ทีเซลส์ยัน 2 ปีได้ใช้หุ่นยนต์ช่วยผู้สูงวัย
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า โครงการเมดิคัลฮับของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน วท.จึงมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชุมชน จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงช่วยเหลือผู้สูงอายุและพิการเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
นายวรวัจน์กล่าวว่า ในปี 2555 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบว่า ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึง ร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์ ร้อยละ 12.25 เวียดนาม ร้อยละ 8.53 ดังนั้น เมื่อหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงนี้ยังสามารถบริการผู้สูงอายุต่างชาติที่มาใช้ บริการเมดิคัลฮับในประเทศไทยได้ด้วยถือเป็นการเสริมจุดแข็งให้กับการแพทย์ของประเทศไทย
ด้านนายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการทีเซลส์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งบุคลากรการแพทย์ที่มีศักยภาพ และมีวิศวกรที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก ทั้งนี้ ในระยะแรกจะร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยด้านหุ่นยนต์และภาคเอกชนผลิตหุ่นยนต์ ดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบแจ้งเตือนทางเครื่องมือสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับญาติและผู้ดูแลได้ทันทีหากเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดปกติ ต่อผู้สูงอายุ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี ส่วนการผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัดและตรวจวินิจฉัยโรคนั้นเป็น โครงการในระยะถัดไป โดยทีเซลส์ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) วิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า โครงการเมดิคัลฮับของประเทศไทยได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่า เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ในภูมิภาคอาเซียน วท.จึงมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และชุมชน จึงได้มอบหมายให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ทีเซลส์) พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงช่วยเหลือผู้สูงอายุและพิการเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มสูงขึ้น นายวรวัจน์กล่าวว่า ในปี 2555 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจพบว่า ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป มีมากถึง ร้อยละ 12.59 ซึ่งถือว่ามากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยสิงคโปร์ ร้อยละ 12.25 เวียดนาม ร้อยละ 8.53 ดังนั้น เมื่อหุ่นยนต์การแพทย์ชั้นสูงนี้ยังสามารถบริการผู้สูงอายุต่างชาติที่มาใช้ บริการเมดิคัลฮับในประเทศไทยได้ด้วยถือเป็นการเสริมจุดแข็งให้กับการแพทย์ของประเทศไทย ด้านนายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการทีเซลส์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความพร้อมทั้งบุคลากรการแพทย์ที่มีศักยภาพ และมีวิศวกรที่สามารถผลิตหุ่นยนต์ได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก ทั้งนี้ ในระยะแรกจะร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยด้านหุ่นยนต์และภาคเอกชนผลิตหุ่นยนต์ ดูแลผู้สูงอายุด้วยระบบแจ้งเตือนทางเครื่องมือสื่อสาร ที่สามารถติดต่อกับญาติและผู้ดูแลได้ทันทีหากเกิดอุบัติเหตุหรือความผิดปกติ ต่อผู้สูงอายุ คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี ส่วนการผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ในการผ่าตัดและตรวจวินิจฉัยโรคนั้นเป็น โครงการในระยะถัดไป โดยทีเซลส์ได้ร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) วิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ชั้นสูง
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)