ปีใหม่นี้ สั่งของแจกกับ "สมาคมคนพิการ" พร้อมรับออร์เดอร์ไม่อั้น

แสดงความคิดเห็น

หนึ่งในกลไกซีเอสอาร์ที่จะช่วยในการสร้างอาชีพคนพิการได้ก็คือ บริษัทเอกชนร่วมกันใช้ และพัฒนาสินค้าคนพิการ "ไม่ต้องซื้อเพราะสงสาร แต่ต้องการให้สินค้าของเราสามารถนำไปใช้ได้จริง ก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะเติบโตไปด้วยกันได้"ตัวแทนคนพิการท่านหนึ่งกล่าว

ผลิตภัณฑ์สินค้าจากฝีมือคนพิการ

ไอเดียดีๆ นี้ มาจาก คุณธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นฐานธุรกิจ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัดการฝึกอาชีพให้กับผู้พิการไปสู่ช่างฝีมือ และล่าสุดคือ การจับกลุ่มผู้พิการที่มีความชำนาญในการทำอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น การปักเสื้อ ทำกระเป๋า ทำแชมพู แกะสลักหิน แล้วนำมาจัดแมตชิ่งธุรกิจกับผู้ประกอบการกลุ่ม MAI รวม 47 รายซึ่งนับเป็นการสร้างรูปแบบของธุรกิจที่ช่วยให้อาชีพของคนพิการมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำหรับปีใหม่ 2559 ที่จะถึงนี้ ในช่วงสองสามเดือนก่อนปีใหม่ จะเป็นเวลาที่ผู้ประกอบการสามารถที่จะร่วมกันสั่งสินค้าในกลุ่มของคนพิการได้ คุณอารยา เปล่งขำ ผู้อำนวยการส่วนการจัดซื้อ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตัวแทนจากฝั่งผู้ประกอบการ ผู้ที่คัดสรรสินค้าของที่ระลึกจากฝีมือคนพิการมาจำหน่าย ในหมวดสินค้าของที่ระลึก และปรากฏว่าสินค้าจากฝีมือคนพิการเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในหมวดของสินค้าของที่ระลึกของคิง เพาเวอร์

อารยาแนะว่า ผู้พิการที่จะนำเสนอสินค้าเข้ามาจำหน่ายนั้น คิง เพาเวอร์มีเกณฑ์มาตรฐาน ที่จะต้องทำให้ผ่าน โดยเริ่มตั้งแต่มาตรฐานสินค้า คุณภาพ และแพ็กเกจจิ้ง นอกจากนี้ผู้ประกอบการผู้พิการจะต้องเข้าใจตลาดด้วยว่าตลาดต้องการอะไร ตรงนี้สามารถเรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมกันได้ สำหรับคิง เพาเวอร์ นั้นเน้นสินค้าสำหรับกลุ่มนักเดินทางนักท่องเที่ยวดังนั้นฟังก์ชั่นการออกแบบสีสันพฤติกรรมของผู้ซื้อจะต้องเหมาะกับแต่ละกลุ่ม

ผลิตภัณฑ์สินค้าจากฝีมือคนพิการ

อย่างเช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ซื้อมากเป็นอันดับต้นๆ ของคิง เพาเวอร์ ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ก็คือ ทัวร์จากจีน ที่เหลือก็จะเป็นทัวร์จากประเทศในยุโรปและที่อื่นๆ อารยากล่าวว่า ทัวร์จีนชอบสินค้าไทย ไม่ชอบดีไซน์ซับซ้อน และบอกการใช้งานที่ชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องราง หินต่างๆ ก็บอกเลยว่า มันคืออะไร และนำไปใช้ทำอะไร ฟังก์ชั่นการใช้งาน ต้องมีมากกว่าสองฟังก์ชั่น เช่น นอกจากทับกระดาษแล้วจะต้องเสียบปากกาด้วย เป็นต้น เรื่องของสีสัน ควรศึกษาด้วยว่าคนจีนไม่ชอบสีเขียว เพราะมีความเชื่อว่าสามีมีชู้ แต่ชอบสีแดงเพราะเป็นมงคล ส่วนเสื้อผ้าหากจะนำเข้ามาจำหน่าย ต้องเข้าใจว่า คนเดินทางในสนามบินไม่มีเวลา การคัดเลือก เสื้อผ้าต้องหลวมๆ ไว้เสมอ นอกจากนี้ คนจีนชอบใส่เสื้อที่ใหญ่กว่าตัวเองหนึ่งเบอร์

