เลี้ยง “หมูหลุม” ทำเงิน ฝีมือชายพิการหัวใจหล่อมาก

แสดงความคิดเห็น

นายสนั่น นามเสาร์ และครอบครัว

แม้ “สนั่น นามเสาร์” จะพิการส่วนขาด้วยโรคโปลิโอ ทว่า ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องประกอบอาชีพ เพราะหนุ่มคนนี้ทำได้ดี เสียจนคนร่างกายสมบูรณ์ยังต้องอาย เพราะมุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงหมูจำลองระบบนิเวศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแบบ “หมูหลุม” มีจุดเด่นช่วยให้ดูแลง่ายขึ้น สอดคล้องตามหลักเกษตรธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงาน อีกทั้งสามารถขายหมูได้ง่าย แถมยังได้สินค้าต่อเนื่อง“ปุ๋ย”มาเสริมรายได้อีกทาง

พื้นฐานแล้วครอบครัวของ “สนั่น นามเสาร์” ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่หมู่บ้านนาน้อย อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งวิถีชีวิตเหมือนกับครอบครัวชาวอีสานโดยส่วนใหญ่ทั่วไปที่ฐานะค่อนข้างยากจน ส่วนตัวของหนุ่มรายนี้เป็นคนขยัน ตั้งแต่เด็กช่วยเหลืองานที่บ้านมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทำนา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งประกอบอาชีพช่างต่างๆ เช่น ซ่อมมอเตอร์ไซค์ เขาก็เคยทดลองทำมาหมดแล้วลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

จนเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วเริ่มสนใจเลี้ยงหมูขาย เพราะสังเกตว่าเวลาเข้าไปในตลาดสดชุมชนพบว่าเขียงหมูแต่ละเจ้าไม่ได้เลี้ยงหมูเองเลย ต้องรับมาจากนอกชุมชน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้เขาเกิดความคิดจะเลี้ยงหมูไว้ขายเขียงหมูในตลาดนัดชุมชนตัวเองเสียเลย

“ผมเริ่มจากซื้อหมูแม่พันธุ์ตัวหนึ่งมาเลี้ยง ราคา 20,000 บาท โดยเอาไปผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์ จ่ายค่าผสมพันธุ์ครั้งละ 500 บาท โดยแม่พันธุ์ใช้เวลาตั้งท้อง 3 เดือน เมื่อได้ลูกแล้วก็จะขายลูกหมู ราคาตอนนั้นตัวละ 800 บาท ต่อคอกจะได้ลูกหมูประมาณ 5-9 ตัว ซึ่งปริมาณลูกหมูจะออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลือกพ่อพันธุ์มาผสม กับการดูแลให้อาหารแม่พันธุ์ ซึ่งผมอยู่กับการเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรมาแต่เล็ก เลยมีประสบการณ์ทำได้ค่อนข้างดีผมเคยเลี้ยงจนแม่พันธุ์ให้ลูกคอกละ15ตัว”สนั่นเล่า

นายสนั่น กำลังดูแล ให้อาหารหมู

ถึงจะพิการ แต่เขาไม่เคยนำจุดอ่อนทางร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพแม้แต่น้อย ในทางตรงข้าม สนั่นกลับหมั่นเรียนรู้วิธีทำเกษตรทฤษฎีใหม่ๆ เสมอ ด้วยการสมัครเข้าโครงการพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น อบรมการทำธุรกิจของคนพิการ ที่จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED)

จากความขยันเพิ่มความรู้ให้ตัวเองดังกล่าว กลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปดูงานการทำฟาร์มเลี้ยงหมู ระบบ “หมูหลุม” ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงหมูในโรงเรือนที่จะขุดหลุมลึกลงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุธรรมชาติรองพื้น คือ แกลบ และฟาง ซึ่งวิธีดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี

สนั่นอธิบายเสริมว่า การทำฟาร์มแบบหมูหลุมเป็นการจำลองระบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อหมูถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในพื้นที่รองด้วยแกลบและฟางก็จะกลายเป็นการหมัก “ปุ๋ยมูลสัตว์” ชั้นดี ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน นอกจากนั้น ที่สำคัญการเลี้ยงระบบนี้ไม่ต้องลงไปขัดพื้นทำความสะอาดเหมือนโรงเลี้ยงที่เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดการใช้น้ำ และลดการใช้แรงงานจึงเหมาะกับเขาอย่างยิ่งที่เป็นคนพิการ

