“ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก...รับเหรียญทองเกียรติยศ

แสดงความคิดเห็น

ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ

แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษ มากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา

หุ่นยนต์ช่างพูด “แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งแระดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41st International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์

ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำเป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก

ออทิสติก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้

“หากแต่ปัญหาคือเด็กออทิสติกซึ่งมักอยู่ไม่นิ่ง และมักกลัวการสื่อสารกับคน เพราะท่าทางของคนนั้นคาดเดาได้ยาก การที่เด็กไม่เริ่มต้นเลียนแบบสิ่งรอบตัว ทำให้ความสามารถในการสื่อสารไม่พัฒนา ซึ่งส่งผลต่อไปถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กหุ่นยนต์คาดเดาได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.ปัณรสี กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับทุนพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 3 ปีและดำเนินเข้าสู่ปีสุดท้ายแล้ว

หุ่นยนต์ช่างคุย หุ่นยนต์ช่างทำจะออกแบบท่าทางให้เด็กออทิสติกเลียนแบบตาม ซึ่งจากการทดลองทีมวิจัยพบว่าเด็กออทิสติกที่มักกระโดดไปรอบตัวและอยู่ไม่ สุขนั้น นิ่งแล้วเริ่มเลียนแบบท่าทางของหุ่นยนต์ ขณะเดียวกันหุ่นยนต์ก็มีความสามารถในการเลียนแบบท่าทางของเด็กออทิสติกด้วย

ส่วนหุ่นยนต์อีก 2 ตัวคือช่างพูดและช่างคุยนั้นทีมวิจัยออกแบบมาเพื่อพัฒนาการพูดของเด็กออทิสติก โดยช่างพูดเป็นหุ่นยนต์ที่ออกเสียงให้เด็กพูดตาม และไม่มีการขยับปากให้เห็นจึงพัฒนาขึ้นเป็นช่างคุย ที่ติดตั้งแท็บเลตเพื่อแสดงรูปปากขณะขยับเป็นเสียงพูด

ทีมวิจัยได้ทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในเด็กออทิสติกวัย 3-10 ขวบ โดยแบ่งเป็นการทดลองดูความสนใจของเด็กต่อหุ่นยนต์ การทดลองเรื่องการเลียนแบบ และการทดลองเรื่องฝึกพูดซึ่งอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการทดลอง ซึ่งแต่ละการทดลองนั้นทดสอบในเด็ก 10 คน แต่ทุกการทดลองต้องทดสอบในเด็กปกติก่อน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดเด็กออทิสติกประจำการทดลอง 2 คน

หุ่นยนต์ช่างทำ ทั้งนี้ ทีมวิจัยคาดหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ไปสู่การเสริมพัฒนาการในเด็กปกติด้วย รวมทั้งพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับแท็บเลตเพื่อเสริมพัฒนาการในส่วนของพัฒนาการ ด้านการพูด และผลจากการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ภายในงานนิทรรศการที่เจนีวาระหว่างวันที่ 10-14 เม.ย.56 ทีมวิจัยได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulation of the Jury) ด้วย

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยจากทุกหน่วยงานเข้าร่วม แสดงในนิทรรศการที่เจนีวา กล่าวว่า ผลงานที่นำไปจัดแสดงต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นชิ้นเป็นอัน และเป็นผลงานที่จดสิทธิบัตรแล้วหรือกำลังจดสิทธิบัตร งานดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิสและองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) มีผลงานสิ่งประดิษฐ์กว่า 1,000 ผลงานจากทั่วโลกร่วมจัดแสดง และมีผลงานประมาณ 30% ที่ไม่ได้รับรางวัลและได้รับเพียงประกาศเกียรติคุณ สำหรับประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมดรวม 48 รางวัล จากผลงานจัดแสดง 37 ผลงาน

