นศ.รางวัลพระราชทาน ประเภทคนพิการ ทิ้งความสิ้นหวังสร้างแรงบันดาลใจให้ชีวิต
สุรเดช สุริยวานิช นักศึกษารางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา การศึกษา 2555 (ประเภทคนพิการ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กว่าเขาจะมีวันนี้ได้ ต้องอาศัยความอดทน และเพียรพยายามที่จะเอาชนะความทุกข์ในใจของตนเอง เมื่อต้องเปลี่ยนจากคนปกติเป็นคนตาบอด
ความฝันอันรุ่งโรจน์ที่จะเป็นวิศวกรของเด็กหนุ่มวัย 17 ปี คนหนึ่ง พลันต้องมืดดับลง เมื่อเขาเป็นต้อหินเฉียบพลัน ก่อนไปรายงานตัวเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 3 สัปดาห์ ดวงตาของ “สุรเดช สุริยวานิช” ก็บอดสนิท เขาจมอยู่กับความทุกข์ทรมาน และสิ้นหวังนานถึง 2 ปี ก่อนที่จะได้พลังใจจากการให้สัมภาษณ์ของ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ คนตาบอดผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ได้กล่าวว่า คนตาบอดก็สามารถเรียนหนังสือได้ คนตาบอดก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนสายตาปกติทั่วไป แต่คนตาบอดคนนั้นจะต้องมีความพยายาม และได้รับการพัฒนา จากประโยคดังกล่าวทำให้เขามีแรงบันดาลใจที่จะออกไปพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้วคนตาบอดสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอดธรรมสากล หาดใหญ่ เพื่อฟื้นฟูทั้งร่างกาย และสภาพจิตใจ จนสามารถสอบเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
“ผมเคยมีความหวังอันบรรเจิดจะเป็นวิศวกร สร้างบ้านเมืองให้คนอยู่อาศัย แต่ตอนนี้ความคาดหวังของผมแปรเปลี่ยนไป เพราะผมได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้วการสร้างคนยิ่งใหญ่กว่าการสร้างวัตถุมากนัก ผมจึงอยากเรียนจบออกไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาที่เกี่ยวกับคนพิการด้วยแล้วเป็นงานที่ผมอยากทำที่สุด แต่หากผมสามารถขอพรได้ สิ่งที่ผมจะขอก็คือ ขอให้ในทุกสังคมไม่มีคนพิการอีกต่อไป”
สุรเดช เล่าว่า การเรียนในระดับอุดมศึกษา ต้องพยายามปรับตัวเข้ากับสถานที่เรียน ผู้คนในสังคมมหาวิทยาลัย และเนื้อหาวิชาเรียน ซึ่งเดิมในมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาเรียนสายวิทย์-คณิต แต่ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย ต้องมาเรียนวิชาภาษาไทย เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดเรื่องการใช้เครื่องมืออย่างการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ช่วงเดือนแรกๆ เรียนไม่รู้เรื่องเลย เพราะมีพื้นฐานน้อยมาก กลับมาถึงห้องพักในตอนเย็นร้องไห้เกือบทุกวัน และเกิดความคิดที่จะลาออกวันละหลายๆ ครั้ง แต่ด้วยความที่อยากเอาชนะตัวเองให้ได้ จึงทำให้มีแรงสู้เรื่อยมา โดยแต่ละวันจะอ่านหนังสือ และทบทวนบทเรียน ทำการบ้าน กว่าจะได้เข้านอนก็เกือบตีหนึ่งตีสอง ทั้งนี้ การอ่านเอกสารต่างๆ จะทำผ่านคอมพิวเตอร์ โดยขอความกรุณาจากอาจารย์ให้ส่งไฟล์เอกสารมาให้ แทนการให้เป็นกระดาษ เมื่อนำมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมเสียง คอมพิวเตอร์ก็จะอ่านหนังสือให้ฟังได้ ส่วนการทบทวนบทเรียนอาศัยการบันทึกเสียงจากที่เรียนในห้องแล้วนำไปเปิดฟังซ้ำอีกครั้ง เพื่อจดบันทึกสรุปประเด็นเอาไว้ใช้อ่านตอนสอบ ซึ่งการทำแบบนี้เท่ากับว่าในแต่ละวิชาจำเป็นต้องเรียนซ้ำสองรอบเสมอ แม้จะเหนื่อยกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว แต่ก็เป็นทางเลือกเดียวที่ทำให้สามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของการจดบันทึกเก็บไว้ ยังส่งผลดีต่อการเรียน และการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือกับเพื่อนร่วมห้อง โดยเขามีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 3.18
