“ออทิสติก” ทำงานได้ 10 องค์กรรัฐ-เอกชน หันจ้างงาน เปิดพื้นที่ยืนในสังคม

แสดงความคิดเห็น

กรมสุขภาพจิตเร่งจับมือองค์กรรัฐ เอกชน หนุนการจ้างงาน “ออทิสติก” ชี้ รักษาเร็ว ช่วยผู้ป่วยมีพัฒนาการ ช่วยเหลือตัวเอง ทำงานได้

กรมสุขภาพจิตเร่งจับมือองค์กรรัฐ เอกชน หนุนการจ้างงาน “ออทิสติก” ชี้ รักษาเร็ว ช่วยผู้ป่วยมีพัฒนาการ ช่วยเหลือตัวเอง ทำงานได้ เผยมี 10 กว่าองค์กรให้โอกาสออทิสติกทำงาน เผยออทิสติกมีงานทำมีไม่ถึง 100 คน ขอโอกาสมีที่ยืนในสังคม

เมื่อวันที่ (25 มี.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคออทิสติกเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษา และพฤติกรรม พบได้ 6 ต่อ 1,000 ราย โดยประเทศไทยมีออทิสติกกว่า 3 หมื่นราย อาการหรือสัญญาณเตือน ได้แก่ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ออทิสติกสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ พัฒนาได้ อยู่ในสังคมได้ ทำงานและพึ่งพิงตนเองได้ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีนโยบายในการจัดบริการเข้าถึง เพิ่มการตรวจคัดกรองหาภาวะออทิสติกในคลินิกสุขภาพเด็กดี ให้บริการฉีดวัคซีนและติดตามพัฒนาการเด็กหลังคลอดทุกคนจนถึงอายุ 5 ปี ตรวจเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบครึ่งขึ้นไป เนื่องจากหากตรวจพบตั้งแต่ช่วง 2 ขวบปีแรก จะทำให้ผลการรักษาดีมาก แม้ไม่หายขาดแต่เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้และเข้าโรงเรียนได้ตามวัย

พนักงานผู้ป่วยออทิสติกปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน

“ผู้ป่วยออทิสติกต้องการการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง เหมาะสม และเข้มข้น โดยผสมผสานวิธีการต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมพัฒนาการ การจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนสวัสดิการสังคมและการดำเนินชีวิตในชุมชน ซึ่งกรมสุขภาพจิตมีนโยบายเพิ่มการเข้าถึงบริการให้เด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้รับบริการคัดกรองหาความผิดปกติและบำบัดรักษา กระตุ้นพัฒนาการ และปรับพฤติกรรม ดังนั้น การคืนบุคคลออทิสติกสู่สังคม จึงจำเป็นต้องมี “พันธมิตร” ในภาคสังคม ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา มีหลายองค์กรภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 10 องค์กรได้ให้โอกาสพวกเขาพิสูจน์ศักยภาพ รับเข้าทำงานไม่น้อยกว่า 30 ราย” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

ด้าน นายกิติพัฒก์ เนื่องจำนงค์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทตระหนัก และเห็นถึงคุณค่าของผู้พิการและผู้ป่วยออทิสติกที่มีสิทธิเท่าเทียมในการประกอบอาชีพและได้รับการยอมรับจากสังคม ปัจจุบัน ได้รับจ้างงานเป็นพนักงานของบริษัททั้งสิ้น 6 ราย ปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน ทั้งนี้ บริษัทจะประสานงานกับ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ผ่านทางหัวหน้าโครงการทดลองจ้างงาน ของ รพ. เพื่อคัดเลือกน้อง ๆ ที่มีความพร้อม และมีความสามารถที่จะทำงานได้ส่งมาให้บริษัท ทำการคัดเลือกเข้าทำงานตามความถนัดของแต่ละคนต่อไป โดยได้กำหนดให้เด็ก 1 คน มีพี่เลี้ยง 1 คน ภายใต้การดูแลของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัท ซึ่งระหว่างที่น้อง ๆ ทำงานอยู่ที่บริษัท เรายังต้องดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิด โดยใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมร่วมกับพี่เลี้ยง ตลอดจนปรึกษาถึงวิธีการดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับจิตแพทย์และหัวหน้าโครงการทดลองจ้างงาน รพ.ยุวประสาทฯ มาโดยตลอด

