ซีเอสอาร์แบบตบตา

แสดงความคิดเห็น

ภาพโลกถูกล้อมด้วยคน

โดย สุจินต์ จันทร์นวล

"แล้วมีมั้ยที่พยายามทำซีเอสอาร์ แต่เบื้องหลังมันไม่ใช่ พูดง่าย ๆ ว่าทำซีเอสอาร์แบบตบตานั่นแหละ ?" รุ่นเดอะขี้สงสัย ยังมีลูกต่อเนื่อง

"โอ้ ย บานเบอะเลย ส่วนใหญ่ทำกันแบบนี้ทั้งนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของคนทั่วไป จากเรื่องไม่ค่อยดีนักของตัวเอง ให้มามองกันที่กิจกรรมซีเอสอาร์ที่ทำเพื่อให้คนอื่นนั้นเห็น และเข้าใจว่าตัวเองดี

เราไม่ต้องไปพูดถึงองค์กรหรือธุรกิจในภาคเอกชน เพราะมันมีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง ทำธุรกิจมันก็เพื่อแสวงหากำไร เขาก็ต้องทำทุกทางเพื่อให้มีกำไร จะสร้างภาพ จะสร้างความเชื่อถือว่าเขาไม่ได้ทำกำไรท่าเดียว รู้จักที่จะรับผิดชอบต่อสังคมด้วย มันก็เป็นเรื่องจำเป็น และพึงกระทำ

แต่ ที่น่าขำ และน่าสมเพชคืองานของภาครัฐต่างหาก ที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ พยายามทำ พี.อาร์. แม้แต่พยายามจะโฆษณาตัวเองว่าฉันมีผลงาน ฉันรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการเสียเงินเสียทอง เอางบประมาณมาใช้ในการโฆษณา ซึ่งก็คือภาษีอากรของพวกเรา

ลองคิดดูสิมันตลกมาก ๆ กระทรวงแต่ละกระทรวงมันก็มีงาน มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้วว่ากระทรวงไหนต้องทำอะไรให้กับประชาชนผู้เสีย ภาษี ให้กับแผ่นดิน แต่มาทำโฆษณาว่าฉันทำโน่นทำนี่ให้ประชาชนให้สังคมนะ

ตลก สิ้นดี ทำทำไมให้เสียเงินเป็นร้อย ๆ ล้าน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้หน่วยงานของตนเอง แต่ภายใต้การทำงานจริง ๆ ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย แค่หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ก็ไม่ได้ทำอย่างที่ควรจะทำ ไม่ได้ทำตัวเป็นคนที่มีหน้าที่รับใช้ประชาชน แต่กลับทำตัวเป็นนายประชาชนเสียอีก ทั้ง ๆ ที่ประชาชนเป็นคนจ่ายเงินเดือน และสวัสดิการให้

ลองไปเช็กดูเบื้องหลังสิว่าในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบรรดากระทรวงต่าง ๆ นั้น ใครที่ได้ประโยชน์จากงบประมาณ

เป็น ร้อย ๆ ล้านต่อปี ล้วนแล้วแต่เป็นนักการเมืองที่เข้ามาเป็นเจ้ากระทรวง และข้าราชการระดับสูงของกระทรวงทั้งนั้น แรก ๆ ก็เริ่มกันที่สิบเปอร์เซ็นต์ ต่อมา

หลัง ๆ นี่ปาเข้าไปสี่สิบเปอร์เซ็นต์

คนที่ได้งานนี้ไปทำต้องจ่ายก่อนด้วย

นี่ แค่เรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์นะ ยังมีเรื่องการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง เกิดภัยพิบัติอะไร เป็นต้องมีการอนุมัติงบฯช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหา เงินงบประมาณที่ออกมานั้น กว่าจะถึงมือประชาชนเหล่านั้นจริง ๆ ก็เหลือแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์

มันโดนเม้มไประหว่างทางไม่รู้

กี่ ตอน ยิ่งต้องมีเรื่องจัดซื้อจัดหาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ยิ่งสนุกสุดหรรษา มีการเขมือบเข้ากระเป๋ากันเป็นที่ครึกครื้น เสร็จแล้วยังมีหน้าไปทำ พี.อาร์.ว่าได้ช่วยเหลือประชาชนไปอย่างเต็มที่"

"พูดยังกะพวกฝ่ายค้าน หรือพวกยืนบนเวทีปราศรัยเพื่อล้มล้างรัฐบาล ?"

