วิจัยพบเกินครึ่งอยาก “เดิน-ปั่น” หากปลอดภัย คมนาคมเล็งปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับ

แสดงความคิดเห็น

การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 บรรจุแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สิ่งอำนวยความสะดวก หนุนเดินทางไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ก.คมนาคม เล็งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเอื้อคนเดินเท้า - จักรยาน ให้สะดวก ปลอดภัย เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ ผลวิจัยย้ำชัดเดิน - จักรยาน ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมันเชิงเพลิง 2,900ล้านลิตรประหยัดงบ86,507ล้านบาทชี้เกินครึ่งอยากเดิน-ปั่นหากเดินทางปลอดภัยสะดวก

วันที่ (3 มี.ค.) ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการเดินและการจักรยานไทย และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ขอชื่นชมสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สสส. และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จนได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non-Motorized Transportation: NMT) ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก มีความพร้อมในการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อคนเดินทางเท้าและทางจักรยานให้ความสะดวก สบาย และปลอดภัยเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้เรื่องเดินเท้าและจักรยานเข้าสู่แผนพัฒนาประเทศได้สำเร็จนั้น เป็นพลังความร่วมมือทั้ง สสส. และพลังของภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนทำงานจริงจัง ทั้งในส่วนของพื้นที่ และระดับนโยบาย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเดินทางสอดรับกับแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ สสส. ที่มีเป้าหมายเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุข - ภาวะที่ดี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการสาธารณะให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสุขภาพดีและสนับสนุนให้บริษัท/องค์กรทุกภาคส่วนจัดพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย

“การประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเดินและการใช้จักรยานที่น่าสนใจ เช่น แอปพลิเคชันกฎหมายจราจรทางบกส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย คนเดิน คนใช้จักรยาน ประเด็นคนพิการกับความพึงพอใจในความปลอดภัยในการใช้ทางเดินเท้า ประเด็นปัจจัยส่งเสริมให้เดิน ปั่นไปต่อรถไฟฟ้า กรณีศึกษา บางหว้า - ตลิ่งชัน ซึ่งจะเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจเป็นพลังที่จะร่วมขับเคลื่อนเรื่องเดินและจักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป”นพ.ไพโรจน์กล่าว

ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมืองควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทางข้าม ทางเท้า และทางจักรยาน” ที่สามารถ “เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ” ในเขตเมืองและการสร้างมาตรฐานและคุ้มครอง “ความปลอดภัยของผู้สัญจรทางเดินเท้า และผู้ใช้จักรยานในเขตเมือง” เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในภาพรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไป ต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ “กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเดินและการจักรยานไทยและภาคส่วนต่างๆในการทำให้ระบบต่อไป

ด้าน นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ผู้อำนวยการสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า เดิน จักรยาน คือ การคมนาคมที่สะดวกที่สุด ราคาถูกที่สุด เข้าถึงทุกพื้นที่ได้ดีที่สุด เพื่อการตอบโจทย์ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สถาบันฯ เตรียมยกระดับการเดินและการใช้จักรยาน เป็นโหมดของการเดินทางคมนาคมขนส่งของเมือง/ชุมชน ซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องอาศัยภาคส่วนต่างๆ ในเมือง/ชุมชนนั้นเป็นสำคัญ สถาบันฯ ยินดีและมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำงานกับท้องถิ่น โดยการเชื่อมประสานกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนั้นๆ ด้านวิชาการ เพราะผู้บริหารเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ต้องการข้อมูลเชิงวิชาการ และการสนับสนุนอย่างถูกต้องจากภาคประชาสังคมที่จะเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนชุนชน ให้สามารถเดินและใช้จักรยานได้ ตนทำเรื่องคมนาคมขนส่งมาโดยตลอดอายุราชการ ซึ่งบางครั้งการทำงานจากระดับนโยบายความต้องการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ไม่ค่อยสำเร็จ แต่มุมกลับตอนนี้ การทำงานของสถาบันฯ คือ การทำงานในเชิงบูรณาการงานเข้าด้วยกัน ซึ่งยาก แต่ท้าท้าย ผลที่เกิดขึ้นก็จะเกิดกับเมือง และชุมชนนั้น และจากงานวิจัยของสนข.ชี้ชัดว่า หากมีการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สิงหาคม 2557) พบว่า จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) 8.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e) หรือ 3,900 ktoe หรือสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินได้ประมาณ 2,900 ล้านลิตร จะประหยัดงบได้ 86,507 ล้านบาท

