ผู้พิการในการได้ยินแจ้งป่วยฉุกเฉินได้แล้วผ่านแอพฯ

แสดงความคิดเห็น

สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร

สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร

สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร เปิด 19 จังหวัดนำร่องพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลคนพิการในปัจจุบันของประเทศไทย มีสูงถึง 1,606,919 คน แบ่งเป็น เพศชาย 861,852 คน และเพศหญิง 745,067 ทำให้ สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางพัฒนาระบบในการช่วยเหลือผู้พิการ หากต้องประสบกับภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้บกพร่องทางการได้ยิน จัดเป็น กลุ่มผู้บกพร่องที่เข้าถึงการช่วยเหลือฉุกเฉินต่างๆ ได้ยากที่สุด สพฉ. จึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ศูนย์ TTRS และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแอพพลิเคชั่น TTRS Video ขึ้น เพื่อรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน

ผู้บกพร่องทางการได้ยิน เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะสามารถใช้แอพลิเคชั่น หรือสื่อสารผ่านตู้ TTRS ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 120 ตู้ ทั่วประเทศ ทั้งในสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งมวลชน เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน จากนั้นผู้ป่วยฉุกเฉินจะสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอคอลได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีการประสานงานต่อมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ของแต่ละจังหวัด เพื่อซักประวัติอาการ และระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งจัดส่งทีมผู้ปฎิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินไปให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการสื่อสารกับผู้ป่วยสามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ บทสนทนาข้อความ วิดิโอคลิป และ วิดีโอคอลสดๆ ซึ่งจะมีการวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์ 3 สายระหว่างผู้ป่วย ล่าม และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการด้วย

นอกจากนี้เพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว ทันท่วงที สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังได้จัดอบรมการติดตั้งและใช้งานระบบโทรศัพท์วีดีโอผ่านบริการการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนหูหนวก ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทางการแพทย์ เพื่อรองรับการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมี 19 จังหวัดที่รองรับการให้บริการดังกล่าว คือ จังหวัดพิษณุโลก อุบลราชธานี สมุทรปราการ นนทบุรี สุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร เชียงราย ภูเก็ต ชลบุรีสมุทรสาคร ระยอง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เชียงใหม่ สงขลา นครพนม กรุงเทพมหานคร และในอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง

รอ.นพ.อัจฉริยะ ยังกล่าวย้ำว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถติดต่อผ่านล่ามภาษามือได้ทาง เว็บไซต์ http://www.ttrs.in.th หรือสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น TTRS Video ได้ทั้งระบบ ios และแอนดรอย ซึ่งหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/281785 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มิ.ย.60
วันที่โพสต์: 12/06/2560 เวลา 10:00:54 ดูภาพสไลด์โชว์ ผู้พิการในการได้ยินแจ้งป่วยฉุกเฉินได้แล้วผ่านแอพฯ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร สพฉ.พัฒนาระบบแจ้งเหตุป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ผ่านแอพพลิเคชั่น TTRS Video ลดข้อจำกัดการสื่อสาร เปิด 19 จังหวัดนำร่องพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลคนพิการในปัจจุบันของประเทศไทย มีสูงถึง 1,606,919 คน แบ่งเป็น เพศชาย 861,852 คน และเพศหญิง 745,067 ทำให้ สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาทางพัฒนาระบบในการช่วยเหลือผู้พิการ หากต้องประสบกับภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้บกพร่องทางการได้ยิน จัดเป็น กลุ่มผู้บกพร่องที่เข้าถึงการช่วยเหลือฉุกเฉินต่างๆ ได้ยากที่สุด สพฉ. จึงได้ร่วมมือกับ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ศูนย์ TTRS และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแอพพลิเคชั่น TTRS Video ขึ้น เพื่อรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผู้บกพร่องทางการได้ยิน เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะสามารถใช้แอพลิเคชั่น หรือสื่อสารผ่านตู้ TTRS ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 120 ตู้ ทั่วประเทศ ทั้งในสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งมวลชน เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน จากนั้นผู้ป่วยฉุกเฉินจะสามารถใช้ภาษามือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอคอลได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีการประสานงานต่อมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ของแต่ละจังหวัด เพื่อซักประวัติอาการ และระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งจัดส่งทีมผู้ปฎิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินไปให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการสื่อสารกับผู้ป่วยสามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ บทสนทนาข้อความ วิดิโอคลิป และ วิดีโอคอลสดๆ ซึ่งจะมีการวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์ 3 สายระหว่างผู้ป่วย ล่าม และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการด้วย นอกจากนี้เพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว ทันท่วงที สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังได้จัดอบรมการติดตั้งและใช้งานระบบโทรศัพท์วีดีโอผ่านบริการการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนหูหนวก ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทางการแพทย์ เพื่อรองรับการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมี 19 จังหวัดที่รองรับการให้บริการดังกล่าว คือ จังหวัดพิษณุโลก อุบลราชธานี สมุทรปราการ นนทบุรี สุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร เชียงราย ภูเก็ต ชลบุรีสมุทรสาคร ระยอง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เชียงใหม่ สงขลา นครพนม กรุงเทพมหานคร และในอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง รอ.นพ.อัจฉริยะ ยังกล่าวย้ำว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถติดต่อผ่านล่ามภาษามือได้ทาง เว็บไซต์ http://www.ttrs.in.th หรือสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น TTRS Video ได้ทั้งระบบ ios และแอนดรอย ซึ่งหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/281785

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...