กสทช.แนะเอกชนวิทยุ ทีวี เปิดโอกาสให้คนพิการได้รับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น
โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค 19 มี.ค.-น.ส.อภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวระหว่างงานเสวนาและรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม "ศักยภาพและความพร้อมของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ รองรับประชาคมอาเซียน 2015" ว่า ปัจจุบันได้กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในกิจการวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เกินร้อยละ 25 แต่เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนดังกล่าว ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าเพื่อการขยายการลงทุน การพัฒนารายการ ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อีกทั้งขณะนี้ กสทช.ได้หารือเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มรับสัญญาณ เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการ หูหนวก ตาบอด ได้รับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการสามารถขึ้นคำบรรยายแทนเสียง(caption)ให้ทุกกลุ่มได้รับชมรับฟัง เนื่องจากในยุโรปถือว่าเป็นการให้บริการขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้อาจใช้โอกาสการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร การทำความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่นตามแนวชายแดน สำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่มักจะมีปัญหาขัดแย้ง เพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ระบบในการควบคุมดูแลผู้บริโภคที่รับข้อมูลสื่อประเภทต่าง ๆ จะต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้ผลิตรายการได้คุณภาพ ไม่คิดแบบง่าย ๆ เหมือนที่ผ่านมา เพราะประชาชนจะหันไปเลือกรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีรอบด้านแทน
นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ สำนักงานการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มจะเปิดให้บริการข้ามแดนมากขึ้น เช่น หลายประเทศต้องการขออนุญาต สอนภาษาอังกฤษข้ามแดน เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา จึงพยายามผลักดันขออนุญาตดังกล่าว ขณะที่ธุรกิจ วิทยุ ทีวี ของไทยเพิ่มเปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ในปี 2015 ตามข้อตกลงร่วมกัน แต่การเปิดเสรีดังกล่าวยังมีข้อจำกัดไว้บ้าง เช่น การเดินทางเข้ามาติดต่อทางธุรกิจอยู่ได้ 90 วัน หรือขยายออกไปได้ 1 ปี รวมถึงการถือครองที่ดิน เพราะธุรกิจสื่อยังไม่เปิดเสรีได้อย่างเต็มที่ แต่การรับข้อมูลข่าวสารจะมีทางเลือกมากขึ้น ดังนั้นการถือครองหุ้นคงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยสำหรับกฎหมาย ของ กสทช.
นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่ายังไม่เปิดเสรีทางผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ จะต้องปรับตัวผลิตสื่อทั้งละคร เพลง รายการ
วาไรตี้ ให้มีคุณภาพ เพราะหากรายการไม่มีคุณภาพในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปรับสื่อประเภทอื่นได้ง่ายมาก นอกจากนี้ อาร์เอสยังได้ส่ง ละคร เพลงไปยังตลาดจีน นับว่าได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะได้รับลิขสิทธิ์ไปออกอากาศเคเบิ้ลทีวี ดังนั้นตลาดอาเซียนผู้ประกอบการคงบุกตลาดกันมากขึ้น
นอกจากนี้อาร์เอสได้เตรียมตัว เพื่อประมูลทีวีดิจิตอล ทั้งช่องรายการวาไรตี้ระบบ HD และช่องรายการข่าว ระบบ SD โดยในส่วนของเงินทุนไม่ปัญหา สำหรับ รายการ ละคร ได้ผลิตมาตลอด แต่หากมีทีวีดิจิตอลเพื่อออกอากาศ ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดของอาร์เอสไปอีกขั้น และเมื่อประมูลทีวีดิจิตอลแล้ว จะทำให้ตลาดทีวีเสรีมากขึ้น ตลาดโฆษณาจะขยายตัวมากขึ้นร้อยละ 20-30 เพราะค่าโฆษณาถูกลง ผู้ประกอบการสินค้ารายใหม่เข้ามาสู่ตลาดโฆษณาในทีวี ทำให้ขยายฐานได้มากขึ้น และเมื่อเปิดเออีซี ยังทำให้ตลาดโฆษณาเติบโตมากขึ้นไปด้วย โดยสถานีโทรทัศน์ ไม่จำเป็นต้องออกไปบุกตลาดต่างประเทศ เพียงแต่ทำรายการให้มีคุณภาพ ก็สามารถบุกตลาดอาเซียนได้
