การถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม (อิน) ของนักวิจัยมือใหม่
คำว่า “อิน” มาจากคำว่า "อินเนอร์" (Inner) หมายถึง การมีความรู้สึกร่วม หรือ มีอารมณ์ร่วม เป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยมือใหม่ที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำการศึกษาเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด สภาพการใช้ชีวิตของบุคคลในสภาพต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งนักวิจัยอาจมีความรู้สึกร่วม หรือมีอารมณ์ร่วมอย่างรุนแรงบางครั้งมากกว่าผู้ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเสียอีก เมื่อการวิจัยจบสิ้นลง ความรู้สึกร่วมหรืออารมณ์ร่วมยังคงค้างอยู่กับนักวิจัย และอาจทำให้นักวิจัยผู้นั้นเปลี่ยนแปลงเจตคติวิถีชีวิตหรือพฤติกรรมตามแบบเรื่องราวที่ไปทำการศึกษาวิจัย
นักวิจัยมือใหม่ หมายถึง ผู้ที่เริ่มทำวิจัย ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก การทำวิจัยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา ทำให้กระบวนการวิจัยสามารถดำเนินไปตามแบบแผนที่นำเสนอไว้ อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการของการวิจัยนั้น นักวิจัยอาจต้องเข้าไปสัมผัสถึงแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งจะอยู่ท่ามกลางสภาพของปัญหาวิจัยที่นักวิจัยศึกษาค้นคว้าอยู่ การเตรียมตัวเพื่อทำงานวิจัยอาจไม่ให้ความสำคัญกับภาวะทางจิตใจ เช่น ความรู้สึกร่วมและอารมณ์ร่วมของนักวิจัยมากนัก ส่วนมากจะเน้นระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการจัดกระทำต่างๆ เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ต้องการ
ภาวการณ์ที่มีความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” กับเรื่องราวและบุคคลที่นักวิจัยเข้าไปสัมผัสอาจเกิดขึ้นกับนักวิจัยได้เสมอ เนื่องจากมีเหตุและปัจจัยต่างๆ เกื้อหนุนให้ต้องเข้าไปอยู่ในอารมณ์และความรู้สึกกับสิ่งที่ได้สัมผัส ประเด็นปัญหาวิจัยต่างๆ อาจให้ผลทางอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่าง หลากหลาย และมีระดับของความรู้สึกมากน้อยแตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดภาวการณ์ที่ “อิน” กับเรื่องราวหรือบุคคลเข้าไปอย่างมาก อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนักวิจัยอย่างไม่ตั้งใจ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจแสดงออกมาอย่างเปิดเผย หรือซ่อนเร้นปิดบังหรืออาจส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเองได้
ตัวอย่างของนักวิจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น นักวิจัยที่ไปศึกษาเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่นเรื่องราวของหนังใหญ่ทางภาคใต้ ลิเกทางภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง หมอลำทางภาคอีสาน ผู้วิจัยเมื่อได้เข้าไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดภาวการณ์ ที่ “อิน” กับการใช้ชีวิตและผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีนักวิจัยบางท่านถึงกับทิ้งครอบครัว การงาน และการเรียนไปใช้ชีวิตกับผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านไปเลย
นอกจากนั้น การที่บางคนได้ไปสัมผัสกับผู้ที่มีความพิการ หรือบกพร่องทางด้านความสามารถต่างๆ เช่นหูหนวก ตาบอด หรือทุพลภาพในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดภาวการณ์ทางอารมณ์ รู้สึกอาทร เห็นใจ หรือสงสารอยากช่วยเหลือ หรือ “อิน” กับสภาพที่ตนเองได้สัมผัส รวมทั้งการที่ได้พบเห็นผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอาเปรียบจากกลุ่มอิทธิพล กลุ่มสังคม หรือกลไกของรัฐ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อยากช่วยเหลือ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยและสร้างอิสรภาพ ภราดรภาพให้กับบุคคลที่ถูกกดขี่ นักวิจัยจำนวนหนึ่งเกิดภาวการณ์ “อิน” กับเรื่องราวและผู้คนเหล่านั้นในที่สุดก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการณ์ที่ไปศึกษาวิจัย
