กสทช. เล็งเซ็ต Set-top-Box เพื่อผู้พิการ-ผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

บรรยากาศ เวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง)แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาศในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

“สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. เล็งเพิ่มเทคโนโลยีแบบมีตัววิ่ง-เสียงบรรยาย ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์ รองรับการเข้าชมของผู้พิการ และผู้สูงอายุ ย้ำผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มต้นทุนมาก เพราะแค่เพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ตแวร์เดิม ขณะที่เตรียมเปิดเวทีฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการกลุ่มย่อยวันที่ 27 ก.พ. ก่อนชงเข้าบอร์ด กสท. 4 มี.ค.นี้...

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการคระกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วานนี้ (21 ก.พ.) สำนักงาน กสทช. ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง)แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาศในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งตนเป็นประธาน โดยภาพรวมแบ่งออกได้ 5 ด้าน ได้แก่ 1. การกำหนดมาตราการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้คนพิการ คนสูงอายุ หรือ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงรับรู้ และใช้ประโยชน์ 2. การ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาค เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 3. การ ส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์จัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวก สำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 4. การพัฒนาศักยภาพคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสให้มีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ 5. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอต่อผู้ประกอบการให้จัดแบ่งสัดส่วนรายการต่างๆ อย่างเหมาะสม และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาและบริการที่ให้ความรู้และสามารถตอบสนอง ความต้องการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ชม เช่น มีการพัฒนาอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ เซ็ตท็อปบ็อกซ์ (Set-top box) สำหรับ ทุกบริการ โดยให้สามารถรองรับบริการต่างๆ สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสได้ รวมทั้งให้มี ฮาร์ดดิส เพื่อเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง หรือปรับบริการคำบรรยายใต้ภาพให้ช้าหรือเร็วตามความต้องการของผู้ใช้บริการ อีกทั้งมาตรฐานทางด้านเนื้อหาและบริการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงสำหรับกลุ่มคน พิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ก่อนที่จะเปิดให้ผู้ผลิตจำหน่าย และผู้ประกอบการนำเข้า

“เรื่อง เซ็ตท็อบบ็อกซ์ในวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการลองพิจารณา เรื่องการออกแบบ การมีตัววิ่งเพิ่ม มีเสียงบรรยาย บริการสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ และยังรวมไปถึงเพื่อการเตือนภัยพิบัติ ในอนาคตด้วย” นางสาวสุภิญญา กล่าว

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การเพิ่มเทคโนโลยีประเภทตัววิ่ง และเสียงบรรยายเข้าไป ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์เข้าไป สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก เพราะเป็นการเพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ดแวร์เดิม ซึ่งในทางเทคนิคไม่เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวการประชุมกลุ่มย่อย เรื่องเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในวันที่ 27 ก.พ. 2556 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท. เพื่อพิจารณาในวันที่ 4 มี.ค.นี้

นายต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้พิการในประเทศไทยที่ลงทะเบียนจำนวน 1.2 ล้านคน แยกออกมาจากกลุ่มผู้ที่มีความพิการ ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ใน การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเป็นระบบดิจิตอลครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญ ซึ่งจะส่งเสริมให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้ พร้อมทั้งผลักดันให้มีโทรทัศน์สาธารณะที่บริการคนพิการทุกประเภท

ต่อข้อถามถึงการมีช่องสำหรับผู้พิการ ของช่องบริการสาธารณะจำนวน 12 ช่องนั้น นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องมีคนมาขอ นอกจากนี้ ยังต้องคุยถึงเรื่องแนวทาง และต้องดูว่าใครเป็นคนที่จะมาขอ และใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากมีเสนอเข้ามา กสทช.ก็ต้องพิจารณา ขณะที่ ในต่างประเทศมีช่องสำหรับผู้พิการเฉพาะในระบบทีวีดาวเทียม แต่ฟรีทีวียังเข้าไม่ถึง.

