3G และเทคโนโลยีเพื่อคนพิการ
สองปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าไปข้องเกี่ยวกับคนพิการ ซึ่งมีทั้งกลุ่มของผู้ที่พิการทางสายตา และผู้ที่พิการทางการได้ยิน ที่สำคัญยังได้สัมผัสกับการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึง 3G Smartphone ฯลฯ ของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ได้เรียนรู้ถึงโอกาสที่เทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้ที่พิการ ในแง่มุมที่คนธรรมดาทั่วไปอาจคาดคิดไม่ถึง
iPhone นับจากรุ่น 3GS ที่ได้เปิดตัวเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ได้ติดตั้งนวัตกรรม VoiceOver ซึ่งมีหน้าที่อธิบายสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพด้วยเสียงสังเคราะห์ เพื่อให้ผู้ที่พิการทางสายตาสามารถรับรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ และมีปฏิสัมพันธ์กับ iPhone ด้วยระบบสัมผัสได้ การอธิบายของ VoiceOver ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบสัมผัส ทำให้ผู้ที่พิการสามารถเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนจอภาพ รวมถึงตำแหน่ง คุณสมบัติ และหน้าที่ VoiceOver สามารถพูดเสียงสังเคราะห์ได้ถึง 36 ภาษา รวมถึงภาษาไทย และสามารถกำหนดความเร็วของเสียงได้
หากเคยสัมผัสกับผู้ที่พิการทางสายตา ในขณะที่กำลังใช้ไอโฟน จะพบว่าพวกเขาส่วนใหญ่ จะกำหนดความเร็วของเสียงสังเคราะห์ให้เร็วเกินกว่าผู้ที่มีร่างกายปกติจะสามารถเข้าใจได้ และในบางครั้ง พวกเขาอาจฟัง SMS, อีเมล์ หรือเว็บเพจ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการอ่านด้วยสายตาของผู้ที่มีร่างกายปกติเสียอีก
สำหรับผู้ที่จิตใจเมตตา และมีไอโฟน ตั้งแต่รุ่น 3GS ขึ้นไป การบริจาคให้กับผู้ที่พิการทางสายตา แทนที่จะเก็บเอาไว้เฉยๆ หรือขายเข้าตลาดมือสอง จะทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในโลกอินเทอร์เน็ตได้ผ่าน 3G และช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ได้อย่างที่อาจคาดคิดไม่ถึง ไอโฟนสำหรับผู้ที่พิการทางสายตานั้น ไม่ใช่สิ่งของฟุ่มเฟือย แต่จะเป็นดวงตาของเขาเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง
สำหรับสมาร์ทโฟนในระบบอื่นๆ กลับไม่ได้พัฒนาการเข้าถึงสำหรับผู้ที่พิการอย่างจริงจัง แม้กระทั่ง Android ก็เพิ่งจะเริ่มให้ความสำคัญกับคนพิการ จากรุ่น Android 4.0 เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว และกระทั่งปัจจุบัน คุณภาพของนวัตกรรมก็ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับไอโฟนได้ จึงเป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากไอโฟนรุ่นใหม่ ราคายังสูงอยู่ ในขณะที่ Android ราคาต่ำกว่า 3,000 บาท เริ่มมีขายในท้องตลาด
จากการสนทนากับผู้บริหารของ Apple จึงทราบว่า หนึ่งในสาเหตุที่ Apple ได้ให้ความสำคัญกับผู้ที่พิการ เกิดจากแรงผลักดันของผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่ง ที่อยู่ในทีมหลักของการพัฒนาไอโฟนจากแรกเริ่ม เขามีบุตรชายฝาแฝดอยู่สองคน ที่พิการทางสายตาโดยกำเนิดทั้งคู่ เขาจึงมีความพยายาม และได้ผลักดันให้ไอโฟน ที่เขาได้ร่วมพัฒนาสามารถถูกใช้งานได้โดยผู้ที่พิการทางสายตาทั้งโลก ซึ่งรวมถึงบุตรชายของเขาด้วย