“หลังจากที่ผมได้ไปดูงานการเลี้ยงระบบหมูหลุม ผมก็เห็นว่ามันเหมาะกับผมมากๆ เพราะการเลี้ยงแบบเดิมต้องคอยทำความสะอาดพื้นเสมอ ไม่อย่างนั้นจะสกปรก และเหม็นมาก ซึ่งการต้องลงไปขัดพื้นบ่อยๆ ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม ในขณะที่การเลี้ยงระบบหลุม ถ้าเราจัดระบบให้ดีแล้วจะช่วยประหยัดทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายและแรงงานผมเลยกลับมาปรับปรุงโรงเรือนของผมเอง”หนุ่มคนขยันเล่าและกล่าวต่อว่า

การสร้างโรงเรือนระบบหมูหลุมลงทุนประมาณ 10,000 บาท เป็นโรงเรือนขนาด 6x2.5 เมตร รอบๆ ก่อด้วยอิฐบล็อก สูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นขุดเป็นหลุมลงไปจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นรองพื้นด้วยฟาง และแกลบจนเต็ม ซึ่งใช้เงินซื้อแกลบและฟางประมาณ 1,000 บาทต่อครั้งในการปูพื้น ตามด้วยราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นซึ่งในส่วนน้ำหมักชีวภาพนั้นทำขึ้นเองจึงไม่มีค่าใช้จ่าย

ด้านการเลี้ยงและดูแลฟาร์มหมูหลุมนั้น สนั่นเล่าว่า ค่อนข้างสบาย ตอนเช้าประมาณ 07.00 น. จะมาให้อาหารหมู ซึ่งใช้เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เช่นเดียวกับให้อาหารเย็นประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้นคอยเติมแกลบและฟางเสมอๆไม่ให้พร่องรวมถึงราดน้ำหมักชีวภาพเสมอๆป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น

ผลพลอยได้ของการเลี้ยงระบบดังกล่าวนั้นทำให้มีรายได้เสริมจากการขาย “ปุ๋ยมูลหมู” ซึ่งปัจจุบันต่อคอกจะสามารถเก็บไปทำปุ๋ยขายได้ถึง 120 กระสอบ ขายในราคากระสอบละ 40 บาท ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าขายดีจนทำไม่พอความต้องการ

นอกจากนั้น ในส่วนการขายหมูนั้น ปัจจุบันจะไม่ได้ขายหมูแรกเกิดแล้ว แต่จะเลี้ยงขุนต่อเนื่องอีก 3 เดือนจนได้น้ำหนักตัวละ 80-85 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนจากการเลี้ยงและค่าอาหารตกประมาณตัวละ 3,000 บาท สามารถไปขายได้ในราคาถึงตัวละ 7,000-7,600 บาท โดยเฉลี่ยแล้วจะมีหมูขายต่อรอบประมาณ 10 ตัว หรือเป็นเงินประมาณ 70,000-76,000 บาท โดยปีหนึ่งขายได้ 3-4 ครั้ง หรือคิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 266,000 บาท เมื่อรวมกับรายได้การขายปุ๋ยมูลหมูแล้วเบ็ดเสร็จหักรายจ่ายต่างๆเหลือกำไรประมาณ20,000+บาทต่อเดือน

คอกหมู ของนายสนั่น

สำหรับช่องทางขาย จะมีพ่อค้าเขียงหมูจากทั้งในชุมชนและนอกชุมชนมารับซื้อโดยตรงถึงหน้าบ้านเลย ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากการเลี้ยงหมูตามวิธีธรรมชาติดังกล่าวจะมีเนื้อที่แน่นและอร่อยกว่า จึงเป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างยิ่ง

สนั่นบอกด้วยว่า ตลาดตอบรับหมูที่เขาเลี้ยงดีมาก ในอนาคตจึงอยากจะขยายโรงเรือน และแม่พันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณหมูที่ขายให้ได้รอบละ 20 ตัวจากปัจจุบันที่มีขายอยู่รอบละประมาณ 10 ตัว อย่างไรก็ตาม ต้องดูเรื่องความพร้อมในการดูแลและความคุ้มค่าของเงินทุนก่อสร้างโรงเรือนและค่าอาหารสัตว์ควบคู่ไปด้วย

“จากที่ผมไปได้อบรมความรู้ และมีทีมที่ปรึกษามาช่วยแนะนำ ทำให้ผมเริ่มมีความรู้เรื่องการคิดต้นทุนมากยิ่งขึ้น จากแต่ก่อนเราก็เลี้ยงไปเรื่อยๆ ไม่เคยนำค่าแรง ค่าเวลาของตัวเองมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่รู้ต้นทุนของการเลี้ยงหมูแต่ตอนนี้ผมเริ่มทำบันทึกข้อมูลตามที่ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำทำให้รู้ต้นทุนชัดเจนขึ้น”