ภาวการณ์ “อิน” ที่มีระดับต่ำกว่าดังกล่าวข้างต้นก็มีปรากฏให้เห็นเช่น เมื่อนักวิจัยได้ทำวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเกิดความลุ่มหลงจนไม่เห็น ความสำคัญของสิ่งอื่น หรือศาสตร์อื่นใดอีกเลย เล็งเห็นแต่ความสำคัญของงานวิจัยที่ตนเองศึกษาเท่านั้นว่าสามารถจะตอบคำถาม ได้ทุกคำถาม และงานวิจัยของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดประเสริฐสุดแล้วกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ปิดกั้นตนเองจากสิ่งอื่นๆ ไม่ยอมรับผู้อื่นหรือศาสตร์อื่น ๆ นอกจากของตนเองเท่านั้น
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจมี ประเด็นโต้แย้ง ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และการยอมรับในสติปัญญา ความสามารถ หรือเคารพต่อการตัดสินใจของบุคคลที่จะเลือกใช้ชีวิต มีความชอบ ความรัก ความพอใจ หรือเกลียดชังตามที่ใจตนเองปรารถนา และอาจนำเรื่องบุญกุศล กรรมเวร ต่างๆ มาตอบปัญหาการเปลี่ยนไปของนักวิจัยที่เกิดภาวการณ์ “อิน” และอาจเล็งเห็นว่าเป็นความดีงามเพราะจะได้เกิดผู้สนใจและเชี่ยวชาญอย่างจริงจัง ลึกซึ้ง เช่น นักวิจัยเรื่องลิงป่าก็จะทุ่มเทชีวิตอยู่กับลิงในป่าตลอดเวลาจนกลายเป็นผู้ เชี่ยวชาญเรื่องลิงป่า จึงทำให้ไม่เห็นความจำเป็นต้องปกป้องการเกิดภาวการณ์ “อิน” และการเยียวยานักวิจัยที่เกิดภาวการณ์“อิน”ไปแล้วให้เกิดการถอนตัวและกลับสู่ฐานะเดิม
แต่สำหรับนักวิจัยมือใหม่ ซึ่งส่วนมากเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ถึงแม้จะมีวัยที่เป็นผู้ใหญ่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่พวกเขากำลังเริ่มหัดทำวิจัย ต่างจากนักวิจัยมืออาชีพที่ตัดสินใจเลือกทางเดิน และการใช้ชีวิตของตนแล้วอย่างมีสติสมบูรณ์ แต่นักวิจัยมือใหม่นั้นการมีอาจารย์ปรึกษานอกจากจะช่วยการดำเนินการวิจัย เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดภาวการณ์ “อิน” กับงานวิจัยมากเกินไป หรือ ถ้าเกิดภาวการณ์ “อิน” ไปแล้วควรจะต้องมีกระบวนการทำให้ถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วมหรือ“อิน”นั้นให้ได้เป็นภารกิจสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญด้วย
นักวิจัยบางคนไม่เกิดภาวการณ์ “อิน” ขณะที่บางคนอาจเกิดขึ้นและค่อยๆ หายไปเองเมื่อสิ้นสุดการวิจัย แต่นักวิจัยบางคนเกิดอาการมากและไม่มีทีท่าจะกลับสู่ฐานะเดิมได้ง่ายนัก ซึ่งมักจะถูกมองจากสังคมว่า “เพี้ยน” เพราะพฤติกรรมไม่อยู่ในปทัสถานของสังคมเมื่อได้เข้าสู่การทำวิจัย และประเด็นหลังสุดนี้เป็นประเด็นที่นักวิจัยควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือให้ กลับสู่ฐานะเดิม หรือ คืนสติ ให้กลับสู่ปทัสถานทางสังคมอย่างที่เคยเป็นถึงไม่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดแต่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
อาจารย์ ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมากแล้วจึงสามารถ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการวิจัยและนักวิจัยตามแบบแผนและวิธีการของตน เมื่อนักวิจัยมือใหม่มีภาวการณ์ “อิน” จนมีพฤติกรรมเลยปทัสถานของสังคม อย่างไรก็ตาม อาจารย์ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยสามารถดำเนินการแก้ไขให้เขาเหล่านั้นสามารถถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” ได้ด้วยกลวิธีดังนี้ 1. ให้นักวิจัยหยุดพักและแยกนักวิจัยออกจากสภาพแห่งปัญหาวิจัยทันทีด้วย วิธีการที่แยบยล โดยอาจมอบหมายงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนและเรื่องราวที่มีอิทธิพลต่อความ รู้สึกของนักวิจัย 2. นำนักวิจัยไปสู่สถานการณ์ใหม่ เงื่อนไขใหม่ คนกลุ่มใหม่หรือกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่างจากเดิม 3. นำกระบวนการปรับเปลี่ยนเจตคติด้วยการเสริมข้อมูล และการใช้เหตุผลทางความคิด ตรรกะทางความคิดให้กับนักวิจัย เช่น กระบวนการ Inner Retreat และกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ 4. ใช้คำสอนทางศาสนาและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเข้ามาเสริมการปฏิบัติในปกติ วิสัยมากขึ้น เช่น การเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา หรือ Meditation เป็นต้น 5. นำตัวส่งผู้เชี่ยวชาญทางการแก้ไขพฤติกรรมอาจต้องมีการบำบัดรักษาด้วยยาหรือกระบวนการบำบัดรักษาอื่นๆ
สำหรับ รายละเอียดในแต่ละข้อมีเทคนิควิธีการที่ต้องปรับเหมาะกับสภาพความหนักเบาของ นักวิจัยแต่ละคน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในภูมิหลัง และวิถีชีวิตที่เป็นปกติวิสัยของแต่ละคนอีกด้วย การช่วยเหลือให้นักวิจัยสามารถถอนตัวจากความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” เพื่อกลับสู่ฐานะเดิมอาจยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญทั้งนี้เนื่อง จากปัญหานี้ยังถือว่าเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล หรือ เอกชน ไม่ใช่ปัญหามหาชนหรือที่มีผลกับคนส่วนมาก ปัญหานี้จึงไม่ถูกนำมาตีแผ่และขยายผลให้สื่อมวลชนได้รับรู้รับทราบ หรือเพียงรับทราบว่ามีนักวิจัย “เพี้ยน” หรือนักวิชาการ “เพี้ยน” อันเกิดจากการ “อิน” กับงานวิจัยมากเกินไปอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อาจไม่ให้ความสำคัญมากนัก และอาจใช้วิธีการตอบโต้ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น การสร้างมวลชนต่อต้าน สร้างวาทกรรม และเหตุการณ์เพื่อลดความน่าเชื่อถือของนักวิจัยเหล่านั้นแทน รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/333051 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สัมนาวิชาการเกี่ยวกับการถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม (อิน) ของนักวิจัยมือใหม่ คำว่า “อิน” มาจากคำว่า "อินเนอร์" (Inner) หมายถึง การมีความรู้สึกร่วม หรือ มีอารมณ์ร่วม เป็นภาวการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วการจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมนั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยมือใหม่ที่ได้มีโอกาสเข้าไปทำการศึกษาเรื่องราว ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด สภาพการใช้ชีวิตของบุคคลในสภาพต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด สิ่งหนึ่งนักวิจัยอาจมีความรู้สึกร่วม หรือมีอารมณ์ร่วมอย่างรุนแรงบางครั้งมากกว่าผู้ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเสียอีก เมื่อการวิจัยจบสิ้นลง ความรู้สึกร่วมหรืออารมณ์ร่วมยังคงค้างอยู่กับนักวิจัย และอาจทำให้นักวิจัยผู้นั้นเปลี่ยนแปลงเจตคติวิถีชีวิตหรือพฤติกรรมตามแบบเรื่องราวที่ไปทำการศึกษาวิจัย นักวิจัยมือใหม่ หมายถึง ผู้ที่เริ่มทำวิจัย ซึ่งส่วนมากจะเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งระดับปริญญาโท และปริญญาเอก การทำวิจัยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษา ทำให้กระบวนการวิจัยสามารถดำเนินไปตามแบบแผนที่นำเสนอไว้ อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการของการวิจัยนั้น นักวิจัยอาจต้องเข้าไปสัมผัสถึงแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งจะอยู่ท่ามกลางสภาพของปัญหาวิจัยที่นักวิจัยศึกษาค้นคว้าอยู่ การเตรียมตัวเพื่อทำงานวิจัยอาจไม่ให้ความสำคัญกับภาวะทางจิตใจ เช่น ความรู้สึกร่วมและอารมณ์ร่วมของนักวิจัยมากนัก