ในเรื่องสินค้าแสดงความเป็นไทยเน้นไทยประยุกต์ เช่น ตุ๊กตานางรำก็จะต้องมีฟังก์ชั่นต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ แต่อย่างที่บอก คือชัดเจน ส่วนแพ็กเกจจิ้งจะต้องดึงดูดใจ สวยงาม และต้องพัฒนาสินค้าที่นักท่องเที่ยว ไม่สามารถหาซื้อจากที่อื่นได้ เช่น หาซื้อได้จากจตุจักร วัดต่าง ๆ หรือแถวสีลม และผู้ออกแบบสินค้าเองจะต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเรื่อยๆต้องมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้เหมาะกับยุคสมัยเสมอ

คุณภพต์ เทภาสิต ตัวแทนผู้พิการจากสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย กล่าวว่า สมาคมมีหลากหลายกลุ่มอาชีพ โดยสินค้าที่เข้าไปจำหน่ายบนเครื่องได้นั้นคือของที่ระลึก ที่ได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ และพยายามพัฒนาดีไซน์ที่เหมาะสม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอในงานครั้งนี้ อาทิ ตะกร้าเชือกฟางจากสุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ผ้าปักกลุ่มสตรีจากพะเยา เพาะพันธุ์ไม้มงคลจากพระนครศรีอยุธยา ผลิตภัณฑ์เสื้อยืดปักของ คุณสุภวรรณเฉยศิริและผลิตภัณฑ์จากสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อไปที่ เลขที่ 25/432 หมู่ 6 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทร.08-6908-8258 line : สหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย จำกัด

