"ปลักแรดโมเดล" ต้นแบบสหวิชาชีพสุขภาพ ผนึกกำลังรักษา "ผู้ป่วยจิตเวช" กลับสู่สังคม

แสดงความคิดเห็น

กลุ่มแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ

หลังจากที่มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) ได้ประกาศพันธกิจเดินหน้าสร้างบุคลากรระบบสุขภาพให้ตอบโจทย์สังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ได้มีความคืบหน้าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการสร้างบัณฑิตระบบสุขภาพรุ่นใหม่ ให้เป็น "หมอของประชาชน" ด้วยการใช้การเรียนการสอนแบบ "เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" (Transformative Learning)ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ การส่งเสริมให้มีหลักสูตร "สหวิชาชีพ" บุคลากรสุขภาพ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร จ.พิษณุโลก เพื่อให้บัณฑิตในอนาคตสามารถทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้สุขภาพคนไทยดีขึ้น

ล่าสุด ศสช.ได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปลักแรด อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก รพ.สต.เล็กๆ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของการทำงานแบบสหวิชาชีพที่ดูแลบริการการแพทย์ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญที่นี่ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ปกติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทุ่มเทและใช้สรรพกำลังทั้งหมดรักษา "ผู้ป่วยจิตเวช" ที่ถูกทอดทิ้งในพื้นที่ด้วย เพื่อให้ช่วยไม่ให้พวกเขาเป็น "คนบ้า" ที่ใครหลายคนหวาดกลัวและถูกทอดทิ้งอีกต่อไป นี่คือเรื่องราวของ"ปลักแรดโมเดล"คืนความเป็นคนให้ผู้ป่วยจิตเวชกลับมาใช้ชีวิตในสังคม

ทีมสหวิชาชีพลงพื้นที่ไปเยี่ยมและรักษาผู้ป่วย

เมื่อทุกชีวิตมีค่า "คนบ้า" ไม่ควรถูกทอดทิ้ง เพราะรักษาได้ น.ส.วันเพ็ญ ตันวีระพันธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผอ.รพ.สต. ปลักแรด เปิดเผยว่า การทำงานด้านสุขภาพจิต ของ รพ.สต.มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เกิดขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว ที่เราได้ช่วยผู้ป่วยจิตเวชคนหนึ่งที่เคยถูกขังอยู่ในบ้านเพราะคนในครอบครัวไม่รู้จะทำอย่างไร สภาพผมเผ้ารกรุงรัง แต่หลังจากที่ทีมงานเข้าไปช่วยเหลือแล้ว จนต่อมาผู้ป่วยสามารถมีชีวิตปกติ กลับเข้าสู่สังคมได้ที่สำคัญสามารถไปทำบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตนหลังจากที่ต้องปล่อยให้บัตรขาดมานานหลายปี

"ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราภูมิใจมากและเป็นกำลังใจให้พวกเราทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะรู้สึกว่าได้คืนความเป็นคน คืนชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยได้ เพราะจากที่เขาเคยป่วยเป็นภาระของที่บ้าน แต่วันนี้เขาอาการดีขึ้น ควบคุมตัวเองได้ พาพ่อแม่เขาไปโรงพยาบาลได้ ความสำเร็จตรงนี้มีความหมายต่อการทำงานของเรามาก เพราะชีวิตและความเป็นมนุษย์ของทุกคนมีค่า เมื่อเกิดมาแล้ว ทุกคนควรได้รับโอกาสได้ใช้ชีวิตของตัวเองอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยไม่ควรเป็นอุปสรรค ถ้ารักษาได้เราต้องรักษา นี่คือหน้าที่และความตั้งใจของสหวิชาชีพที่นี่ ที่เห็นคุณค่าของชีวิตทุกคน" ผอ.รพ.สต. ปลักแรด กล่าว

รู้จักทีม "สหวิชาชีพ" ผอ.รพ.สต. ปลักแรด กล่าวต่อไปว่า เราได้สร้าง "ทีมสหวิชาชีพสุขภาพ" ตั้งแต่ท้องถิ่นถึงระดับจังหวัด เพื่อบริการสาธารณสุขต่อประชาชนในทุกด้านทั้งจิตเวช การเจ็บป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเรื้อรัง ฯลฯซึ่งประกอบไปด้วย

1.เจ้าหน้าที่ อสม. จะทำหน้าที่สอดส่องดูแลสุขภาพของคนในชุมชน หากพบว่ามีคนป่วยจิตเวช หรือการป่วยอื่นๆก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รพ.สต.ทันที

