เปลี่ยนเมืองที่เป็นมิตรนักปั่น-คนเดินเท้า

แสดงความคิดเห็น

ทางจักรยาน

เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้รับการขนานนามจากคนทั่วโลกว่าเป็นเมืองจักรยาน ผู้คนนิยมใช้จักรยานเป็นพาหนะ ในการเดินทาง เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและต้องการลดปริมาณคาร์บอนที่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมมีการออกแบบผังเมืองรองรับนักปั่นและคนเดินเท้าให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย

หันกลับมาประเทศไทย เห็นได้ชัดทั้งสภาพแวดล้อม ถนนหนทางไม่เอื้ออำนวยกับการเดินและปั่นๆ ผิวจราจรขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ แล้วยังเสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชน ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไปไม่ถึงฝันคือความไม่ปลอดภัยและไร้สิ่งอำนวยความสะดวกนั่นเอง

น่าสนใจเมื่อสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจนรัฐบาลได้บรรจุการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ขณะเดียวกันก็วิจัยรวบรวมข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนการทำงานตามเป้าหมาย

ล่าสุด มีการจัดประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ "ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน" ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเท้า ทางข้าม และทางจักรยานในพื้นที่สามารถเชื่อมต่อกันได้

ผศ.ดร.ปุณยนุช รุธิรโก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้จัดทำรายงานการวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการดูงานต้นแบบของ สสส.ที่ได้มีการรณรงค์ให้มีการเดินและการปั่นจักรยาน ทำให้มีแนวคิดขับเคลื่อนให้คนสนใจเดินและปั่นจักรยาน แต่การใช้จักรยานในบ้านเราหรือการเดินทางเท้าก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นที่มาของสมมติฐานงานวิจัย

จากผลการวิจัยนี้ พบว่า 1.สภาพปัจจุบัน ของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ใช้ทางเท้า ได้แก่ บาทวิถี ทาง ม้าลาย สัญญาณไฟจราจร สะพานลอย และศาลาที่พักริมทาง/ศาลาที่พักสำหรับรอรถประจำทาง ได้พบปัญหาการรุกล้ำบาทวิถี ทางม้าลายมองไม่เห็น ไม่มีไฟสัญญาณจราจรสำหรับคนข้าม ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ เป็นต้น 2.สภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้จักรยานพบว่ามีจำนวนจุดจอดจักรยานไม่ทั่วพื้นที่และถนนแบ่งสำหรับปั่นจักรยานมีไม่ทั่ว

3.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทาง เท้าต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเดินในชีวิตประจำวันมากที่สุด คือ ทางม้าลาย รองลงมา ไฟส่องสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ส่วนการตัดสินใจเดินเกิดจากการคำนึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินมากที่สุด 4.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทางเท้า ต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปั่นจักรยาน พบว่า ต้อง การแสงไฟส่องสว่างมากที่สุด รองลงมาที่จอดจักรยาน ป้ายเตือนอันตราย และสัญญาณไฟจราจร 5.แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานนั้นควรมีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ไขปัญหาการรุกล้ำบาทวิถีอย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงส่งเสริมรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ของการเดินและการปั่นจักรยานเป็นต้น

"ผลวิจัยชี้ด้วยว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัด สินใจใช้วิธีการเดินเท้าและปั่นการจักรยาน คือ ต้องมีความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ"ผศ.ดร.ปุณยนุชกล่าว

ส่วนภาคปฏิบัติงานในพื้นที่ พรเทพ ดิษยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดิน (ภาคใต้ตอนบน) เล่าว่า เป็นคนชอบปั่นจักรยานจึงเกิดแนวคิดทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถเดินและใช้จักรยานได้อย่างปลอดภัยรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งบนท้องถนนร่วมกับยานพาหนะอื่นๆที่สำคัญคือต้องเกิดความยั่งยืน

"การทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยานให้ประชาชนสามารถเดินและปั่นจักรยานได้ ปัญหาอยู่ตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นเพื่อให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าเกิดผลสำเร็จจึงต้องมีการร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเมือง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ชุมชน และโรงเรียน ที่จะมาเป็นจุดเริ่มต้นช่วยผลักดันโครงการให้เกิดเป็นพื้นที่เดิน-ปั่นจักรยานได้อย่างปลอดภัย"พรเทพกล่าว