รุ่นเดอะขี้สงสัย แซวขัดจังหวะ

"ไม่ ใช่หยั่งงั้น ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลมันก็ครือกันนั่นแหละ ให้สังเกตดูง่าย ๆ กระทรวงหรือหน่วยงานไหน ที่ทำโฆษณาในจอทีวี มักจะเป็นกระทรวงที่คนเกือบลืมว่ามีรัฐมนตรีชื่ออะไร เพราะไม่มีข่าวการทำงานตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุเลย เพราะไม่ได้มีผลงานอะไรให้เป็นข่าว จึงต้องไปจ้างเอเยนซี่มาช่วยคิดหาทางประชาสัมพันธ์ตัวเอง จะโฆษณาว่าฉันทำอะไรไปบ้างมันก็ไม่มี

เอเยนซี่ก็ต้องคิดโครงการในแนวซีเอสอาร์

ขึ้น มาสักเรื่อง แล้วนำเสนอกันออกมา ตาสีตาสาเห็นโฆษณาเข้าจะได้รู้สึกว่า กระทรวงนี้เขาดีนะ แต่ประชาชนที่รู้เท่าทันพวกนักการเมืองจะเข้าใจ ว่ามันคืออะไร"

"เฮ้ย...เหมาแบบนี้มันก็เกินไป ที่เขาทำเพื่อสังคมก็มีเยอะนะ แบบไม่ต้องโฆษณาด้วย อย่างบางจังหวัดที่เป็นฐานของนักการเมืองรุ่นใหญ่ ๆ เขาก็เอางบประมาณไปลงสร้างถนนหนทาง สร้างโน่นสร้างนี่ ทำให้ประชาชนชาวจังหวัดนั้นอยู่ดีกินดี สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองของเขา" รุ่นเดอะขี้สงสัย แย้งขึ้นมาแบบมีหลักมีฐานยืนยัน คงกลัวจะหาว่าเป็นพวกตาสีตาสา

"เรื่องนั้นไม่เถียง ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าจังหวัดไหนบ้าง และนักการเมืองคนไหน แต่รู้เบื้องหลังกันหรือไม่ล่ะว่า ในแต่ละความเจริญที่นำเข้าสู่จังหวัดนั้น มันใช้ตำรา

วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง งบฯเข้าวัดเท่าไหร่ กรรมการได้กี่เปอร์เซ็นต์ ก็จากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง

บางทีก็เป็นบริษัทนอมินีของตัวเองด้วยซ้ำ มันมีทางหารายได้เข้ากระเป๋าแบบเนียน ๆ ในทุกขั้นตอนของการจะสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่าง

ความเจริญเข้าจังหวัดมากเท่าไหร่ ความร่ำรวยของนักการเมืองคนนั้น ๆ ก็เพิ่มพูน ถ้าจะมองแคบ ๆ ว่าเขารับผิดชอบ

ต่อ สังคมของคนในจังหวัดที่เลือกเขา มันก็ใช่ แต่หากมองกันกว้าง ๆ และถี่ถ้วน เขาเบียดบังเอาเงินจากผู้เสียภาษีอากรส่วนใหญ่ ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่น ๆ เอาไปใช้ที่จังหวัดเขา และเพื่อหาเงินส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋าเขา

การจะทำแบบนั้นได้ เขาต้องสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง กับพรรคใหญ่ ๆ ที่จะได้มาเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโควตาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง จะได้แบบที่ต้องการหรือไม่ ก็อยู่ที่มีกี่เสียงในมือ คนในพรรคตัวเองได้รับเลือกกี่คน

ยิ่งมีมากเวลาจัดสรรงบประมาณก็ง่ายขึ้น ในการผันไปลงจังหวัดตัวเองได้เยอะโครงการ

"ฟัง ๆ มาหลายตอนแล้ว รู้สึกว่าน่าจะเป็นคนที่ต่อต้านเรื่องซีเอสอาร์นะ ใครทำ

ซีเอสอาร์ก็ว่าไม่ดีไม่ถูกทั้งนั้น ออกทางอิจฉาตาร้อนไงพิกล ทำไมเป็นงั้นล่ะ ทั้ง ๆ ที่

