'จัตุรัสอารยสถาปัตย์'ที่สยาม-แยกปทุมวัน (1)

แสดงความคิดเห็น

กฤษนะ ละไล ลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล ช่วงก่อนการชุมนุมใหญ่ “ชัดดาวน์กรุงเทพ” เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ผมและน้องๆเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ “ไอซ์,ทราย,พูโซ,พริม,มิเชล,เจม,ช็อปเปอร์” ได้พากันไปลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ 2 แห่ง คือ (1) สุขุมวิท-ชิดลม ย่านธุรกิจการค้า และสำนักงาน (2) สยาม-แยกปทุมวัน แหล่งวัยรุ่น และช็อปปิ้งท่องเที่ยวที่มี่ชื่อเสียงของเมืองไทย

เริ่มจากสุขุมวิท-ชิดลม เราเดิน และเข็นๆสำรวจกันบริเวณด้านหน้าห้างเซ็นทรัลชิดลม อาคารเมอคิวรี่ ต่อเนื่องถึงสถานีรถไฟฟ้าชิดลม ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่า ขนาดในย่านที่เป็นแหล่งธุรกิจการค้าชั้นนำของชาติ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีอารยสถาปัตย์อย่างที่ควรจะเป็น ปัญหาใหญ่คือการไม่มีลิฟต์ (สถานีบีทีเอสชิดลม) และไม่มีทางลาดที่เชื่อมต่อกันได้ระหว่างตึกอาคาร ฟุตบาท และสถานีรถไฟฟ้า

ตึกอาคารส่วนใหญ่ในย่านดังกล่าว โดยเฉพาะตึกที่สร้างขึ้นมาใหม่ หลังจากมีกฎหมายบังคับใช้เรื่องการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆสำหรับผู้ สูงอายุ และผู้พิการแล้วก็ตาม แม้จะมีทางลาดสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์บ้าง (รวมถึงรถเข็นสำหรับขนของด้วย) แต่ก็มักจะทำไว้ด้านข้างตัวอาคาร บางตึกทางลาดอยู่ข้างหลัง ส่วนด้านหน้าจะเป็นบันได จุดเชื่อมต่อฟุตบาททางเท้าด้านหน้าอาคาร ก็ไม่ได้ทำทางลาด มีแต่ขั้นบันได คนแก่ คนพิการ หรือคนที่นั่งวีลแชร์ ก็ไปไม่ได้ แต่ไม่มีใครสนใจ เวลานักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านมาเห็นเข้า คงเข้าใจว่าเมืองไทยยังล้าหลังเหลือเกิน

โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ชิดลมยิ่งไปกันใหญ่ เปิดให้บริการมา 15 ปีแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทันสมัยอีกอย่างหนึ่งของกรุงเทพ และประเทศไทย แต่ทำไมถึงยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆให้บริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง เดินขึ้นบันไดไม่ไหว สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็กก็ขึ้นลงลำบาก ทั้งไม่สะดวก และไม่ปลอดภัย ความจริงที่สถานีนี้น่าจะมีลิฟต์ให้บริการตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มี ?

เรื่องตลกที่ขำไม่ออกอีกจุดหนึ่ง คือ บริเวณทางเดินเชื่อมต่อด้านบนระหว่างสถานีรถไฟฟ้าที่ชิดลมกับตัวอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าแถวนั้น ปรากฏว่า ด้านหนึ่งไม่มีทางลาดเลย เจอแต่บันได แต่อีกด้านหนึ่ง มีทางลาดเหมือนกัน แต่ลาดขึ้นไปเจอบันไดอีก 5-7 ขั้น มันก็ไปไม่ได้อยู่ดี แต่ก็ไม่มีใครคิดจะทำอะไร ไม่มีการแก้ไขใดๆ ปล่อยกันไว้อย่างนั้น น่าเศร้าใจกับย่านธุรกิจใหญ่ใจกลางเมือง

