คอลัมน์: คดีปกครอง: 'ทหารพิการ'ขอบำเหน็จพิเศษให้ผมเถอะครับ!

แสดงความคิดเห็น

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ทหาร" ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และถูกปลดออกจากราชการเพราะเหตุที่มีร่างกายพิการ แต่กองทัพบกไม่พิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ จึงนำคดีมาฟ้องศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กองทัพบกและกรมกำลังพลทหารบกพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นอาสาสมัครทหารพรานและได้รับแต่งตั้งเป็น พลอาสาพิเศษ และขึ้นทะเบียนกองประจำการมีผลตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2535 ต่อมา ได้ร้องขอเข้ากองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดกรมทหารพรานที่ 42 ปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนและเกิดปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้ายเป็น เหตุให้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 กองทัพภาคที่ 4 จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจาก ปลดพิการตามความเห็นแพทย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2537 ผู้ฟ้องคดีจึงได้ขอรับบำเหน็จพิเศษ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (กองทัพบก และกรมกำลังพลทหารบก) ไม่ให้มีสิทธิ์ดังกล่าว โดยอ้างว่า ในขณะเกิดเหตุปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้าย ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นทหารกองประจำการ และในการปฏิบัติหน้าที่ในกรมทหารพรานที่ 42 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลอาสาพิเศษจึงมีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้าราชการทหารและมิใช่ทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จพิเศษ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2529 กำหนดว่า ทหารผู้ใดได้ทำการสู้รบหรือต่อสู้หรือปฏิบัติราชการในเวลาเหตุ ฉุกเฉินจนได้รับอันตรายถึงชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษโดยพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือน หรือให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ หรือให้ได้รับเงินรางวัลสำหรับการสู้รบ (ข้อ 5)และ "ทหาร" หมายความว่า ข้าราชการทหารและทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 (ข้อ 4.1)

คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัย สถานะของผู้ฟ้องคดีว่าเป็น "ทหารกองประจำการ" ตั้งแต่เมื่อใดว่า ผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีอื่น โดยการร้องขอเข้ากองประจำการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2535 ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ประกอบข้อ 2 และข้อ 3 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็น"ทหารกองประจำการ" ตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยวันที่ขึ้น

ทะเบียนกองประจำการเป็นวันเริ่มเข้ารับราชการทหารกอง ประจำการ ดังนั้น วันที่ 4 สิงหาคม 2535 จึงเป็นวันเริ่มรับราชการทหารกองประจำการ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับราชการทหารมีกำหนดสองปีหรือจนกว่าจะได้ปลด ตามมาตรา 4 (3) ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุและผู้ฟ้องคดีเป็นทหารกองประจำการแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็น "ทหาร" การที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นพลอาสาพิเศษ เป็นเพียงการดำเนินการตามระเบียบภายในของกองทัพบกที่ ต้องรับบุคคลที่เป็นอาสาสมัครทหารพราน และได้รับการฝึกอบรมแล้วมาช่วยปฏิบัติภารกิจเป็นกรณีพิเศษ แม้ผู้ฟ้องคดีเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้วคงปฏิบัติหน้าที่ พลอาสาพิเศษต่อไปอีกก็หาได้กระทบต่อสถานะของการเป็นทหารกองประจำการ ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแต่อย่างใด

เมื่อขณะเป็นทหารกองประจำการได้ปะทะกับโจรก่อการร้ายจนได้รับบาด เจ็บสาหัสถึงทุพพลภาพ ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นทหารที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาบำเหน็จพิ เศษตามข้อ 5 ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุ ฉุกเฉิน พ.ศ.2529 (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 852/2555) คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ก่อนจะใช้อำนาจสั่งการใดๆ นั้น นอกจากต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ยังต้องศึกษาและเข้าใจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างถ่องแท้ ครับ!

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1625319

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 6 เม.ย. 56
วันที่โพสต์: 7/04/2556 เวลา 02:39:21

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ทหาร" ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และถูกปลดออกจากราชการเพราะเหตุที่มีร่างกายพิการ แต่กองทัพบกไม่พิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ จึงนำคดีมาฟ้องศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กองทัพบกและกรมกำลังพลทหารบกพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นอาสาสมัครทหารพรานและได้รับแต่งตั้งเป็น พลอาสาพิเศษ และขึ้นทะเบียนกองประจำการมีผลตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2535 ต่อมา ได้ร้องขอเข้ากองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดกรมทหารพรานที่ 42 ปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนและเกิดปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้ายเป็น เหตุให้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 กองทัพภาคที่ 4 จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจาก ปลดพิการตามความเห็นแพทย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2537 ผู้ฟ้องคดีจึงได้ขอรับบำเหน็จพิเศษ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (กองทัพบก และกรมกำลังพลทหารบก) ไม่ให้มีสิทธิ์ดังกล่าว โดยอ้างว่า ในขณะเกิดเหตุปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้าย ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นทหารกองประจำการ และในการปฏิบัติหน้าที่ในกรมทหารพรานที่ 42 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลอาสาพิเศษจึงมีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้าราชการทหารและมิใช่ทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จพิเศษ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2529 กำหนดว่า ทหารผู้ใดได้ทำการสู้รบหรือต่อสู้หรือปฏิบัติราชการในเวลาเหตุ ฉุกเฉินจนได้รับอันตรายถึงชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษโดยพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือน หรือให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ หรือให้ได้รับเงินรางวัลสำหรับการสู้รบ (ข้อ 5)และ "ทหาร" หมายความว่า ข้าราชการทหารและทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 (ข้อ 4.1) คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัย สถานะของผู้ฟ้องคดีว่าเป็น "ทหารกองประจำการ" ตั้งแต่เมื่อใดว่า ผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีอื่น โดยการร้องขอเข้ากองประจำการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2535 ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ประกอบข้อ 2 และข้อ 3 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็น"ทหารกองประจำการ" ตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยวันที่ขึ้น ทะเบียนกองประจำการเป็นวันเริ่มเข้ารับราชการทหารกอง ประจำการ ดังนั้น วันที่ 4 สิงหาคม 2535 จึงเป็นวันเริ่มรับราชการทหารกองประจำการ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับราชการทหารมีกำหนดสองปีหรือจนกว่าจะได้ปลด ตามมาตรา 4 (3) ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุและผู้ฟ้องคดีเป็นทหารกองประจำการแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็น "ทหาร" การที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นพลอาสาพิเศษ เป็นเพียงการดำเนินการตามระเบียบภายในของกองทัพบกที่ ต้องรับบุคคลที่เป็นอาสาสมัครทหารพราน และได้รับการฝึกอบรมแล้วมาช่วยปฏิบัติภารกิจเป็นกรณีพิเศษ แม้ผู้ฟ้องคดีเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้วคงปฏิบัติหน้าที่ พลอาสาพิเศษต่อไปอีกก็หาได้กระทบต่อสถานะของการเป็นทหารกองประจำการ ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแต่อย่างใด เมื่อขณะเป็นทหารกองประจำการได้ปะทะกับโจรก่อการร้ายจนได้รับบาด เจ็บสาหัสถึงทุพพลภาพ ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นทหารที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาบำเหน็จพิ เศษตามข้อ 5 ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุ ฉุกเฉิน พ.ศ.2529 (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 852/2555) คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ก่อนจะใช้อำนาจสั่งการใดๆ นั้น นอกจากต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ยังต้องศึกษาและเข้าใจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างถ่องแท้ ครับ! ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/bmnd/1625319

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...