ซี เอสอาร์เป็นเรื่องที่ดีออก คนที่หาเงินจากสังคม แล้วทำอะไรเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการตอบแทน มันเป็นวิถีทางที่สวยงามของการทำธุรกิจไม่ใช่หรือ ?" รุ่นเดอะขี้สงสัยตั้งประเด็นแบบกลางแสกหน้า

"ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ซีเอสอาร์เป็นเรื่องที่ดี องค์กรและบริษัทห้างร้าน ควรจะมีสำนึกและกระทำในเรื่องนี้ เพียงแต่ให้มองดูในบ้านตัวเองก่อน เริ่มจากภายในสู่ภายนอก ดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมในบ้านให้ดี อย่างถูกทำนองคลองธรรม แล้วค่อยทำกับภายนอก"

"งั้นนักการเมืองที่พูด ถึงนี่ เขาก็ทำถูกแล้วสิ ทำในจังหวัดเขาก่อน แล้วค่อยทำให้จังหวัดอื่น จะทำได้มากน้อยแค่ไหน มันก็อยู่ที่เขาใหญ่แค่ไหนในรัฐบาล หยั่งงี้จะไปว่าเขาได้ไง ?" รุ่นเดอะขี้สงสัยได้ทีสบช่อง จึงสวนกลับทันที

"เขา เอาเรื่องซีเอสอาร์นี่มาใช้ได้ดีเยี่ยมและเนียน เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงมันไม่ใช่ เขาทำเพื่อให้ได้ฐานเสียงต่างหาก เขาทำเพื่อให้เกิดรายได้เข้ากระเป๋าตัวเอง

ต่างหาก เขาทำเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง และพรรคพวกของเขา จากกิจกรรมที่เรียกว่าซีเอสอาร์เหล่านั้น"

ก็ตรงอย่างที่ถามไง ว่าทำซีเอสอาร์แบบตบตา เพราะเบื้องหลังมันไม่ใช่

จริงมั้ยล่ะ ?

ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368434456 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 14 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 15/05/2556 เวลา 03:06:46 ดูภาพสไลด์โชว์ ซีเอสอาร์แบบตบตา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพโลกถูกล้อมด้วยคน โดย สุจินต์ จันทร์นวล "แล้วมีมั้ยที่พยายามทำซีเอสอาร์ แต่เบื้องหลังมันไม่ใช่ พูดง่าย ๆ ว่าทำซีเอสอาร์แบบตบตานั่นแหละ ?" รุ่นเดอะขี้สงสัย ยังมีลูกต่อเนื่อง "โอ้ ย บานเบอะเลย ส่วนใหญ่ทำกันแบบนี้ทั้งนั้น จุดประสงค์ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของคนทั่วไป จากเรื่องไม่ค่อยดีนักของตัวเอง ให้มามองกันที่กิจกรรมซีเอสอาร์ที่ทำเพื่อให้คนอื่นนั้นเห็น และเข้าใจว่าตัวเองดี เราไม่ต้องไปพูดถึงองค์กรหรือธุรกิจในภาคเอกชน เพราะมันมีเหตุผลอยู่ในตัวของมันเอง ทำธุรกิจมันก็เพื่อแสวงหากำไร เขาก็ต้องทำทุกทางเพื่อให้มีกำไร จะสร้างภาพ จะสร้างความเชื่อถือว่าเขาไม่ได้ทำกำไรท่าเดียว รู้จักที่จะรับผิดชอบต่อสังคมด้วย มันก็เป็นเรื่องจำเป็น และพึงกระทำ แต่ ที่น่าขำ และน่าสมเพชคืองานของภาครัฐต่างหาก ที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ พยายามทำ พี.อาร์. แม้แต่พยายามจะโฆษณาตัวเองว่าฉันมีผลงาน ฉันรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการเสียเงินเสียทอง เอางบประมาณมาใช้ในการโฆษณา ซึ่งก็คือภาษีอากรของพวกเรา ลองคิดดูสิมันตลกมาก ๆ กระทรวงแต่ละกระทรวงมันก็มีงาน มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบโดยตรงอยู่แล้วว่ากระทรวงไหนต้องทำอะไรให้กับประชาชนผู้เสีย ภาษี ให้กับแผ่นดิน แต่มาทำโฆษณาว่าฉันทำโน่นทำนี่ให้ประชาชนให้สังคมนะ ตลก สิ้นดี ทำทำไมให้เสียเงินเป็นร้อย ๆ ล้าน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้หน่วยงานของตนเอง แต่ภายใต้การทำงานจริง ๆ ไม่ได้เป็นแบบนั้นเลย แค่หน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ก็ไม่ได้ทำอย่างที่ควรจะทำ ไม่ได้ทำตัวเป็นคนที่มีหน้าที่รับใช้ประชาชน แต่กลับทำตัวเป็นนายประชาชนเสียอีก ทั้ง ๆ ที่ประชาชนเป็นคนจ่ายเงินเดือน และสวัสดิการให้ ลองไปเช็กดูเบื้องหลังสิว่าในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบรรดากระทรวงต่าง ๆ นั้น ใครที่ได้ประโยชน์จากงบประมาณ เป็น ร้อย ๆ ล้านต่อปี ล้วนแล้วแต่เป็นนักการเมืองที่เข้ามาเป็นเจ้ากระทรวง และข้าราชการระดับสูงของกระทรวงทั้งนั้น แรก ๆ ก็เริ่มกันที่สิบเปอร์เซ็นต์ ต่อมา หลัง ๆ นี่ปาเข้าไปสี่สิบเปอร์เซ็นต์ คนที่ได้งานนี้ไปทำต้องจ่ายก่อนด้วย นี่ แค่เรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์นะ ยังมีเรื่องการทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคมอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง เกิดภัยพิบัติอะไร เป็นต้องมีการอนุมัติงบฯช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหา เงินงบประมาณที่ออกมานั้น กว่าจะถึงมือประชาชนเหล่านั้นจริง ๆ ก็เหลือแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ มันโดนเม้มไประหว่างทางไม่รู้ กี่ ตอน ยิ่งต้องมีเรื่องจัดซื้อจัดหาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ยิ่งสนุกสุดหรรษา มีการเขมือบเข้ากระเป๋ากันเป็นที่ครึกครื้น เสร็จแล้วยังมีหน้าไปทำ พี.อาร์.ว่าได้ช่วยเหลือประชาชนไปอย่างเต็มที่" "พูดยังกะพวกฝ่ายค้าน หรือพวกยืนบนเวทีปราศรัยเพื่อล้มล้างรัฐบาล ?" รุ่นเดอะขี้สงสัย แซวขัดจังหวะ "ไม่ ใช่หยั่งงั้น ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลมันก็ครือกันนั่นแหละ ให้สังเกตดูง่าย ๆ กระทรวงหรือหน่วยงานไหน ที่ทำโฆษณาในจอทีวี มักจะเป็นกระทรวงที่คนเกือบลืมว่ามีรัฐมนตรีชื่ออะไร เพราะไม่มีข่าวการทำงานตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุเลย เพราะไม่ได้มีผลงานอะไรให้เป็นข่าว จึงต้องไปจ้างเอเยนซี่มาช่วยคิดหาทางประชาสัมพันธ์ตัวเอง จะโฆษณาว่าฉันทำอะไรไปบ้างมันก็ไม่มี เอเยนซี่ก็ต้องคิดโครงการในแนวซีเอสอาร์ ขึ้น มาสักเรื่อง แล้วนำเสนอกันออกมา ตาสีตาสาเห็นโฆษณาเข้าจะได้รู้สึกว่า กระทรวงนี้เขาดีนะ แต่ประชาชนที่รู้เท่าทันพวกนักการเมืองจะเข้าใจ ว่ามันคืออะไร" "เฮ้ย...