ส่วนที่ย่านสยาม-แยกปทุมวัน จุดตัดระหว่างถนนพระราม 1 กับถนนพญาไท ศูนย์กลางธุรกิจการค้า และแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ผมเคยเสนอให้ท่านผู้ว่า กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ให้ กทม.ปรับปรุงพัฒนาย่านนี้เป็น “จัตุรัสอารยสถาปัตย์” หรือ Universal Design Square ที่ถึงพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ เพราะย่านนี้สามารถทำเป็นจุดโชว์เพื่อ โปรโมทประเทศไทยในฐานะเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ซึ่งจะเป็นสร้างโอกาส และรายได้จากการท่องเที่ยวไทยได้อีกมหาศาล

กฤษนะ ละไล ลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ โดยทำอารยสถาปัตย์เชื่อมโยงกันทั่วทุกจุดทั้ง 4 มุมถนน คือ มีลิฟต์ขึ้นลงสะพานลอยทั้ง 4 ด้าน หรือจุดหลักทุกจุดที่มีคนใช้บริการ มีอักษรเบรลล์ให้บริการคนตาบอด ทั้งที่ตัวลิฟต์ และจุดบริการนักท่องเที่ยวต่างๆ และต้องทำทางลาดเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุด แบบ “โตเกียวโมเดล” ให้คนทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ในบริการสาธารณะทุกรูปแบบ และในทุกตึกอาคาร โดยทางลาดควรต้องมีทุกจุดที่มีบันได หรือถ้าพื้นที่แคบ ทำทางลาดอย่างเดียวก็ได้ เพราะคนปกติเดินได้อยู่แล้ว แถมสะดวกกว่าขึ้นลงบันไดด้วยซ้ำไป ที่สำคัญคือทุกตึกต้องทำทางลาดโชว์อยู่ด้านหน้า

อีกทั้งต้องมีป้ายสัญลักษณ์รูปวีลแชร์พื้นน้ำเงินเป็นภาษาสากลเพื่อจะบอกชาวโลกว่า สถานที่แห่งนี้ ทันสมัย และพัฒนาแล้ว สามารถให้บริการผู้สูงอายุ และผู้พิการ ได้โดยสะดวก ปลอดภัย เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม เป็นการแสดงแสนยานุภาพความเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของกรุงเทพในเวทีโลก และประกาศความพร้อมในการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง

จากการลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านดังกล่าว พบว่า ฟุตบาททางเท้าหลายจุดมีการชำรุด ทำให้ผู้ที่นั่งรถเข็น เข็นไม่สะดวก และอันตราย เพราะอาจสะดุดหัวทิ่มได้ การเชื่อมต่อทางลาดต่าง ๆ ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เท่าที่ควร อย่างเช่น ทางลาดด้านบนสถานีรถไฟฟ้าหน้าสยามเซ็นเตอร์ ออกมาจากตึกดิจิตอลเกตเวย์ซึ่งมีการทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างดีมาก แต่พอข้ามมาฝั่งสยามเซ็นเตอร์ กลับเจอบันไดหลายขั้นขวางหน้า ต้องยกๆแบกๆกันเหงื่อตกถึงจะเข้าไปข้างในห้างนั้นได้ แต่พอเข้าไปในห้างกลับมีห้องน้ำสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ไว้ให้บริการ อย่างดี ถ้ามีการแก้ไขโดยทำทางลาดเพิ่มตรงบันไดเชื่อมมาจากสถานีรถไฟฟ้าที่ว่าจะดี เยี่ยมมาก

ปัญหาเรื่องอารยสถาปัตย์ในแหล่งศูนย์กลางความเจริญทางด้านต่าง ๆ ในกรุงเทพ ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องมีการปฏิรูปโดยเร่งด่วนด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ทราบว่าลุงกำนันจะสนใจเรื่องเหล่านี้บ้างหรือเปล่านะครับ

