พาไปรู้จัก "มีดี" เจ้าหุ่นยนต์เมดอินไทยแลนด์ ผู้ช่วยพัฒนาการสื่อสารให้เด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

หุ่นยนต์มีดี หุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ

โดย กรกนก มาอินทร์ : นวัตกรรมในปัจจุบันก้าวไกลไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดสิ้นสุด หากพูดถึงสิ่งที่โดดเด่นและพบบ่อยตามสื่อต่างๆ คงหนีไม่พ้นอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้คน หรือเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ทำความรู้จักกับ "หุ่นยนต์มีดี" หุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้กับการจัดการเรียนการสอนในเด็กปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเด็กที่ต้องการเสริมทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยเอกลักษณ์ของหุ่นยนต์ที่คล้ายกับมนุษย์ มาพร้อมกับกล่องบังคับหุ่นยนต์และฝึกพูด โดยผู้ใช้สามารถเรียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ และอัดเสียงคำสั่งต่างๆ ที่ต้องการให้หุ่นยนต์สื่อสารออกมา อาทิ อาจารย์อัดเสียงสอนวิชาภาษาไทยลงไป แล้วนำไปเปิดให้เด็กๆฟัง ช่วยในการเสริมทักษะการเรียนรู้

รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ริเริ่มการทำโครงการหุ่นยนต์มีดี

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ พูดคุยกับ รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ริเริ่มการทำโครงการหุ่นยนต์มีดี เผยถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างหุ่นยนต์มีดีว่า หุ่นยนต์มีดีถูกพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก ซึ่งพัฒนามากว่า 6 ปี โดยโครงการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาหุ่นยนต์ของไทยในการนำไปเสริมการกระตุ้นพัฒนาการหรือจัดกิจกรรมบำบัดที่โรงเรียนโรงพยาบาลหรือตามบ้านเรือนโดยหุ่นรุ่นที่ผ่านมาจะเน้นการฝึกเลียนแบบท่าทางและการฝึกพูด ส่วนหุ่นยนต์มีดีนั้นเน้นให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมการสอนได้ด้วยตนเอง เพราะหุ่นยนต์สามารถโปรแกรมได้ง่ายๆทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กแต่ละราย และหุ่นยนต์มีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายทำให้การนำไปใช้งานได้ทั่วถึงกว่าหุ่นยนต์รุ่นที่ผ่านๆมา

"อุปสรรคในการพัฒนาหุ่นยนต์นั้นมีอยู่บ้างเนื่องจากเป็นการทำหุ่นยนต์ให้ใช้งานได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีมาก่อนทำให้การออกแบบและพัฒนาวิธีการใช้งานให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายที่สุด เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะถ้าทำออกมาไม่ดี คนใช้ก็อาจจะไม่อยากใช้อีก ทำให้ต้องศึกษาและพัฒนาวิธีการไปด้วย" กว่าจะเป็นหุ่นยนต์ออกมาแต่ละรุ่นเรียกได้ว่าทุ่มไปทั้งแรงกายแรงใจความคิดกันเลยทีเดียวซึ่งเจ้าหุ่นยนต์มีดีนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัย 3 แห่งด้วยกัน คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดยสนับสนุนทุนวิจัยตั้งแต่การศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ ทดสอบการใช้งานทั้งในโรงเรียนและโรงพยาบาล

รศ.ดร. ปัณรสี ยังเล่าถึงการนำหุ่นยนต์ไปใช้กับเด็กๆ ว่า เมื่อเอาหุ่นยนต์ไปใช้ในโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา จ.สมุทรปราการ ศูนย์พัฒนาการเด็กพิเศษพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี บ้านเรียนชวนชื่น จ.ปทุมธานี เป็นเวลา 3 เดือน และโรงพยาบาลดอนตูม เป็นเวลา 2 เดือน โดยใช้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-60 นาที พบว่า เด็กๆสามารถปรับตัวกับการใช้หุ่นยนต์ในการเรียนการสอนได้ดี ครูและนักกิจกรรมบำบัดให้ความเห็นว่าหุ่นยนต์สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ และมีการติดตามการประเมินผลด้วยทีมนักกิจกรรมบำบัดโดยการเปรียบเทียบพัฒนาการก่อนและหลังการใช้หุ่นยนต์ในการจัดการเรียนการสอน

