‘วิทยาลัยในโรงงาน’ อีกทางเลือกของผู้ด้อยโอกาส
ต้องยอมรับความจริงว่า...ในสังคมไทยยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา จากฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวหรือจากการหลงเดินทางผิดในวัยเรียน แต่กลับตัวกลับใจหวนกลับมาเดินบนเส้นทางสายใหม่ รอเพียงแต่ผู้ใหญ่ให้โอกาส
โครงการวิทยาลัยในโรงงาน ที่บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด(PFP) จ.สงขลา ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทะเลภายใต้แบรนด์ PFP สโลแกน “อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล” ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา และวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์จึงเกิดขึ้น โดยมีเจตนาร่วมกัน “พัฒนาคน” ได้เปิดวิทยาลัยในโรงงาน เป็นการเรียนระบบทวิภาคี คือเรียนด้วยทำงานไปด้วย เป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา นับว่าเป็นแห่งแรกของภาคใต้
เป็นการปฏิรูปการเรียน เพื่อต่อยอดในการยกระดับการศึกษาของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อผลิต กำลังคนระดับฝีมือให้มีขีดความสามารถ เยาวชนไทยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้มีโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง
จากปี 2545 ถึงวันนี้ วิทยาลัยในโรงงาน ภายใต้สโลแกน “สร้างความรู้ คู่อาชีพ” ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม 8 รุ่น 170 คน ในสาขาแปรรูปสัตว์น้ำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สอนโดนผู้บริหาร/หัวหน้างานภายในบริษัท และอาจารย์จากวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30-19.30 น. เรียนฟรีตลอดทั้งหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการศึกษา ให้พนักงานได้นำไปใช้ในการทำงาน และยังสามารถนำวุฒิที่ได้รับไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ
“ทวี ปิยะพัฒนา” ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ กำจัด เผยว่า แม้วันนี้การดำเนินธุรกิจทางการค้าจะเป็นเรื่องยาก แต่บริษัทไม่หยุดที่จะคืนกำไรให้กับสังคม ด้วยการพัฒนา เพื่อให้ได้บุคลากรในโรงงานที่มีคุณภาพ ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาเป็นการตอบแทนสังคม โดยการเอื้ออำนวยให้ธุรกิจที่สังกัดในบริษัท เป็นแหล่งการเรียนรู้ และฝึกอบรมแก่นักเรียน/นักศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ละประสบการณ์จริง
“ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการ เป็นพนักงานของบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด และเป็นพนักงานบริษัท จนกว่าจะจบการศึกษา รับเงินเดือน ค่าแรง ตามโครงสร้างบริษัท ต้องมีความรับผิดชอบทั้งด้านการเรียนและการทำงาน โดยบริษัทให้สวัสดิการการจ่ายค่าเล่าเรียนให้เรียนฟรีจนจบหลักสูตร มีงานทำระหว่างเรียน ฝึกงานในสถานที่จริง บ้านพักบริษัท ทุนการศึกษาสำหรับผู้มีผลการเรียนดีเด่นเข้าร่วมกิจกรรมกับวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ”
“ทวี” บอกว่า สำหรับโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี บริษัทให้การฝึกอบรมเข้มข้นแก่นักเรียน/นักศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาการแปรรูปสัตว์น้ำ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกนักศึกษา จัดการแผนการฝึกอาชีพร่วมกับกรมอาชีวศึกษา
“สิ่งที่สำคัญมีงานทำตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน มีรายได้ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด และหากในเดือนไม่มีสถิติขาด ลา มาสาย จะได้เบี้ยขยันเดือนละ 300 บาท ฝึกงานในสถานที่จริง จบแล้วมีงานทำ มีประกันสังคมรับสิทธิเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และมีทุนการศึกษา” ทวีทิ้งท้าย “วิทยาลัยในโรงเรียน” จึงเปรียบเสมือน...แสงสว่างส่องทางให้กับผู้ด้อยโอกาส อนงค์ วงศ์ช่วย
1 สุชานาถ 11/10/2559 12:01:23
เปิดรับสมัครยังค่ะ
2 ธนมน 29/04/2559 07:41:16