2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. หลังจากได้รับเรื่องแล้วจะลงพื้นที่มาที่บ้านผู้ป่วยทันที เพื่อประเมินแนวทางการรักษาว่าสามารถรักษาได้ที่รพ.สต.หรือไม่หรือต้องไปที่โรงพยาบาล

3. พยาบาลจาก รพ.อำเภอ/จังหวัด จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. โดยหลังจากได้รับเรื่องจากในพื้นที่จะแจ้งเรื่องแก่แพทย์เพื่อเตรียมตัวในการรักษาคนไข้

4.เภสัชกร มีหน้าที่จ่ายยาต่างๆ ให้ผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่จะทำเป็นรายเดือน เพื่อไม่ต้องให้ผู้ป่วยเสียเวลามารับยาที่รพ.บ่อยๆ

5.นักภายภาพบำบัด ทำหน้าที่ไปตรวจเยี่ยมและรักษาประชาชนที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ทั้งผู้ป่วยจิตเวชผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุและให้การอบรมเจ้าหน้าที่อสม.ในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน

6.นักจิตวิทยา ซึ่งได้เข้ามาดูแลผู้ป่วยและให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ว่าจะต้องเข้าหาผู้ป่วยอย่างไร

7.เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักต้องรักษาอย่างทันท่วงที เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนำรถไปพาส่งโรงพยาบาล

ดังนั้น การทำงานแบบสหวิชาชีพที่มีหลายฝ่ายร่วมกันจึงมีความสำคัญมาก เพราะเราต่างมีความถนัดต่างกัน เมื่อมารวมกันทำงานเป็นทีมจึงสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเราจะสื่อสารกันเป็นชั้นๆ แต่ถ้าในบางกรณีที่มีปัญหาใหญ่จริงๆและอาการไม่ดีขึ้น ทุกคนจะมาประชุมและหาทางออกร่วมกัน และหากมีกรณีฉุกเฉินก็จะมีการลงพื้นที่ทันที อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตนั้น เราจะไม่เข้าไปทีละหลายๆ คน เพราะจะมีการต่อต้านจากคนไข้ซึ่งอสม.ที่รับเป็นเจ้าภาพในการดูแลคนป่วยจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและญาติมากที่สุด

"จากวันนั้นถึงวันนี้ที่ตำบลปลักแรด เราได้รักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทิ้งจากครอบครัว จนกระทั่งพวกเขากลับมามีชีวิตเป็นปกติได้จำนวน 24 คน แม้อาจจะดูว่าไม่มาก แต่ในแง่ความเป็นมนุษย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคนเหล่านี้ไม่ได้รับช่วยเหลือ พวกเขาก็จะเป็นกลายเป็นคนที่ถูกทิ้ง เป็นคนเร่ร่อน หรือเป็นคนบ้าที่อาจจะสร้างหวาดกลัวและความเดือดร้อนให้คนในสังคมแบบที่เราเห็นในข่าวได้ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสังคมที่กระทบต่อทุกคน"ผอ.รพ.สต.ปลัดแรดกล่าว

นายจำรัส ปานนิ่ม ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ต.ปลักแรด อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก กล่าวว่า พี่สาวได้ป่วยจิตเวชมาเป็นเวลาหลายปี รู้สึกดีใจที่เจ้าหน้าที่มาดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้พี่มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารและงานบ้าน เพราะกินยาและฉีดยาอยู่เสมอ โดยตนเองมีหน้าที่ไปรับยาจาก รพ. และให้หมอจาก รพ.สต.มาฉีดยาให้ จึงต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ลงพื้นที่ เพราะสำหรับชาวบ้านนั้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชถือว่าเป็นเรื่องยาก

หลักสูตรสหวิชาชีพช่วยลดความขัดแย้งบุคลากรสุขภาพ ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า การทำงานของสหวิชาชีพ รพ.สต.ปลักแรด ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติงานร่วมกันของสหวิชาชีพ (Inter professional practice) ซึ่งเราได้เสนอให้มหาวิทยาลัยนเรศวรพานักศึกษาไปลงพื้นที่เพื่อศึกษาว่าบริบทแต่ละวิชาชีพในการทำงานแบบนี้เขาทำอย่างไร

ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.)

