"รถไฟ" เพื่อคนพิการ มิติใหม่แห่งขนส่งระบบราง เคลื่อนขบวนรับ "สงกรานต์"

แสดงความคิดเห็น

ขบวนโบกี้ที่ปรับปรุงสำหรับคนพิการ

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และพูดถึงอย่างวงกว้าง กรณี "พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท" เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะภาพฝันที่ใครต่อใครหวังจะให้มีเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง "รถไฟความเร็วสูง" แต่กระนั้น ในวันซึ่งสิ่งที่คาดหวังเดินทางมายังไม่ถึง "รถไฟ" ที่มีอยู่และต้องให้บริการประชาชนต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการพัฒนาปรับปรุง แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องความเร็ว แต่ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้ อย่างล่าสุดที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" เล็งเห็นถึงความยากลำบากของคนพิการและคนติดตาม จึงได้อำนวยความสะดวก และเริ่มนำร่องในหัวข้อ "สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ" ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม

ในวันเปิดตัวโครงการ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า เป็นหนึ่งในโครงการใต้แผนงานกระทรวง ซึ่งในส่วนของการรถไฟฯได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพงให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนผู้ที่มาใช้บริการ และยังได้เน้นย้ำเรื่องของการขยายไปยังสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงดำเนินการแบบครบวงจรให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่ง และต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการด้วย

ลิฟต์สำหรับผู้พิการขาต้องนั่งวีลแชร์ เมื่อทราบโครงการดีๆ อย่างนี้ จึงต้องไปชมให้เห็นกับตาถึงสถานีรถไฟที่ผู้คนใช้บริการมากที่สุดอย่าง "หัวลำโพง" มีโอกาสได้พูดคุยกับ บัณฑิต เชาวน์สวน หัวหน้าหมวดระเบียบการโดยสาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโดยจะนำตู้โดยสาร 10 ตู้ หรือ 10 โบกี้ ที่ดัดแปลงสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ (wheel chair) ออกมาพ่วงกับขบวนรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวก ใน 4 เส้นทาง ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชนแล้ว ใน 2 เส้นทาง นั่นคือ สายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ และขบวนรถด่วน 69/70 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นการนำร่องก่อน "โบกี้สำหรับคนพิการ นี้ รถนั่งปรับอากาศ ชั้น 2 จะมีลิฟต์ยกวีลแชร์ มีเข็มขัดรัด เบาะ 1-6 สำหรับคนพิการ เบาะ 7-12 สำหรับคนติดตาม เก้าอี้นั่งที่ห่างกว่ารถไฟปกติ มีที่สำหรับล็อกวีลแชร์ ทั้งหมด 30 ที่นั่ง มีห้องน้ำสำหรับคนพิการที่มีราวจับ และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือด้วย

"เรามีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 1 โบกี้ โดย 1 คน เป็นช่างเทคนิคควบคุมการขึ้น-ลงของลิฟต์ และอีก 1 คน คอยบริการดูแลคนพิการที่ไม่มีคนติดตาม" บัณฑิตกล่าว

สำหรับอัตรา ค่าโดยสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 การรถไฟฯลดราคาค่าโดยสารสำหรับคนพิการร้อยละ 50 ตลอดปี และคิดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ 90 บาท/ที่นั่ง/ทุกระยะทาง โดยผู้ติดตามดูแลคนพิการลดค่าโดยสารร้อยละ 25 ด้วย

ด้านผู้ใช้บริการ ทั่วไปอย่าง สมใจ ชูโต อายุ 63 ปี อาชีพทำสวน บอกว่า เห็นด้วยที่จะมีโบกี้สำหรับคนพิการ ซึ่งน่าจะดีสำหรับคนพิการ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้ แต่ก็อยากให้มีทุกเส้นทางของประเทศไทยด้วย น่าจะส่งผลดีสำหรับคนพิการ เพราะเท่าที่สังเกตประตูรถไฟนั้นเล็กและชัน เวลาขึ้นก็ลำบาก ถ้ามีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการโดยเฉพาะก็น่าจะมีประโยชน์ ซึ่งควรที่จะมีนานแล้ว

