สาธิต "คนตาบอด" กาบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 23 ก.พ. สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “โครงการเดินรณรงค์การเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของคนตาบอด” เชิญชวนคนตาบอดพร้อมอาสาสมัครกว่า 100 คน ร่วมเดินรณรงค์ เริ่มต้นขบวนตั้งแต่สวนสันติภาพ สามเหลี่ยมดินแดง ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจนถึงโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ แยกตึกชัย หลังจากนั้นมีกิจกรรมเปิดเวทีให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ได้แถลงนโยบายด้านคนพิการ และการให้ความสะดวกแก่คนตาบอดในการเข้าคูหาเลือกตั้ง พร้อมมีการสาธิตการเลือกตั้งโดยวิธีการลงคะแนนจริงตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด โดยมีเจ้าหน้าที่จากเขตราชเทวีมาอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจ และให้คนตาบอดที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ลองจับบัตรทาบบัตรเลือกตั้ง และได้ลองกาเครื่องหมายกากบาทลงในช่องบัตรเลือกตั้งตัวอย่าง เพื่อให้มีความมั่นใจเมื่อต้องไปเลือกตั้งในวันที่ 3 มี.ค.นี้
นายวีรศักดิ์ ตั้งพูลพันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คนตาบอดที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต่างตื่นตัวที่จะออกมาใช้สิทธิของตนเอง แต่ยังขาดประสบการณ์ ขณะเดียวกันในการลงคะแนนเสียงก็ต้องใช้วิธีกากบาท ซึ่งคนตาบอดไม่คุ้นเคย จึงอาจไม่กล้าออกมาใช้สิทธิ หรืออาจทำให้บัตรที่ลงคะแนนเป็นบัตรเสีย จึงจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้ความรู้ความมั่นใจแก่คนตาบอดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ช่วยกระตุ้นให้คนตาบอดที่อยากใช้สิทธิ มีความกล้าที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการสาธิตการเลือกตั้งนี้ สมาคมเพิ่งเคยจัดครั้งแรก นอกจากจะกระตุ้นให้คนตาบอดตื่นตัวออกมาเลือกตั้งแล้ว ยังอยากบอกกับสังคมว่า ขนาดคนตาบอดซึ่งเป็นคนที่เข้าสิทธิต่างๆ ได้น้อยกว่าคนปกติ ยังออกมารณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นคนปกติที่มีการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้มากกว่าก็ควรให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งด้วย
ในการสาธิตการเลือกตั้งพร้อมเปิดโอกาสคนตาบอดได้ทดลองกาบัตรเลือกตั้งนั้น พบว่า คนตาบอดส่วนหนึ่งมีปัญหาในการกาเครื่องหมายกากบาทลงในช่องบัตร เพราะช่องลงคะแนนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอนแคบๆ ทำให้ทำเครื่องหมายกากบาทค่อนข้างยาก และมีความเสี่ยงที่จะเป็นบัตรเสียได้ง่าย ส่วนการเสนอนโยบายดูแลคนพิการของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพียง 3 รายเท่านั้น ได้แก่ นายวิละ อุดม หมายเลข 1 นายณัฏฐ์ดนัย ภูเบศอรรถวิทย์ หมายเลข 7 และนายประทีป วัชรโชคเกษม หมายเลข 14 ซึ่งมีแนวนโยบายเพื่อคนพิการคล้ายคลึงกัน คือ จะเพิ่มสวัสดิการเพื่อคนตาบอดให้มากขึ้น
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkkelection/186493
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.พ.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “โครงการเดินรณรงค์การเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของคนตาบอด” และ สาธิต "คนตาบอด" กาบัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 23 ก.พ. สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “โครงการเดินรณรงค์การเข้าถึงสิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของคนตาบอด” เชิญชวนคนตาบอดพร้อมอาสาสมัครกว่า 100 คน ร่วมเดินรณรงค์ เริ่มต้นขบวนตั้งแต่สวนสันติภาพ สามเหลี่ยมดินแดง ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปจนถึงโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ แยกตึกชัย หลังจากนั้นมีกิจกรรมเปิดเวทีให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ได้แถลงนโยบายด้านคนพิการ และการให้ความสะดวกแก่คนตาบอดในการเข้าคูหาเลือกตั้ง พร้อมมีการสาธิตการเลือกตั้งโดยวิธีการลงคะแนนจริงตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด โดยมีเจ้าหน้าที่จากเขตราชเทวีมาอธิบายให้ความรู้ความเข้าใจ และให้คนตาบอดที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ลองจับบัตรทาบบัตรเลือกตั้ง และได้ลองกาเครื่องหมายกากบาทลงในช่องบัตรเลือกตั้งตัวอย่าง เพื่อให้มีความมั่นใจเมื่อต้องไปเลือกตั้งในวันที่ 3 มี.ค.นี้ นายวีรศักดิ์ ตั้งพูลพันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สาขากรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า คนตาบอดที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต่างตื่นตัวที่จะออกมาใช้สิทธิของตนเอง แต่ยังขาดประสบการณ์ ขณะเดียวกันในการลงคะแนนเสียงก็ต้องใช้วิธีกากบาท ซึ่งคนตาบอดไม่คุ้นเคย จึงอาจไม่กล้าออกมาใช้สิทธิ หรืออาจทำให้บัตรที่ลงคะแนนเป็นบัตรเสีย จึงจัดกิจกรรมนี้เพื่อให้ความรู้ความมั่นใจแก่คนตาบอดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ช่วยกระตุ้นให้คนตาบอดที่อยากใช้สิทธิ มีความกล้าที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการสาธิตการเลือกตั้งนี้ สมาคมเพิ่งเคยจัดครั้งแรก นอกจากจะกระตุ้นให้คนตาบอดตื่นตัวออกมาเลือกตั้งแล้ว ยังอยากบอกกับสังคมว่า ขนาดคนตาบอดซึ่งเป็นคนที่เข้าสิทธิต่างๆ ได้น้อยกว่าคนปกติ ยังออกมารณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นคนปกติที่มีการเข้าถึงสิทธิต่างๆ ได้มากกว่าก็ควรให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งด้วย ในการสาธิตการเลือกตั้งพร้อมเปิดโอกาสคนตาบอดได้ทดลองกาบัตรเลือกตั้งนั้น พบว่า คนตาบอดส่วนหนึ่งมีปัญหาในการกาเครื่องหมายกากบาทลงในช่องบัตร เพราะช่องลงคะแนนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอนแคบๆ ทำให้ทำเครื่องหมายกากบาทค่อนข้างยาก และมีความเสี่ยงที่จะเป็นบัตรเสียได้ง่าย ส่วนการเสนอนโยบายดูแลคนพิการของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. มีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเพียง 3 รายเท่านั้น ได้แก่ นายวิละ อุดม หมายเลข 1 นายณัฏฐ์ดนัย ภูเบศอรรถวิทย์ หมายเลข 7 และนายประทีป วัชรโชคเกษม หมายเลข 14 ซึ่งมีแนวนโยบายเพื่อคนพิการคล้ายคลึงกัน คือ จะเพิ่มสวัสดิการเพื่อคนตาบอดให้มากขึ้น ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkkelection/186493 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)