เลขาธิการมูลนิธิ ศสช. กล่าวถึงความสำคัญในการสร้างทีมสหวิชาชีพสุขภาพว่า เหตุที่ ศสช. ต้องการผลักดันการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรสุขภาพทำงานเป็นทีมและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เมื่อแต่ละวิชาชีพต่างรู้หน้าที่และบทบาทของกันและกัน เมื่อจบไปก็สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะที่ผ่านมาการเรียนแบบแยกจะทำให้แต่ละคนทำเพียงหน้าที่ของตัวเองแล้วส่งต่อๆ กัน ซึ่งทำให้การรักษามีหลายขั้นตอนใช้เวลามากแต่การทำงานเป็นทีมจะให้ช่วยให้รักษารวดเร็วยิ่งขึ้น

"เพราะหากไม่ได้เรียนร่วมกัน อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่แพทย์มาถึงก็สั่งๆ เภสัชมาก็สั่งๆ แล้วก็ไป ไม่มีการเชื่อมโยงกัน แต่หากเขาเรียนด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน มีอะไรสามารถสื่อสารกันได้ การเชื่อมโยงในอนาคตก็จะง่ายขึ้น เกิดความขัดแย้งกันน้อยลง มีความนับถือกันและกัน การฟ้องร้องในอนาคตก็จะไม่มี คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือคนไข้นั่นเอง"

สร้างทีมสหวิชาชีพลงชุมชน ป้องกันโรคมากกว่ารอให้ผู้ป่วยมา รพ. เลขาธิการมูลนิธิ ศสช.กล่าวว่า ปัจจุบันโรคต่างๆ เยอะมากขึ้น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ของแพทย์ก็มีมากขึ้น ทำให้ในการรักษาคนไข้หนึ่งคนต้องเจอหมอเป็นสิบคน ซึ่งในอนาคตไม่สามารถเป็นแบบนี้ได้ เพราะเสียทั้งเงินและเวลา ดังนั้น เราจึงต้องการเปลี่ยนการรักษาโดยเป็นการป้องกัน ด้วยลงพื้นที่บ้านประชาชน (Patient Centered) ว่าชาวบ้านป่วยเป็นอะไร และเราก็ป้องกันและตัดตอนตั้งแต่ตรงนั้นเพื่อไม่ให้เขาต้องเข้ามารักษาและต้องเสียค่าใช้จ่ายนี่คือแนวทางที่ศสช.เราตั้งใจทำ

ทั้งนี้ การเรียนแบบสหวิชาชีพเริ่มมีบ้างแล้ว เช่น ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีการเรียนร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการเรียนสหวิชาชีพไม่ได้จำกัดแค่วิชาชีพระบบสุขภาพเท่านั้น เพราะการลงพื้นที่รักษาชาวบ้าน นอกจากดูเรื่องการป่วยของโรคต่างๆ และการใช้ยาต่างๆ แล้ว ต้องมีการดูเรื่องสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยด้วย เช่น หากเป็นบ้านผู้สูงอายุ ต้องดูว่าจุดใดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ลื่น ตก หรือไม่อย่างไร และต้องแก้ไขเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ตรงนี้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์สามารถเข้าไปมาเติมเต็มตรงนี้ได้

สำหรับแนวทางการในเรียนนั้น ศ.พญ.วณิชา กล่าวว่า มีหลายรูปแบบ ทั้งในเรื่องการลงพื้นที่ร่วมกัน แต่ก็มีปัญหาบางครั้งอาจจะไม่มีเวลาเรียนที่ตรงกัน ดังนั้นอาจจะเรียนโดยการใช้สถานการณ์จำลองในห้องเรียนได้ หรือเรียนที่วอร์ดผู้ป่วย โดยให้ทุกสาขา ทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัช มาเรียนพร้อมกันเลยจะได้รู้จักกันและทำงานร่วมกันในอนาคตได้

ชีวิตจริงบุคลากรสุขภาพไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ นางสาวทัศวรรณ ลำมะวงษ์ พยาบาลวิชาชีพ รพ. มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า การทำงานในชีวิตจริงของบุคลากรระบบสุขภาพ ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ เพราะในทำงานจริงต้องทำงานกับหมอ ต้องปรึกษานักโภชนาการ นักกายภาพภาพบำบัด เภสัชกร อุปสรรคที่เจอ คือ เรื่องการสื่อสาร โดยเฉพาะกับอาจารย์หมอ ซึ่งพยาบาลจะรู้สึกเกร็งมาก จนบางครั้งรับคำสั่งไม่ครบ ซึ่งเรื่องนี้สำคัญ เพราะหากการสื่อสารและการประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คนไข้ก็จะได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