ขอบคุณ… http://www.mcot.net/site/content?id=51481821150ba01a7e0001d0#.UUkIlRf-HIY
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
น.ส.อภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค 19 มี.ค.-น.ส.อภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวระหว่างงานเสวนาและรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม "ศักยภาพและความพร้อมของกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ รองรับประชาคมอาเซียน 2015" ว่า ปัจจุบันได้กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในกิจการวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เกินร้อยละ 25 แต่เมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจต้องปรับเปลี่ยนสัดส่วนดังกล่าว ในช่วง 5-10 ปีข้างหน้าเพื่อการขยายการลงทุน การพัฒนารายการ ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ อีกทั้งขณะนี้ กสทช.ได้หารือเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของกลุ่มรับสัญญาณ เพื่อเปิดโอกาสให้คนพิการ หูหนวก ตาบอด ได้รับข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้น เพราะผู้ประกอบการสามารถขึ้นคำบรรยายแทนเสียง(caption)ให้ทุกกลุ่มได้รับชมรับฟัง เนื่องจากในยุโรปถือว่าเป็นการให้บริการขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้อาจใช้โอกาสการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร การทำความเข้าใจกับประชาชนในท้องถิ่นตามแนวชายแดน สำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่มักจะมีปัญหาขัดแย้ง เพื่อให้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่ระบบในการควบคุมดูแลผู้บริโภคที่รับข้อมูลสื่อประเภทต่าง ๆ จะต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้ผลิตรายการได้คุณภาพ ไม่คิดแบบง่าย ๆ เหมือนที่ผ่านมา เพราะประชาชนจะหันไปเลือกรับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีรอบด้านแทน นายอุกฤษฎ์ มูสิกพันธุ์ สำนักงานการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เริ่มจะเปิดให้บริการข้ามแดนมากขึ้น เช่น หลายประเทศต้องการขออนุญาต สอนภาษาอังกฤษข้ามแดน เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ภาษา จึงพยายามผลักดันขออนุญาตดังกล่าว ขณะที่ธุรกิจ วิทยุ ทีวี ของไทยเพิ่มเปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ร้อยละ 70 ในปี 2015 ตามข้อตกลงร่วมกัน แต่การเปิดเสรีดังกล่าวยังมีข้อจำกัดไว้บ้าง เช่น การเดินทางเข้ามาติดต่อทางธุรกิจอยู่ได้ 90 วัน หรือขยายออกไปได้ 1 ปี รวมถึงการถือครองที่ดิน เพราะธุรกิจสื่อยังไม่เปิดเสรีได้อย่างเต็มที่ แต่การรับข้อมูลข่าวสารจะมีทางเลือกมากขึ้น ดังนั้นการถือครองหุ้นคงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยสำหรับกฎหมาย ของ กสทช. นางพรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่ายังไม่เปิดเสรีทางผู้ประกอบการธุรกิจสื่อ จะต้องปรับตัวผลิตสื่อทั้งละคร เพลง รายการ วาไรตี้ ให้มีคุณภาพ เพราะหากรายการไม่มีคุณภาพในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปรับสื่อประเภทอื่นได้ง่ายมาก นอกจากนี้ อาร์เอสยังได้ส่ง ละคร เพลงไปยังตลาดจีน นับว่าได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะได้รับลิขสิทธิ์ไปออกอากาศเคเบิ้ลทีวี ดังนั้นตลาดอาเซียนผู้ประกอบการคงบุกตลาดกันมากขึ้น นอกจากนี้อาร์เอสได้เตรียมตัว เพื่อประมูลทีวีดิจิตอล ทั้งช่องรายการวาไรตี้ระบบ HD และช่องรายการข่าว ระบบ SD โดยในส่วนของเงินทุนไม่ปัญหา สำหรับ รายการ ละคร ได้ผลิตมาตลอด แต่หากมีทีวีดิจิตอลเพื่อออกอากาศ ถือว่าเป็นการก้าวกระโดดของอาร์เอสไปอีกขั้น และเมื่อประมูลทีวีดิจิตอลแล้ว จะทำให้ตลาดทีวีเสรีมากขึ้น ตลาดโฆษณาจะขยายตัวมากขึ้นร้อยละ 20-30 เพราะค่าโฆษณาถูกลง ผู้ประกอบการสินค้ารายใหม่เข้ามาสู่ตลาดโฆษณาในทีวี ทำให้ขยายฐานได้มากขึ้น และเมื่อเปิดเออีซี ยังทำให้ตลาดโฆษณาเติบโตมากขึ้นไปด้วย โดยสถานีโทรทัศน์ ไม่จำเป็นต้องออกไปบุกตลาดต่างประเทศ เพียงแต่ทำรายการให้มีคุณภาพ ก็สามารถบุกตลาดอาเซียนได้ ขอบคุณ… http://www.mcot.net/site/content?id=51481821150ba01a7e0001d0#.UUkIlRf-HIY
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)