เหมาแบบนี้มันก็เกินไป ที่เขาทำเพื่อสังคมก็มีเยอะนะ แบบไม่ต้องโฆษณาด้วย อย่างบางจังหวัดที่เป็นฐานของนักการเมืองรุ่นใหญ่ ๆ เขาก็เอางบประมาณไปลงสร้างถนนหนทาง สร้างโน่นสร้างนี่ ทำให้ประชาชนชาวจังหวัดนั้นอยู่ดีกินดี สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองของเขา" รุ่นเดอะขี้สงสัย แย้งขึ้นมาแบบมีหลักมีฐานยืนยัน คงกลัวจะหาว่าเป็นพวกตาสีตาสา "เรื่องนั้นไม่เถียง ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่าจังหวัดไหนบ้าง และนักการเมืองคนไหน แต่รู้เบื้องหลังกันหรือไม่ล่ะว่า ในแต่ละความเจริญที่นำเข้าสู่จังหวัดนั้น มันใช้ตำรา วัดครึ่งหนึ่ง กรรมการครึ่งหนึ่ง งบฯเข้าวัดเท่าไหร่ กรรมการได้กี่เปอร์เซ็นต์ ก็จากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง บางทีก็เป็นบริษัทนอมินีของตัวเองด้วยซ้ำ มันมีทางหารายได้เข้ากระเป๋าแบบเนียน ๆ ในทุกขั้นตอนของการจะสร้างอะไรขึ้นมาสักอย่าง ความเจริญเข้าจังหวัดมากเท่าไหร่ ความร่ำรวยของนักการเมืองคนนั้น ๆ ก็เพิ่มพูน ถ้าจะมองแคบ ๆ ว่าเขารับผิดชอบ ต่อ สังคมของคนในจังหวัดที่เลือกเขา มันก็ใช่ แต่หากมองกันกว้าง ๆ และถี่ถ้วน เขาเบียดบังเอาเงินจากผู้เสียภาษีอากรส่วนใหญ่ ทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดอื่น ๆ เอาไปใช้ที่จังหวัดเขา และเพื่อหาเงินส่วนหนึ่งเข้ากระเป๋าเขา การจะทำแบบนั้นได้ เขาต้องสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง กับพรรคใหญ่ ๆ ที่จะได้มาเป็นรัฐบาล เพื่อจะได้มีโควตาเป็นรัฐมนตรีในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง จะได้แบบที่ต้องการหรือไม่ ก็อยู่ที่มีกี่เสียงในมือ คนในพรรคตัวเองได้รับเลือกกี่คน ยิ่งมีมากเวลาจัดสรรงบประมาณก็ง่ายขึ้น ในการผันไปลงจังหวัดตัวเองได้เยอะโครงการ "ฟัง ๆ มาหลายตอนแล้ว รู้สึกว่าน่าจะเป็นคนที่ต่อต้านเรื่องซีเอสอาร์นะ ใครทำ ซีเอสอาร์ก็ว่าไม่ดีไม่ถูกทั้งนั้น ออกทางอิจฉาตาร้อนไงพิกล ทำไมเป็นงั้นล่ะ ทั้ง ๆ ที่ ซี เอสอาร์เป็นเรื่องที่ดีออก คนที่หาเงินจากสังคม แล้วทำอะไรเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นการตอบแทน มันเป็นวิถีทางที่สวยงามของการทำธุรกิจไม่ใช่หรือ ?" รุ่นเดอะขี้สงสัยตั้งประเด็นแบบกลางแสกหน้า "ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ซีเอสอาร์เป็นเรื่องที่ดี องค์กรและบริษัทห้างร้าน ควรจะมีสำนึกและกระทำในเรื่องนี้ เพียงแต่ให้มองดูในบ้านตัวเองก่อน เริ่มจากภายในสู่ภายนอก ดูแลและรับผิดชอบต่อสังคมในบ้านให้ดี อย่างถูกทำนองคลองธรรม แล้วค่อยทำกับภายนอก" "งั้นนักการเมืองที่พูด ถึงนี่ เขาก็ทำถูกแล้วสิ ทำในจังหวัดเขาก่อน แล้วค่อยทำให้จังหวัดอื่น จะทำได้มากน้อยแค่ไหน มันก็อยู่ที่เขาใหญ่แค่ไหนในรัฐบาล หยั่งงี้จะไปว่าเขาได้ไง ?" รุ่นเดอะขี้สงสัยได้ทีสบช่อง จึงสวนกลับทันที "เขา เอาเรื่องซีเอสอาร์นี่มาใช้ได้ดีเยี่ยมและเนียน เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงมันไม่ใช่ เขาทำเพื่อให้ได้ฐานเสียงต่างหาก เขาทำเพื่อให้เกิดรายได้เข้ากระเป๋าตัวเอง ต่างหาก เขาทำเพื่อสร้างความร่ำรวยให้ตนเอง และพรรคพวกของเขา จากกิจกรรมที่เรียกว่าซีเอสอาร์เหล่านั้น" ก็ตรงอย่างที่ถามไง ว่าทำซีเอสอาร์แบบตบตา เพราะเบื้องหลังมันไม่ใช่ จริงมั้ยล่ะ ? ขอบคุณ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368434456

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...