สำหรับผู้ที่พิการทางการได้ยิน มีอยู่จำนวนมาก ที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่กลับสามารถใช้ภาษามือได้อย่างคล่องแคล่ว สำหรับผู้ที่พิการเหล่านี้ การสื่อสารด้วย SMS ในยุคก่อน 3G จึงไม่ใช่เรื่องที่ถนัด แต่การใช้ สมาร์ทโฟน ควบคู่กับ 3G ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถทำ Video Call กลับทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารด้วยภาษามืออย่างคล่องแคล่วและสะดวก
ผู้ที่ไม่เคยใกล้ชิดผู้ที่พิการทางการได้ยิน อาจมีความเข้าใจผิดว่า ผู้พิการเหล่านี้จะสามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างคนธรรมดาทั่วไป แต่ในความจริงแล้ว ผู้ที่พิการโดยกำเนิดจะใช้ภาษามือเป็นภาษาแรก และภาษามือจะมีโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างจากภาษาเขียน ในขณะที่ภาษาเขียนกับภาษาพูดจะมีโครงสร้างเดียวกัน คนพิการที่ไม่เคยใช้ภาษาพูดมาก่อน จึงอาจไม่มีความคุ้นเคย และเกิดความแตกฉานในภาษาเขียน ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาษาผ่านระบบโทรคมนาคม ก่อนยุคของ 3G สำหรับผู้ที่พิการทางการได้ยิน อาจทำได้ยากกว่าผู้ที่พิการทางสายตาด้วยซ้ำ ซึ่งยังสามารถสื่อสารโดยใช้ระบบเสียงได้
เป็นที่น่าเสียดาย ที่ยังมีผู้เข้าใจผิด ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3G Smartphone จะเกิดประโยชน์เฉพาะผู้ที่มีฐานะ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส คนพิการ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยแต่เปิดโอกาสให้พวกเขามีเครื่องมือทดแทน ที่ทำให้สามารถบริโภคบริการโทรคมนาคม และข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจสร้างความแตกต่างให้กับคนพิการ ได้มากยิ่งกว่ากับคนธรรมดาเสียอีก…โดย : ดร.อธิป อัศวานันท์
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สองปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าไปข้องเกี่ยวกับคนพิการ ซึ่งมีทั้งกลุ่มของผู้ที่พิการทางสายตา และผู้ที่พิการทางการได้ยิน ที่สำคัญยังได้สัมผัสกับการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึง 3G Smartphone ฯลฯ ของกลุ่มคนเหล่านี้ จึงทำให้ได้เรียนรู้ถึงโอกาสที่เทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้กับผู้ที่พิการ ในแง่มุมที่คนธรรมดาทั่วไปอาจคาดคิดไม่ถึง iPhone นับจากรุ่น 3GS ที่ได้เปิดตัวเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ได้ติดตั้งนวัตกรรม VoiceOver ซึ่งมีหน้าที่อธิบายสิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพด้วยเสียงสังเคราะห์ เพื่อให้ผู้ที่พิการทางสายตาสามารถรับรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ และมีปฏิสัมพันธ์กับ iPhone ด้วยระบบสัมผัสได้ การอธิบายของ VoiceOver ถูกออกแบบให้เชื่อมโยงกับระบบสัมผัส ทำให้ผู้ที่พิการสามารถเข้าใจถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนจอภาพ รวมถึงตำแหน่ง คุณสมบัติ และหน้าที่ VoiceOver สามารถพูดเสียงสังเคราะห์ได้ถึง 36 ภาษา รวมถึงภาษาไทย และสามารถกำหนดความเร็วของเสียงได้ หากเคยสัมผัสกับผู้ที่พิการทางสายตา ในขณะที่กำลังใช้ไอโฟน จะพบว่าพวกเขาส่วนใหญ่ จะกำหนดความเร็วของเสียงสังเคราะห์ให้เร็วเกินกว่าผู้ที่มีร่างกายปกติจะสามารถเข้าใจได้ และในบางครั้ง พวกเขาอาจฟัง SMS, อีเมล์ หรือเว็บเพจ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการอ่านด้วยสายตาของผู้ที่มีร่างกายปกติเสียอีก สำหรับผู้ที่จิตใจเมตตา และมีไอโฟน ตั้งแต่รุ่น 3GS ขึ้นไป การบริจาคให้กับผู้ที่พิการทางสายตา แทนที่จะเก็บเอาไว้เฉยๆ หรือขายเข้าตลาดมือสอง จะทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในโลกอินเทอร์เน็ตได้ผ่าน 