ทรูจับมือภาคปชช.สร้างอาชีพคนพิการอาเซียน

แสดงความคิดเห็น

มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ-ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน นำร่องภาคเกษตรที่อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ-ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน นำร่องภาคเกษตรที่อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

วันที่ (22ธ.ค.59) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติระบุว่า มีจำนวนผู้พิการในประเทศไทยที่ลงทะเบียนแล้วในปัจจุบัน ประมาณ 1.9 ล้านคน และคาดว่ามีผู้พิการที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนอีกกว่า 3 แสนคน แบ่งเป็นผู้พิการที่กำลังอยู่ในวัยแรงงาน อายุ 15 - 60 ปี 769,327 คนในจำนวนนี้ เป็นผู้พิการที่มีงานทำ 317,020 คน คิดเป็นร้อยละ 41 โดยส่วนใหญ่เป็นการทำงาน และรับจ้างทั่วไปในภาคการเกษตร ที่มีรายได้ไม่สูงและไม่มั่นคงมากนัก

ส่วนผู้พิการที่ไม่มีงานทำ มีจำนวนกว่า 350,000 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และกลุ่มสุดท้าย ผู้พิการที่ไม่สามารถทำงานได้อีกกว่า 99,000 คน หรือร้อยละ 13 หากพลิกดูพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มีข้อกำหนดใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 ถึง 35 มีเป้าหมายเพื่อให้คนพิการ มีโอกาสได้ทำงานและหาเลี้ยงตนเองได้ มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา 100 คนต่อ คนพิการ 1 คน มาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน คูณด้วยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานมาตรา 35 กรณีที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานตาม มาตรา 33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนตาม มาตรา 34 หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าของสถานประกอบการ อาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือการช่วยเหลือต่างๆให้กับคนพิการ ความพิเศษของมาตรา 35 ที่เพิ่มเติมเข้ามานี้ คือ การบริจาค หรือช่วยเหลือให้สร้างอาชีพ หรือฝึกอาชีพ จะช่วยคนพิการได้มากกว่าการจ้างคนพิการเข้าทำงานในองค์กร

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จึงเกิดแนวคิดผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม สร้าง“ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” ที่เน้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถผู้พิการให้ประกอบอาชีพอย่างอิสระ และพึ่งพาตนเองได้ตามที่มาตรา 35 ตั้งโจทย์เอาไว้ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในท้องถิ่น และหลากหลายบริษัทเอกชน

ศ.วิริยะ กล่าวอีกว่า ตนเองมีความคาดหวังให้ศูนย์แห่งนี้จุดประกายสังคมผู้พิการ ไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่กระจายออกไปยังกลุ่มผู้พิการในประเทศร่วมภูมิภาคอาเซียนด้วย ซึ่งถือเป็นความตั้งใจเดิมของศ.วิริยะที่มีประสบการณ์ให้ความรู้และเป็นต้นแบบให้องค์กรเพื่อผู้พิการในอาเซียนหลายแห่ง

ขณะที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทเอกชนที่เห็นถึงความตั้งใจของผู้ร่วมออกแบบสร้างสรรค์ “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ที่จะพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ตอบสนองผู้คนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้พิการ กล่าวว่า ทางบริษัทมีความดีใจที่ได้สนับสนุนโครงการที่มีประโยชน์อย่างยั่งยืนในครั้งนี้ และได้รับแรงบันดาลใจที่จะนำไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการของบริษัทเพิ่มเติมในปีหน้าเช่นกัน

นอกจากนี้ ศ.วิริยะ กล่าวต่อว่า หวังว่าผู้พิการที่ได้รับโอกาสฝึกอาชีพกับศูนย์แห่งใหม่นี้จะสามารถกลายเป็นผู้ให้คนต่อไป และนำความรู้ที่ตนเองฝึกฝน จนมีทักษะที่เชี่ยวชาญ ไม่เพียงเพื่อเลี้ยงชีพ และลดภาระให้ครอบครัว แต่จะส่งต่อความรู้ และทักษะเหล่านั้นแก่ผู้อื่น ทั้งผู้พิการ และผู้ไม่พิการได้มีโอกาสสร้างอาชีพแก่ตนเองอย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไปเช่นกัน

ขอบคุณ... http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=123261&t=news

