงานเชื่อมว่าเป็นงานช่างที่ละเอียดอ่อนและต้องการความสามารถและการฝึกฝนในระดับหนึ่ง ช่างเชื่อมที่เก่งๆหายากในตลาดแรงงาน ที่ผ่านมาเรามักขาดแคลนช่างเชื่อมอยู่เนืองๆ งานวิทยานิพนธ์นี้จะเป็นผลดีกับบริษัทในการขยายการผลิต เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดโดยเฉพาะเมื่อเปิด AEC ในปี 2015 ” นางเพ็ญศรี แช่มปรีดากล่าวในที่สุด

ขอบคุณ... http://www.thaipr.net/education/463487

ที่มา: Thaipr.net ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 6/03/2556 เวลา 04:02:23 ดูภาพสไลด์โชว์ หนุนป.เอกสร้างคนหูหนวกสู่อุตสาหกรรมเชื่อม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รวมภาพงานแถลงข่าว “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” ของนางนาตยา แก้วใส นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นางนาตยา แก้วใส นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิจัยและพัฒนาการสอนเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เปิดเผยภายหลังงานแถลงข่าว “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” ว่า งานวิจัยดังกล่าวเป็นวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (Dissertation) ที่ได้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้คนหูหนวกสามารถประกอบอาชีพช่างเชื่อมได้ ด้วยการเรียนรู้อย่างเป็นระบบผ่านสื่อและรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ที่จะทำให้คนหูหนวกสามารถเรียนรู้งานช่างเชื่อมตามมาตรฐานสากลและสามารถฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม เพื่อสร้างความชำนาญทางอาชีพ จนสามารถประกอบอาชีพช่างเชื่อมในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยนี้เกิดขึ้นจากปัญหาความต้องการตลาดแรงงานในประเทศไทยซึ่งพบว่ามีแนวโน้มความต้องการแรงงานช่างสูงมาก โดยเฉพาะช่างเชื่อม และพบว่าคนหูหนวกมีความต้องการและพร้อมรับการพัฒนาศักยภาพตนเองให้สามารถประกอบอาชีพนี้ได้ เพียงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้ในสาขาอาชีพดังกล่าว ในส่วนของการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมเป็นที่น่ายินดีที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการเชื่อม มจพ. สมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 2 สุพรรณบุรี และภาค 10 ลำปาง บริษัท เอ็มบีเค จำกัด มหาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัท ที่นอนดาร์ลิ่ง ขอนแก่น จำกัด และบริษัท โตว่องไว จำกัด ที่ให้การสนับสนุนเงินทุนสำหรับการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมในครั้งนี้ “จากรายงานผลการศึกษาแนวโน้มความต้องการแรงงานในช่วงปีพ.ศ.2553 – 2557 ของกองวิจัยตลาดแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่า มีแนวโน้มความต้องการแรงงานช่างสูงมาก โดยเฉพาะ..ช่างเชื่อม…..มีความต้องการสูงถึงปีละไม่ต่ำกว่า 110,000 คน (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) จัดเป็นอันดับที่ 19 ของความต้องการแรงงานของภาคอุตสาหกรรม แต่จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า จำนวนผู้เรียนและสำเร็จการศึกษาสาขาช่างเชื่อมในแต่ละปี จากวิทยาลัยเทคนิคทั่วประเทศ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 110 แห่ง ซึ่งเป็นสถาบันหลักในการผลิตช่างเชื่อม มีประมาณ 13,200 คนเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะในบรรดาอาชีพช่าง "ช่างเชื่อม" เป็นสาขาที่นักเรียนให้ความสนใจเลือกเรียนต่อเป็นอันดับท้ายๆ ด้วยเหตุผลคล้ายๆ กันคือ งานหนัก อยู่กับกลิ่นไหม้ ไอร้อน เนื้อตัวสกปรกมอมแมม ไม่เท่ห์ ไม่เหมือนเด็กช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ทำให้เด็กรุ่นใหม่ปฏิเสธงานเชื่อม ถึงใครจะบอกว่าจบช่างเชื่อมแล้วไม่ตกงาน แถมค่าตอบแทนสูงกว่าช่างสายอื่นก็ตาม ขณะที่วัยรุ่นสมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเรียนช่างเชื่อม จนเกิดความขาดแคลนและเป็นปัญหานั้น กลับพบว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นพลังแฝงในการพัฒนาประเทศที่ต้องการโอกาสในการมีงานทำ คือ กลุ่มคนพิการ โดยเฉพาะกลุ่มคนหูหนวกซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 700,000 คน (เจ็ดแสนคน) ที่ไม่ได้ต้องการความเห็นใจหรือความสงสาร แต่ต้องการโอกาสในสังคมและต้องการทางเลือกใหม่ในการประกอบอาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ผู้วิจัยจึงสนใจสร้าง....รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม... (Model of Deaf Development for Industrial Careers) จึงเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ประการคือ ประการแรก เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ประการที่ 2 เพื่อสร้างวัสดุดำเนินการในรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม ประการที่ 3 เพื่อพัฒนาครูฝึกอาชีพช่างอุตสาหกรรมสำหรับคนหูหนวก ประการที่ 4 เพื่อฝึกอบรมคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมโดยครูฝึกที่พัฒนาขึ้น และประการสุดท้ายเพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม โดยมี รศ.