นักกายภาพรุ่นแรกของไทยใช้เทคนิค Vojtaรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

ภาพหมู่ นักกายภาพรุ่นแรกของไทยใช้เทคนิค Vojtaรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวแต่กำเนิด “เทคนิค Vojta” หรือ Vojta therapy เป็นการนวดกดจุดเก่าแก่ของประเทศเยอรมนีที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้น การสั่งงานระบบสมองจนทำให้ร่างกายสามารถควบคุมการทรงตัวและเคลื่อนไหวได้ ซึ่งประเทศไทยเริ่มรู้จักการบำบัดด้วยเทคนิค Vojta เมื่อ 4 ปีก่อน จากกรณีของน้องซาย บุตรของคุณวอลเตอร์ ลี ที่ได้รับการบำบัดด้วยเทคนิค Vojta ร่วมกับการรับแขนขาเทียมจากเยอรมัน จนสามารถทรงตัวและใช้แขนขาเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การอบรมการบำบัดด้วยเทคนิควอยต้า พ.ญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์เห็นว่าเทคนิค Vojta มีประโยชน์และจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการทรงตัวของเด็กที่ผิดปกติในการเคลื่อนไหวเสริมจากเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงได้ทำบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กประเทศเยอรมนี ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กได้แนะนำให้กรมการแพทย์ติดต่อกับองค์กรวอยตาสากล จัดให้มีการอบรมการบำบัดด้วยเทคนิควอยต้าขึ้นในไทยเป็นรุ่นแรก โดยแบ่งการเรียนออกเป็น 4 ช่วง ห่างกันช่วงละ 6 เดือน จะมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ใช้เวลาทั้งหมด 2 ปี มีผู้ที่ผ่านการอบรมทั้งแพทย์ และนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 25 คน นอกจากนี้ยังมอบหมายให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จัดอบรมแก่แพทย์จำนวน 20 คน ให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิควอยตาได้เช่นกัน นับเป็นก้าวใหม่ของการพัฒนาเทคนิคการรักษาความพิการครั้งแรกในประเทศไทย ให้สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น จากเดิมที่เคยวินิจฉัยได้ในเด็กอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถเริ่มวินิจฉัยได้ในเด็กอายุแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ได้รับการบำบัดรักษาเร็วขึ้น

พ.ญ.วิลาวัณย์ กล่าวอีกว่า หลักการของเทคนิค Vojta จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นรูปแบบการกระตุ้นด้วยมือ มีทั้งแรงกด และการยืดไปตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการตอบสนอง และการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการจัดท่าเด็กให้อยู่ในท่าจำเพาะในท่าทางที่ถูกต้อง และการใช้มือส่งแรงกดไปตามจุดต่างๆ ในตำแหน่ง ทิศทาง และองศาที่ถูกต้อง กระตุ้นให้มีการประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อก่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนไหว จึงมีผลต่อการทรงตัวของร่างกายและการเคลื่อนไหวของแขนขา เป็นการใส่ข้อมูลเพื่อให้สมองเรียนรู้รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง หากทำการกระตุ้นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแบบซ้ำๆ บ่อยๆ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเส้นประสาทส่วนปลายสมอง และไขสันหลังขึ้นใหม่ได้ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของการเติบโต

นอกจากนี้ เทคนิค Vojta ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เด็กสมองพิการ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตทั้งตัว ปลายประสาทถูกกดทับ และผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกสันหลังคด คอเอียง การสร้างอย่างผิดรูปของกระดูกและข้อต่อ ผู้ป่วยแขนขาขาด เด็กพิการแขนขาขาดหายแต่กำเนิด รวมถึงผู้ที่มีปัญหาการหายใจ การเคี้ยว การกลืนด้วย แต่การบำบัดรักษาด้วยเทคนิค Vojta จะมีความแตกต่างการรักษาแบบกดจุด หรือการรักษาด้วยการบำบัดชนิดอื่นๆ รวมถึงการนวดกดจุดแบบจีน เพราะใช้วิธีกระตุ้นเฉพาะจุด และเน้นกระตุ้นส่วนประสาทระบบการเคลื่อนไหวที่มีปัญหา ไม่เกี่ยวกับเส้นลมปราณ ซึ่งก่อนการรักษา แพทย์จะมีการประเมินและวิเคราะห์ก่อนปัญหาที่มีอยู่ว่าเกิดจากอะไร เพราะถ้ากดผิดจุดหรือผิดวิธี นอกจากการรักษาจะไม่ได้ผลแล้วอาจนำไปสู่อันตรายแก่ผู้ที่ได้รับการรักษาได้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบำบัดรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิค Vojta Therapy ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ จ.นนทบุรี

“ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ถือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความพร้อมในการให้บริการเทคนิค Vojta ในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่ไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สว่างคนิวาส สภากาชาดไทย, รพ.สมิติเวช, ม.ขอนแก่น, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.จุฬาลงกรณ์ , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์, ม.สงขลานครินทร์, รพ.สำโรงการแพทย์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สถาบันราชานุกูล และ รพ.รามาธิบดี ฯลฯ นับเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยให้กับเด็กที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศด้วย” พญ.วิลาวัณย์ กล่าว

ขอบคุณ ... http://goo.gl/i3PPC (ขนาดไฟล์: 0 )

บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.56

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 25/02/2556 เวลา 04:25:53 ดูภาพสไลด์โชว์ นักกายภาพรุ่นแรกของไทยใช้เทคนิค Vojtaรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวแต่กำเนิด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพหมู่ นักกายภาพรุ่นแรกของไทยใช้เทคนิค Vojtaรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวแต่กำเนิด “เทคนิค Vojta” หรือ Vojta therapy เป็นการนวดกดจุดเก่าแก่ของประเทศเยอรมนีที่ให้ความสำคัญกับการกระตุ้น การสั่งงานระบบสมองจนทำให้ร่างกายสามารถควบคุมการทรงตัวและเคลื่อนไหวได้ ซึ่งประเทศไทยเริ่มรู้จักการบำบัดด้วยเทคนิค Vojta เมื่อ 4 ปีก่อน จากกรณีของน้องซาย บุตรของคุณวอลเตอร์ ลี ที่ได้รับการบำบัดด้วยเทคนิค Vojta ร่วมกับการรับแขนขาเทียมจากเยอรมัน จนสามารถทรงตัวและใช้แขนขาเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมการบำบัดด้วยเทคนิควอยต้าพ.ญ.วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์เห็นว่าเทคนิค Vojta มีประโยชน์และจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการทรงตัวของเด็กที่ผิดปกติในการเคลื่อนไหวเสริมจากเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงได้ทำบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กประเทศเยอรมนี ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กได้แนะนำให้กรมการแพทย์ติดต่อกับองค์กรวอยตาสากล จัดให้มีการอบรมการบำบัดด้วยเทคนิควอยต้าขึ้นในไทยเป็นรุ่นแรก โดยแบ่งการเรียนออกเป็น 4 ช่วง ห่างกันช่วงละ 6 เดือน จะมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ใช้เวลาทั้งหมด 2 ปี มีผู้ที่ผ่านการอบรมทั้งแพทย์ และนักกายภาพบำบัดจากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 25 คน นอกจากนี้ยังมอบหมายให้สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จัดอบรมแก่แพทย์จำนวน 20 คน ให้สามารถวินิจฉัยความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิควอยตาได้เช่นกัน นับเป็นก้าวใหม่ของการพัฒนาเทคนิคการรักษาความพิการครั้งแรกในประเทศไทย ให้สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น จากเดิมที่เคยวินิจฉัยได้ในเด็กอายุประมาณ 6 เดือนขึ้นไป จะสามารถเริ่มวินิจฉัยได้ในเด็กอายุแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้ได้รับการบำบัดรักษาเร็วขึ้น พ.ญ.วิลาวัณย์ กล่าวอีกว่า หลักการของเทคนิค Vojta จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกายแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นรูปแบบการกระตุ้นด้วยมือ มีทั้งแรงกด และการยืดไปตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดการตอบสนอง และการเคลื่อนไหวของแขน ขา ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการจัดท่าเด็กให้อยู่ในท่าจำเพาะในท่าทางที่ถูกต้อง และการใช้มือส่งแรงกดไปตามจุดต่างๆ ในตำแหน่ง ทิศทาง และองศาที่ถูกต้อง กระตุ้นให้มีการประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อก่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนไหว จึงมีผลต่อการทรงตัวของร่างกายและการเคลื่อนไหวของแขนขา เป็นการใส่ข้อมูลเพื่อให้สมองเรียนรู้รูปแบบวิธีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง หากทำการกระตุ้นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติแบบซ้ำๆ บ่อยๆ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างเส้นประสาทส่วนปลายสมอง และไขสันหลังขึ้นใหม่ได้ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกของการเติบโต นอกจากนี้ เทคนิค Vojta ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับผู้ที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เด็กสมองพิการ ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนล่าง อัมพาตทั้งตัว ปลายประสาทถูกกดทับ และผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบกระดูกกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกสันหลังคด คอเอียง การสร้างอย่างผิดรูปของกระดูกและข้อต่อ ผู้ป่วยแขนขาขาด เด็กพิการแขนขาขาดหายแต่กำเนิด รวมถึงผู้ที่มีปัญหาการหายใจ การเคี้ยว การกลืนด้วย แต่การบำบัดรักษาด้วยเทคนิค Vojta จะมีความแตกต่างการรักษาแบบกดจุด หรือการรักษาด้วยการบำบัดชนิดอื่นๆ รวมถึงการนวดกดจุดแบบจีน เพราะใช้วิธีกระตุ้นเฉพาะจุด และเน้นกระตุ้นส่วนประสาทระบบการเคลื่อนไหวที่มีปัญหา ไม่เกี่ยวกับเส้นลมปราณ ซึ่งก่อนการรักษา แพทย์จะมีการประเมินและวิเคราะห์ก่อนปัญหาที่มีอยู่ว่าเกิดจากอะไร เพราะถ้ากดผิดจุดหรือผิดวิธี นอกจากการรักษาจะไม่ได้ผลแล้วอาจนำไปสู่อันตรายแก่ผู้ที่ได้รับการรักษาได้ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบำบัดรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวด้วยเทคนิค Vojta Therapy ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ จ.นนทบุรี “ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ถือเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีความพร้อมในการให้บริการเทคนิค Vojta ในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่ไม่ว่าจะเป็นที่ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สว่างคนิวาส สภากาชาดไทย, รพ.สมิติเวช, ม.ขอนแก่น, รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.จุฬาลงกรณ์ , สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์, ม.สงขลานครินทร์, รพ.สำโรงการแพทย์ มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สถาบันราชานุกูล และ รพ.รามาธิบดี ฯลฯ นับเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยให้กับเด็กที่มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศด้วย” พญ.วิลาวัณย์ กล่าว ขอบคุณ ... http://goo.gl/i3PPC บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...