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000022079 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 15/03/2560 เวลา 10:32:51 ดูภาพสไลด์โชว์ วิจัยพบเกินครึ่งอยาก “เดิน-ปั่น” หากปลอดภัย คมนาคมเล็งปรับโครงสร้างพื้นฐานรองรับ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 บรรจุแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน - สิ่งอำนวยความสะดวก หนุนเดินทางไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง ก.คมนาคม เล็งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเอื้อคนเดินเท้า - จักรยาน ให้สะดวก ปลอดภัย เชื่อมระบบขนส่งสาธารณะ ผลวิจัยย้ำชัดเดิน - จักรยาน ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมันเชิงเพลิง 2,900ล้านลิตรประหยัดงบ86,507ล้านบาทชี้เกินครึ่งอยากเดิน-ปั่นหากเดินทางปลอดภัยสะดวก วันที่ (3 มี.ค.) ที่อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการเดินและการจักรยานไทย และชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัด การประชุมการส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 5 “ชุมชนที่เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยาน” โดย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า ขอชื่นชมสถาบันการเดินและการจักรยานไทย สสส. และหน่วยงานอื่นๆ กว่า 15 องค์กร ที่ช่วยกันขับเคลื่อนการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน จนได้รับการบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมือง (Non-Motorized Transportation: NMT) ในส่วนของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก มีความพร้อมในการดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อคนเดินทางเท้าและทางจักรยานให้ความสะดวก สบาย และปลอดภัยเชื่อมต่อไปยังระบบขนส่งสาธารณะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า การขับเคลื่อนให้เรื่องเดินเท้าและจักรยานเข้าสู่แผนพัฒนาประเทศได้สำเร็จนั้น เป็นพลังความร่วมมือทั้ง สสส. และพลังของภาคีและภาคส่วนต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุนทำงานจริงจัง ทั้งในส่วนของพื้นที่ และระดับนโยบาย เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเดินทางสอดรับกับแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายของ สสส. ที่มีเป้าหมายเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยเน้นส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุข - ภาวะที่ดี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการสาธารณะให้เอื้อต่อการเป็นเมืองสุขภาพดีและสนับสนุนให้บริษัท/องค์กรทุกภาคส่วนจัดพื้นที่และกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกาย “การประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องเดินและการใช้จักรยานที่น่าสนใจ เช่น แอปพลิเคชันกฎหมายจราจรทางบกส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัย คนเดิน คนใช้จักรยาน ประเด็นคนพิการกับความพึงพอใจในความปลอดภัยในการใช้ทางเดินเท้า ประเด็นปัจจัยส่งเสริมให้เดิน ปั่นไปต่อรถไฟฟ้า กรณีศึกษา บางหว้า - ตลิ่งชัน ซึ่งจะเป็นการสร้างการรับรู้และเข้าใจเป็นพลังที่จะร่วมขับเคลื่อนเรื่องเดินและจักรยานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมตามแผนพัฒนาประเทศต่อไป”นพ.ไพโรจน์กล่าว ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในเขตเมืองควรให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทางข้าม ทางเท้า และทางจักรยาน” ที่สามารถ “เชื่อมต่อการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะ” ในเขตเมืองและการสร้างมาตรฐานและคุ้มครอง “ความปลอดภัยของผู้สัญจรทางเดินเท้า และผู้ใช้จักรยานในเขตเมือง” เพื่อเพิ่มสัดส่วนของการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ในภาพรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไป ต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ “กลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ” ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ของสถาบันการเดินและการจักรยานไทยและภาคส่วนต่างๆในการทำให้ระบบต่อไป ด้าน นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ผู้อำนวยการสถาบันการเดินและการจักรยานไทย กล่าวว่า เดิน จักรยาน คือ การคมนาคมที่สะดวกที่สุด ราคาถูกที่สุด เข้าถึงทุกพื้นที่ได้ดีที่สุด เพื่อการตอบโจทย์ดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม สถาบันฯ เตรียมยกระดับการเดินและการใช้จักรยาน เป็นโหมดของการเดินทางคมนาคมขนส่งของเมือง/ชุมชน ซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลนั้น ต้องอาศัยภาคส่วนต่างๆ ในเมือง/ชุมชนนั้นเป็นสำคัญ สถาบันฯ ยินดีและมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะทำงานกับท้องถิ่น โดยการเชื่อมประสานกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคนั้นๆ ด้านวิชาการ เพราะผู้บริหารเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ต้องการข้อมูลเชิงวิชาการ และการสนับสนุนอย่างถูกต้องจากภาคประชาสังคมที่จะเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนชุนชน ให้สามารถเดินและใช้จักรยานได้ ตนทำเรื่องคมนาคมขนส่งมาโดยตลอดอายุราชการ ซึ่งบางครั้งการทำงานจากระดับนโยบายความต้องการของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว ไม่ค่อยสำเร็จ แต่มุมกลับตอนนี้ การทำงานของสถาบันฯ คือ การทำงานในเชิงบูรณาการงานเข้าด้วยกัน ซึ่งยาก แต่ท้าท้าย ผลที่เกิดขึ้นก็จะเกิดกับเมือง และชุมชนนั้น และจากงานวิจัยของสนข.ชี้ชัดว่า หากมีการส่งเสริมการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ร่วมกับการปรับปรุงการเชื่อมต่อการเดินทางระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการขนส่งอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (สิงหาคม 2557) พบว่า จะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CO2) 8.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e) หรือ 3,900 ktoe หรือสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินได้ประมาณ 2,900 ล้านลิตร จะประหยัดงบได้ 86,507 ล้านบาท ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9600000022079

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...