คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป.. เตรียมแผนงาน ๒๕๕๖

แสดงความคิดเห็น

โลโก้สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และโลโก้ คนพิการนั่งรถเข็น

คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ได้จัดการประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๓๐น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคาร ๖๐ ปี กรมประชาสงเคราะห์ บ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร เพื่อทบทวนการดำเนินงานในปี ๒๕๕๕ และแผนการดำเนินงานในปี ๒๕๕๖ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

๑. ฐานข้อมูลของเครือข่ายกลุ่มด้านคนพิการ - คณะอนุกรรมการบริหารการจัดสมัชชาปฏิรูป ได้เห็นชอบการจัดกลุ่มเครือข่ายสมาชิกสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายทั้ง ๓ ภาคส่วน รวม ๒๓๙ กลุ่มเครือข่าย มีจำนวนองค์กรทั้งสิ้น ๑,๘๔๘ องค์กร สำหรับกลุ่มเครือข่ายคนพิการ ประกอบด้วย องค์กรของคนพิการ จำนวน ๑๔ องค์กร องค์กรเพื่อคนพิการ จำนวน ๓๓ องค์กร และองค์กรที่เกี่ยวกับกลไกของคนพิการในระดับภูมิภาค จำนวน ๒๔ แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น ๗๑ แห่ง

๒. การจัดสัมมนา “เครือข่ายจิตอาสาฯ” - คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการฯ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำเนินการจัดอบรมการจัดทำ “ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครด้านคนพิการและจิตอาสา เพื่อการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” การสร้างและขยายเครือข่ายจิตอาสา พร้อมทั้งกำหนดกิจกรรม และเป้าหมาย ให้จิตอาสาดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร

๓. การจัดสัมมนา “ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” – คณะกรรมการเครือ ข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ร่วมกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ดำเนินงาน “ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ ณ อาคารรัฐสภา ๒

๔. การจัดตั้ง “มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย” – คณะ กรรมการเครือข่ายคนพิการฯ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการจัดตั้ง “มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย” เพื่อขับเคลื่อน และประสานให้เกิดงานวิจัยด้านคนพิการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และครอบคลุมทุกมิติเกี่ยวกับคนพิการ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาให้คนพิการเป็นนักวิจัย เป็นต้น

๕. การดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ครั้งที่ ๑ สำหรับ มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ได้แก่ ๕.๑ จัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และกลไก “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ๕.๒ กำหนดหลักการ ๔ ประการ ที่จะ “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” คือ ๑) การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๒) การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ๓) การสร้างความมั่นคงทางด้านการคลังเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง และ ๔) การสร้างพลังจิตอาสา โดยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของภาคประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ๕.๓ ขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการปฎิรูปประเทศไทย (คสป.)เสนอต่อรัฐบาล รัฐสภา และพรรคการเมืองต่างๆ เร่งรัดการปรับปรุง หรือออกกฎหมายใหม่ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางให้แล้วเสร็จภายในเวลา ๓ ปี พัฒนากลไกป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบัติที่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมมาตรการเชิงบวกเพื่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ ๕.๔ ขอให้รัฐบาล หน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการตาม พันธกิจของตนเพื่อนำไปสู่การเร่งดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง ๕.๕ ขอให้ คสป.เสนอต่อ ครม.เพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการคลังเพื่อสังคม ด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้ ๑) ปรับสัดส่วนสลากกินแบ่งรัฐบาล และจัดสรรรายได้เข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ตามความเห็นของ คสป. โดยจัดสรรให้ก่อนหลังตามความพร้อมในด้านการบริหารจัดการกองทุน ๒) การใช้เงินรายได้ดังกล่าวของทุกกองทุนที่ได้รับจัดสรร ให้มุ่งส่งเสริมนวัตกรรมด้านการพัฒนาสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเสริมพลังอำนาจกลุ่มประชากรเฉพาะที่มีความเปราะบางส่งเสริมและสนับ สนุนความเข้มแข็งขององค์กรด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม มาตรการเชิงบวกเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ สนับสนุนนวัตกรรมการจัดการสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งสนับสนุนการลดหรือจำกัดการเล่นการพนันและอบายมุข ทุกประเภทและทุกรูปแบบ ๕.๖ ให้ คสป. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคมทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะรูปแบบการบริหารกองทุนที่เหมาะสม

๖. การจัดสมัชชาคนพิการ ประจำปี ๒๕๕๖ - คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และคณะ อนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา ดำเนินการจัดสมัชชาคนพิการ ประจำปี ๒๕๕๖ เรื่อง “การขจัดอุปสรรคด้วยการสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขและสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน” รวมจำนวน ๙ โซนภาค ซึ่งผู้ร่วมสัมมนาได้นำเสนอปัญหาของคนพิการด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ตามสิทธิด้านการแพทย์ การจดทะเบียนคนพิการ การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และการศึกษา เป็นต้น

ที่มา: มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 2/04/2556 เวลา 03:34:08 ดูภาพสไลด์โชว์ คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป.. เตรียมแผนงาน ๒๕๕๖