3G และช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ได้อย่างที่อาจคาดคิดไม่ถึง ไอโฟนสำหรับผู้ที่พิการทางสายตานั้น ไม่ใช่สิ่งของฟุ่มเฟือย แต่จะเป็นดวงตาของเขาเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตอย่างแท้จริง สำหรับสมาร์ทโฟนในระบบอื่นๆ กลับไม่ได้พัฒนาการเข้าถึงสำหรับผู้ที่พิการอย่างจริงจัง แม้กระทั่ง Android ก็เพิ่งจะเริ่มให้ความสำคัญกับคนพิการ จากรุ่น Android 4.0 เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว และกระทั่งปัจจุบัน คุณภาพของนวัตกรรมก็ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับไอโฟนได้ จึงเป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากไอโฟนรุ่นใหม่ ราคายังสูงอยู่ ในขณะที่ Android ราคาต่ำกว่า 3,000 บาท เริ่มมีขายในท้องตลาด จากการสนทนากับผู้บริหารของ Apple จึงทราบว่า หนึ่งในสาเหตุที่ Apple ได้ให้ความสำคัญกับผู้ที่พิการ เกิดจากแรงผลักดันของผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่ง ที่อยู่ในทีมหลักของการพัฒนาไอโฟนจากแรกเริ่ม เขามีบุตรชายฝาแฝดอยู่สองคน ที่พิการทางสายตาโดยกำเนิดทั้งคู่ เขาจึงมีความพยายาม และได้ผลักดันให้ไอโฟน ที่เขาได้ร่วมพัฒนาสามารถถูกใช้งานได้โดยผู้ที่พิการทางสายตาทั้งโลก ซึ่งรวมถึงบุตรชายของเขาด้วย สำหรับผู้ที่พิการทางการได้ยิน มีอยู่จำนวนมาก ที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างเชี่ยวชาญ แต่กลับสามารถใช้ภาษามือได้อย่างคล่องแคล่ว สำหรับผู้ที่พิการเหล่านี้ การสื่อสารด้วย SMS ในยุคก่อน 3G จึงไม่ใช่เรื่องที่ถนัด แต่การใช้ สมาร์ทโฟน ควบคู่กับ 3G ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถทำ Video Call กลับทำให้พวกเขาสามารถสื่อสารด้วยภาษามืออย่างคล่องแคล่วและสะดวก ผู้ที่ไม่เคยใกล้ชิดผู้ที่พิการทางการได้ยิน อาจมีความเข้าใจผิดว่า ผู้พิการเหล่านี้จะสามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างคนธรรมดาทั่วไป แต่ในความจริงแล้ว ผู้ที่พิการโดยกำเนิดจะใช้ภาษามือเป็นภาษาแรก และภาษามือจะมีโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างจากภาษาเขียน ในขณะที่ภาษาเขียนกับภาษาพูดจะมีโครงสร้างเดียวกัน คนพิการที่ไม่เคยใช้ภาษาพูดมาก่อน จึงอาจไม่มีความคุ้นเคย และเกิดความแตกฉานในภาษาเขียน ดังนั้นการสื่อสารด้วยภาษาผ่านระบบโทรคมนาคม ก่อนยุคของ 3G สำหรับผู้ที่พิการทางการได้ยิน อาจทำได้ยากกว่าผู้ที่พิการทางสายตาด้วยซ้ำ ซึ่งยังสามารถสื่อสารโดยใช้ระบบเสียงได้ เป็นที่น่าเสียดาย ที่ยังมีผู้เข้าใจผิด ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3G Smartphone จะเกิดประโยชน์เฉพาะผู้ที่มีฐานะ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้น แต่ที่จริงแล้วการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกวิธี สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ ให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส คนพิการ ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยแต่เปิดโอกาสให้พวกเขามีเครื่องมือทดแทน ที่ทำให้สามารถบริโภคบริการโทรคมนาคม และข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจสร้างความแตกต่างให้กับคนพิการ ได้มากยิ่งกว่ากับคนธรรมดาเสียอีก…โดย : ดร.อธิป อัศวานันท์ ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/atip/20130402/498240/3G-และเทคโนโลยีเพื่อคนพิการ.html
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)