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443611355 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 1/10/2558 เวลา 11:46:42 ดูภาพสไลด์โชว์ ปีใหม่นี้ สั่งของแจกกับ "สมาคมคนพิการ" พร้อมรับออร์เดอร์ไม่อั้น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หนึ่งในกลไกซีเอสอาร์ที่จะช่วยในการสร้างอาชีพคนพิการได้ก็คือ บริษัทเอกชนร่วมกันใช้ และพัฒนาสินค้าคนพิการ "ไม่ต้องซื้อเพราะสงสาร แต่ต้องการให้สินค้าของเราสามารถนำไปใช้ได้จริง ก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายสามารถที่จะเติบโตไปด้วยกันได้"ตัวแทนคนพิการท่านหนึ่งกล่าว ผลิตภัณฑ์สินค้าจากฝีมือคนพิการ ไอเดียดีๆ นี้ มาจาก คุณธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาพื้นฐานธุรกิจ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จัดการฝึกอาชีพให้กับผู้พิการไปสู่ช่างฝีมือ และล่าสุดคือ การจับกลุ่มผู้พิการที่มีความชำนาญในการทำอาชีพด้านต่าง ๆ เช่น การปักเสื้อ ทำกระเป๋า ทำแชมพู แกะสลักหิน แล้วนำมาจัดแมตชิ่งธุรกิจกับผู้ประกอบการกลุ่ม MAI รวม 47 รายซึ่งนับเป็นการสร้างรูปแบบของธุรกิจที่ช่วยให้อาชีพของคนพิการมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับปีใหม่ 2559 ที่จะถึงนี้ ในช่วงสองสามเดือนก่อนปีใหม่ จะเป็นเวลาที่ผู้ประกอบการสามารถที่จะร่วมกันสั่งสินค้าในกลุ่มของคนพิการได้ คุณอารยา เปล่งขำ ผู้อำนวยการส่วนการจัดซื้อ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตัวแทนจากฝั่งผู้ประกอบการ ผู้ที่คัดสรรสินค้าของที่ระลึกจากฝีมือคนพิการมาจำหน่าย ในหมวดสินค้าของที่ระลึก และปรากฏว่าสินค้าจากฝีมือคนพิการเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในหมวดของสินค้าของที่ระลึกของคิง เพาเวอร์ อารยาแนะว่า ผู้พิการที่จะนำเสนอสินค้าเข้ามาจำหน่ายนั้น คิง เพาเวอร์มีเกณฑ์มาตรฐาน ที่จะต้องทำให้ผ่าน โดยเริ่มตั้งแต่มาตรฐานสินค้า คุณภาพ และแพ็กเกจจิ้ง นอกจากนี้ผู้ประกอบการผู้พิการจะต้องเข้าใจตลาดด้วยว่าตลาดต้องการอะไร ตรงนี้สามารถเรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมกันได้ สำหรับคิง เพาเวอร์ นั้นเน้นสินค้าสำหรับกลุ่มนักเดินทางนักท่องเที่ยวดังนั้นฟังก์ชั่นการออกแบบสีสันพฤติกรรมของผู้ซื้อจะต้องเหมาะกับแต่ละกลุ่ม ผลิตภัณฑ์สินค้าจากฝีมือคนพิการ อย่างเช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ซื้อมากเป็นอันดับต้นๆ ของคิง เพาเวอร์ ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ก็คือ ทัวร์จากจีน ที่เหลือก็จะเป็นทัวร์จากประเทศในยุโรปและที่อื่นๆ อารยากล่าวว่า ทัวร์จีนชอบสินค้าไทย ไม่ชอบดีไซน์ซับซ้อน และบอกการใช้งานที่ชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องราง หินต่างๆ ก็บอกเลยว่า มันคืออะไร และนำไปใช้ทำอะไร ฟังก์ชั่นการใช้งาน ต้องมีมากกว่าสองฟังก์ชั่น เช่น นอกจากทับกระดาษแล้วจะต้องเสียบปากกาด้วย เป็นต้น เรื่องของสีสัน ควรศึกษาด้วยว่าคนจีนไม่ชอบสีเขียว เพราะมีความเชื่อว่าสามีมีชู้ แต่ชอบสีแดงเพราะเป็นมงคล ส่วนเสื้อผ้าหากจะนำเข้ามาจำหน่าย ต้องเข้าใจว่า คนเดินทางในสนามบินไม่มีเวลา การคัดเลือก เสื้อผ้าต้องหลวมๆ ไว้เสมอ นอกจากนี้ คนจีนชอบใส่เสื้อที่ใหญ่กว่าตัวเองหนึ่งเบอร์ ในเรื่องสินค้าแสดงความเป็นไทยเน้นไทยประยุกต์ เช่น ตุ๊กตานางรำก็จะต้องมีฟังก์ชั่นต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ แต่อย่างที่บอก คือชัดเจน ส่วนแพ็กเกจจิ้งจะต้องดึงดูดใจ สวยงาม และต้องพัฒนาสินค้าที่นักท่องเที่ยว ไม่สามารถหาซื้อจากที่อื่นได้ เช่น หาซื้อได้จากจตุจักร วัดต่าง ๆ หรือแถวสีลม และผู้ออกแบบสินค้าเองจะต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเรื่อยๆต้องมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้เหมาะกับยุคสมัยเสมอ คุณภพต์ เทภาสิต ตัวแทนผู้พิการจากสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย กล่าวว่า สมาคมมีหลากหลายกลุ่มอาชีพ โดยสินค้าที่เข้าไปจำหน่ายบนเครื่องได้นั้นคือของที่ระลึก ที่ได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ และพยายามพัฒนาดีไซน์ที่เหมาะสม สำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอในงานครั้งนี้ อาทิ ตะกร้าเชือกฟางจากสุพรรณบุรี ผลิตภัณฑ์ผ้าปักกลุ่มสตรีจากพะเยา เพาะพันธุ์ไม้มงคลจากพระนครศรีอยุธยา ผลิตภัณฑ์เสื้อยืดปักของ คุณสุภวรรณเฉยศิริและผลิตภัณฑ์จากสหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อไปที่ เลขที่ 25/432 หมู่ 6 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี โทร.08-6908-8258 line : สหกรณ์บริการผลิตภัณฑ์คนพิการไทย จำกัด ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1443611355

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...