ช่องทางเดินที่กว้าง "การปรับปรุงนี้ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนพิการที่จะโดยสารรถไฟ น่าจะมีจำนวนคนพิการที่มาใช้บริการรถไฟเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้การเดินทางโดยรถไฟไม่เอื้อสำหรับคนพิการ ทำให้มีคนพิการมาใช้บริการน้อย แต่ถ้ามีตู้สำหรับคนพิการน่าจะมีคนพิการมาใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะว่าสะดวกขึ้นมาก

"เมืองนอกมีนานแล้ว บ้านเราเพิ่งจะมี และยังห่วงเรื่องขบวนรถว่าจะมีเพียงพอสำหรับทุกขบวนทุกสายหรือเปล่า" ผู้ใช้บริการรถไฟตั้งข้อสังเกต และสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ "มิติใหม่" รถไฟไทยโดยตรง

ชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อคนพิการในทุกประเภทจริงๆ และมีแนวคิดที่จะทำเรื่องโบกี้สำหรับคนพิการมานานแล้ว แต่ก็เพิ่งเริ่มและก็มาสำเร็จในปีนี้ โดยจากการติดตามข่าว จะมีการให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในวันที่ 11 เมษายน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย และ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ก็ทราบมาอีกว่ายังไม่มีคนพิการไปจองเท่าที่ควร

ผอ.สภาคนพิการฯ ตั้งข้อสังเกตเป็นคำถามว่า ถ้าขึ้นจากหัวลำโพงไปลงสถานีรายทางในต่างจังหวัด ถามว่าลงไปแล้ว สะดวกสบายเหมือนที่หัวลำโพงหรือไม่? "ตอนนี้โครงการนำร่องมีแค่ที่หัวลำโพง แต่สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องไปยังสถานีต่างๆ ในต่างจังหวัด บางทีก็ลำบาก ลงรถไฟแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ผมคิดว่าเราต้องพัฒนาสถานีรถไฟทั้งประเทศให้เอื้อสำหรับคนพิการ ถามว่า คนพิการเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ได้มั้ย กลับบ้านได้ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง แต่ตอนลงนี้เราก็ไม่รู้ว่าทางสถานีเค้าเตรียมความพร้อมไว้แค่ไหน เชื่อว่ายังต้องใช้เวลา 3-5 ปี ในการปรับปรุง" ชัยพรกล่าว

จากการ ที่มีโอกาสได้ไปสัมผัสขบวนโบกี้สำหรับคนพิการมาแล้ว ผอ.ชัยพรบอกว่า มีความสะดวกสบาย และอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกประเภทสามารถเดินทางได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการขาที่ต้องนั่งวีลแชร์ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ หากแต่ที่ต้องเพิ่มเติมก็คือ เรื่องสถานีปลายทาง

ขณะนี้เป็นโครงการ นำร่อง ทางเราเข้าใจเจตนาดี และด้วยความเมตตาของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ก็ฝากไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีอำนาจว่า เมื่อผู้พิการเดินทางแล้ว ระหว่างทางหรือปลายทาง คนพิการต้องสามารถลงได้ และเดินทางต่อไปเองได้ด้วย" ชัยพรกล่าว

เป็นเรื่องที่ รมว.ชัชชาติรวมถึง ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรรับไปพิจารณา

แต่ สำหรับการนำร่องคราวนี้ ก็ถือเป็นแต้มบวก เป็นการปรับตัวในเรื่องให้บริการ และอำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารซึ่งเป็นผู้พิการทุกประเภท เป็นมิติใหม่สำหรับ "รถไฟไทย" ในวันที่ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเดินทางมาไม่ถึง…..โดย อาทิตย์ แสนประเสริฐ

ขอบคุณ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365744518&grpid=&catid=19&subcatid=1904 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 13/04/2556 เวลา 02:32:38 ดูภาพสไลด์โชว์ "รถไฟ" เพื่อคนพิการ มิติใหม่แห่งขนส่งระบบราง เคลื่อนขบวนรับ "สงกรานต์"