ที่น่าทึ่งกว่านั้น ปัจจุบันนอกจากเลี้ยงหมูแล้ว สนั่นยังทำงานประจำอยู่ด้วย โดยเป็นพนักงานฝ่ายตรวจรับสินค้าของห้างโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งใน จ.นครพนม โดยชีวิตประจำวัน ตอนเช้าจะตื่นมาให้อาหารหมู หลังจากนั้นจะไปทำงานประจำ และตอนเย็นกลับมาให้อาหารหมูอีกครั้ง ซึ่งระบบการเลี้ยงแบบหมูหลุมทำให้สะดวก ดูแลง่าย ช่วงกลางวันที่ตัวเขาไปทำงานประจำก็จะมอบหมายหน้าที่ให้พ่อและแม่ ซึ่งอยู่บ้านคอยช่วยดูแลให้แทนซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักหนาเหมาะแก่ผู้สูงอายุสามารถทำได้สบายๆ

ถึงผมจะเป็นคนพิการ แต่ผมไม่เคยคิดว่าเรื่องความพิการเป็นปัญหาของผมเลย บางครั้งผมเห็นคนร่างกายดีๆ แต่ไม่ยอมทำมาหากิน ผมก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่ทำตัวเองให้เกิดประโยชน์ อย่างตัวผม ผมจะภูมิใจว่าเราเลี้ยงหมูแล้วมีกำไร มีรายได้ ไม่ต้องเป็นภาระใคร และยังดูแลพ่อแม่ได้ด้วย” สนั่นตบท้าย

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108619 (ขนาดไฟล์: 172)

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ย.58
วันที่โพสต์: 30/09/2558 เวลา 12:01:57 ดูภาพสไลด์โชว์ เลี้ยง “หมูหลุม” ทำเงิน ฝีมือชายพิการหัวใจหล่อมาก