"เด็กที่เข้าร่วมโครงการกว่า 60% มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านที่แตกต่างกันไป บางรายให้ความร่วมมือดีขึ้น บางรายให้ความสนใจในกิจกรรมการสอนนานขึ้น บางรายมีความเข้าใจในคำศัพท์มากขึ้น ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เด็กบางรายมีพัฒนาการคงที่ บางรายก็มีความสนใจในการฝึกในระยะแรกๆ เมื่อคุ้นชินก็เริ่มสนใจทำกิจกรรมอย่างอื่นมากกว่า ทำให้ครูต้องพยายามปรับรูปแบบการสอนให้หลากหลายไปด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการนำหุ่นยนต์ไปใช้เสริมการสอนในโรงเรียนและโรงพยาบาลร่วมกับการจัดการเรียนการสอนด้านอื่นๆ"

สำหรับอนาคตการต่อยอดหุ่นยนต์ทางทีมวิจัยได้รับทุนต่อยอดจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ในการพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และสามารถทำงานได้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นปีนี้โดยมีลักษณะคล้ายมนุษย์เช่นเดิมแต่จะทำงานได้หลากหลายขึ้นและสวยงามกว่าเดิม

ส่วนราคาในปัจจุบันยังไม่ได้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนธุรกิจและหานักลงทุนมีแผนการต่อยอดหุ่นยนต์ไปใช้กับเด็กในกลุ่มอื่นๆทั้งเด็กปกติหรือเด็กที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ รวมถึงมีแผนจะขยายกลุ่มผู้ใช้งานไปยังกลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุต่อไป ซึ่งผลตอบรับหุ่นยนต์มีดีรุ่นนี้ค่อนข้างดี เวลาไปจัดแสดงงานตามนิทรรศการต่างๆ มักได้รับความสนใจมากทั้งจากเด็กๆ ทั่วไปหรือผู้ปกครองน้องๆ ที่มีความต้องการพิเศษ นับว่าประสบความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งสำหรับหุ่นยนต์ในประเทศไทย หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เชื่อว่าอนาคตประเทศไทยคงมีหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัย และตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1495180296