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047270 (ขนาดไฟล์: 168)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 21/04/2556 เวลา 02:05:59 ดูภาพสไลด์โชว์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” หุ่นยนต์ไทยกระตุ้นเด็กออทิสติก...รับเหรียญทองเกียรติยศ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ แม้ว่ากิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็กออทิสติกโดยพ่อแม่และผู้เชี่ยวชาญจะเป็นสิ่งที่ดีต่อเด็กพิเศษ มากกว่า แต่ธรรมชาติของเด็กกลุ่มนี้มักกลัวการสื่อสารกับคนทั่วไปเพราะ “คาดเดายาก” จึงนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ “ช่างพูด-ช่างคุย-ช่างทำ” ซึ่งชวนเด็กพูด คุย ขยับปากและท่าทาง เพื่อเสริมพัฒนาการ และหวังต่อยอดสู่การเสริมพัฒนา หุ่นยนต์ช่างพูด “แม่ที่เจนีวาที่มีลูกเป็นออทิสติก มาดูเราแล้วก็ตื้นตันใจน้ำตาไหล” ผศ.ดร.ปัณรสี ฤทธิประวัติ จากภาควิชาวิศวกรรมการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงผลตอบรับหลังนำหุ่นยนต์ 3 ตัว คือ “ช่างพูด”, “ช่างคุย” และ “ช่างทำ” ไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการสิ่งแระดิษฐ์นานาชาติครั้งที่ 41 (41st International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ช่างพูด, ช่างคุย และช่างทำเป็นหุ่นยนต์ที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นมาเพื่อหวังกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ออทิสติก โดย ผศ.ดร.ปัณรสีอธิบายถึงหน้าที่ของหุ่นยนต์ช่างทำว่า ข้อสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ถึงความผิดปกติในเด็กออทิสติกคือเด็กมีอาการ ดังกล่าวเนื่องจากมีความเสียหายในเซลล์ประสาทที่เรียกว่า เซลล์กระจก (mirror neurones) การเลียนแบบท่าทางคนอื่น หรือคนอื่นเลียนแบบท่าทางของเด็กจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ดังกล่าวได้ “หากแต่ปัญหาคือเด็กออทิสติกซึ่งมักอยู่ไม่นิ่ง และมักกลัวการสื่อสารกับคน เพราะท่าทางของคนนั้นคาดเดาได้ยาก การที่เด็กไม่เริ่มต้นเลียนแบบสิ่งรอบตัว ทำให้ความสามารถในการสื่อสารไม่พัฒนา ซึ่งส่งผลต่อไปถึงการเรียนรู้ของเด็ก เด็กหุ่นยนต์คาดเดาได้ง่ายกว่า” ผศ.ดร.ปัณรสี กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับทุนพัฒนาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 3 ปีและดำเนินเข้าสู่ปีสุดท้ายแล้ว หุ่นยนต์ช่างคุย หุ่นยนต์ช่างทำจะออกแบบท่าทางให้เด็กออทิสติกเลียนแบบตาม ซึ่งจากการทดลองทีมวิจัยพบว่าเด็กออทิสติกที่มักกระโดดไปรอบตัวและอยู่ไม่ สุขนั้น นิ่งแล้วเริ่มเลียนแบบท่าทางของหุ่นยนต์ ขณะเดียวกันหุ่นยนต์ก็มีความสามารถในการเลียนแบบท่าทางของเด็กออทิสติกด้วย ส่วนหุ่นยนต์อีก 2 ตัวคือช่างพูดและช่างคุยนั้นทีมวิจัยออกแบบมาเพื่อพัฒนาการพูดของเด็กออทิสติก โดยช่างพูดเป็นหุ่นยนต์ที่ออกเสียงให้เด็กพูดตาม และไม่มีการขยับปากให้เห็นจึงพัฒนาขึ้นเป็นช่างคุย ที่ติดตั้งแท็บเลตเพื่อแสดงรูปปากขณะขยับเป็นเสียงพูด ทีมวิจัยได้ทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์ในเด็กออทิสติกวัย 3-10 ขวบ โดยแบ่งเป็นการทดลองดูความสนใจของเด็กต่อหุ่นยนต์ การทดลองเรื่องการเลียนแบบ และการทดลองเรื่องฝึกพูดซึ่งอยู่ระหว่างการปรับรูปแบบการทดลอง ซึ่งแต่ละการทดลองนั้นทดสอบในเด็ก 10 คน แต่ทุกการทดลองต้องทดสอบในเด็กปกติก่อน และมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดเด็กออทิสติกประจำการทดลอง 2 คน หุ่นยนต์ช่างทำ ทั้งนี้ ทีมวิจัยคาดหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์ไปสู่การเสริมพัฒนาการในเด็กปกติด้วย รวมทั้งพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับแท็บเลตเพื่อเสริมพัฒนาการในส่วนของพัฒนาการ ด้านการพูด และผลจากการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ภายในงานนิทรรศการที่เจนีวาระหว่างวันที่ 10-14 เม.ย.56 ทีมวิจัยได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulation of the Jury) ด้วย ด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยจากทุกหน่วยงานเข้าร่วม แสดงในนิทรรศการที่เจนีวา กล่าวว่า ผลงานที่นำไปจัดแสดงต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นชิ้นเป็นอัน และเป็นผลงานที่จดสิทธิบัตรแล้วหรือกำลังจดสิทธิบัตร งานดังกล่าวที่จัดขึ้นโดยการสนับสนุนของรัฐบาลสวิสและองค์กรทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) มีผลงานสิ่งประดิษฐ์กว่า 1,000 ผลงานจากทั่วโลกร่วมจัดแสดง และมีผลงานประมาณ 30% ที่ไม่ได้รับรางวัลและได้รับเพียงประกาศเกียรติคุณ สำหรับประเทศไทยได้รับรางวัลทั้งหมดรวม 48 รางวัล จากผลงานจัดแสดง 37 ผลงาน ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000047270

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...