ส่วนมากจะเน้นระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการจัดกระทำต่างๆ เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลตามที่ต้องการ ภาวการณ์ที่มีความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” กับเรื่องราวและบุคคลที่นักวิจัยเข้าไปสัมผัสอาจเกิดขึ้นกับนักวิจัยได้เสมอ เนื่องจากมีเหตุและปัจจัยต่างๆ เกื้อหนุนให้ต้องเข้าไปอยู่ในอารมณ์และความรู้สึกกับสิ่งที่ได้สัมผัส ประเด็นปัญหาวิจัยต่างๆ อาจให้ผลทางอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่าง หลากหลาย และมีระดับของความรู้สึกมากน้อยแตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดภาวการณ์ที่ “อิน” กับเรื่องราวหรือบุคคลเข้าไปอย่างมาก อาจทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงกับนักวิจัยอย่างไม่ตั้งใจ การเปลี่ยนแปลงนั้นอาจแสดงออกมาอย่างเปิดเผย หรือซ่อนเร้นปิดบังหรืออาจส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของตนเองได้ ตัวอย่างของนักวิจัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น นักวิจัยที่ไปศึกษาเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่นเรื่องราวของหนังใหญ่ทางภาคใต้ ลิเกทางภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง หมอลำทางภาคอีสาน ผู้วิจัยเมื่อได้เข้าไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดภาวการณ์ ที่ “อิน” กับการใช้ชีวิตและผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านเหล่านั้น มีนักวิจัยบางท่านถึงกับทิ้งครอบครัว การงาน และการเรียนไปใช้ชีวิตกับผู้คนในแวดวงศิลปกรรมพื้นบ้านไปเลย นอกจากนั้น การที่บางคนได้ไปสัมผัสกับผู้ที่มีความพิการ หรือบกพร่องทางด้านความสามารถต่างๆ เช่นหูหนวก ตาบอด หรือทุพลภาพในลักษณะต่างๆ ทำให้เกิดภาวการณ์ทางอารมณ์ รู้สึกอาทร เห็นใจ หรือสงสารอยากช่วยเหลือ หรือ “อิน” กับสภาพที่ตนเองได้สัมผัส รวมทั้งการที่ได้พบเห็นผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเอาเปรียบจากกลุ่มอิทธิพล กลุ่มสังคม หรือกลไกของรัฐ ทำให้เกิดความรู้สึกร่วม อยากช่วยเหลือ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยและสร้างอิสรภาพ ภราดรภาพให้กับบุคคลที่ถูกกดขี่ นักวิจัยจำนวนหนึ่งเกิดภาวการณ์ “อิน” กับเรื่องราวและผู้คนเหล่านั้นในที่สุดก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการณ์ที่ไปศึกษาวิจัย ภาวการณ์ “อิน” ที่มีระดับต่ำกว่าดังกล่าวข้างต้นก็มีปรากฏให้เห็นเช่น เมื่อนักวิจัยได้ทำวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วเกิดความลุ่มหลงจนไม่เห็น ความสำคัญของสิ่งอื่น หรือศาสตร์อื่นใดอีกเลย เล็งเห็นแต่ความสำคัญของงานวิจัยที่ตนเองศึกษาเท่านั้นว่าสามารถจะตอบคำถาม ได้ทุกคำถาม และงานวิจัยของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดประเสริฐสุดแล้วกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ปิดกั้นตนเองจากสิ่งอื่นๆ ไม่ยอมรับผู้อื่นหรือศาสตร์อื่น ๆ นอกจากของตนเองเท่านั้น จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นดังกล่าวอาจมี ประเด็นโต้แย้ง ในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และการยอมรับในสติปัญญา ความสามารถ หรือเคารพต่อการตัดสินใจของบุคคลที่จะเลือกใช้ชีวิต มีความชอบ ความรัก ความพอใจ หรือเกลียดชังตามที่ใจตนเองปรารถนา และอาจนำเรื่องบุญกุศล กรรมเวร ต่างๆ มาตอบปัญหาการเปลี่ยนไปของนักวิจัยที่เกิดภาวการณ์ “อิน” และอาจเล็งเห็นว่าเป็นความดีงามเพราะจะได้เกิดผู้สนใจและเชี่ยวชาญอย่างจริงจัง ลึกซึ้ง เช่น นักวิจัยเรื่องลิงป่าก็จะทุ่มเทชีวิตอยู่กับลิงในป่าตลอดเวลาจนกลายเป็นผู้ เชี่ยวชาญเรื่องลิงป่า จึงทำให้ไม่เห็นความจำเป็นต้องปกป้องการเกิดภาวการณ์ “อิน” และการเยียวยานักวิจัยที่เกิดภาวการณ์“อิน”ไปแล้วให้เกิดการถอนตัวและกลับสู่ฐานะเดิม