พัฒนาแบบประเมิน “ทีแดส” วินิจฉัย “ออทิสติก” สำหรับเด็กไทยโดยเฉพาะ คาดเริ่มใช้ปี 61

แสดงความคิดเห็น

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่

สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ วิจัยพัฒนาแบบประเมิน “ทีแดส” ใช้วินิจฉัย “ออทิสติก” เด็กไทยเอง แทนเครื่องมือมาตรฐานจากต่างชาติ เหตุมีวัฒนธรรมต่างกัน เร่งศึกษาประสิทธิภาพ - ประสิทธิผลใน รพศ./รพท. ทุกภาค คาดแล้วเสร็จใช้ได้จริงในปี61ฟุ้งหลายประเทศอาเซียนสนใจซื้อลิขสิทธิไปแปลใช้วินิจฉัยด้วย

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หากสามารถวินิจฉัยภาวะออทิสติกในเด็กและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เด็กกลับมามีสติปัญญาสูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้สูงมากขึ้น ซึ่งสถาบันฯ มีการเปิดให้บริการคลินิกพิเศษเพื่อวินิจฉัยภาวะออทิสติกด้วยเครื่องมือเอดอส (Autism Diagnostic Observation Schedule :ADOS) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวินิจฉัยเด็กที่สงสัยภาวะออทิสติก ซึ่งจะแบ่งเป็นชุดสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และชุดการประเมินโดยให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของเด็กในด้านการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเล่น จินตนาการ และพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งผู้ปกครองจะอยู่อีกห้องหนึ่งในการร่วมสังเกตพฤติกรรมของลูก โดยใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที ทุกรายจะได้รับการบันทึกวีดีโอ หลังจากการประเมินแล้วจะมีการให้คะแนน แปลผล แล้วจึงแจ้งแก่ผู้ปกครอง ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือเอดอสในการวินิจฉัยภาวะออทิสติกมากกว่า 10 ปี มีจำนวนเด็กทั้งสิ้น 721 ราย โดยรายที่อายุน้อยที่สุดที่สามารถให้การวินิจฉัยได้ คือ 13 เดือน ส่งผลให้เด็กได้รับการรักษาแบบเข้มข้นตั้งแต่อายุยังน้อย

พญ.ดวงกมล กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันฯ อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสติกที่เป็นของประเทศไทยเอง คือ เครื่องมือทีแดส (Thai Diagnostic Autism Scale : TDAS) ซึ่งจะเป็นแบบประเมินชุดเดียวทั้งการสังเกตพฤติกรรมเด็กและสัมภาษณ์ผู้ปกครอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยขณะนี้ได้พัฒนาเครื่องมือแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยนำไปให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ในแต่ละภาคของประเทศไทยทดลองใช้ประเมินภาวะออทิสติกในเด็กว่าเป็นอย่างไร เข้าใจหรือไม่ อยากให้ปรับปรุงในส่วนใด ซึ่งขณะนี้ รพศ./รพท. ในส่วนของ 8 จังหวัดภาคเหนือได้ดำเนินการแล้วเสร็จ สะท้อนกลับมาว่ามีความเข้าใจและประสิทธิภาพดีมาก โดยยังต้องรอผลการดำเนินการในภาคอื่นก่อนว่าเป็นอย่างไร จึงจะสามารถระบุประสิทธิผลของเครื่องมือตัวใหม่สำหรับประเทศไทยได้

“เรื่องของประสิทธิผลจะใช้นักสถิติในการเก็บข้อมูลและเทียบเคียงผลกับเครื่องมือมาตรฐานว่าใช้ได้ตรงกันหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ได้มาตรฐานการวินิจฉัยของคนไทยเอง ทั้งเรื่องของภาษา การสื่อสาร และสังคม เนื่องจากประเทศไทยมีบริบท วัฒนธรรม การสอนเด็ก และวิถีชีวิตที่แตกต่างจากเมืองนอก จึงต้องมีการปรับเครื่องมือประเมินวินิจฉัยที่เป็นบริบทของประเทศไทยเอง ซึ่งจากการที่เคยไปสอนประเทศข้างเคียงในแถบอาเซียน หลายประเทศก็มีความสนใจที่อยากจะขอลิขสิทธิเครื่องมือทีแดสของไทยไปแปลใช้ประเมินออทิสติกในประเทศตัวเอง เพราะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน คาดว่าทั้งหมดจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้เครื่องมือทีแดสทั่วประเทศไทยได้ในปี 2561” พญ.ดวงกมล กล่าว

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000072254 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.ค.60
วันที่โพสต์: 20/07/2560 เวลา 10:56:08 ดูภาพสไลด์โชว์ พัฒนาแบบประเมิน “ทีแดส” วินิจฉัย “ออทิสติก” สำหรับเด็กไทยโดยเฉพาะ คาดเริ่มใช้ปี 61