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140127/177629.html (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57
วันที่โพสต์: 28/01/2557 เวลา 03:11:17 ดูภาพสไลด์โชว์ 'จัตุรัสอารยสถาปัตย์'ที่สยาม-แยกปทุมวัน (1)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กฤษนะ ละไล ลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ คอลัมน์ กฤษนะทัวร์ยกล้อ โดย... กฤษนะ ละไล ช่วงก่อนการชุมนุมใหญ่ “ชัดดาวน์กรุงเทพ” เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทยก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ผมและน้องๆเยาวชนทูตอารยสถาปัตย์ “ไอซ์,ทราย,พูโซ,พริม,มิเชล,เจม,ช็อปเปอร์” ได้พากันไปลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ 2 แห่ง คือ (1) สุขุมวิท-ชิดลม ย่านธุรกิจการค้า และสำนักงาน (2) สยาม-แยกปทุมวัน แหล่งวัยรุ่น และช็อปปิ้งท่องเที่ยวที่มี่ชื่อเสียงของเมืองไทย เริ่มจากสุขุมวิท-ชิดลม เราเดิน และเข็นๆสำรวจกันบริเวณด้านหน้าห้างเซ็นทรัลชิดลม อาคารเมอคิวรี่ ต่อเนื่องถึงสถานีรถไฟฟ้าชิดลม ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยนะครับว่า ขนาดในย่านที่เป็นแหล่งธุรกิจการค้าชั้นนำของชาติ แต่ก็ยังไม่ค่อยมีอารยสถาปัตย์อย่างที่ควรจะเป็น ปัญหาใหญ่คือการไม่มีลิฟต์ (สถานีบีทีเอสชิดลม) และไม่มีทางลาดที่เชื่อมต่อกันได้ระหว่างตึกอาคาร ฟุตบาท และสถานีรถไฟฟ้า ตึกอาคารส่วนใหญ่ในย่านดังกล่าว โดยเฉพาะตึกที่สร้างขึ้นมาใหม่ หลังจากมีกฎหมายบังคับใช้เรื่องการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆสำหรับผู้ สูงอายุ และผู้พิการแล้วก็ตาม แม้จะมีทางลาดสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์บ้าง (รวมถึงรถเข็นสำหรับขนของด้วย) แต่ก็มักจะทำไว้ด้านข้างตัวอาคาร บางตึกทางลาดอยู่ข้างหลัง ส่วนด้านหน้าจะเป็นบันได จุดเชื่อมต่อฟุตบาททางเท้าด้านหน้าอาคาร ก็ไม่ได้ทำทางลาด มีแต่ขั้นบันได คนแก่ คนพิการ หรือคนที่นั่งวีลแชร์ ก็ไปไม่ได้ แต่ไม่มีใครสนใจ เวลานักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านมาเห็นเข้า คงเข้าใจว่าเมืองไทยยังล้าหลังเหลือเกิน โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ชิดลมยิ่งไปกันใหญ่ เปิดให้บริการมา 15 ปีแล้ว เป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทันสมัยอีกอย่างหนึ่งของกรุงเทพ และประเทศไทย แต่ทำไมถึงยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆให้บริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือแม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง เดินขึ้นบันไดไม่ไหว สตรีมีครรภ์ และเด็กเล็กก็ขึ้นลงลำบาก ทั้งไม่สะดวก และไม่ปลอดภัย ความจริงที่สถานีนี้น่าจะมีลิฟต์ให้บริการตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว แต่จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มี ? เรื่องตลกที่ขำไม่ออกอีกจุดหนึ่ง คือ บริเวณทางเดินเชื่อมต่อด้านบนระหว่างสถานีรถไฟฟ้าที่ชิดลมกับตัวอาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าแถวนั้น ปรากฏว่า ด้านหนึ่งไม่มีทางลาดเลย เจอแต่บันได แต่อีกด้านหนึ่ง มีทางลาดเหมือนกัน แต่ลาดขึ้นไปเจอบันไดอีก 5-7 ขั้น มันก็ไปไม่ได้อยู่ดี แต่ก็ไม่มีใครคิดจะทำอะไร ไม่มีการแก้ไขใดๆ ปล่อยกันไว้อย่างนั้น น่าเศร้าใจกับย่านธุรกิจใหญ่ใจกลางเมือง ส่วนที่ย่านสยาม-แยกปทุมวัน จุดตัดระหว่างถนนพระราม 1 กับถนนพญาไท ศูนย์กลางธุรกิจการค้า และแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตอีกแห่งหนึ่งในกรุงเทพ ผมเคยเสนอให้ท่านผู้ว่า กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ให้ กทม.