ขอบคุณ... ttp://www.thairath.co.th/content/tech/328347

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 23/02/2556 เวลา 02:56:11 ดูภาพสไลด์โชว์ กสทช. เล็งเซ็ต Set-top-Box เพื่อผู้พิการ-ผู้สูงอายุ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บรรยากาศ เวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง)แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาศในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร “สุภิญญา กลางณรงค์” กรรมการ กสทช. เล็งเพิ่มเทคโนโลยีแบบมีตัววิ่ง-เสียงบรรยาย ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์ รองรับการเข้าชมของผู้พิการ และผู้สูงอายุ ย้ำผู้ประกอบการไม่ได้เพิ่มต้นทุนมาก เพราะแค่เพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ตแวร์เดิม ขณะที่เตรียมเปิดเวทีฟังความคิดเห็นผู้ประกอบการกลุ่มย่อยวันที่ 27 ก.พ. ก่อนชงเข้าบอร์ด กสท. 4 มี.ค.นี้... เมื่อวันที่ 22 ก.พ. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการคระกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า วานนี้ (21 ก.พ.) สำนักงาน กสทช. ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น (ร่าง)แผนงานส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาศในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งตนเป็นประธาน โดยภาพรวมแบ่งออกได้ 5 ด้าน ได้แก่ 1. การกำหนดมาตราการเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้คนพิการ คนสูงอายุ หรือ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงรับรู้ และใช้ประโยชน์ 2. การ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จัดให้มีบริการที่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์ของคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ในการเข้าถึง รับรู้ และใช้ประโยชน์ได้อย่างเสมอภาค เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป 3. การ ส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์จัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวก สำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 4. การพัฒนาศักยภาพคนพิการ คนสูงอายุ และคนด้อยโอกาสให้มีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ 5. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอต่อผู้ประกอบการให้จัดแบ่งสัดส่วนรายการต่างๆ อย่างเหมาะสม และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเนื้อหาและบริการที่ให้ความรู้และสามารถตอบสนอง ความต้องการด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้ชม เช่น มีการพัฒนาอุปกรณ์รับสัญญาณ หรือ เซ็ตท็อปบ็อกซ์ (Set-top box) สำหรับ ทุกบริการ โดยให้สามารถรองรับบริการต่างๆ สำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสได้ รวมทั้งให้มี ฮาร์ดดิส เพื่อเรียกดูข้อมูลย้อนหลัง หรือปรับบริการคำบรรยายใต้ภาพให้ช้าหรือเร็วตามความต้องการของผู้ใช้บริการ อีกทั้งมาตรฐานทางด้านเนื้อหาและบริการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงสำหรับกลุ่มคน พิการ คนสูงอายุ หรือคนด้อยโอกาส ก่อนที่จะเปิดให้ผู้ผลิตจำหน่าย และผู้ประกอบการนำเข้า “เรื่อง เซ็ตท็อบบ็อกซ์ในวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการลองพิจารณา เรื่องการออกแบบ การมีตัววิ่งเพิ่ม มีเสียงบรรยาย บริการสำหรับผู้พิการ และผู้สูงอายุ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ และยังรวมไปถึงเพื่อการเตือนภัยพิบัติ ในอนาคตด้วย” นางสาวสุภิญญา กล่าว กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การเพิ่มเทคโนโลยีประเภทตัววิ่ง และเสียงบรรยายเข้าไป ในเซ็ตท็อปบ็อกซ์เข้าไป สามารถดำเนินการได้โดยง่าย ไม่ต้องลงทุนเพิ่มมาก เพราะเป็นการเพิ่มซอฟต์แวร์ลงไปในฮาร์ดแวร์เดิม ซึ่งในทางเทคนิคไม่เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวการประชุมกลุ่มย่อย เรื่องเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในวันที่ 27 ก.พ. 2556 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค ก่อนนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท. เพื่อพิจารณาในวันที่ 4 มี.ค.นี้ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้พิการในประเทศไทยที่ลงทะเบียนจำนวน 1.2 ล้านคน แยกออกมาจากกลุ่มผู้ที่มีความพิการ ซึ่งส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ใน การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีเป็นระบบดิจิตอลครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญ ซึ่งจะส่งเสริมให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้ พร้อมทั้งผลักดันให้มีโทรทัศน์สาธารณะที่บริการคนพิการทุกประเภท ต่อข้อถามถึงการมีช่องสำหรับผู้พิการ ของช่องบริการสาธารณะจำนวน 12 ช่องนั้น นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ต้องมีคนมาขอ นอกจากนี้ ยังต้องคุยถึงเรื่องแนวทาง และต้องดูว่าใครเป็นคนที่จะมาขอ และใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งหากมีเสนอเข้ามา กสทช.ก็ต้องพิจารณา ขณะที่ ในต่างประเทศมีช่องสำหรับผู้พิการเฉพาะในระบบทีวีดาวเทียม แต่ฟรีทีวียังเข้าไม่ถึง. ขอบคุณ... ttp://www.thairath.co.th/content/tech/328347 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...