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ วิจัยพัฒนาแบบประเมิน “ทีแดส” ใช้วินิจฉัย “ออทิสติก” เด็กไทยเอง แทนเครื่องมือมาตรฐานจากต่างชาติ เหตุมีวัฒนธรรมต่างกัน เร่งศึกษาประสิทธิภาพ - ประสิทธิผลใน รพศ./รพท. ทุกภาค คาดแล้วเสร็จใช้ได้จริงในปี61ฟุ้งหลายประเทศอาเซียนสนใจซื้อลิขสิทธิไปแปลใช้วินิจฉัยด้วย พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า หากสามารถวินิจฉัยภาวะออทิสติกในเด็กและเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เด็กกลับมามีสติปัญญาสูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้สูงมากขึ้น ซึ่งสถาบันฯ มีการเปิดให้บริการคลินิกพิเศษเพื่อวินิจฉัยภาวะออทิสติกด้วยเครื่องมือเอดอส (Autism Diagnostic Observation Schedule :ADOS) ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวินิจฉัยเด็กที่สงสัยภาวะออทิสติก ซึ่งจะแบ่งเป็นชุดสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และชุดการประเมินโดยให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังเกตพฤติกรรมของเด็กในด้านการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การเล่น จินตนาการ และพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งผู้ปกครองจะอยู่อีกห้องหนึ่งในการร่วมสังเกตพฤติกรรมของลูก โดยใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที ทุกรายจะได้รับการบันทึกวีดีโอ หลังจากการประเมินแล้วจะมีการให้คะแนน แปลผล แล้วจึงแจ้งแก่ผู้ปกครอง ปัจจุบันมีการใช้เครื่องมือเอดอสในการวินิจฉัยภาวะออทิสติกมากกว่า 10 ปี มีจำนวนเด็กทั้งสิ้น 721 ราย โดยรายที่อายุน้อยที่สุดที่สามารถให้การวินิจฉัยได้ คือ 13 เดือน ส่งผลให้เด็กได้รับการรักษาแบบเข้มข้นตั้งแต่อายุยังน้อย พญ.ดวงกมล กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันฯ อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือวินิจฉัยภาวะออทิสติกที่เป็นของประเทศไทยเอง คือ เครื่องมือทีแดส (Thai Diagnostic Autism Scale : TDAS) ซึ่งจะเป็นแบบประเมินชุดเดียวทั้งการสังเกตพฤติกรรมเด็กและสัมภาษณ์ผู้ปกครอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยขณะนี้ได้พัฒนาเครื่องมือแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยนำไปให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ในแต่ละภาคของประเทศไทยทดลองใช้ประเมินภาวะออทิสติกในเด็กว่าเป็นอย่างไร เข้าใจหรือไม่ อยากให้ปรับปรุงในส่วนใด ซึ่งขณะนี้ รพศ./รพท. ในส่วนของ 8 จังหวัดภาคเหนือได้ดำเนินการแล้วเสร็จ สะท้อนกลับมาว่ามีความเข้าใจและประสิทธิภาพดีมาก โดยยังต้องรอผลการดำเนินการในภาคอื่นก่อนว่าเป็นอย่างไร จึงจะสามารถระบุประสิทธิผลของเครื่องมือตัวใหม่สำหรับประเทศไทยได้ “เรื่องของประสิทธิผลจะใช้นักสถิติในการเก็บข้อมูลและเทียบเคียงผลกับเครื่องมือมาตรฐานว่าใช้ได้ตรงกันหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ได้มาตรฐานการวินิจฉัยของคนไทยเอง ทั้งเรื่องของภาษา การสื่อสาร และสังคม เนื่องจากประเทศไทยมีบริบท วัฒนธรรม การสอนเด็ก และวิถีชีวิตที่แตกต่างจากเมืองนอก จึงต้องมีการปรับเครื่องมือประเมินวินิจฉัยที่เป็นบริบทของประเทศไทยเอง ซึ่งจากการที่เคยไปสอนประเทศข้างเคียงในแถบอาเซียน หลายประเทศก็มีความสนใจที่อยากจะขอลิขสิทธิเครื่องมือทีแดสของไทยไปแปลใช้ประเมินออทิสติกในประเทศตัวเอง เพราะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน คาดว่าทั้งหมดจะแล้วเสร็จและเริ่มใช้เครื่องมือทีแดสทั่วประเทศไทยได้ในปี 2561” พญ.ดวงกมล กล่าว พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จ.เชียงใหม่ พญ.ดวงกมล ตั้งวิริยะไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9600000072254

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...