เล็งตั้งศูนย์บ่มเพาะอาชีพ “คนพิการ” กระตุ้นจ้างงาน 10 สาขา

แสดงความคิดเห็น

กกจ. ร่วม ม.มหิดล วิทยาลัยราชสุดา และ 3 สมาคมคนพิการ เล็งตั้งศูนย์ “JOB COACH THAILAND CENTER” บ่มเพาะอาชีพคนพิการ ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการ เบื้องต้นเริ่มฝึกอาชีพใน 10สาขาทั้งท่องเที่ยวบริการอุตสาหกรรม

คนพิการทางการเคลื่อนไหวฝึกอาชีพ

นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอาชีพคนพิการ โดยพร้อมจะขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและพัฒนาอาชีพคนพิการตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดกระทรวงแรงงาน ใช้กลไก “ประชารัฐ” ที่เน้นการบูรณาการร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้คนพิการมีงานทำอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เกิดความมั่นคงในชีวิต และมีรายได้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งในส่วนของกรมการจัดหางานนั้น ได้กำหนดกรอบแผนการส่งเสริมการมีงานทำให้คนพิการ 20 ปี (2560 - 2579) โดยมุ่งให้คนพิการมีงานทำและมีรายได้ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งใน 5 ปี แรก (2560 - 2564) ตั้งเป้าหมายให้คนพิการมีงานทำตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 จำนวน 3,000 คนต่อปี และมาตรา 35 จำนวน 10,000 คนต่อปี และมีรายได้เหนือเส้นรายได้ปานกลาง ซึ่งขณะนี้ กกจ. ได้มีการหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยราชสุดา สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึมไทยและสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมคนพิการและผู้ด้อยโอกาสไทย เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านวิชาชีพของคนพิการในประเทศไทย(JOBCOACHTHAILANDCENTER)ที่กระทรวงแรงงาน

“ศูนย์แห่งนี้จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาการจ้างงานคนพิการได้ เนื่องจากที่ผ่านมาระบบการจ้างงานคนพิการยังขาดกระบวนการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างคนพิการ และนายจ้างในการเป็นที่ปรึกษาแนะนำการจ้างงานคนพิการให้เหมาะกับตำแหน่งงานของสถานประกอบการ ขาดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก นวัตกรรมในการส่งเสริมการมีงานทำและการประกอบอาชีพของคนพิการ ทำให้สถานประกอบการได้คนพิการไม่ตรง และไม่สอดคล้องกับความสามารถของคนพิการ ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบบ่มเพาะคนพิการสู่การมีงานทำ โดยเริ่มจากการพัฒนาวิธีคิด ความเชื่อ ความรู้ของคนพิการ/ครอบครัว และนายจ้าง/ผู้ซื้อสินค้า บริการและชุมชน/สังคม ผู้สอนงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น” อธิบดี กกจ. กล่าว

นายวรานนท์ กล่าวว่า ศูนย์ JOB COACH มี 3 กระบวนการหลัก คือ 1. การบ่มเพาะก่อนจ้างงานจะเป็นระบบคัดกรองความสามารถในการมีงานทำของคนพิการ มีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อม การปรับทัศนคติก่อนเข้าสู่การทำงาน เป็นต้น 2. การส่งต่อ เป็นการสนับสนุนเข้าสู่การจ้างงาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างและความถนัดของบุคคล ซึ่งคนพิการที่มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการมีงานทำจะได้รับการจ้างงานในสถานประกอบการ และสามารถทำงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ขณะเดียวกัน หากไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการได้ก็จะสนับสนุนให้เป็นผู้ประกอบการต่อไป 3. การรักษา เป็นการพัฒนาหลังจ้างงาน เพื่อทำให้คนพิการสามารถมีโอกาสทำงานในสถานประกอบการได้มากขึ้น และมีทักษะในวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนในการจ้างงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดซื้อสินค้าและบริการของคนพิการ

“ศูนย์ JOB COACH เป็นการจัดทำระบบสนับสนุนบ่มเพาะการจ้างงานคนพิการครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การคัดกรองรับสมัครคนพิการ การจำลองศูนย์การฝึกวิชาชีพตามความต้องการของภาคเอกชน พร้อมทั้ง Matching คนพิการที่ผ่านการอบรมเข้ารับการจ้างกับองค์กรเอกชน และมีการติดตามการทำงานของคนพิการที่เข้าทำงานในสถานประกอบการ มีเป้าหมายคนพิการมาใช้บริการ 2,000 คน มีสาขาอาชีพที่ฝึกในเบื้องต้นประมาณ 10 สาขา เช่น ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งหากได้รับการตอบรับที่ดีจากคนพิการและสถานประกอบการก็จะได้พัฒนาไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป” นายวรานนท์ กล่าว

