เวิร์กกิ้งวูแมนยุคโซเชียลเสี่ยง 'โรคจิตเวช' ถามหา

แสดงความคิดเห็น

หญิงสาววัยทำงาน กำลังนั่งเครียดกับงานหน้าคอมพิวเตอร์

นอกจากโรคออฟฟิศซินโดรมที่ทำร้ายสุขภาพของสาวๆ ออฟฟิศแล้ว "ปัญหาสุขภาพจิต" ก็เป็นอีกโรคสำคัญของสาวทำงานยุคนี้ โดยเฉพาะอายุเฉลี่ยระหว่าง 16-24 ปีมักประสบกับปัญหาความทุกข์ทางใจจากการทำงาน

จากการให้ข้อมูลของเวิร์กกิ้งวูแมนยุคใหม่ที่ออกมายอมรับว่าตัวเองมีปัญหา "สุขภาพจิต" ขณะปฏิบัติหน้าที่ มักแก้ปัญหาด้วยการ "ฆ่าตัวตาย" ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวและกำลังเป็นปัญหาสังคมก็ว่าได้ ที่สำคัญผู้ป่วยกลุ่มนี้มักปล่อยปละละเลยไม่ยอมรับการรักษาจนกระทั่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งอาจทำให้ป่วยเป็นโรคอารมณ์2ขั้ว(โรคไบโพลาร์)ได้ในที่สุด

ข้อมูลจากแซลลี แมคมัลล์ นักวิจัยและผู้ระดมทุนด้านการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต กล่าวว่า "คุณสาวๆ ที่ทำงานออฟฟิศนั้นเป็น กลุ่มเสี่ยงอันดับต้นๆ ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวเกิดจากการที่พวกเธอถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน จึงทำให้พวกเธอรู้สึกกดดัน รวมถึงการสื่อสารออนไลน์หลายช่องทางในยุคนี้ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุซึ่งทำให้พวกเธอเกิดความเครียด

นักวิจัยหญิงขยายภาพปัญหาให้ฟังว่า "การที่คุณสาวๆ ถูกระทำรุนแรง รวมถึงการถูกข่มขืนและการถูกเหยียดหยาม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชได้ นอกจากนี้ความเครียดจากความยากจนและการได้ดูถ่ายรูปเซลฟีหุ่นผอมเพรียวในโลกโซเชียล สามารถทำให้คุณสาวๆ รู้สึกกดดันและป่วยเป็นโรคจิตเวชได้เช่นเดียวกัน จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องตั้งคำถามกับสื่อออนไลน์ แต่ทั้งนี้การที่เด็กวัยรุ่นรับข้อมูลข่าวสารจากโลกโซเชียลก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายทั้งหมด เพราะนั่นอาจทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลในการรักษาโรค หรือแพทย์ที่เชี่ยวชาญได้มากขึ้นแต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ"

สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลทุกๆ 7 ปีของประเทศอังกฤษเกี่ยวกับภาวการณ์เจ็บป่วยทางจิตของผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลา 1 ปีของการวิจัยนั้น พบว่า "อัตราของสาวๆ ที่ป่วยทางจิตเวชกำลังเป็นปัญหาและสร้างความทุกข์ทรมานให้กับพวกเธอ เพราะนั่นเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล ที่สำคัญพวกเธอได้รับการรักษาเพียงร้อยละ20เท่านั้น"

ขณะที่ ศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพในอังกฤษ (NHS) ให้ข้อมูลว่า จากการเก็บสถิติพบว่า "ผู้หญิง 1 ใน 4 คนที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปีมักมีปัญหาสุขภาพจิต หรือมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มต้นสัปดาห์ของการทำงาน ซึ่งเคสดังกล่าวเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 21% และจากการศึกษาครั้งล่าสุดของศูนย์ฯ เมื่อปี 2007 จากการให้ข้อมูลของผู้หญิงอายุวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตถึง 3 ครั้ง พบว่าผู้ชายอายุเท่ากันกับเธอมีปัญหาสุขภาพจิตแค่เพียงร้อยละ 9 เท่านั้น"

และข้อมูลจากศูนย์ NHS ระหว่างปี 2000-2014 บอกไว้ว่า "คุณสาวๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่มักละเลยปัญหานี้มักจะคิดทำร้ายตัวเองได้สูงถึงร้อยละ 20 หรือคิดสั้นกับตัวเองได้สูงถึง 3 เท่า และจากการที่สาวๆ กลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามก็ทำให้ได้รับข้อมูลว่า ผู้หญิง 1 ใน 4 คนได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคกังวลและภาวะซึมเศร้า ทว่าผู้ป่วยหญิงกลุ่มอายุดังกล่าวมีผู้ที่ได้รับการรักษาคิดเป็น 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าสูงถ้าเทียบกับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ที่ร้อยละ 50 ปล่อยอาการดังกล่าวไว้จนกระทั่งก่อให้เกิดอันตราย และจากการศึกษาในปี2017ยังพบอีกว่าผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บจากภาวะความเครียดพุ่งสูงถึงร้อยละ13"

