จ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ

แสดงความคิดเห็น

โลโก้คนพิการทุกประเภท

วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ปีนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นวาระสำคัญ นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เสนอข้อมูลให้ทราบว่า มาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน ในอัตราส่วนพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจ้างคนพิการ 1 คน

ทั้งนี้ ในปี 2557 มีหน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติดังกล่าว จำนวน 290 แห่ง ซึ่งตามสัดส่วนต้องมีการจ้างงานคนพิการจำนวน 10,246 คน ปรากฏว่ามีการแจ้งผลการปฏิบัติงาน 160 แห่ง เป็นการจ้างงานคนพิการ จำนวน 1,280 คน โดยตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานธุรการ หรือพนักงานรับโทรศัพท์ และยังมีการดำเนินงานตามมาตรา 35 จำนวน 390 คน รวมจำนวน 1,670 คน รวมทั้งหมดแล้วเป็นร้อยละ 16.30

มีหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติครบถ้วนตามกฎหมาย 2 แห่ง คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (จำนวนผู้ปฏิบัติงาน 9,240 คน มีการจ้างงานคนพิการจำนวน 100 คน) และ กระทรวงแรงงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงาน 13,387 คน มีการจ้างงานคนพิการจำนวน 171 คน) เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีมาตรา 35 เป็นตัวช่วยในการเอื้อประโยชน์ต่อคนพิการมากยิ่งขึ้นคือ ไม่จ้างโดยตรง ก็เลือกทำใน 7 วิธีการ ได้แก่

1.การจัดสัมปทาน เช่น ให้สิทธิจำหน่ายสินค้า จัดรายการวิทยุ เป็นต้น 2.จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า 3.บริการจัดจ้างเหมาช่วยงาน หรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ 4.จัดให้มีการฝึกงาน 5.จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก 6.จัดให้มีล่ามภาษามือ และ 7.การให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ 1 กิจกรรม/สัญญาเท่ากับ 1 คน

นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ได้กำหนดวิธีการสรรหา และเลือกคนพิการเข้าทำงานในส่วนราชการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ได้แก่ ให้ส่วนราชการกำหนดอัตราส่วน และกำหนดตำแหน่งในการรับคนพิการเข้าทำงาน กรณีจะรับคนพิการเข้าเป็นข้าราชการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ คือ การคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขัน โดยคนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

กรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถรับคนพิการเข้าทำงานได้ ตามมาตรา 33 ให้รายงานปลัดกระทรวงเพื่อเกลี่ยไปให้ส่วนราชการอื่นในสังกัดดำเนินการแทน หากไม่ได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา 35 แทน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงขอความร่วมมือกับทุกส่วนราชการ และทุกภาคส่วนของสังคม ดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการมุ่งสู่การมีมาตรฐานในระดับสากลและให้สังคมนี้เป็นสังคมแห่งการให้เกียรติ ให้โอกาส และให้กำลังใจ แก่คนพิการอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม

วาระส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการจึงเป็นวาระสำคัญ 1 ใน 8 งาน ที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม. เร่งรัดขับเคลื่อนเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวง พม.ในปี 2559.

“ซี.12”

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/546532

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 ธ.ค.58
วันที่โพสต์: 14/12/2558 เวลา 12:06:36 ดูภาพสไลด์โชว์ จ้างงานคนพิการในหน่วยงานรัฐ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โลโก้คนพิการทุกประเภท วันที่ 3 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคนพิการสากล ปีนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 เห็นชอบมาตรการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นวาระสำคัญ นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เสนอข้อมูลให้ทราบว่า มาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน ในอัตราส่วนพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องจ้างคนพิการ 1 คน ทั้งนี้ ในปี 2557 มีหน่วยงานของรัฐที่ต้องปฏิบัติดังกล่าว จำนวน 290 แห่ง ซึ่งตามสัดส่วนต้องมีการจ้างงานคนพิการจำนวน 10,246 คน ปรากฏว่ามีการแจ้งผลการปฏิบัติงาน 160 แห่ง เป็นการจ้างงานคนพิการ จำนวน 1,280 คน โดยตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานธุรการ หรือพนักงานรับโทรศัพท์ และยังมีการดำเนินงานตามมาตรา 35 จำนวน 390 คน รวมจำนวน 1,670 คน รวมทั้งหมดแล้วเป็นร้อยละ 16.30 มีหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติครบถ้วนตามกฎหมาย 2 แห่ง คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (จำนวนผู้ปฏิบัติงาน 9,240 คน มีการจ้างงานคนพิการจำนวน 100 คน) และ กระทรวงแรงงาน (จำนวนผู้ปฏิบัติงาน 13,387 คน มีการจ้างงานคนพิการจำนวน 171 คน) เพื่อเป็นการสนับสนุนมาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีมาตรา 35 เป็นตัวช่วยในการเอื้อประโยชน์ต่อคนพิการมากยิ่งขึ้นคือ ไม่จ้างโดยตรง ก็เลือกทำใน 7 วิธีการ ได้แก่ 1.การจัดสัมปทาน เช่น ให้สิทธิจำหน่ายสินค้า จัดรายการวิทยุ เป็นต้น 2.จัดสถานที่จำหน่ายสินค้า 3.บริการจัดจ้างเหมาช่วยงาน หรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ 4.จัดให้มีการฝึกงาน 5.จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก 6.จัดให้มีล่ามภาษามือ และ 7.การให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการ 1 กิจกรรม/สัญญาเท่ากับ 1 คน นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ได้กำหนดวิธีการสรรหา และเลือกคนพิการเข้าทำงานในส่วนราชการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ได้แก่ ให้ส่วนราชการกำหนดอัตราส่วน และกำหนดตำแหน่งในการรับคนพิการเข้าทำงาน กรณีจะรับคนพิการเข้าเป็นข้าราชการ ให้ถือว่าเป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ คือ การคัดเลือกบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโดยไม่ต้องดำเนินการสอบแข่งขัน โดยคนพิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 กรณีที่ส่วนราชการไม่สามารถรับคนพิการเข้าทำงานได้ ตามมาตรา 33 ให้รายงานปลัดกระทรวงเพื่อเกลี่ยไปให้ส่วนราชการอื่นในสังกัดดำเนินการแทน หากไม่ได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา 35 แทน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงขอความร่วมมือกับทุกส่วนราชการ และทุกภาคส่วนของสังคม ดำเนินการเพื่อให้การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการมุ่งสู่การมีมาตรฐานในระดับสากลและให้สังคมนี้เป็นสังคมแห่งการให้เกียรติ ให้โอกาส และให้กำลังใจ แก่คนพิการอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม วาระส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการจึงเป็นวาระสำคัญ 1 ใน 8 งาน ที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม. เร่งรัดขับเคลื่อนเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวง พม.ในปี 2559. “ซี.12” ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/546532

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...