เรียนของ 59 เปิดสมัครวันไหนค่ะ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ต้องยอมรับความจริงว่า...ในสังคมไทยยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งด้อยโอกาสทางการศึกษา จากฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวหรือจากการหลงเดินทางผิดในวัยเรียน แต่กลับตัวกลับใจหวนกลับมาเดินบนเส้นทางสายใหม่ รอเพียงแต่ผู้ใหญ่ให้โอกาส โครงการวิทยาลัยในโรงงาน ที่บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด(PFP) จ.สงขลา ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทะเลภายใต้แบรนด์ PFP สโลแกน “อร่อยง่ายๆ ทำจากปลาทะเล” ร่วมมือกับกรมอาชีวศึกษา และวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์จึงเกิดขึ้น โดยมีเจตนาร่วมกัน “พัฒนาคน” ได้เปิดวิทยาลัยในโรงงาน เป็นการเรียนระบบทวิภาคี คือเรียนด้วยทำงานไปด้วย เป็นการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา นับว่าเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เป็นการปฏิรูปการเรียน เพื่อต่อยอดในการยกระดับการศึกษาของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อผลิต กำลังคนระดับฝีมือให้มีขีดความสามารถ เยาวชนไทยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ได้มีโอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาสู่การประกอบอาชีพอย่างแท้จริง จากปี 2545 ถึงวันนี้ วิทยาลัยในโรงงาน ภายใต้สโลแกน “สร้างความรู้ คู่อาชีพ” ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่สังคม 8 รุ่น 170 คน ในสาขาแปรรูปสัตว์น้ำระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สอนโดนผู้บริหาร/หัวหน้างานภายในบริษัท และอาจารย์จากวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30-19.30 น. เรียนฟรีตลอดทั้งหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานทางการศึกษา ให้พนักงานได้นำไปใช้ในการทำงาน และยังสามารถนำวุฒิที่ได้รับไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ ทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ “ทวี ปิยะพัฒนา” ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทแปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ กำจัด เผยว่า แม้วันนี้การดำเนินธุรกิจทางการค้าจะเป็นเรื่องยาก แต่บริษัทไม่หยุดที่จะคืนกำไรให้กับสังคม ด้วยการพัฒนา เพื่อให้ได้บุคลากรในโรงงานที่มีคุณภาพ ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษาเป็นการตอบแทนสังคม โดยการเอื้ออำนวยให้ธุรกิจที่สังกัดในบริษัท เป็นแหล่งการเรียนรู้ และฝึกอบรมแก่นักเรียน/นักศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่บริษัทมีความสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ละประสบการณ์จริง “ผู้สมัครเข้าเรียนในโครงการ เป็นพนักงานของบริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด และเป็นพนักงานบริษัท จนกว่าจะจบการศึกษา รับเงินเดือน ค่าแรง ตามโครงสร้างบริษัท ต้องมีความรับผิดชอบทั้งด้านการเรียนและการทำงาน โดยบริษัทให้สวัสดิการการจ่ายค่าเล่าเรียนให้เรียนฟรีจนจบหลักสูตร มีงานทำระหว่างเรียน ฝึกงานในสถานที่จริง บ้านพักบริษัท ทุนการศึกษาสำหรับผู้มีผลการเรียนดีเด่นเข้าร่วมกิจกรรมกับวิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ ” “ทวี” บอกว่า สำหรับโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี บริษัทให้การฝึกอบรมเข้มข้นแก่นักเรียน/นักศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาการแปรรูปสัตว์น้ำ และสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณสมบัติในการคัดเลือกนักศึกษา จัดการแผนการฝึกอาชีพร่วมกับกรมอาชีวศึกษา “สิ่งที่สำคัญมีงานทำตั้งแต่เริ่มสมัครเรียน มีรายได้ขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด และหากในเดือนไม่มีสถิติขาด ลา มาสาย จะได้เบี้ยขยันเดือนละ 300 บาท ฝึกงานในสถานที่จริง จบแล้วมีงานทำ มีประกันสังคมรับสิทธิเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และมีทุนการศึกษา” ทวีทิ้งท้าย “วิทยาลัยในโรงเรียน” จึงเปรียบเสมือน...แสงสว่างส่องทางให้กับผู้ด้อยโอกาส อนงค์ วงศ์ช่วย
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)