ด้านแซลลี ผู้วิจัยเรื่องนี้อธิบายว่า "ครั้งแรกที่ฉันเห็นตัวเลขฉันคิดว่ามันเป็นเพียงสถิติ หรือพูดง่ายๆ ว่าความแตกต่างทางเพศสามารถทำให้ป่วยโรคจิตเวชได้ในคนหนุ่มสาว แต่ผลลัพธ์ที่ได้ดังกล่าวก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวเลขที่เป็นผลพวงมาจากการป่วยด้วยโรคทางจิต โดยเฉพาะความกังวลที่ทำให้คุณสาวๆ คิดทำร้ายตัวเอง ซ้ำร้ายหากยังไม่มีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หรือการที่คุณสาวๆ ไม่สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว"

ปัจจุบัน การรักษาโรคทางจิตเวชนั้นมีด้วยกัน 4 วิธีการ ได้แก่ การกินยา, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การพูดคุยกับจิตแพทย์ (ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนตัวเอง) ฯลฯ แต่เพื่อให้การรักษานั้นตรงกับกลุ่มผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุดนั้น จะต้องสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตให้กว้างขึ้น โดยมุ่งให้ความรู้ไปยังชุมชน, โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่นักเรียนเรียนแล้วมีความสุข ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นก็ต้องการความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นสถานที่นำร่องที่ต้องเปิดกว้างเพื่อรับบริการด้านสุขภาพจิต ทั้งนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาโรคทางจิตเวชได้หลากหลายวิธีเพื่อให้เด็กๆมีสุขภาพจิตที่ดีในระยะยาว

สำหรับคนหนุ่มสาวที่มักชอบทำร้ายตัวเองจำเป็นต้องใช้เวลานานในการรักษา โดยการสร้างความคิดบวกให้กับคนกลุ่มนี้เกี่ยวกับการมองตัวเองว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่า ซึ่งตรงนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้นจนในที่สุดเขาก็จะสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่เพียงการส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นในการรักษา แต่นั่นเป็นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบำบัดอาการเจ็บป่วยด้านจิตเวชซึ่งเท่ากับเป็นการให้สติกับผู้ป่วย หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยหันมาเร่งเยียวยาโรคทางใจให้มากขึ้น ที่สำคัญยังต้องศึกษาวิธีการแก้ปัญหาอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันออกไป นั่นจึงถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากและมักจะถูกกีดกันหรือไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นเรื่องจริงจากผู้ป่วย จนบางครั้งทำให้ยากต่อการรักษา.

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2603547

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 20 ก.พ.60
วันที่โพสต์: 21/02/2560 เวลา 09:50:42 ดูภาพสไลด์โชว์ เวิร์กกิ้งวูแมนยุคโซเชียลเสี่ยง 'โรคจิตเวช' ถามหา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