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025016 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 มี.ค.60
วันที่โพสต์: 13/03/2560 เวลา 11:01:56 ดูภาพสไลด์โชว์ เล็งตั้งศูนย์บ่มเพาะอาชีพ “คนพิการ” กระตุ้นจ้างงาน 10 สาขา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กกจ. ร่วม ม.มหิดล วิทยาลัยราชสุดา และ 3 สมาคมคนพิการ เล็งตั้งศูนย์ “JOB COACH THAILAND CENTER” บ่มเพาะอาชีพคนพิการ ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการ เบื้องต้นเริ่มฝึกอาชีพใน 10สาขาทั้งท่องเที่ยวบริการอุตสาหกรรม คนพิการทางการเคลื่อนไหวฝึกอาชีพ นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอาชีพคนพิการ โดยพร้อมจะขับเคลื่อนให้เกิดการจ้างงานและพัฒนาอาชีพคนพิการตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยได้สั่งการให้ทุกหน่วยในสังกัดกระทรวงแรงงาน ใช้กลไก “ประชารัฐ” ที่เน้นการบูรณาการร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้คนพิการมีงานทำอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เกิดความมั่นคงในชีวิต และมีรายได้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งในส่วนของกรมการจัดหางานนั้น ได้กำหนดกรอบแผนการส่งเสริมการมีงานทำให้คนพิการ 20 ปี (2560 - 2579) โดยมุ่งให้คนพิการมีงานทำและมีรายได้ สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งใน 5 ปี แรก (2560 - 2564) ตั้งเป้าหมายให้คนพิการมีงานทำตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 จำนวน 3,000 คนต่อปี และมาตรา 35 จำนวน 10,000 คนต่อปี และมีรายได้เหนือเส้นรายได้ปานกลาง ซึ่งขณะนี้ กกจ. ได้มีการหารือร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยราชสุดา สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิสซึมไทยและสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมคนพิการและผู้ด้อยโอกาสไทย เกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านวิชาชีพของคนพิการในประเทศไทย(JOBCOACHTHAILANDCENTER)ที่กระทรวงแรงงาน “ศูนย์แห่งนี้จะสามารถตอบโจทย์ปัญหาการจ้างงานคนพิการได้ เนื่องจากที่ผ่านมาระบบการจ้างงานคนพิการยังขาดกระบวนการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างคนพิการ และนายจ้างในการเป็นที่ปรึกษาแนะนำการจ้างงานคนพิการให้เหมาะกับตำแหน่งงานของสถานประกอบการ ขาดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก นวัตกรรมในการส่งเสริมการมีงานทำและการประกอบอาชีพของคนพิการ ทำให้สถานประกอบการได้คนพิการไม่ตรง และไม่สอดคล้องกับความสามารถของคนพิการ ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาระบบบ่มเพาะคนพิการสู่การมีงานทำ โดยเริ่มจากการพัฒนาวิธีคิด ความเชื่อ ความรู้ของคนพิการ/ครอบครัว และนายจ้าง/ผู้ซื้อสินค้า บริการและชุมชน/สังคม ผู้สอนงาน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีที่จำเป็น เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น” อธิบดี กกจ. กล่าว นายวรานนท์ กล่าวว่า ศูนย์ JOB COACH มี 3 กระบวนการหลัก คือ 1. การบ่มเพาะก่อนจ้างงานจะเป็นระบบคัดกรองความสามารถในการมีงานทำของคนพิการ มีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อม การปรับทัศนคติก่อนเข้าสู่การทำงาน เป็นต้น 2. การส่งต่อ เป็นการสนับสนุนเข้าสู่การจ้างงาน โดยคำนึงถึงความแตกต่างและความถนัดของบุคคล ซึ่งคนพิการที่มีความพร้อมเข้าสู่กระบวนการมีงานทำจะได้รับการจ้างงานในสถานประกอบการ และสามารถทำงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ขณะเดียวกัน หากไม่สามารถทำงานในสถานประกอบการได้ก็จะสนับสนุนให้เป็นผู้ประกอบการต่อไป 3. การรักษา เป็นการพัฒนาหลังจ้างงาน เพื่อทำให้คนพิการสามารถมีโอกาสทำงานในสถานประกอบการได้มากขึ้น และมีทักษะในวิชาชีพที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนในการจ้างงานที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดซื้อสินค้าและบริการของคนพิการ “ศูนย์ JOB COACH เป็นการจัดทำระบบสนับสนุนบ่มเพาะการจ้างงานคนพิการครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่การคัดกรองรับสมัครคนพิการ การจำลองศูนย์การฝึกวิชาชีพตามความต้องการของภาคเอกชน พร้อมทั้ง Matching คนพิการที่ผ่านการอบรมเข้ารับการจ้างกับองค์กรเอกชน และมีการติดตามการทำงานของคนพิการที่เข้าทำงานในสถานประกอบการ มีเป้าหมายคนพิการมาใช้บริการ 2,000 คน มีสาขาอาชีพที่ฝึกในเบื้องต้นประมาณ 10 สาขา เช่น ภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ การก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งหากได้รับการตอบรับที่ดีจากคนพิการและสถานประกอบการก็จะได้พัฒนาไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศต่อไป” นายวรานนท์ กล่าว ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000025016

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...