‘วิทยาลัยในโรงงาน’ อีกทางเลือกของผู้ด้อยโอกาส

แสดงความคิดเห็น

ต้องยอมรับความจริงว่า...ในสังคมไทยยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา จากฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวหรือจากการหลงเดินทางผิดในวัยเรียน แต่กลับตัวกลับใจหวนกลับมาเดินบนเส้นทางสายใหม่ รอเพียงแต่ผู้ใหญ่ให้โอกาส

โครงการวิทยาลัยในโรงงาน ที่บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด(PFP) จ.สงขลา ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทะเลภายใต้แบรนด์ PFP สโลแกน “อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล” ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา และวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์จึงเกิดขึ้น โดยมีเจตนาร่วมกัน “พัฒนาคน” ได้เปิดวิทยาลัยในโรงงาน เป็นการเรียนระบบทวิภาคี คือเรียนด้วยทำงานไปด้วย เป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา นับว่าเป็นแห่งแรกของภาคใต้

เป็นการปฏิรูปการเรียน เพื่อต่อยอดในการยกระดับการศึกษาของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อผลิต กำลังคนระดับฝีมือให้มีขีดความสามารถ เยาวชนไทยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้มีโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง

จากปี 2545 ถึงวันนี้ วิทยาลัยในโรงงาน ภายใต้สโลแกน “สร้างความรู้ คู่อาชีพ” ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม 8 รุ่น 170 คน ในสาขาแปรรูปสัตว์น้ำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สอนโดนผู้บริหาร/หัวหน้างานภายในบริษัท และอาจารย์จากวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30-19.30 น. เรียนฟรีตลอดทั้งหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการศึกษา ให้พนักงานได้นำไปใช้ในการทำงาน และยังสามารถนำวุฒิที่ได้รับไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ

“ทวี ปิยะพัฒนา” ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ กำจัด เผยว่า แม้วันนี้การดำเนินธุรกิจทางการค้าจะเป็นเรื่องยาก แต่บริษัทไม่หยุดที่จะคืนกำไรให้กับสังคม ด้วยการพัฒนา เพื่อให้ได้บุคลากรในโรงงานที่มีคุณภาพ ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาเป็นการตอบแทนสังคม โดยการเอื้ออำนวยให้ธุรกิจที่สังกัดในบริษัท เป็นแหล่งการเรียนรู้ และฝึกอบรมแก่นักเรียน/นักศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ละประสบการณ์จริง

“ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการ เป็นพนักงานของบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด และเป็นพนักงานบริษัท จนกว่าจะจบการศึกษา รับเงินเดือน ค่าแรง ตามโครงสร้างบริษัท ต้องมีความรับผิดชอบทั้งด้านการเรียนและการทำงาน โดยบริษัทให้สวัสดิการการจ่ายค่าเล่าเรียนให้เรียนฟรีจนจบหลักสูตร มีงานทำระหว่างเรียน ฝึกงานในสถานที่จริง บ้านพักบริษัท ทุนการศึกษาสำหรับผู้มีผลการเรียนดีเด่นเข้าร่วมกิจกรรมกับวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ”

“ทวี” บอกว่า สำหรับโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี บริษัทให้การฝึกอบรมเข้มข้นแก่นักเรียน/นักศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาการแปรรูปสัตว์น้ำ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกนักศึกษา จัดการแผนการฝึกอาชีพร่วมกับกรมอาชีวศึกษา

“สิ่งที่สำคัญมีงานทำตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน มีรายได้ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด และหากในเดือนไม่มีสถิติขาด ลา มาสาย จะได้เบี้ยขยันเดือนละ 300 บาท ฝึกงานในสถานที่จริง จบแล้วมีงานทำ มีประกันสังคมรับสิทธิเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และมีทุนการศึกษา” ทวีทิ้งท้าย “วิทยาลัยในโรงเรียน” จึงเปรียบเสมือน...แสงสว่างส่องทางให้กับผู้ด้อยโอกาส อนงค์ วงศ์ช่วย