ที่มา: tnnthailand.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 22 ธ.ค.59
วันที่โพสต์: 23/12/2559 เวลา 10:16:33 ดูภาพสไลด์โชว์ ทรูจับมือภาคปชช.สร้างอาชีพคนพิการอาเซียน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ-ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน นำร่องภาคเกษตรที่อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ-ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสร้างศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน นำร่องภาคเกษตรที่อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ วันที่ (22ธ.ค.59) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติระบุว่า มีจำนวนผู้พิการในประเทศไทยที่ลงทะเบียนแล้วในปัจจุบัน ประมาณ 1.9 ล้านคน และคาดว่ามีผู้พิการที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนอีกกว่า 3 แสนคน แบ่งเป็นผู้พิการที่กำลังอยู่ในวัยแรงงาน อายุ 15 - 60 ปี 769,327 คนในจำนวนนี้ เป็นผู้พิการที่มีงานทำ 317,020 คน คิดเป็นร้อยละ 41 โดยส่วนใหญ่เป็นการทำงาน และรับจ้างทั่วไปในภาคการเกษตร ที่มีรายได้ไม่สูงและไม่มั่นคงมากนัก ส่วนผู้พิการที่ไม่มีงานทำ มีจำนวนกว่า 350,000 คน คิดเป็นร้อยละ 46 และกลุ่มสุดท้าย ผู้พิการที่ไม่สามารถทำงานได้อีกกว่า 99,000 คน หรือร้อยละ 13 หากพลิกดูพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มีข้อกำหนดใน 3 มาตรา คือ มาตรา 33 ถึง 35 มีเป้าหมายเพื่อให้คนพิการ มีโอกาสได้ทำงานและหาเลี้ยงตนเองได้ มาตรา 33 กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ รับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในสัดส่วนที่เหมาะสมในอัตรา 100 คนต่อ คนพิการ 1 คน มาตรา 34 นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ที่ไม่ได้รับคนพิการเข้าทำงานตามจำนวนที่กำหนดตามมาตรา 33 ให้ส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคูณด้วย 365 วัน คูณด้วยจำนวนคนพิการที่ต้องรับเข้าทำงานมาตรา 35 กรณีที่ไม่รับคนพิการเข้าทำงานตาม มาตรา 33 และไม่ประสงค์ส่งเงินเข้ากองทุนตาม มาตรา 34 หน่วยงานรัฐ หรือเจ้าของสถานประกอบการ อาจให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือการช่วยเหลือต่างๆให้กับคนพิการ ความพิเศษของมาตรา 35 ที่เพิ่มเติมเข้ามานี้ คือ การบริจาค หรือช่วยเหลือให้สร้างอาชีพ หรือฝึกอาชีพ จะช่วยคนพิการได้มากกว่าการจ้างคนพิการเข้าทำงานในองค์กร ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ จึงเกิดแนวคิดผลักดันให้เกิดการปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม สร้าง“ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” ที่เน้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถผู้พิการให้ประกอบอาชีพอย่างอิสระ และพึ่งพาตนเองได้ตามที่มาตรา 35 ตั้งโจทย์เอาไว้ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในท้องถิ่น และหลากหลายบริษัทเอกชน ศ.วิริยะ กล่าวอีกว่า ตนเองมีความคาดหวังให้ศูนย์แห่งนี้จุดประกายสังคมผู้พิการ ไม่เพียงเฉพาะในประเทศไทย แต่กระจายออกไปยังกลุ่มผู้พิการในประเทศร่วมภูมิภาคอาเซียนด้วย ซึ่งถือเป็นความตั้งใจเดิมของศ.วิริยะที่มีประสบการณ์ให้ความรู้และเป็นต้นแบบให้องค์กรเพื่อผู้พิการในอาเซียนหลายแห่ง ขณะที่ ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทเอกชนที่เห็นถึงความตั้งใจของผู้ร่วมออกแบบสร้างสรรค์ “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ที่จะพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรให้ตอบสนองผู้คนทุกกลุ่ม รวมถึงผู้พิการ กล่าวว่า ทางบริษัทมีความดีใจที่ได้สนับสนุนโครงการที่มีประโยชน์อย่างยั่งยืนในครั้งนี้ และได้รับแรงบันดาลใจที่จะนำไปปรับใช้ เพื่อพัฒนาสินค้า และบริการของบริษัทเพิ่มเติมในปีหน้าเช่นกัน นอกจากนี้ ศ.วิริยะ กล่าวต่อว่า หวังว่าผู้พิการที่ได้รับโอกาสฝึกอาชีพกับศูนย์แห่งใหม่นี้จะสามารถกลายเป็นผู้ให้คนต่อไป และนำความรู้ที่ตนเองฝึกฝน จนมีทักษะที่เชี่ยวชาญ ไม่เพียงเพื่อเลี้ยงชีพ และลดภาระให้ครอบครัว แต่จะส่งต่อความรู้ และทักษะเหล่านั้นแก่ผู้อื่น ทั้งผู้พิการ และผู้ไม่พิการได้มีโอกาสสร้างอาชีพแก่ตนเองอย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไปเช่นกัน ขอบคุณ... http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=123261&t=news

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...