Bangkok Mini Maker Faire สร้างสังคมนวัตกรรมด้วยเมกเกอร์

แสดงความคิดเห็น

Bangkok Mini Maker Faire ปีที่ 2 จัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของเมกเกอร์

หลังจากประสบความสำเร็จจากงาน Bangkok Mini Maker Faire เมื่อปีที่ผ่านมา ในปีนี้ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัดจึงสานต่อโครงการกับการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่2

"กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ด้วยยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม "เมกเกอร์" หรือนักสร้างสรรค์จึงเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายดังกล่าว สวทช. จึงร่วมกับเชฟรอนประเทศไทยในโครงการ Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เพื่อส่งเสริมและผลักดันวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทย

"การจัดงานมหกรรมแสดงผลงานของเหล่าเมกเกอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้วได้รับผลตอบรับที่ดีมากมีเมกเกอร์กว่า 100 คนร่วมแสดงผลงาน และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 4,000 คน เพื่อต่อยอดความสำเร็จ และผลักดันให้วัฒนธรรมเมกเกอร์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เราจึงร่วมกับเชฟรอนและพันธมิตรเตรียมจัดงานขึ้นเป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์จากทั่วประเทศมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน ตลอดจนให้เยาวชน และบุคคลทั่วไปได้ทำความรู้จักกับเมกเกอร์ และเกิดแรงบันดาลใจในการคิด ประดิษฐ์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย"

"หทัยรัตน์ อติชาติ" ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า การจัดงาน Bangkok Mini Maker Faire เป็นหนึ่งกิจกรรมของโครงการ Enjoy Science ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาในสาขาสะเต็ม (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ทั้งในระบบการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจที่จะศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสาขาสะเต็มอันเป็นรากฐานในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

"การจัดงานในปีแรกถือเป็นเวทีที่ช่วยให้เกิดการรวมตัวที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นของกลุ่มเมกเกอร์ในประเทศไทยหลังงานมีงานพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ของเหล่าเมกเกอร์เพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นการปักหมุดประเทศไทยลงในแผนที่ของเมกเกอร์โลกเป็นครั้งแรก"

"เพราะเมกเกอร์จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราเห็นการเกิดขึ้นของสตาร์ตอัพมากมาย ต่อไปโลกเราจะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เยาวชนคนรุ่นใหม่เองก็ต้องปรับตัวให้มีทักษะเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่21นี้"

"กัลยา โกวิทวิสิทธิ์" ผู้ร่วมก่อตั้ง Fab Caf′e พื้นที่สร้างสรรค์งานของเมกเกอร์ หรือเมกเกอร์สเปซ ให้ข้อมูลถึงแนวโน้มการเติบโตของวัฒนธรรมเมกเกอร์ว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเมกเกอร์สเปซเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าวัฒนธรรมเมกเกอร์ได้รับความสนใจจากคนไทยในวงกว้างยิ่งขึ้น อย่างในกลุ่มผู้ชอบทำงานช่างหรืองานฝีมือก็มีการนำเครื่องมือดิจิทัลที่เมกเกอร์นิยมใช้ เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องตัดเลเซอร์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน

"ผู้ปกครองก็ส่งเสริมให้บุตรหลานมาทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่เมกเกอร์สเปซเนื่องจากเห็นว่าการเป็นเมกเกอร์สามารถสร้างเสริมทักษะที่สามารถนำไปใช้กับการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการประดิษฐ์คิดค้นและความคิดสร้างสรรค์"

ทั้งนี้ Bangkok Mini Maker Faire ปีที่ 2 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา ภายในงานจะจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของเมกเกอร์จากทั่วประเทศไทย พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อป สัมมนา การแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อจุดประกายความสนใจในวัฒนธรรมเมกเกอร์และสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป

นอกจากนั้น ยังจัดแสดงผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายโครงการ Enjoy Science : Young Makers Contest การประกวดนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุของนักเรียนระดับสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา พร้อมประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศอีกด้วย

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484624962 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ม.ค.60
วันที่โพสต์: 19/01/2560 เวลา 10:18:55 ดูภาพสไลด์โชว์ Bangkok Mini Maker Faire สร้างสังคมนวัตกรรมด้วยเมกเกอร์