พนักงานผู้ป่วยออทิสติกปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน

พญ.รัชนี ฉลองเกื้อกูล ผอ.โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กล่าวว่า สมองของเด็กในช่วงอายุน้อยกว่า 5 ขวบ จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารีบแก้ไขปัญหาให้กับเด็ก จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้อย่างดี เด็กออทิสติกหลายคนสามารถเรียนจบปริญญาและประกอบอาชีพได้เหมือนคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม บุคคลออทิสติกที่จบการศึกษา หรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพ และเป็นภาระในครอบครัว จากการสำรวจของ The National Autistic Society (NAS) ของประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ป่วยออทิสติกวัยผู้ใหญ่เพียง 15% ที่สามารถทำงานเลี้ยงชีพและมีรายได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยออทิสติกถูกจัดว่าเป็นแรงงานที่ไม่ความชำนาญจึงได้รับค่าตอบแทนในระดับต่ำ มีอัตราการเปลี่ยนงานบ่อยและมีความยากลำบากในการปรับตัวกับสถานที่และเพื่อนร่วมงาน และจากข้อมูลของมูลนิธิบุคคลออทิสติกไทย พบว่า มีบุคคลออทิสติกจำนวนไม่ถึงร้อยคนที่มีงานทำหรือสามารถประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว สามารถช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเปิดโอกาสให้พวกเขามีที่ยืนในสังคมต่อไปได้

