คอลัมน์: คดีปกครอง: 'ทหารพิการ'ขอบำเหน็จพิเศษให้ผมเถอะครับ!
คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ทหาร" ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และถูกปลดออกจากราชการเพราะเหตุที่มีร่างกายพิการ แต่กองทัพบกไม่พิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ จึงนำคดีมาฟ้องศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กองทัพบกและกรมกำลังพลทหารบกพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นอาสาสมัครทหารพรานและได้รับแต่งตั้งเป็น พลอาสาพิเศษ และขึ้นทะเบียนกองประจำการมีผลตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2535 ต่อมา ได้ร้องขอเข้ากองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดกรมทหารพรานที่ 42 ปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนและเกิดปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้ายเป็น เหตุให้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 กองทัพภาคที่ 4 จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจาก ปลดพิการตามความเห็นแพทย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2537 ผู้ฟ้องคดีจึงได้ขอรับบำเหน็จพิเศษ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (กองทัพบก และกรมกำลังพลทหารบก) ไม่ให้มีสิทธิ์ดังกล่าว โดยอ้างว่า ในขณะเกิดเหตุปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้าย ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นทหารกองประจำการ และในการปฏิบัติหน้าที่ในกรมทหารพรานที่ 42 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลอาสาพิเศษจึงมีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้าราชการทหารและมิใช่ทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จพิเศษ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2529 กำหนดว่า ทหารผู้ใดได้ทำการสู้รบหรือต่อสู้หรือปฏิบัติราชการในเวลาเหตุ ฉุกเฉินจนได้รับอันตรายถึงชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษโดยพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือน หรือให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ หรือให้ได้รับเงินรางวัลสำหรับการสู้รบ (ข้อ 5)และ "ทหาร" หมายความว่า ข้าราชการทหารและทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 (ข้อ 4.1)
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัย สถานะของผู้ฟ้องคดีว่าเป็น "ทหารกองประจำการ" ตั้งแต่เมื่อใดว่า ผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีอื่น โดยการร้องขอเข้ากองประจำการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2535 ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ประกอบข้อ 2 และข้อ 3 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็น"ทหารกองประจำการ" ตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยวันที่ขึ้น
ทะเบียนกองประจำการเป็นวันเริ่มเข้ารับราชการทหารกอง ประจำการ ดังนั้น วันที่ 4 สิงหาคม 2535 จึงเป็นวันเริ่มรับราชการทหารกองประจำการ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับราชการทหารมีกำหนดสองปีหรือจนกว่าจะได้ปลด ตามมาตรา 4 (3) ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุและผู้ฟ้องคดีเป็นทหารกองประจำการแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็น "ทหาร" การที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นพลอาสาพิเศษ เป็นเพียงการดำเนินการตามระเบียบภายในของกองทัพบกที่ ต้องรับบุคคลที่เป็นอาสาสมัครทหารพราน และได้รับการฝึกอบรมแล้วมาช่วยปฏิบัติภารกิจเป็นกรณีพิเศษ แม้ผู้ฟ้องคดีเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้วคงปฏิบัติหน้าที่ พลอาสาพิเศษต่อไปอีกก็หาได้กระทบต่อสถานะของการเป็นทหารกองประจำการ ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแต่อย่างใด
เมื่อขณะเป็นทหารกองประจำการได้ปะทะกับโจรก่อการร้ายจนได้รับบาด เจ็บสาหัสถึงทุพพลภาพ ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นทหารที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาบำเหน็จพิ เศษตามข้อ 5 ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุ ฉุกเฉิน พ.ศ.2529 (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 852/2555) คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ก่อนจะใช้อำนาจสั่งการใดๆ นั้น นอกจากต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ยังต้องศึกษาและเข้าใจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างถ่องแท้ ครับ!