ปรับปรุงพัฒนาย่านนี้เป็น “จัตุรัสอารยสถาปัตย์” หรือ Universal Design Square ที่ถึงพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้พิการ เพราะย่านนี้สามารถทำเป็นจุดโชว์เพื่อ โปรโมทประเทศไทยในฐานะเมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ซึ่งจะเป็นสร้างโอกาส และรายได้จากการท่องเที่ยวไทยได้อีกมหาศาล กฤษนะ ละไล ลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านใจกลางกรุงเทพ โดยทำอารยสถาปัตย์เชื่อมโยงกันทั่วทุกจุดทั้ง 4 มุมถนน คือ มีลิฟต์ขึ้นลงสะพานลอยทั้ง 4 ด้าน หรือจุดหลักทุกจุดที่มีคนใช้บริการ มีอักษรเบรลล์ให้บริการคนตาบอด ทั้งที่ตัวลิฟต์ และจุดบริการนักท่องเที่ยวต่างๆ และต้องทำทางลาดเชื่อมโยงไปได้ทั่วทุกจุด แบบ “โตเกียวโมเดล” ให้คนทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ในบริการสาธารณะทุกรูปแบบ และในทุกตึกอาคาร โดยทางลาดควรต้องมีทุกจุดที่มีบันได หรือถ้าพื้นที่แคบ ทำทางลาดอย่างเดียวก็ได้ เพราะคนปกติเดินได้อยู่แล้ว แถมสะดวกกว่าขึ้นลงบันไดด้วยซ้ำไป ที่สำคัญคือทุกตึกต้องทำทางลาดโชว์อยู่ด้านหน้า อีกทั้งต้องมีป้ายสัญลักษณ์รูปวีลแชร์พื้นน้ำเงินเป็นภาษาสากลเพื่อจะบอกชาวโลกว่า สถานที่แห่งนี้ ทันสมัย และพัฒนาแล้ว สามารถให้บริการผู้สูงอายุ และผู้พิการ ได้โดยสะดวก ปลอดภัย เป็นธรรม ทั่วถึง และเท่าเทียม เป็นการแสดงแสนยานุภาพความเป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำของกรุงเทพในเวทีโลก และประกาศความพร้อมในการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดีอีกทางหนึ่ง จากการลงพื้นที่สำรวจอารยสถาปัตย์ในย่านดังกล่าว พบว่า ฟุตบาททางเท้าหลายจุดมีการชำรุด ทำให้ผู้ที่นั่งรถเข็น เข็นไม่สะดวก และอันตราย เพราะอาจสะดุดหัวทิ่มได้ การเชื่อมต่อทางลาดต่าง ๆ ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน เท่าที่ควร อย่างเช่น ทางลาดด้านบนสถานีรถไฟฟ้าหน้าสยามเซ็นเตอร์ ออกมาจากตึกดิจิตอลเกตเวย์ซึ่งมีการทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างดีมาก แต่พอข้ามมาฝั่งสยามเซ็นเตอร์ กลับเจอบันไดหลายขั้นขวางหน้า ต้องยกๆแบกๆกันเหงื่อตกถึงจะเข้าไปข้างในห้างนั้นได้ แต่พอเข้าไปในห้างกลับมีห้องน้ำสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ไว้ให้บริการ อย่างดี ถ้ามีการแก้ไขโดยทำทางลาดเพิ่มตรงบันไดเชื่อมมาจากสถานีรถไฟฟ้าที่ว่าจะดี เยี่ยมมาก ปัญหาเรื่องอารยสถาปัตย์ในแหล่งศูนย์กลางความเจริญทางด้านต่าง ๆ ในกรุงเทพ ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องมีการปฏิรูปโดยเร่งด่วนด้วยเช่นเดียวกัน ไม่ทราบว่าลุงกำนันจะสนใจเรื่องเหล่านี้บ้างหรือเปล่านะครับ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20140127/177629.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ม.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...