"หลังจากได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมสหวิชาชีพ ทำให้ได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมที่มีหลายวิชาชีพรวมกัน ได้แบ่งงานกันทำ เภสัชกรสอบถามซักประวัติเรื่องยา หมอสอบถามเรื่องการเจ็บป่วย ขณะที่พยาบาลก็จะสอบถามเรื่องทางบ้านของผู้ป่วย ทำให้การทำงานรวดเร็วชัดเจนมากขึ้น โดยการเรียนแบบสหวิชาชีพยังทำให้แต่ละอาชีพเป็นเพื่อนกันด้วย ซึ่งจะทำให้การทำงานง่ายมากขึ้น"

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1499144367 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ก.ค.60
วันที่โพสต์: 5/07/2560 เวลา 10:52:59 ดูภาพสไลด์โชว์ "ปลักแรดโมเดล" ต้นแบบสหวิชาชีพสุขภาพ ผนึกกำลังรักษา "ผู้ป่วยจิตเวช" กลับสู่สังคม

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กลุ่มแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ หลังจากที่มูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) ได้ประกาศพันธกิจเดินหน้าสร้างบุคลากรระบบสุขภาพให้ตอบโจทย์สังคมทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ได้มีความคืบหน้าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการสร้างบัณฑิตระบบสุขภาพรุ่นใหม่ ให้เป็น "หมอของประชาชน" ด้วยการใช้การเรียนการสอนแบบ "เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง" (Transformative Learning)ด้วยการลงพื้นที่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และ การส่งเสริมให้มีหลักสูตร "สหวิชาชีพ" บุคลากรสุขภาพ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร จ.พิษณุโลก เพื่อให้บัณฑิตในอนาคตสามารถทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้สุขภาพคนไทยดีขึ้น ล่าสุด ศสช.ได้ลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปลักแรด อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก รพ.สต.เล็กๆ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของการทำงานแบบสหวิชาชีพที่ดูแลบริการการแพทย์ให้กับประชาชนอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญที่นี่ไม่ใช่แค่รักษาคนไข้ปกติเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังทุ่มเทและใช้สรรพกำลังทั้งหมดรักษา "ผู้ป่วยจิตเวช" ที่ถูกทอดทิ้งในพื้นที่ด้วย เพื่อให้ช่วยไม่ให้พวกเขาเป็น "คนบ้า" ที่ใครหลายคนหวาดกลัวและถูกทอดทิ้งอีกต่อไป นี่คือเรื่องราวของ"ปลักแรดโมเดล"คืนความเป็นคนให้ผู้ป่วยจิตเวชกลับมาใช้ชีวิตในสังคม ทีมสหวิชาชีพลงพื้นที่ไปเยี่ยมและรักษาผู้ป่วย เมื่อทุกชีวิตมีค่า "คนบ้า" ไม่ควรถูกทอดทิ้ง เพราะรักษาได้ น.ส.วันเพ็ญ ตันวีระพันธุ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผอ.รพ.สต. ปลักแรด เปิดเผยว่า การทำงานด้านสุขภาพจิต ของ รพ.สต.มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง เกิดขึ้นเมื่อสิบปีที่แล้ว ที่เราได้ช่วยผู้ป่วยจิตเวชคนหนึ่งที่เคยถูกขังอยู่ในบ้านเพราะคนในครอบครัวไม่รู้จะทำอย่างไร สภาพผมเผ้ารกรุงรัง แต่หลังจากที่ทีมงานเข้าไปช่วยเหลือแล้ว จนต่อมาผู้ป่วยสามารถมีชีวิตปกติ กลับเข้าสู่สังคมได้ที่สำคัญสามารถไปทำบัตรประชาชนเพื่อยืนยันตัวตนหลังจากที่ต้องปล่อยให้บัตรขาดมานานหลายปี "ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราภูมิใจมากและเป็นกำลังใจให้พวกเราทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะรู้สึกว่าได้คืนความเป็นคน คืนชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยได้ เพราะจากที่เขาเคยป่วยเป็นภาระของที่บ้าน แต่วันนี้เขาอาการดีขึ้น ควบคุมตัวเองได้ พาพ่อแม่เขาไปโรงพยาบาลได้ ความสำเร็จตรงนี้มีความหมายต่อการทำงานของเรามาก เพราะชีวิตและความเป็นมนุษย์ของทุกคนมีค่า เมื่อเกิดมาแล้ว ทุกคนควรได้รับโอกาสได้ใช้ชีวิตของตัวเองอย่างเต็มที่ การเจ็บป่วยไม่ควรเป็นอุปสรรค ถ้ารักษาได้เราต้องรักษา นี่คือหน้าที่และความตั้งใจของสหวิชาชีพที่นี่ ที่เห็นคุณค่าของชีวิตทุกคน" ผอ.