ด้านการทำกิจกรรม สุรเดช ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน 1 ใน 200 คน จากคนตาบอดทั่วประเทศที่จดทะเบียนแล้ว จำนวน 142,628 คน ไปเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอข้อมูลข้อคิดเห็นบนเวทีโลก ในการประชุมสมัชชาสหภาพคนตาบอดโลก (WBU) และสมัชชาสภาระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาของคนพิการทางการเห็น (ICEVI) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (เมื่อวันที่ 8-18 พ.ย.2555 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ) ถือเป็นการเปิดโลกของคนตาบอดไทยสู่ระดับสากล นอกจากนั้น เขายังเป็นผู้ก่อตั้งชมรมเยาวชนคนตาบอดไทย ภาคใต้ และเป็นวิทยากรให้แก่คนตาบอด แต่หากจะหาความเป็นที่สุดของความภาคภูมิใจแล้ว คงเป็นตอนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเรียงความเนื่องในวันแม่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในหัวข้อความประทับใจที่สุดที่มีต่อแม่ ซึ่งรางวัลดังกล่าวสร้างความปลื้มปีติให้แก่คุณแม่ของเขาเป็นอย่างยิ่ง แม้โลกภายนอกจะมืดมิด แต่ในหัวใจของ สุรเดช สุริยวานิช กลับสว่างไสวไปด้วยความสุขที่เขาเป็นผู้ค้นพบด้วยตัวเอง
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000034675 (ขนาดไฟล์: 166)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สุรเดช สุริยวานิช นักศึกษารางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา การศึกษา 2555 (ประเภทคนพิการ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สุรเดช สุริยวานิช นักศึกษารางวัลพระราชทานระดับอุดมศึกษา การศึกษา 2555 (ประเภทคนพิการ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กว่าเขาจะมีวันนี้ได้ ต้องอาศัยความอดทน และเพียรพยายามที่จะเอาชนะความทุกข์ในใจของตนเอง เมื่อต้องเปลี่ยนจากคนปกติเป็นคนตาบอด ความฝันอันรุ่งโรจน์ที่จะเป็นวิศวกรของเด็กหนุ่มวัย 17 ปี คนหนึ่ง พลันต้องมืดดับลง เมื่อเขาเป็นต้อหินเฉียบพลัน ก่อนไปรายงานตัวเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหลังจากนั้นเพียง 3 สัปดาห์ ดวงตาของ “สุรเดช สุริยวานิช” ก็บอดสนิท เขาจมอยู่กับความทุกข์ทรมาน และสิ้นหวังนานถึง 2 ปี ก่อนที่จะได้พลังใจจากการให้สัมภาษณ์ของ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ คนตาบอดผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต ได้กล่าวว่า คนตาบอดก็สามารถเรียนหนังสือได้ คนตาบอดก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนกับคนสายตาปกติทั่วไป แต่คนตาบอดคนนั้นจะต้องมีความพยายาม และได้รับการพัฒนา จากประโยคดังกล่าวทำให้เขามีแรงบันดาลใจที่จะออกไปพิสูจน์ว่า แท้จริงแล้วคนตาบอดสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอดธรรมสากล หาดใหญ่ เพื่อฟื้นฟูทั้งร่างกาย และสภาพจิตใจ จนสามารถสอบเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในโปรแกรมวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ “ผมเคยมีความหวังอันบรรเจิดจะเป็นวิศวกร สร้างบ้านเมืองให้คนอยู่อาศัย แต่ตอนนี้ความคาดหวังของผมแปรเปลี่ยนไป