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้สมัชชาปฏิรูปประเทศไทยระดับชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๔ และโลโก้ คนพิการนั่งรถเข็น คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ได้จัดการประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๓๐น. ณ ห้องประชุม ชั้น ๓ อาคาร ๖๐ ปี กรมประชาสงเคราะห์ บ้านราชวิถี กรุงเทพมหานคร เพื่อทบทวนการดำเนินงานในปี ๒๕๕๕ และแผนการดำเนินงานในปี ๒๕๕๖ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้ ๑. ฐานข้อมูลของเครือข่ายกลุ่มด้านคนพิการ - คณะอนุกรรมการบริหารการจัดสมัชชาปฏิรูป ได้เห็นชอบการจัดกลุ่มเครือข่ายสมาชิกสมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครือข่ายทั้ง ๓ ภาคส่วน รวม ๒๓๙ กลุ่มเครือข่าย มีจำนวนองค์กรทั้งสิ้น ๑,๘๔๘ องค์กร สำหรับกลุ่มเครือข่ายคนพิการ ประกอบด้วย องค์กรของคนพิการ จำนวน ๑๔ องค์กร องค์กรเพื่อคนพิการ จำนวน ๓๓ องค์กร และองค์กรที่เกี่ยวกับกลไกของคนพิการในระดับภูมิภาค จำนวน ๒๔ แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น ๗๑ แห่ง ๒. การจัดสัมมนา “เครือข่ายจิตอาสาฯ” - คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการฯ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำเนินการจัดอบรมการจัดทำ “ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายอาสาสมัครด้านคนพิการและจิตอาสา เพื่อการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” การสร้างและขยายเครือข่ายจิตอาสา พร้อมทั้งกำหนดกิจกรรม และเป้าหมาย ให้จิตอาสาดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ๓. การจัดสัมมนา “ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” – คณะกรรมการเครือ ข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ร่วมกับคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ดำเนินงาน “ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๖ ณ อาคารรัฐสภา ๒ ๔. การจัดตั้ง “มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย” – คณะ กรรมการเครือข่ายคนพิการฯ ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการจัดตั้ง “มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย” เพื่อขับเคลื่อน และประสานให้เกิดงานวิจัยด้านคนพิการที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และครอบคลุมทุกมิติเกี่ยวกับคนพิการ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาให้คนพิการเป็นนักวิจัย เป็นต้น ๕. การดำเนินงานตามมติสมัชชาปฏิรูป ครั้งที่ ๑ สำหรับ มติที่ ๖ การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน ได้แก่ ๕.๑ จัดทำวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย แผนงาน และกลไก “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ๕.๒ กำหนดหลักการ ๔ ประการ ที่จะ “สร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” คือ ๑) การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๒) การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ๓) การสร้างความมั่นคงทางด้านการคลังเพื่อการพัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่อง และ ๔) การสร้างพลังจิตอาสา โดยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของภาคประชาชนและภาคส่วนต่างๆ ๕.๓ ขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการปฎิรูปประเทศไทย (คสป.)เสนอต่อรัฐบาล รัฐสภา และพรรคการเมืองต่างๆ เร่งรัดการปรับปรุง หรือออกกฎหมายใหม่ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเปราะบางให้แล้วเสร็จภายในเวลา ๓ ปี พัฒนากลไกป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบัติที่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมมาตรการเชิงบวกเพื่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ ๕.๔ ขอให้รัฐบาล หน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการตาม พันธกิจของตนเพื่อนำไปสู่การเร่งดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง ๕.๕ ขอให้ คสป.เสนอต่อ ครม.เพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการคลังเพื่อสังคม ด้วยมาตรการสำคัญ ดังนี้ ๑) ปรับสัดส่วนสลากกินแบ่งรัฐบาล และจัดสรรรายได้เข้ากองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ ตามความเห็นของ คสป. โดยจัดสรรให้ก่อนหลังตามความพร้อมในด้านการบริหารจัดการกองทุน ๒) การใช้เงินรายได้ดังกล่าวของทุกกองทุนที่ได้รับจัดสรร ให้มุ่งส่งเสริมนวัตกรรมด้านการพัฒนาสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเสริมพลังอำนาจกลุ่มประชากรเฉพาะที่มีความเปราะบางส่งเสริมและสนับ สนุนความเข้มแข็งขององค์กรด้านเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม มาตรการเชิงบวกเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ สนับสนุนนวัตกรรมการจัดการสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งสนับสนุนการลดหรือจำกัดการเล่นการพนันและอบายมุข ทุกประเภทและทุกรูปแบบ ๕.๖ ให้ คสป. ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคมทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาและให้ข้อเสนอแนะรูปแบบการบริหารกองทุนที่เหมาะสม ๖. การจัดสมัชชาคนพิการ ประจำปี ๒๕๕๖ - คณะกรรมการเครือข่ายคนพิการเพื่อการปฏิรูป ร่วมกับสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ และคณะ อนุกรรมาธิการด้านคนพิการ วุฒิสภา ดำเนินการจัดสมัชชาคนพิการ ประจำปี ๒๕๕๖ เรื่อง “การขจัดอุปสรรคด้วยการสร้างสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขและสามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน” รวมจำนวน ๙ โซนภาค ซึ่งผู้ร่วมสัมมนาได้นำเสนอปัญหาของคนพิการด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ตามสิทธิด้านการแพทย์ การจดทะเบียนคนพิการ การรับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ และการศึกษา เป็นต้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...