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

Bangkok Mini Maker Faire ปีที่ 2 จัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของเมกเกอร์ หลังจากประสบความสำเร็จจากงาน Bangkok Mini Maker Faire เมื่อปีที่ผ่านมา ในปีนี้ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัดจึงสานต่อโครงการกับการจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่2 "กุลประภา นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ด้วยยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม "เมกเกอร์" หรือนักสร้างสรรค์จึงเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่เป้าหมายดังกล่าว สวทช. จึงร่วมกับเชฟรอนประเทศไทยในโครงการ Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เพื่อส่งเสริมและผลักดันวัฒนธรรมเมกเกอร์ในประเทศไทย "การจัดงานมหกรรมแสดงผลงานของเหล่าเมกเกอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้วได้รับผลตอบรับที่ดีมากมีเมกเกอร์กว่า 100 คนร่วมแสดงผลงาน และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 4,000 คน เพื่อต่อยอดความสำเร็จ และผลักดันให้วัฒนธรรมเมกเกอร์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เราจึงร่วมกับเชฟรอนและพันธมิตรเตรียมจัดงานขึ้นเป็นปีที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้เมกเกอร์จากทั่วประเทศมีพื้นที่ในการแสดงผลงาน ตลอดจนให้เยาวชน และบุคคลทั่วไปได้ทำความรู้จักกับเมกเกอร์ และเกิดแรงบันดาลใจในการคิด ประดิษฐ์ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย" "หทัยรัตน์ อติชาติ" ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า การจัดงาน Bangkok Mini Maker Faire เป็นหนึ่งกิจกรรมของโครงการ Enjoy Science ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาในสาขาสะเต็ม (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ทั้งในระบบการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนสนใจที่จะศึกษาต่อและประกอบอาชีพในสาขาสะเต็มอันเป็นรากฐานในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน "การจัดงานในปีแรกถือเป็นเวทีที่ช่วยให้เกิดการรวมตัวที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นของกลุ่มเมกเกอร์ในประเทศไทยหลังงานมีงานพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ของเหล่าเมกเกอร์เพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นการปักหมุดประเทศไทยลงในแผนที่ของเมกเกอร์โลกเป็นครั้งแรก" "เพราะเมกเกอร์จะทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เราเห็นการเกิดขึ้นของสตาร์ตอัพมากมาย ต่อไปโลกเราจะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เยาวชนคนรุ่นใหม่เองก็ต้องปรับตัวให้มีทักษะเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่21นี้" "กัลยา โกวิทวิสิทธิ์" ผู้ร่วมก่อตั้ง Fab Caf′e พื้นที่สร้างสรรค์งานของเมกเกอร์ หรือเมกเกอร์สเปซ ให้ข้อมูลถึงแนวโน้มการเติบโตของวัฒนธรรมเมกเกอร์ว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเมกเกอร์สเปซเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าวัฒนธรรมเมกเกอร์ได้รับความสนใจจากคนไทยในวงกว้างยิ่งขึ้น อย่างในกลุ่มผู้ชอบทำงานช่างหรืองานฝีมือก็มีการนำเครื่องมือดิจิทัลที่เมกเกอร์นิยมใช้ เช่น เครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องตัดเลเซอร์ มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน "ผู้ปกครองก็ส่งเสริมให้บุตรหลานมาทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่เมกเกอร์สเปซเนื่องจากเห็นว่าการเป็นเมกเกอร์สามารถสร้างเสริมทักษะที่สามารถนำไปใช้กับการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคตได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการประดิษฐ์คิดค้นและความคิดสร้างสรรค์" ทั้งนี้ Bangkok Mini Maker Faire ปีที่ 2 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21-22 ม.ค.นี้ ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา ภายในงานจะจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ของเมกเกอร์จากทั่วประเทศไทย พร้อมด้วยกิจกรรมเวิร์กช็อป สัมมนา การแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อจุดประกายความสนใจในวัฒนธรรมเมกเกอร์และสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไป นอกจากนั้น ยังจัดแสดงผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายโครงการ Enjoy Science : Young Makers Contest การประกวดนวัตกรรมสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุของนักเรียนระดับสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา พร้อมประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศอีกด้วย ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484624962

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...