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 11/10/2559 เวลา 12:01:24

1 สุชานาถ 11/10/2559 12:01:23

เปิดรับสมัครยังค่ะ

2 ธนมน 29/04/2559 07:41:16

เรียนของ 59 เปิดสมัครวันไหนค่ะ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ต้องยอมรับความจริงว่า...ในสังคมไทยยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา จากฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวหรือจากการหลงเดินทางผิดในวัยเรียน แต่กลับตัวกลับใจหวนกลับมาเดินบนเส้นทางสายใหม่ รอเพียงแต่ผู้ใหญ่ให้โอกาส โครงการวิทยาลัยในโรงงาน ที่บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด(PFP) จ.สงขลา ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทะเลภายใต้แบรนด์ PFP สโลแกน “อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล” ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา และวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์จึงเกิดขึ้น โดยมีเจตนาร่วมกัน “พัฒนาคน” ได้เปิดวิทยาลัยในโรงงาน เป็นการเรียนระบบทวิภาคี คือเรียนด้วยทำงานไปด้วย เป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา นับว่าเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เป็นการปฏิรูปการเรียน เพื่อต่อยอดในการยกระดับการศึกษาของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อผลิต กำลังคนระดับฝีมือให้มีขีดความสามารถ เยาวชนไทยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้มีโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง จากปี 2545 ถึงวันนี้ วิทยาลัยในโรงงาน ภายใต้สโลแกน “สร้างความรู้ คู่อาชีพ” ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม 8 รุ่น 170 คน ในสาขาแปรรูปสัตว์น้ำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สอนโดนผู้บริหาร/หัวหน้างานภายในบริษัท และอาจารย์จากวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30-19.30 น. เรียนฟรีตลอดทั้งหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการศึกษา ให้พนักงานได้นำไปใช้ในการทำงาน และยังสามารถนำวุฒิที่ได้รับไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ “ทวี ปิยะพัฒนา” ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ กำจัด เผยว่า แม้วันนี้การดำเนินธุรกิจทางการค้าจะเป็นเรื่องยาก แต่บริษัทไม่หยุดที่จะคืนกำไรให้กับสังคม ด้วยการพัฒนา เพื่อให้ได้บุคลากรในโรงงานที่มีคุณภาพ ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาเป็นการตอบแทนสังคม โดยการเอื้ออำนวยให้ธุรกิจที่สังกัดในบริษัท เป็นแหล่งการเรียนรู้ และฝึกอบรมแก่นักเรียน/นักศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ละประสบการณ์จริง “ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการ เป็นพนักงานของบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด และเป็นพนักงานบริษัท จนกว่าจะจบการศึกษา รับเงินเดือน ค่าแรง ตามโครงสร้างบริษัท ต้องมีความรับผิดชอบทั้งด้านการเรียนและการทำงาน โดยบริษัทให้สวัสดิการการจ่ายค่าเล่าเรียนให้เรียนฟรีจนจบหลักสูตร มีงานทำระหว่างเรียน ฝึกงานในสถานที่จริง บ้านพักบริษัท ทุนการศึกษาสำหรับผู้มีผลการเรียนดีเด่นเข้าร่วมกิจกรรมกับวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ” “ทวี” บอกว่า สำหรับโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี บริษัทให้การฝึกอบรมเข้มข้นแก่นักเรียน/นักศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาการแปรรูปสัตว์น้ำ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกนักศึกษา จัดการแผนการฝึกอาชีพร่วมกับกรมอาชีวศึกษา “สิ่งที่สำคัญมีงานทำตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน มีรายได้ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด และหากในเดือนไม่มีสถิติขาด ลา มาสาย จะได้เบี้ยขยันเดือนละ 300 บาท ฝึกงานในสถานที่จริง จบแล้วมีงานทำ มีประกันสังคมรับสิทธิเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และมีทุนการศึกษา” ทวีทิ้งท้าย “วิทยาลัยในโรงเรียน” จึงเปรียบเสมือน...แสงสว่างส่องทางให้กับผู้ด้อยโอกาส อนงค์ วงศ์ช่วย

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...