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขบวนโบกี้ที่ปรับปรุงสำหรับคนพิการ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์และพูดถึงอย่างวงกว้าง กรณี "พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท" เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะภาพฝันที่ใครต่อใครหวังจะให้มีเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง "รถไฟความเร็วสูง" แต่กระนั้น ในวันซึ่งสิ่งที่คาดหวังเดินทางมายังไม่ถึง "รถไฟ" ที่มีอยู่และต้องให้บริการประชาชนต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับการพัฒนาปรับปรุง แม้อาจจะไม่ใช่เรื่องความเร็ว แต่ด้านอื่นๆ ก็สามารถทำได้ อย่างล่าสุดที่ "การรถไฟแห่งประเทศไทย" เล็งเห็นถึงความยากลำบากของคนพิการและคนติดตาม จึงได้อำนวยความสะดวก และเริ่มนำร่องในหัวข้อ "สะดวก ปลอดภัย คมนาคมยุคใหม่ใส่ใจคนพิการ" ก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ในวันเปิดตัวโครงการ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า เป็นหนึ่งในโครงการใต้แผนงานกระทรวง ซึ่งในส่วนของการรถไฟฯได้มอบหมายให้มีการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพงให้เกิดความสะดวกต่อประชาชนผู้ที่มาใช้บริการ และยังได้เน้นย้ำเรื่องของการขยายไปยังสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ รวมถึงดำเนินการแบบครบวงจรให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่ง และต้องเอื้อประโยชน์ต่อผู้พิการด้วย ลิฟต์สำหรับผู้พิการขาต้องนั่งวีลแชร์ เมื่อทราบโครงการดีๆ อย่างนี้ จึงต้องไปชมให้เห็นกับตาถึงสถานีรถไฟที่ผู้คนใช้บริการมากที่สุดอย่าง "หัวลำโพง" มีโอกาสได้พูดคุยกับ บัณฑิต เชาวน์สวน หัวหน้าหมวดระเบียบการโดยสาร ซึ่งให้ข้อมูลว่า ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงโดยจะนำตู้โดยสาร 10 ตู้ หรือ 10 โบกี้ ที่ดัดแปลงสำหรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถวีลแชร์ (wheel chair) ออกมาพ่วงกับขบวนรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวก ใน 4 เส้นทาง ซึ่งได้เปิดให้บริการประชาชนแล้ว ใน 2 เส้นทาง นั่นคือ สายเหนือและสาย ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 1/2 กรุงเทพฯ-เชียงใหม่-กรุงเทพฯ และขบวนรถด่วน 69/70 กรุงเทพฯ-หนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นการนำร่องก่อน "โบกี้สำหรับคนพิการ นี้ รถนั่งปรับอากาศ ชั้น 2 จะมีลิฟต์ยกวีลแชร์ มีเข็มขัดรัด เบาะ 1-6 สำหรับคนพิการ เบาะ 7-12 สำหรับคนติดตาม เก้าอี้นั่งที่ห่างกว่ารถไฟปกติ มีที่สำหรับล็อกวีลแชร์ ทั้งหมด 30 ที่นั่ง มีห้องน้ำสำหรับคนพิการที่มีราวจับ และมีปุ่มกดฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือด้วย "เรามีพนักงานดูแล 2 คนต่อ 1 โบกี้ โดย 1 คน เป็นช่างเทคนิคควบคุมการขึ้น-ลงของลิฟต์ และอีก 1 คน คอยบริการดูแลคนพิการที่ไม่มีคนติดตาม" บัณฑิตกล่าว สำหรับอัตรา ค่าโดยสาร เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 การรถไฟฯลดราคาค่าโดยสารสำหรับคนพิการร้อยละ 50 ตลอดปี และคิดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ 90 บาท/ที่นั่ง/ทุกระยะทาง โดยผู้ติดตามดูแลคนพิการลดค่าโดยสารร้อยละ 25 ด้วย ด้านผู้ใช้บริการ ทั่วไปอย่าง สมใจ ชูโต อายุ 63 ปี อาชีพทำสวน บอกว่า เห็นด้วยที่จะมีโบกี้สำหรับคนพิการ ซึ่งน่าจะดีสำหรับคนพิการ สามารถอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการได้ แต่ก็อยากให้มีทุกเส้นทางของประเทศไทยด้วย น่าจะส่งผลดีสำหรับคนพิการ เพราะเท่าที่สังเกตประตูรถไฟนั้นเล็กและชัน เวลาขึ้นก็ลำบาก ถ้ามีทางขึ้นลงสำหรับคนพิการโดยเฉพาะก็น่าจะมีประโยชน์ ซึ่งควรที่จะมีนานแล้ว ช่องทางเดินที่กว้าง "การปรับปรุงนี้ น่าจะเป็นทางเลือกสำหรับคนพิการที่จะโดยสารรถไฟ น่าจะมีจำนวนคนพิการที่มาใช้บริการรถไฟเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้การเดินทางโดยรถไฟไม่เอื้อสำหรับคนพิการ ทำให้มีคนพิการมาใช้บริการน้อย แต่ถ้ามีตู้สำหรับคนพิการน่าจะมีคนพิการมาใช้บริการเพิ่มขึ้น เพราะว่าสะดวกขึ้นมาก "เมืองนอกมีนานแล้ว บ้านเราเพิ่งจะมี และยังห่วงเรื่องขบวนรถว่าจะมีเพียงพอสำหรับทุกขบวนทุกสายหรือเปล่า" ผู้ใช้บริการรถไฟตั้งข้อสังเกต และสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ "มิติใหม่" รถไฟไทยโดยตรง ชัยพร ภูผารัตน์ ผู้อำนวยการสภาคนพิการทุกประเภทแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อคนพิการในทุกประเภทจริงๆ และมีแนวคิดที่จะทำเรื่องโบกี้สำหรับคนพิการมานานแล้ว แต่ก็เพิ่งเริ่มและก็มาสำเร็จในปีนี้ โดยจากการติดตามข่าว จะมีการให้บริการอย่างเป็นทางการเต็มรูปแบบในวันที่ 11 เมษายน ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย และ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ แต่ก็ทราบมาอีกว่ายังไม่มีคนพิการไปจองเท่าที่ควร ผอ.สภาคนพิการฯ ตั้งข้อสังเกตเป็นคำถามว่า ถ้าขึ้นจากหัวลำโพงไปลงสถานีรายทางในต่างจังหวัด ถามว่าลงไปแล้ว สะดวกสบายเหมือนที่หัวลำโพงหรือไม่? "ตอนนี้โครงการนำร่องมีแค่ที่หัวลำโพง แต่สำหรับการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งต้องไปยังสถานีต่างๆ ในต่างจังหวัด บางทีก็ลำบาก ลงรถไฟแล้วก็ไปต่อไม่ได้ ผมคิดว่าเราต้องพัฒนาสถานีรถไฟทั้งประเทศให้เอื้อสำหรับคนพิการ ถามว่า คนพิการเดินทางกลับบ้านช่วงสงกรานต์ได้มั้ย กลับบ้านได้ ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง แต่ตอนลงนี้เราก็ไม่รู้ว่าทางสถานีเค้าเตรียมความพร้อมไว้แค่ไหน เชื่อว่ายังต้องใช้เวลา 3-5 ปี ในการปรับปรุง" ชัยพรกล่าว จากการ ที่มีโอกาสได้ไปสัมผัสขบวนโบกี้สำหรับคนพิการมาแล้ว ผอ.ชัยพรบอกว่า มีความสะดวกสบาย และอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการทุกประเภทสามารถเดินทางได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการขาที่ต้องนั่งวีลแชร์ ผู้พิการทางสายตา ฯลฯ หากแต่ที่ต้องเพิ่มเติมก็คือ เรื่องสถานีปลายทาง ขณะนี้เป็นโครงการ นำร่อง ทางเราเข้าใจเจตนาดี และด้วยความเมตตาของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ก็ฝากไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีอำนาจว่า เมื่อผู้พิการเดินทางแล้ว ระหว่างทางหรือปลายทาง คนพิการต้องสามารถลงได้ และเดินทางต่อไปเองได้ด้วย" ชัยพรกล่าว เป็นเรื่องที่ รมว.ชัชชาติรวมถึง ประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ควรรับไปพิจารณา แต่ สำหรับการนำร่องคราวนี้ ก็ถือเป็นแต้มบวก เป็นการปรับตัวในเรื่องให้บริการ และอำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารซึ่งเป็นผู้พิการทุกประเภท เป็นมิติใหม่สำหรับ "รถไฟไทย" ในวันที่ "รถไฟความเร็วสูง" ยังเดินทางมาไม่ถึง…..โดย อาทิตย์ แสนประเสริฐ ขอบคุณ… http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365744518&grpid=&catid=19&subcatid=1904

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...