ดร.วรพจน์ ศรีวงษ์คล และ อ.ดร.ปิยะ กรกชจินตนาการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งนี้ประโยชน์ของงานวิจัยจะเกิดในวงกว้างทั้งประเทศกล่าวคือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพให้กับคนหูหนวก จะสามารถนำรูปแบบที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อม หรือช่างอุตสหากรรมอื่น ๆ ได้เช่นกัน ” นางนาตยากล่าว สำหรับอุปสรรคในการเรียนรู้ของคนหูหนวกซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดผลงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น...นางนาตยากล่าวว่า คนหูหนวกนั้นมีปัญหาใหญ่ 2 ประการ คือ ประการที่ 1 การสื่อสารด้วยภาษาไทย เนื่องจากคนหูหนวกจะสื่อสารด้วยภาษามือไทยเป็นหลัก แต่หลักไวยากรณ์ของภาษามือไทย แตกต่างจากภาษาไทย และมีคำศัพท์จำกัด และ ประการที่ 2 คนหูหนวกใช้เวลาเรียนมากกว่าคนทั่วไปในเนื้อหาเดียวกัน แนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 นี้ คือ การใช้สื่อในการเรียนการสอนและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ของคนหูหนวก ได้แก่ สื่อทางการรับรู้ทางสายตาเป็นหลัก ด้วยภาษามือไทยซึ่งเป็นสื่อที่ดีที่สุดสำหรับคนหูหนวก ดังนั้นการสอนคนหูหนวกให้มีความสามารถเป็นช่างเชื่อมหรือช่างอุตสาหกรรมจึงต้องใช้สื่อการสอนทางสายตา (visualization) ภาษามือไทย (Thai Sign Language) รวมถึงคำศัพท์ช่างภาษามือไทย ที่ต้องมีการกำหนดและสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ ให้สัมพันธ์กับวิธีการสอนตามธรรมชาติการเรียนรู้ของคนหูหนวก โดยผู้สอนที่ได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการสอน 3 ด้านหลัก กล่าวคือ ความสามารถในด้านช่าง ความสามารถในการสอน และความสามารถในการสื่อสารกับผู้เรียนหูหนวกด้วยภาษามือไทยหรือด้วยสื่อการเรียนรู้ ซึ่งประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ต้องทำการสร้างและพัฒนาขึ้นมาใหม่ ใน “รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม” ในการวิจัยครั้งนี้ นางนาตยากล่าวถึงมุมทางด้านเศรษฐกิจในการทำวิจัยนี้ว่า การลงทุนทางการศึกษาสำหรับคนหูหนวกสามารถให้ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจทั้งต่อตัวบุคคลและสังคม ทั้งนี้คนหูหนวกที่ไม่มีงานทำจะเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมที่ต้องดูแล แต่หากสามารถประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรมที่กำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้ได้ ไม่ใช่เพียงแค่หาเลี้ยงตนเองได้เท่านั้น แต่ยังสามารถหาเลี้ยงครอบครัวได้อีกด้วย คนหูหนวกจึงควรได้รับโอกาสในการฝึกอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพช่างอุตสาหกรรมซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในขณะนี้ งานวิจัย "รูปแบบการพัฒนาคนหูหนวกเพื่อการประกอบอาชีพช่างอุตสาหกรรม" จึงเกิดขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการมีงานทำให้กับคนหูหนวก ลดจำนวนผู้เป็นภาระกับสังคมและลดปัญหาแรงงานช่างขาดแคลนที่ประสบอยู่ อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานตามมาตรการระยะยาว เพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังคนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศให้มีรากฐานแรงงานอุตสาหกรรมอย่างมั่นคงในที่สุด และแน่นอนว่าในการเตรียมคนหูหนวกเข้าสู่อุตสาหกรรมนั้น จำเป็นต้องได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการโดยตรง จึงจะสามารถสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง โดยในเบื้องต้นนี้มี สถานประกอบการ 2 แห่งที่ยินดีสนับสนุนเงินทุน ดังได้กล่าวมาแล้ว นายไพศาล ว่องไวกลยุทธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตว่องไว จำกัด ผู้ผลิตรถตอกเสาเข็มสิทธิบัตรแรกของโลก กล่าวว่า การให้การสนับสนุนการเตรียมคนหูหนวกให้เป็นช่างเชื่อมของบริษัทในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริม (CSR) ที่บริษัทดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้โดยเนื้อหาของงานวิจัยยังเกี่ยวข้องกับลักษณะงานของบริษัทโดยตรง เนื่องจากในการผลิตรถตอกเสาเข็มต้องการช่างเชื่อมที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้าร่วมงาน แม้ว่าการผลิตรถตอกเสาเข็มส่วนใหญ่จะใช้หุ่นยนต์ช่วยผลิตและเครื่องมืออื่น ๆ แต่ในงานสำคัญบางจุดที่หุ่นยนต์ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ต้องใช้ช่างฝีมืออื่นๆ รวมทั้งช่างเชื่อมเข้ามาช่วยดูแล จากการดำเนินงานมาตลอด 20 ปี พบว่าปัญหาการขาดแคลนช่างฝีมือ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างทางเลือกใหม่ให้คนหูหนวกเป็นช่างเชื่อมและเพื่อก้าวสู่อุตสาหกรรม จึงเปรียบเสมือนการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้ประกอบการซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยเช่นกัน

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...