แต่สำหรับนักวิจัยมือใหม่ ซึ่งส่วนมากเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ถึงแม้จะมีวัยที่เป็นผู้ใหญ่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้วก็ตาม แต่พวกเขากำลังเริ่มหัดทำวิจัย ต่างจากนักวิจัยมืออาชีพที่ตัดสินใจเลือกทางเดิน และการใช้ชีวิตของตนแล้วอย่างมีสติสมบูรณ์ แต่นักวิจัยมือใหม่นั้นการมีอาจารย์ปรึกษานอกจากจะช่วยการดำเนินการวิจัย เป็นไปตามกระบวนการที่ถูกต้องแล้ว การสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดภาวการณ์ “อิน” กับงานวิจัยมากเกินไป หรือ ถ้าเกิดภาวการณ์ “อิน” ไปแล้วควรจะต้องมีกระบวนการทำให้ถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วมหรือ“อิน”นั้นให้ได้เป็นภารกิจสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาควรให้ความสำคัญด้วย นักวิจัยบางคนไม่เกิดภาวการณ์ “อิน” ขณะที่บางคนอาจเกิดขึ้นและค่อยๆ หายไปเองเมื่อสิ้นสุดการวิจัย แต่นักวิจัยบางคนเกิดอาการมากและไม่มีทีท่าจะกลับสู่ฐานะเดิมได้ง่ายนัก ซึ่งมักจะถูกมองจากสังคมว่า “เพี้ยน” เพราะพฤติกรรมไม่อยู่ในปทัสถานของสังคมเมื่อได้เข้าสู่การทำวิจัย และประเด็นหลังสุดนี้เป็นประเด็นที่นักวิจัยควรจะต้องได้รับการช่วยเหลือให้ กลับสู่ฐานะเดิม หรือ คืนสติ ให้กลับสู่ปทัสถานทางสังคมอย่างที่เคยเป็นถึงไม่อาจเป็นไปได้ทั้งหมดแต่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ อาจารย์ ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยมากแล้วจึงสามารถ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการวิจัยและนักวิจัยตามแบบแผนและวิธีการของตน เมื่อนักวิจัยมือใหม่มีภาวการณ์ “อิน” จนมีพฤติกรรมเลยปทัสถานของสังคม อย่างไรก็ตาม อาจารย์ที่ปรึกษาและเมธีวิจัยสามารถดำเนินการแก้ไขให้เขาเหล่านั้นสามารถถอนตัวจากภาวการณ์มีความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” ได้ด้วยกลวิธีดังนี้ 1. ให้นักวิจัยหยุดพักและแยกนักวิจัยออกจากสภาพแห่งปัญหาวิจัยทันทีด้วย วิธีการที่แยบยล โดยอาจมอบหมายงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนและเรื่องราวที่มีอิทธิพลต่อความ รู้สึกของนักวิจัย 2. นำนักวิจัยไปสู่สถานการณ์ใหม่ เงื่อนไขใหม่ คนกลุ่มใหม่หรือกลุ่มอื่นๆ ที่แตกต่างจากเดิม 3. นำกระบวนการปรับเปลี่ยนเจตคติด้วยการเสริมข้อมูล และการใช้เหตุผลทางความคิด ตรรกะทางความคิดให้กับนักวิจัย เช่น กระบวนการ Inner Retreat และกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ 4. ใช้คำสอนทางศาสนาและการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาเข้ามาเสริมการปฏิบัติในปกติ วิสัยมากขึ้น เช่น การเจริญกรรมฐาน การวิปัสสนา หรือ Meditation เป็นต้น 5. นำตัวส่งผู้เชี่ยวชาญทางการแก้ไขพฤติกรรมอาจต้องมีการบำบัดรักษาด้วยยาหรือกระบวนการบำบัดรักษาอื่นๆ สำหรับ รายละเอียดในแต่ละข้อมีเทคนิควิธีการที่ต้องปรับเหมาะกับสภาพความหนักเบาของ นักวิจัยแต่ละคน ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในภูมิหลัง และวิถีชีวิตที่เป็นปกติวิสัยของแต่ละคนอีกด้วย การช่วยเหลือให้นักวิจัยสามารถถอนตัวจากความรู้สึกร่วม หรือ “อิน” เพื่อกลับสู่ฐานะเดิมอาจยังไม่ถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นสำคัญทั้งนี้เนื่อง จากปัญหานี้ยังถือว่าเป็นปัญหาเฉพาะบุคคล หรือ เอกชน ไม่ใช่ปัญหามหาชนหรือที่มีผลกับคนส่วนมาก ปัญหานี้จึงไม่ถูกนำมาตีแผ่และขยายผลให้สื่อมวลชนได้รับรู้รับทราบ หรือเพียงรับทราบว่ามีนักวิจัย “เพี้ยน” หรือนักวิชาการ “เพี้ยน” อันเกิดจากการ “อิน” กับงานวิจัยมากเกินไปอยู่จำนวนหนึ่ง แต่อาจไม่ให้ความสำคัญมากนัก และอาจใช้วิธีการตอบโต้ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น การสร้างมวลชนต่อต้าน
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)