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 พ.ค.60
วันที่โพสต์: 26/05/2560 เวลา 10:24:01 ดูภาพสไลด์โชว์ พาไปรู้จัก "มีดี" เจ้าหุ่นยนต์เมดอินไทยแลนด์ ผู้ช่วยพัฒนาการสื่อสารให้เด็กออทิสติก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หุ่นยนต์มีดี หุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ โดย กรกนก มาอินทร์ : นวัตกรรมในปัจจุบันก้าวไกลไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดสิ้นสุด หากพูดถึงสิ่งที่โดดเด่นและพบบ่อยตามสื่อต่างๆ คงหนีไม่พ้นอุปกรณ์ที่ช่วยเหลือผู้คน หรือเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆ ทำความรู้จักกับ "หุ่นยนต์มีดี" หุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้กับการจัดการเรียนการสอนในเด็กปกติ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ และเด็กที่ต้องการเสริมทักษะด้านการสื่อสาร ด้วยเอกลักษณ์ของหุ่นยนต์ที่คล้ายกับมนุษย์ มาพร้อมกับกล่องบังคับหุ่นยนต์และฝึกพูด โดยผู้ใช้สามารถเรียนโปรแกรมเพื่อควบคุมหุ่นยนต์ และอัดเสียงคำสั่งต่างๆ ที่ต้องการให้หุ่นยนต์สื่อสารออกมา อาทิ อาจารย์อัดเสียงสอนวิชาภาษาไทยลงไป แล้วนำไปเปิดให้เด็กๆฟัง ช่วยในการเสริมทักษะการเรียนรู้ รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ริเริ่มการทำโครงการหุ่นยนต์มีดี ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ พูดคุยกับ รศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ริเริ่มการทำโครงการหุ่นยนต์มีดี เผยถึงจุดเริ่มต้นในการสร้างหุ่นยนต์มีดีว่า หุ่นยนต์มีดีถูกพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก ซึ่งพัฒนามากว่า 6 ปี โดยโครงการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาหุ่นยนต์ของไทยในการนำไปเสริมการกระตุ้นพัฒนาการหรือจัดกิจกรรมบำบัดที่โรงเรียนโรงพยาบาลหรือตามบ้านเรือนโดยหุ่นรุ่นที่ผ่านมาจะเน้นการฝึกเลียนแบบท่าทางและการฝึกพูด ส่วนหุ่นยนต์มีดีนั้นเน้นให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมการสอนได้ด้วยตนเอง เพราะหุ่นยนต์สามารถโปรแกรมได้ง่ายๆทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กแต่ละราย และหุ่นยนต์มีขนาดเล็กสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายทำให้การนำไปใช้งานได้ทั่วถึงกว่าหุ่นยนต์รุ่นที่ผ่านๆมา "อุปสรรคในการพัฒนาหุ่นยนต์นั้นมีอยู่บ้างเนื่องจากเป็นการทำหุ่นยนต์ให้ใช้งานได้กับคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีมาก่อนทำให้การออกแบบและพัฒนาวิธีการใช้งานให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายที่สุด เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะถ้าทำออกมาไม่ดี คนใช้ก็อาจจะไม่อยากใช้อีก ทำให้ต้องศึกษาและพัฒนาวิธีการไปด้วย" กว่าจะเป็นหุ่นยนต์ออกมาแต่ละรุ่นเรียกได้ว่าทุ่มไปทั้งแรงกายแรงใจความคิดกันเลยทีเดียวซึ่งเจ้าหุ่นยนต์มีดีนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากทุนวิจัย 3 แห่งด้วยกัน คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดยสนับสนุนทุนวิจัยตั้งแต่การศึกษาและพัฒนาหุ่นยนต์ ทดสอบการใช้งานทั้งในโรงเรียนและโรงพยาบาล รศ.ดร. ปัณรสี ยังเล่าถึงการนำหุ่นยนต์ไปใช้กับเด็กๆ ว่า เมื่อเอาหุ่นยนต์ไปใช้ในโรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา จ.สมุทรปราการ ศูนย์พัฒนาการเด็กพิเศษพระมหาไถ่ พัทยา จ.ชลบุรี บ้านเรียนชวนชื่น จ.ปทุมธานี เป็นเวลา 3 เดือน และโรงพยาบาลดอนตูม เป็นเวลา 2 เดือน โดยใช้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-60 นาที พบว่า เด็กๆสามารถปรับตัวกับการใช้หุ่นยนต์ในการเรียนการสอนได้ดี ครูและนักกิจกรรมบำบัดให้ความเห็นว่าหุ่นยนต์สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับเด็กได้ และมีการติดตามการประเมินผลด้วยทีมนักกิจกรรมบำบัดโดยการเปรียบเทียบพัฒนาการก่อนและหลังการใช้หุ่นยนต์ในการจัดการเรียนการสอน "เด็กที่เข้าร่วมโครงการกว่า 60% มีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านที่แตกต่างกันไป บางรายให้ความร่วมมือดีขึ้น บางรายให้ความสนใจในกิจกรรมการสอนนานขึ้น บางรายมีความเข้าใจในคำศัพท์มากขึ้น ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เด็กบางรายมีพัฒนาการคงที่ บางรายก็มีความสนใจในการฝึกในระยะแรกๆ เมื่อคุ้นชินก็เริ่มสนใจทำกิจกรรมอย่างอื่นมากกว่า ทำให้ครูต้องพยายามปรับรูปแบบการสอนให้หลากหลายไปด้วย ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ดีของการนำหุ่นยนต์ไปใช้เสริมการสอนในโรงเรียนและโรงพยาบาลร่วมกับการจัดการเรียนการสอนด้านอื่นๆ" สำหรับอนาคตการต่อยอดหุ่นยนต์ทางทีมวิจัยได้รับทุนต่อยอดจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ในการพัฒนาหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่มีรูปลักษณ์สวยงาม และสามารถทำงานได้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น คาดว่าจะแล้วเสร็จในสิ้นปีนี้โดยมีลักษณะคล้ายมนุษย์เช่นเดิมแต่จะทำงานได้หลากหลายขึ้นและสวยงามกว่าเดิม ส่วนราคาในปัจจุบันยังไม่ได้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนธุรกิจและหานักลงทุนมีแผนการต่อยอดหุ่นยนต์ไปใช้กับเด็กในกลุ่มอื่นๆทั้งเด็กปกติหรือเด็กที่มีความแตกต่างทางการเรียนรู้ รวมถึงมีแผนจะขยายกลุ่มผู้ใช้งานไปยังกลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุต่อไป ซึ่งผลตอบรับหุ่นยนต์มีดีรุ่นนี้ค่อนข้างดี เวลาไปจัดแสดงงานตามนิทรรศการต่างๆ มักได้รับความสนใจมากทั้งจากเด็กๆ ทั่วไปหรือผู้ปกครองน้องๆ ที่มีความต้องการพิเศษ นับว่าประสบความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งสำหรับหุ่นยนต์ในประเทศไทย หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เชื่อว่าอนาคตประเทศไทยคงมีหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัย และตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1495180296

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...