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "ทหาร" ที่พิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ และถูกปลดออกจากราชการเพราะเหตุที่มีร่างกายพิการ แต่กองทัพบกไม่พิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ จึงนำคดีมาฟ้องศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้กองทัพบกและกรมกำลังพลทหารบกพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษให้ เดิมผู้ฟ้องคดีเป็นอาสาสมัครทหารพรานและได้รับแต่งตั้งเป็น พลอาสาพิเศษ และขึ้นทะเบียนกองประจำการมีผลตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2535 ต่อมา ได้ร้องขอเข้ากองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดกรมทหารพรานที่ 42 ปฏิบัติหน้าที่ชุดลาดตระเวนและเกิดปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้ายเป็น เหตุให้ถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 กองทัพภาคที่ 4 จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ เนื่องจาก ปลดพิการตามความเห็นแพทย์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2537 ผู้ฟ้องคดีจึงได้ขอรับบำเหน็จพิเศษ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี (กองทัพบก และกรมกำลังพลทหารบก) ไม่ให้มีสิทธิ์ดังกล่าว โดยอ้างว่า ในขณะเกิดเหตุปะทะกับขบวนการโจรก่อการร้าย ผู้ฟ้องคดีพ้นจากการเป็นทหารกองประจำการ และในการปฏิบัติหน้าที่ในกรมทหารพรานที่ 42 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลอาสาพิเศษจึงมีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ข้าราชการทหารและมิใช่ทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ์ในการรับเงินบำเหน็จพิเศษ ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ.2529 กำหนดว่า ทหารผู้ใดได้ทำการสู้รบหรือต่อสู้หรือปฏิบัติราชการในเวลาเหตุ ฉุกเฉินจนได้รับอันตรายถึงชีวิตหรือทุพพลภาพ ให้ได้รับบำเหน็จพิเศษโดยพิจารณาเลื่อนชั้นเงินเดือน หรือให้ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ หรือให้ได้รับเงินรางวัลสำหรับการสู้รบ (ข้อ 5)และ "ทหาร" หมายความว่า ข้าราชการทหารและทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 (ข้อ 4.1) คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัย สถานะของผู้ฟ้องคดีว่าเป็น "ทหารกองประจำการ" ตั้งแต่เมื่อใดว่า ผู้ฟ้องคดีเข้ารับราชการทหารกองประจำการด้วยวิธีอื่น โดยการร้องขอเข้ากองประจำการ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2535 ตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ประกอบข้อ 2 และข้อ 3 (3) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ.2516) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 ผู้ฟ้องคดีจึงเป็น"ทหารกองประจำการ" ตามมาตรา 4 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยวันที่ขึ้น ทะเบียนกองประจำการเป็นวันเริ่มเข้ารับราชการทหารกอง ประจำการ ดังนั้น วันที่ 4 สิงหาคม 2535 จึงเป็นวันเริ่มรับราชการทหารกองประจำการ ผู้ฟ้องคดีจึงต้องรับราชการทหารมีกำหนดสองปีหรือจนกว่าจะได้ปลด ตามมาตรา 4 (3) ประกอบมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ดังนั้น ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุและผู้ฟ้องคดีเป็นทหารกองประจำการแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็น "ทหาร" การที่ผู้ฟ้องคดีได้รับแต่งตั้งเป็นพลอาสาพิเศษ เป็นเพียงการดำเนินการตามระเบียบภายในของกองทัพบกที่ ต้องรับบุคคลที่เป็นอาสาสมัครทหารพราน และได้รับการฝึกอบรมแล้วมาช่วยปฏิบัติภารกิจเป็นกรณีพิเศษ แม้ผู้ฟ้องคดีเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้วคงปฏิบัติหน้าที่ พลอาสาพิเศษต่อไปอีกก็หาได้กระทบต่อสถานะของการเป็นทหารกองประจำการ ของผู้ฟ้องคดีตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแต่อย่างใด เมื่อขณะเป็นทหารกองประจำการได้ปะทะกับโจรก่อการร้ายจนได้รับบาด เจ็บสาหัสถึงทุพพลภาพ ผู้ฟ้องคดีจึงมีฐานะเป็นทหารที่มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาบำเหน็จพิ เศษตามข้อ 5 ของข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุ ฉุกเฉิน พ.ศ.2529 (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 852/2555) คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้กับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า ก่อนจะใช้อำนาจสั่งการใดๆ นั้น นอกจากต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ยังต้องศึกษาและเข้าใจข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างถ่องแท้ ครับ! ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/bmnd/1625319
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)