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายสนั่น นามเสาร์ และครอบครัว แม้ “สนั่น นามเสาร์” จะพิการส่วนขาด้วยโรคโปลิโอ ทว่า ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องประกอบอาชีพ เพราะหนุ่มคนนี้ทำได้ดี เสียจนคนร่างกายสมบูรณ์ยังต้องอาย เพราะมุ่งมั่นพัฒนาการเลี้ยงหมูจำลองระบบนิเวศ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าแบบ “หมูหลุม” มีจุดเด่นช่วยให้ดูแลง่ายขึ้น สอดคล้องตามหลักเกษตรธรรมชาติ ช่วยลดต้นทุนและประหยัดแรงงาน อีกทั้งสามารถขายหมูได้ง่าย แถมยังได้สินค้าต่อเนื่อง“ปุ๋ย”มาเสริมรายได้อีกทาง พื้นฐานแล้วครอบครัวของ “สนั่น นามเสาร์” ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่หมู่บ้านนาน้อย อ.นาหว้า จ.นครพนม ซึ่งวิถีชีวิตเหมือนกับครอบครัวชาวอีสานโดยส่วนใหญ่ทั่วไปที่ฐานะค่อนข้างยากจน ส่วนตัวของหนุ่มรายนี้เป็นคนขยัน ตั้งแต่เด็กช่วยเหลืองานที่บ้านมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นทำนา เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ ฯลฯ หรือแม้กระทั่งประกอบอาชีพช่างต่างๆ เช่น ซ่อมมอเตอร์ไซค์ เขาก็เคยทดลองทำมาหมดแล้วลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้วเริ่มสนใจเลี้ยงหมูขาย เพราะสังเกตว่าเวลาเข้าไปในตลาดสดชุมชนพบว่าเขียงหมูแต่ละเจ้าไม่ได้เลี้ยงหมูเองเลย ต้องรับมาจากนอกชุมชน ซึ่งราคาค่อนข้างสูง ทำให้เขาเกิดความคิดจะเลี้ยงหมูไว้ขายเขียงหมูในตลาดนัดชุมชนตัวเองเสียเลย “ผมเริ่มจากซื้อหมูแม่พันธุ์ตัวหนึ่งมาเลี้ยง ราคา 20,000 บาท โดยเอาไปผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์ จ่ายค่าผสมพันธุ์ครั้งละ 500 บาท โดยแม่พันธุ์ใช้เวลาตั้งท้อง 3 เดือน เมื่อได้ลูกแล้วก็จะขายลูกหมู ราคาตอนนั้นตัวละ 800 บาท ต่อคอกจะได้ลูกหมูประมาณ 5-9 ตัว ซึ่งปริมาณลูกหมูจะออกมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลือกพ่อพันธุ์มาผสม กับการดูแลให้อาหารแม่พันธุ์ ซึ่งผมอยู่กับการเลี้ยงสัตว์ทำเกษตรมาแต่เล็ก เลยมีประสบการณ์ทำได้ค่อนข้างดีผมเคยเลี้ยงจนแม่พันธุ์ให้ลูกคอกละ15ตัว”สนั่นเล่า นายสนั่น กำลังดูแล ให้อาหารหมู ถึงจะพิการ แต่เขาไม่เคยนำจุดอ่อนทางร่างกายมาเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพแม้แต่น้อย ในทางตรงข้าม สนั่นกลับหมั่นเรียนรู้วิธีทำเกษตรทฤษฎีใหม่ๆ เสมอ ด้วยการสมัครเข้าโครงการพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น อบรมการทำธุรกิจของคนพิการ ที่จัดโดยสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ร่วมกับสถาบันพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED) จากความขยันเพิ่มความรู้ให้ตัวเองดังกล่าว กลายเป็นโอกาสครั้งสำคัญ เพราะเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วมีโอกาสไปดูงานการทำฟาร์มเลี้ยงหมู ระบบ “หมูหลุม” ซึ่งเป็นวิธีเลี้ยงหมูในโรงเรือนที่จะขุดหลุมลึกลงจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วใช้วัสดุธรรมชาติรองพื้น คือ แกลบ และฟาง ซึ่งวิธีดังกล่าวมีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี สนั่นอธิบายเสริมว่า การทำฟาร์มแบบหมูหลุมเป็นการจำลองระบบหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อหมูถ่ายมูลหรือปัสสาวะลงในพื้นที่รองด้วยแกลบและฟางก็จะกลายเป็นการหมัก “ปุ๋ยมูลสัตว์” ชั้นดี ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน อีกทั้งไม่มีกลิ่นเหม็นสร้างความรำคาญแก่ชาวบ้าน นอกจากนั้น ที่สำคัญการเลี้ยงระบบนี้ไม่ต้องลงไปขัดพื้นทำความสะอาดเหมือนโรงเลี้ยงที่เทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ ช่วยประหยัดการใช้น้ำ และลดการใช้แรงงานจึงเหมาะกับเขาอย่างยิ่งที่เป็นคนพิการ “หลังจากที่ผมได้ไปดูงานการเลี้ยงระบบหมูหลุม ผมก็เห็นว่ามันเหมาะกับผมมากๆ เพราะการเลี้ยงแบบเดิมต้องคอยทำความสะอาดพื้นเสมอ ไม่อย่างนั้นจะสกปรก และเหม็นมาก ซึ่งการต้องลงไปขัดพื้นบ่อยๆ ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม ในขณะที่การเลี้ยงระบบหลุม ถ้าเราจัดระบบให้ดีแล้วจะช่วยประหยัดทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายและแรงงานผมเลยกลับมาปรับปรุงโรงเรือนของผมเอง”หนุ่มคนขยันเล่าและกล่าวต่อว่า