ทั้งนี้ ข้อมูลสอดคล้องกับรายงานของคณะทำงานตัวชี้วัด เดิน จักรยานเพื่อส่งเสริมชุมชนเมืองให้เอื้อต่อการเดินและใช้จักรยาน คือ 1.เมืองชุมชน 2.โรงเรียน ซึ่งมีกรอบหลักๆ ที่ร่างไว้ 5 ข้อ เพื่อให้พื้นที่ก้าวสู่เมืองเป็นมิตร ได้แก่ การจัดการด้านโครงสร้างให้เอื้อต่อการเดินและการปั่นจักรยาน, การบริหารจัดการเชิงโครงสร้าง ระบบ และกลไกการทำงาน โดยพื้นที่มีการกำหนดนโยบายและทำงานแบบบูรณาการ รวมถึงมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมส่งเสริมให้เกิดการเดินหรือใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถัดมา จัดให้มีกิจกรรมในพื้นที่ปลุกกระแสสังคมและสร้างองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ข้อสุดท้าย มีสุขภาวะและสุขภาพองค์รวมของโรงเรียนหรือเมืองที่ดีขึ้น

การผลักดันแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากมีทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมให้ชุมชน เมือง หรือพื้นที่อื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์และผลสำเร็จของงานเชื่อได้ว่าไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้นอย่างแน่นอน.

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2625542

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 31/03/2560 เวลา 15:19:14 ดูภาพสไลด์โชว์ เปลี่ยนเมืองที่เป็นมิตรนักปั่น-คนเดินเท้า