รพ.สต. ปลักแรด กล่าว รู้จักทีม "สหวิชาชีพ" ผอ.รพ.สต. ปลักแรด กล่าวต่อไปว่า เราได้สร้าง "ทีมสหวิชาชีพสุขภาพ" ตั้งแต่ท้องถิ่นถึงระดับจังหวัด เพื่อบริการสาธารณสุขต่อประชาชนในทุกด้านทั้งจิตเวช การเจ็บป่วยทั่วไป ผู้ป่วยเรื้อรัง ฯลฯซึ่งประกอบไปด้วย 1.เจ้าหน้าที่ อสม. จะทำหน้าที่สอดส่องดูแลสุขภาพของคนในชุมชน หากพบว่ามีคนป่วยจิตเวช หรือการป่วยอื่นๆก็จะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รพ.สต.ทันที 2.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต. หลังจากได้รับเรื่องแล้วจะลงพื้นที่มาที่บ้านผู้ป่วยทันที เพื่อประเมินแนวทางการรักษาว่าสามารถรักษาได้ที่รพ.สต.หรือไม่หรือต้องไปที่โรงพยาบาล 3. พยาบาลจาก รพ.อำเภอ/จังหวัด จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. โดยหลังจากได้รับเรื่องจากในพื้นที่จะแจ้งเรื่องแก่แพทย์เพื่อเตรียมตัวในการรักษาคนไข้ 4.เภสัชกร มีหน้าที่จ่ายยาต่างๆ ให้ผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่จะทำเป็นรายเดือน เพื่อไม่ต้องให้ผู้ป่วยเสียเวลามารับยาที่รพ.บ่อยๆ 5.นักภายภาพบำบัด ทำหน้าที่ไปตรวจเยี่ยมและรักษาประชาชนที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ทั้งผู้ป่วยจิตเวชผู้ป่วยโรคเรื้อรังผู้สูงอายุและให้การอบรมเจ้าหน้าที่อสม.ในการดูแลผู้ป่วยในชุมชน 6.นักจิตวิทยา ซึ่งได้เข้ามาดูแลผู้ป่วยและให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.และ อสม.ว่าจะต้องเข้าหาผู้ป่วยอย่างไร 7.เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนักต้องรักษาอย่างทันท่วงที เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นนำรถไปพาส่งโรงพยาบาล ดังนั้น การทำงานแบบสหวิชาชีพที่มีหลายฝ่ายร่วมกันจึงมีความสำคัญมาก เพราะเราต่างมีความถนัดต่างกัน เมื่อมารวมกันทำงานเป็นทีมจึงสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยเราจะสื่อสารกันเป็นชั้นๆ แต่ถ้าในบางกรณีที่มีปัญหาใหญ่จริงๆและอาการไม่ดีขึ้น ทุกคนจะมาประชุมและหาทางออกร่วมกัน และหากมีกรณีฉุกเฉินก็จะมีการลงพื้นที่ทันที อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตนั้น เราจะไม่เข้าไปทีละหลายๆ คน เพราะจะมีการต่อต้านจากคนไข้ซึ่งอสม.ที่รับเป็นเจ้าภาพในการดูแลคนป่วยจะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและญาติมากที่สุด "จากวันนั้นถึงวันนี้ที่ตำบลปลักแรด เราได้รักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกทิ้งจากครอบครัว จนกระทั่งพวกเขากลับมามีชีวิตเป็นปกติได้จำนวน 24 คน แม้อาจจะดูว่าไม่มาก แต่ในแง่ความเป็นมนุษย์ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคนเหล่านี้ไม่ได้รับช่วยเหลือ พวกเขาก็จะเป็นกลายเป็นคนที่ถูกทิ้ง เป็นคนเร่ร่อน หรือเป็นคนบ้าที่อาจจะสร้างหวาดกลัวและความเดือดร้อนให้คนในสังคมแบบที่เราเห็นในข่าวได้ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสังคมที่กระทบต่อทุกคน"ผอ.