เพราะผมได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้วการสร้างคนยิ่งใหญ่กว่าการสร้างวัตถุมากนัก ผมจึงอยากเรียนจบออกไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานด้านการศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาที่เกี่ยวกับคนพิการด้วยแล้วเป็นงานที่ผมอยากทำที่สุด แต่หากผมสามารถขอพรได้ สิ่งที่ผมจะขอก็คือ ขอให้ในทุกสังคมไม่มีคนพิการอีกต่อไป” สุรเดช เล่าว่า การเรียนในระดับอุดมศึกษา ต้องพยายามปรับตัวเข้ากับสถานที่เรียน ผู้คนในสังคมมหาวิทยาลัย และเนื้อหาวิชาเรียน ซึ่งเดิมในมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาเรียนสายวิทย์-คณิต แต่ในการเรียนระดับมหาวิทยาลัย ต้องมาเรียนวิชาภาษาไทย เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดเรื่องการใช้เครื่องมืออย่างการเรียนด้านวิทยาศาสตร์ ช่วงเดือนแรกๆ เรียนไม่รู้เรื่องเลย เพราะมีพื้นฐานน้อยมาก กลับมาถึงห้องพักในตอนเย็นร้องไห้เกือบทุกวัน และเกิดความคิดที่จะลาออกวันละหลายๆ ครั้ง แต่ด้วยความที่อยากเอาชนะตัวเองให้ได้ จึงทำให้มีแรงสู้เรื่อยมา โดยแต่ละวันจะอ่านหนังสือ และทบทวนบทเรียน ทำการบ้าน กว่าจะได้เข้านอนก็เกือบตีหนึ่งตีสอง ทั้งนี้ การอ่านเอกสารต่างๆ จะทำผ่านคอมพิวเตอร์ โดยขอความกรุณาจากอาจารย์ให้ส่งไฟล์เอกสารมาให้ แทนการให้เป็นกระดาษ เมื่อนำมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมเสียง คอมพิวเตอร์ก็จะอ่านหนังสือให้ฟังได้ ส่วนการทบทวนบทเรียนอาศัยการบันทึกเสียงจากที่เรียนในห้องแล้วนำไปเปิดฟังซ้ำอีกครั้ง เพื่อจดบันทึกสรุปประเด็นเอาไว้ใช้อ่านตอนสอบ ซึ่งการทำแบบนี้เท่ากับว่าในแต่ละวิชาจำเป็นต้องเรียนซ้ำสองรอบเสมอ แม้จะเหนื่อยกว่าคนอื่นเป็นเท่าตัว แต่ก็เป็นทางเลือกเดียวที่ทำให้สามารถจดจำและเข้าใจสิ่งที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น ประโยชน์ของการจดบันทึกเก็บไว้ ยังส่งผลดีต่อการเรียน และการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือกับเพื่อนร่วมห้อง โดยเขามีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 3.18 ด้านการทำกิจกรรม สุรเดช ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน 1 ใน 200 คน จากคนตาบอดทั่วประเทศที่จดทะเบียนแล้ว จำนวน 142,628 คน ไปเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอข้อมูลข้อคิดเห็นบนเวทีโลก ในการประชุมสมัชชาสหภาพคนตาบอดโลก (WBU) และสมัชชาสภาระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาของคนพิการทางการเห็น (ICEVI) ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (เมื่อวันที่ 8-18 พ.ย.2555 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพฯ) ถือเป็นการเปิดโลกของคนตาบอดไทยสู่ระดับสากล นอกจากนั้น เขายังเป็นผู้ก่อตั้งชมรมเยาวชนคนตาบอดไทย ภาคใต้ และเป็นวิทยากรให้แก่คนตาบอด แต่หากจะหาความเป็นที่สุดของความภาคภูมิใจแล้ว คงเป็นตอนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเรียงความเนื่องในวันแม่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในหัวข้อความประทับใจที่สุดที่มีต่อแม่ ซึ่งรางวัลดังกล่าวสร้างความปลื้มปีติให้แก่คุณแม่ของเขาเป็นอย่างยิ่ง แม้โลกภายนอกจะมืดมิด แต่ในหัวใจของ สุรเดช สุริยวานิช กลับสว่างไสวไปด้วยความสุขที่เขาเป็นผู้ค้นพบด้วยตัวเอง ขอบคุณ... http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9560000034675
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)