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ทางจักรยาน เดนมาร์ก ญี่ปุ่น และไต้หวัน ได้รับการขนานนามจากคนทั่วโลกว่าเป็นเมืองจักรยาน ผู้คนนิยมใช้จักรยานเป็นพาหนะ ในการเดินทาง เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงและต้องการลดปริมาณคาร์บอนที่ก่อมลพิษสิ่งแวดล้อมมีการออกแบบผังเมืองรองรับนักปั่นและคนเดินเท้าให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัย หันกลับมาประเทศไทย เห็นได้ชัดทั้งสภาพแวดล้อม ถนนหนทางไม่เอื้ออำนวยกับการเดินและปั่นๆ ผิวจราจรขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ แล้วยังเสี่ยงต่อการถูกเฉี่ยวชน ปัญหาสำคัญที่ทำให้ไปไม่ถึงฝันคือความไม่ปลอดภัยและไร้สิ่งอำนวยความสะดวกนั่นเอง น่าสนใจเมื่อสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจนรัฐบาลได้บรรจุการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ขณะเดียวกันก็วิจัยรวบรวมข้อมูลวิชาการเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนการทำงานตามเป้าหมาย ล่าสุด มีการจัดประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 ภายใต้หัวข้อ "ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน" ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเท้า ทางข้าม และทางจักรยานในพื้นที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ผศ.ดร.ปุณยนุช รุธิรโก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ผู้จัดทำรายงานการวิจัยโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า งานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการดูงานต้นแบบของ สสส.ที่ได้มีการรณรงค์ให้มีการเดินและการปั่นจักรยาน ทำให้มีแนวคิดขับเคลื่อนให้คนสนใจเดินและปั่นจักรยาน แต่การใช้จักรยานในบ้านเราหรือการเดินทางเท้าก็ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นที่มาของสมมติฐานงานวิจัย จากผลการวิจัยนี้ พบว่า 1.สภาพปัจจุบัน ของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ใช้ทางเท้า ได้แก่ บาทวิถี ทาง ม้าลาย สัญญาณไฟจราจร สะพานลอย และศาลาที่พักริมทาง/ศาลาที่พักสำหรับรอรถประจำทาง ได้พบปัญหาการรุกล้ำบาทวิถี ทางม้าลายมองไม่เห็น ไม่มีไฟสัญญาณจราจรสำหรับคนข้าม ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ เป็นต้น 2.สภาพปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้จักรยานพบว่ามีจำนวนจุดจอดจักรยานไม่ทั่วพื้นที่และถนนแบ่งสำหรับปั่นจักรยานมีไม่ทั่ว 3.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทาง เท้าต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดิน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเดินในชีวิตประจำวันมากที่สุด คือ ทางม้าลาย รองลงมา ไฟส่องสว่าง และป้ายเตือนอันตราย ส่วนการตัดสินใจเดินเกิดจากการคำนึงประโยชน์ที่ได้รับจากการเดินมากที่สุด 4.พฤติกรรมความต้องการของผู้ใช้ทางเท้า ต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปั่นจักรยาน พบว่า ต้อง การแสงไฟส่องสว่างมากที่สุด รองลงมาที่จอดจักรยาน ป้ายเตือนอันตราย และสัญญาณไฟจราจร 5.แนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานนั้นควรมีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แก้ไขปัญหาการรุกล้ำบาทวิถีอย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงส่งเสริมรณรงค์ให้เห็นประโยชน์ของการเดินและการปั่นจักรยานเป็นต้น "ผลวิจัยชี้ด้วยว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัด สินใจใช้วิธีการเดินเท้าและปั่นการจักรยาน คือ ต้องมีความปลอดภัย มีการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้ทางเท้าและผู้ใช้จักรยานให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ"ผศ.ดร.ปุณยนุชกล่าว ส่วนภาคปฏิบัติงานในพื้นที่ พรเทพ ดิษยบุตร เลขาธิการสมาพันธ์ผู้ใช้จักรยานและการเดิน (ภาคใต้ตอนบน) เล่าว่า เป็นคนชอบปั่นจักรยานจึงเกิดแนวคิดทำอย่างไรให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สามารถเดินและใช้จักรยานได้อย่างปลอดภัยรวมถึงเป็นส่วนหนึ่งบนท้องถนนร่วมกับยานพาหนะอื่นๆที่สำคัญคือต้องเกิดความยั่งยืน "การทำโครงการเมืองที่เป็นมิตรต่อการเดินและการปั่นจักรยานให้ประชาชนสามารถเดินและปั่นจักรยานได้ ปัญหาอยู่ตรงที่จะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ดังนั้นเพื่อให้มีการขับเคลื่อนไปข้างหน้าเกิดผลสำเร็จจึงต้องมีการร่วมมือกับหลายภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของเมือง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล ชุมชน และโรงเรียน ที่จะมาเป็นจุดเริ่มต้นช่วยผลักดันโครงการให้เกิดเป็นพื้นที่เดิน-ปั่นจักรยานได้อย่างปลอดภัย"พรเทพกล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลสอดคล้องกับรายงานของคณะทำงานตัวชี้วัด เดิน จักรยานเพื่อส่งเสริมชุมชนเมืองให้เอื้อต่อการเดินและใช้จักรยาน คือ 1.เมืองชุมชน 2.โรงเรียน ซึ่งมีกรอบหลักๆ ที่ร่างไว้ 5 ข้อ เพื่อให้พื้นที่ก้าวสู่เมืองเป็นมิตร ได้แก่ การจัดการด้านโครงสร้างให้เอื้อต่อการเดินและการปั่นจักรยาน, การบริหารจัดการเชิงโครงสร้าง ระบบ และกลไกการทำงาน โดยพื้นที่มีการกำหนดนโยบายและทำงานแบบบูรณาการ รวมถึงมีมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมส่งเสริมให้เกิดการเดินหรือใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ถัดมา จัดให้มีกิจกรรมในพื้นที่ปลุกกระแสสังคมและสร้างองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ข้อสุดท้าย มีสุขภาวะและสุขภาพองค์รวมของโรงเรียนหรือเมืองที่ดีขึ้น การผลักดันแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน แต่หากมีทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำให้เกิดความเป็นรูปธรรมให้ชุมชน เมือง หรือพื้นที่อื่นๆ ได้เห็นถึงประโยชน์และผลสำเร็จของงานเชื่อได้ว่าไทยจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเดินและการใช้จักรยานมากขึ้นอย่างแน่นอน. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2625542

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...