การสร้างโรงเรือนระบบหมูหลุมลงทุนประมาณ 10,000 บาท เป็นโรงเรือนขนาด 6x2.5 เมตร รอบๆ ก่อด้วยอิฐบล็อก สูง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นขุดเป็นหลุมลงไปจากพื้นดินประมาณ 20-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นรองพื้นด้วยฟาง และแกลบจนเต็ม ซึ่งใช้เงินซื้อแกลบและฟางประมาณ 1,000 บาทต่อครั้งในการปูพื้น ตามด้วยราดน้ำหมักชีวภาพเพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นซึ่งในส่วนน้ำหมักชีวภาพนั้นทำขึ้นเองจึงไม่มีค่าใช้จ่าย ด้านการเลี้ยงและดูแลฟาร์มหมูหลุมนั้น สนั่นเล่าว่า ค่อนข้างสบาย ตอนเช้าประมาณ 07.00 น. จะมาให้อาหารหมู ซึ่งใช้เป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เช่นเดียวกับให้อาหารเย็นประมาณ 17.00 น. นอกจากนั้นคอยเติมแกลบและฟางเสมอๆไม่ให้พร่องรวมถึงราดน้ำหมักชีวภาพเสมอๆป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็น ผลพลอยได้ของการเลี้ยงระบบดังกล่าวนั้นทำให้มีรายได้เสริมจากการขาย “ปุ๋ยมูลหมู” ซึ่งปัจจุบันต่อคอกจะสามารถเก็บไปทำปุ๋ยขายได้ถึง 120 กระสอบ ขายในราคากระสอบละ 40 บาท ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าขายดีจนทำไม่พอความต้องการ นอกจากนั้น ในส่วนการขายหมูนั้น ปัจจุบันจะไม่ได้ขายหมูแรกเกิดแล้ว แต่จะเลี้ยงขุนต่อเนื่องอีก 3 เดือนจนได้น้ำหนักตัวละ 80-85 กิโลกรัม ซึ่งต้นทุนจากการเลี้ยงและค่าอาหารตกประมาณตัวละ 3,000 บาท สามารถไปขายได้ในราคาถึงตัวละ 7,000-7,600 บาท โดยเฉลี่ยแล้วจะมีหมูขายต่อรอบประมาณ 10 ตัว หรือเป็นเงินประมาณ 70,000-76,000 บาท โดยปีหนึ่งขายได้ 3-4 ครั้ง หรือคิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 266,000 บาท เมื่อรวมกับรายได้การขายปุ๋ยมูลหมูแล้วเบ็ดเสร็จหักรายจ่ายต่างๆเหลือกำไรประมาณ20,000+บาทต่อเดือน คอกหมู ของนายสนั่น สำหรับช่องทางขาย จะมีพ่อค้าเขียงหมูจากทั้งในชุมชนและนอกชุมชนมารับซื้อโดยตรงถึงหน้าบ้านเลย ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากการเลี้ยงหมูตามวิธีธรรมชาติดังกล่าวจะมีเนื้อที่แน่นและอร่อยกว่า จึงเป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างยิ่ง สนั่นบอกด้วยว่า ตลาดตอบรับหมูที่เขาเลี้ยงดีมาก ในอนาคตจึงอยากจะขยายโรงเรือน และแม่พันธุ์ให้มากขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณหมูที่ขายให้ได้รอบละ 20 ตัวจากปัจจุบันที่มีขายอยู่รอบละประมาณ 10 ตัว อย่างไรก็ตาม ต้องดูเรื่องความพร้อมในการดูแลและความคุ้มค่าของเงินทุนก่อสร้างโรงเรือนและค่าอาหารสัตว์ควบคู่ไปด้วย “จากที่ผมไปได้อบรมความรู้ และมีทีมที่ปรึกษามาช่วยแนะนำ ทำให้ผมเริ่มมีความรู้เรื่องการคิดต้นทุนมากยิ่งขึ้น จากแต่ก่อนเราก็เลี้ยงไปเรื่อยๆ ไม่เคยนำค่าแรง ค่าเวลาของตัวเองมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่รู้ต้นทุนของการเลี้ยงหมูแต่ตอนนี้ผมเริ่มทำบันทึกข้อมูลตามที่ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้คำแนะนำทำให้รู้ต้นทุนชัดเจนขึ้น” ที่น่าทึ่งกว่านั้น ปัจจุบันนอกจากเลี้ยงหมูแล้ว สนั่นยังทำงานประจำอยู่ด้วย โดยเป็นพนักงานฝ่ายตรวจรับสินค้าของห้างโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งใน จ.นครพนม โดยชีวิตประจำวัน ตอนเช้าจะตื่นมาให้อาหารหมู หลังจากนั้นจะไปทำงานประจำ และตอนเย็นกลับมาให้อาหารหมูอีกครั้ง ซึ่งระบบการเลี้ยงแบบหมูหลุมทำให้สะดวก ดูแลง่าย ช่วงกลางวันที่ตัวเขาไปทำงานประจำก็จะมอบหมายหน้าที่ให้พ่อและแม่ ซึ่งอยู่บ้านคอยช่วยดูแลให้แทนซึ่งเป็นงานที่ไม่หนักหนาเหมาะแก่ผู้สูงอายุสามารถทำได้สบายๆ “ถึงผมจะเป็นคนพิการ แต่ผมไม่เคยคิดว่าเรื่องความพิการเป็นปัญหาของผมเลย บางครั้งผมเห็นคนร่างกายดีๆ แต่ไม่ยอมทำมาหากิน ผมก็ไม่เข้าใจเขาเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่ทำตัวเองให้เกิดประโยชน์ อย่างตัวผม ผมจะภูมิใจว่าเราเลี้ยงหมูแล้วมีกำไร มีรายได้ ไม่ต้องเป็นภาระใคร และยังดูแลพ่อแม่ได้ด้วย” สนั่นตบท้าย ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000108619

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...