รพ.สต.ปลัดแรดกล่าว นายจำรัส ปานนิ่ม ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช ต.ปลักแรด อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก กล่าวว่า พี่สาวได้ป่วยจิตเวชมาเป็นเวลาหลายปี รู้สึกดีใจที่เจ้าหน้าที่มาดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้พี่มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหารและงานบ้าน เพราะกินยาและฉีดยาอยู่เสมอ โดยตนเองมีหน้าที่ไปรับยาจาก รพ. และให้หมอจาก รพ.สต.มาฉีดยาให้ จึงต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่ลงพื้นที่ เพราะสำหรับชาวบ้านนั้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชถือว่าเป็นเรื่องยาก หลักสูตรสหวิชาชีพช่วยลดความขัดแย้งบุคลากรสุขภาพ ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า การทำงานของสหวิชาชีพ รพ.สต.ปลักแรด ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการปฏิบัติงานร่วมกันของสหวิชาชีพ (Inter professional practice) ซึ่งเราได้เสนอให้มหาวิทยาลัยนเรศวรพานักศึกษาไปลงพื้นที่เพื่อศึกษาว่าบริบทแต่ละวิชาชีพในการทำงานแบบนี้เขาทำอย่างไร ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (ศสช.) เลขาธิการมูลนิธิ ศสช. กล่าวถึงความสำคัญในการสร้างทีมสหวิชาชีพสุขภาพว่า เหตุที่ ศสช. ต้องการผลักดันการเรียนการสอนแบบสหวิชาชีพ เพื่อให้บุคลากรสุขภาพทำงานเป็นทีมและดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เมื่อแต่ละวิชาชีพต่างรู้หน้าที่และบทบาทของกันและกัน เมื่อจบไปก็สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะที่ผ่านมาการเรียนแบบแยกจะทำให้แต่ละคนทำเพียงหน้าที่ของตัวเองแล้วส่งต่อๆ กัน ซึ่งทำให้การรักษามีหลายขั้นตอนใช้เวลามากแต่การทำงานเป็นทีมจะให้ช่วยให้รักษารวดเร็วยิ่งขึ้น "เพราะหากไม่ได้เรียนร่วมกัน อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่แพทย์มาถึงก็สั่งๆ เภสัชมาก็สั่งๆ แล้วก็ไป ไม่มีการเชื่อมโยงกัน แต่หากเขาเรียนด้วยกัน เป็นเพื่อนกัน มีอะไรสามารถสื่อสารกันได้ การเชื่อมโยงในอนาคตก็จะง่ายขึ้น เกิดความขัดแย้งกันน้อยลง มีความนับถือกันและกัน การฟ้องร้องในอนาคตก็จะไม่มี คนที่ได้ประโยชน์ที่สุดคือคนไข้นั่นเอง" สร้างทีมสหวิชาชีพลงชุมชน ป้องกันโรคมากกว่ารอให้ผู้ป่วยมา รพ. เลขาธิการมูลนิธิ ศสช.กล่าวว่า ปัจจุบันโรคต่างๆ เยอะมากขึ้น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ของแพทย์ก็มีมากขึ้น ทำให้ในการรักษาคนไข้หนึ่งคนต้องเจอหมอเป็นสิบคน ซึ่งในอนาคตไม่สามารถเป็นแบบนี้ได้ เพราะเสียทั้งเงินและเวลา ดังนั้น เราจึงต้องการเปลี่ยนการรักษาโดยเป็นการป้องกัน ด้วยลงพื้นที่บ้านประชาชน (Patient Centered) ว่าชาวบ้านป่วยเป็นอะไร และเราก็ป้องกันและตัดตอนตั้งแต่ตรงนั้นเพื่อไม่ให้เขาต้องเข้ามารักษาและต้องเสียค่าใช้จ่ายนี่คือแนวทางที่ศสช.เราตั้งใจทำ ทั้งนี้ การเรียนแบบสหวิชาชีพเริ่มมีบ้างแล้ว เช่น ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีการเรียนร่วมกันระหว่างคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการเรียนสหวิชาชีพไม่ได้จำกัดแค่วิชาชีพระบบสุขภาพเท่านั้น เพราะการลงพื้นที่รักษาชาวบ้าน นอกจากดูเรื่องการป่วยของโรคต่างๆ และการใช้ยาต่างๆ แล้ว ต้องมีการดูเรื่องสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยด้วย เช่น หากเป็นบ้านผู้สูงอายุ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...