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031166 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 มี.ค.59
วันที่โพสต์: 28/03/2559 เวลา 11:29:59 ดูภาพสไลด์โชว์ “ออทิสติก” ทำงานได้ 10 องค์กรรัฐ-เอกชน หันจ้างงาน เปิดพื้นที่ยืนในสังคม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กรมสุขภาพจิตเร่งจับมือองค์กรรัฐ เอกชน หนุนการจ้างงาน “ออทิสติก” ชี้ รักษาเร็ว ช่วยผู้ป่วยมีพัฒนาการ ช่วยเหลือตัวเอง ทำงานได้ กรมสุขภาพจิตเร่งจับมือองค์กรรัฐ เอกชน หนุนการจ้างงาน “ออทิสติก” ชี้ รักษาเร็ว ช่วยผู้ป่วยมีพัฒนาการ ช่วยเหลือตัวเอง ทำงานได้ เผยมี 10 กว่าองค์กรให้โอกาสออทิสติกทำงาน เผยออทิสติกมีงานทำมีไม่ถึง 100 คน ขอโอกาสมีที่ยืนในสังคม เมื่อวันที่ (25 มี.ค.) พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคออทิสติกเกิดจากความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษา และพฤติกรรม พบได้ 6 ต่อ 1,000 ราย โดยประเทศไทยมีออทิสติกกว่า 3 หมื่นราย อาการหรือสัญญาณเตือน ได้แก่ ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ออทิสติกสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ พัฒนาได้ อยู่ในสังคมได้ ทำงานและพึ่งพิงตนเองได้ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีนโยบายในการจัดบริการเข้าถึง เพิ่มการตรวจคัดกรองหาภาวะออทิสติกในคลินิกสุขภาพเด็กดี ให้บริการฉีดวัคซีนและติดตามพัฒนาการเด็กหลังคลอดทุกคนจนถึงอายุ 5 ปี ตรวจเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบครึ่งขึ้นไป เนื่องจากหากตรวจพบตั้งแต่ช่วง 2 ขวบปีแรก จะทำให้ผลการรักษาดีมาก แม้ไม่หายขาดแต่เด็กจะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ช่วยเหลือตนเองได้และเข้าโรงเรียนได้ตามวัย พนักงานผู้ป่วยออทิสติกปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน “ผู้ป่วยออทิสติกต้องการการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง เหมาะสม และเข้มข้น โดยผสมผสานวิธีการต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมพัฒนาการ การจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม การส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำ ตลอดจนสวัสดิการสังคมและการดำเนินชีวิตในชุมชน ซึ่งกรมสุขภาพจิตมีนโยบายเพิ่มการเข้าถึงบริการให้เด็กพิเศษกลุ่มนี้ได้รับบริการคัดกรองหาความผิดปกติและบำบัดรักษา กระตุ้นพัฒนาการ และปรับพฤติกรรม ดังนั้น การคืนบุคคลออทิสติกสู่สังคม จึงจำเป็นต้องมี “พันธมิตร” ในภาคสังคม ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา มีหลายองค์กรภาครัฐและเอกชนไม่น้อยกว่า 10 องค์กรได้ให้โอกาสพวกเขาพิสูจน์ศักยภาพ รับเข้าทำงานไม่น้อยกว่า 30 ราย” รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว ด้าน นายกิติพัฒก์ เนื่องจำนงค์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โมเดอร์นฟอร์ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทตระหนัก และเห็นถึงคุณค่าของผู้พิการและผู้ป่วยออทิสติกที่มีสิทธิเท่าเทียมในการประกอบอาชีพและได้รับการยอมรับจากสังคม ปัจจุบัน ได้รับจ้างงานเป็นพนักงานของบริษัททั้งสิ้น 6 ราย ปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน ทั้งนี้ บริษัทจะประสานงานกับ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ผ่านทางหัวหน้าโครงการทดลองจ้างงาน ของ รพ. เพื่อคัดเลือกน้อง ๆ ที่มีความพร้อม และมีความสามารถที่จะทำงานได้ส่งมาให้บริษัท ทำการคัดเลือกเข้าทำงานตามความถนัดของแต่ละคนต่อไป โดยได้กำหนดให้เด็ก 1 คน มีพี่เลี้ยง 1 คน ภายใต้การดูแลของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลของบริษัท ซึ่งระหว่างที่น้อง ๆ ทำงานอยู่ที่บริษัท เรายังต้องดูแลใส่ใจอย่างใกล้ชิด โดยใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมร่วมกับพี่เลี้ยง ตลอดจนปรึกษาถึงวิธีการดูแลและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับจิตแพทย์และหัวหน้าโครงการทดลองจ้างงาน รพ.ยุวประสาทฯ มาโดยตลอด พนักงานผู้ป่วยออทิสติกปฏิบัติงานตามแผนกต่าง ๆ ตามความถนัดและเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคน พญ.รัชนี ฉลองเกื้อกูล ผอ.โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กล่าวว่า สมองของเด็กในช่วงอายุน้อยกว่า 5 ขวบ จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ถ้ารีบแก้ไขปัญหาให้กับเด็ก จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้อย่างดี เด็กออทิสติกหลายคนสามารถเรียนจบปริญญาและประกอบอาชีพได้เหมือนคนปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม บุคคลออทิสติกที่จบการศึกษา หรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพ และเป็นภาระในครอบครัว จากการสำรวจของ The National Autistic Society (NAS) ของประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ป่วยออทิสติกวัยผู้ใหญ่เพียง 15% ที่สามารถทำงานเลี้ยงชีพและมีรายได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยออทิสติกถูกจัดว่าเป็นแรงงานที่ไม่ความชำนาญจึงได้รับค่าตอบแทนในระดับต่ำ มีอัตราการเปลี่ยนงานบ่อยและมีความยากลำบากในการปรับตัวกับสถานที่และเพื่อนร่วมงาน และจากข้อมูลของมูลนิธิบุคคลออทิสติกไทย พบว่า มีบุคคลออทิสติกจำนวนไม่ถึงร้อยคนที่มีงานทำหรือสามารถประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับครอบครัว สามารถช่วยเหลืองานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการเปิดโอกาสให้พวกเขามีที่ยืนในสังคมต่อไปได้ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000031166

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...