หญิงสาววัยทำงาน กำลังนั่งเครียดกับงานหน้าคอมพิวเตอร์ นอกจากโรคออฟฟิศซินโดรมที่ทำร้ายสุขภาพของสาวๆ ออฟฟิศแล้ว "ปัญหาสุขภาพจิต" ก็เป็นอีกโรคสำคัญของสาวทำงานยุคนี้ โดยเฉพาะอายุเฉลี่ยระหว่าง 16-24 ปีมักประสบกับปัญหาความทุกข์ทางใจจากการทำงาน จากการให้ข้อมูลของเวิร์กกิ้งวูแมนยุคใหม่ที่ออกมายอมรับว่าตัวเองมีปัญหา "สุขภาพจิต" ขณะปฏิบัติหน้าที่ มักแก้ปัญหาด้วยการ "ฆ่าตัวตาย" ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวและกำลังเป็นปัญหาสังคมก็ว่าได้ ที่สำคัญผู้ป่วยกลุ่มนี้มักปล่อยปละละเลยไม่ยอมรับการรักษาจนกระทั่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งอาจทำให้ป่วยเป็นโรคอารมณ์2ขั้ว(โรคไบโพลาร์)ได้ในที่สุด ข้อมูลจากแซลลี แมคมัลล์ นักวิจัยและผู้ระดมทุนด้านการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต กล่าวว่า "คุณสาวๆ ที่ทำงานออฟฟิศนั้นเป็น กลุ่มเสี่ยงอันดับต้นๆ ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวเกิดจากการที่พวกเธอถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน จึงทำให้พวกเธอรู้สึกกดดัน รวมถึงการสื่อสารออนไลน์หลายช่องทางในยุคนี้ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุซึ่งทำให้พวกเธอเกิดความเครียด นักวิจัยหญิงขยายภาพปัญหาให้ฟังว่า "การที่คุณสาวๆ ถูกระทำรุนแรง รวมถึงการถูกข่มขืนและการถูกเหยียดหยาม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชได้ นอกจากนี้ความเครียดจากความยากจนและการได้ดูถ่ายรูปเซลฟีหุ่นผอมเพรียวในโลกโซเชียล สามารถทำให้คุณสาวๆ รู้สึกกดดันและป่วยเป็นโรคจิตเวชได้เช่นเดียวกัน จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เราต้องตั้งคำถามกับสื่อออนไลน์ แต่ทั้งนี้การที่เด็กวัยรุ่นรับข้อมูลข่าวสารจากโลกโซเชียลก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายทั้งหมด เพราะนั่นอาจทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลในการรักษาโรค หรือแพทย์ที่เชี่ยวชาญได้มากขึ้นแต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอ" สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลทุกๆ 7 ปีของประเทศอังกฤษเกี่ยวกับภาวการณ์เจ็บป่วยทางจิตของผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลา 1 ปีของการวิจัยนั้น พบว่า "อัตราของสาวๆ ที่ป่วยทางจิตเวชกำลังเป็นปัญหาและสร้างความทุกข์ทรมานให้กับพวกเธอ เพราะนั่นเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวล ที่สำคัญพวกเธอได้รับการรักษาเพียงร้อยละ20เท่านั้น" ขณะที่ ศูนย์ให้บริการด้านสุขภาพในอังกฤษ (NHS) ให้ข้อมูลว่า จากการเก็บสถิติพบว่า "ผู้หญิง 1 ใน 4 คนที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปีมักมีปัญหาสุขภาพจิต หรือมีอาการป่วยตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มต้นสัปดาห์ของการทำงาน ซึ่งเคสดังกล่าวเพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 21% และจากการศึกษาครั้งล่าสุดของศูนย์ฯ เมื่อปี 2007 จากการให้ข้อมูลของผู้หญิงอายุวัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิตถึง 3 ครั้ง พบว่าผู้ชายอายุเท่ากันกับเธอมีปัญหาสุขภาพจิตแค่เพียงร้อยละ 9 เท่านั้น" และข้อมูลจากศูนย์ NHS ระหว่างปี 2000-2014 บอกไว้ว่า "คุณสาวๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่มักละเลยปัญหานี้มักจะคิดทำร้ายตัวเองได้สูงถึงร้อยละ 20 หรือคิดสั้นกับตัวเองได้สูงถึง 3 เท่า และจากการที่สาวๆ กลุ่มตัวอย่างได้ตอบแบบสอบถามก็ทำให้ได้รับข้อมูลว่า ผู้หญิง 1 ใน 4 คนได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคกังวลและภาวะซึมเศร้า ทว่าผู้ป่วยหญิงกลุ่มอายุดังกล่าวมีผู้ที่ได้รับการรักษาคิดเป็น 1 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าสูงถ้าเทียบกับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ที่ร้อยละ 50 ปล่อยอาการดังกล่าวไว้จนกระทั่งก่อให้เกิดอันตราย และจากการศึกษาในปี2017ยังพบอีกว่าผู้หญิงที่ได้รับบาดเจ็บจากภาวะความเครียดพุ่งสูงถึงร้อยละ13" ด้านแซลลี ผู้วิจัยเรื่องนี้อธิบายว่า "ครั้งแรกที่ฉันเห็นตัวเลขฉันคิดว่ามันเป็นเพียงสถิติ หรือพูดง่ายๆ ว่าความแตกต่างทางเพศสามารถทำให้ป่วยโรคจิตเวชได้ในคนหนุ่มสาว แต่ผลลัพธ์ที่ได้ดังกล่าวก็ไม่สำคัญเท่ากับตัวเลขที่เป็นผลพวงมาจากการป่วยด้วยโรคทางจิต โดยเฉพาะความกังวลที่ทำให้คุณสาวๆ คิดทำร้ายตัวเอง ซ้ำร้ายหากยังไม่มีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง หรือการที่คุณสาวๆ ไม่สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว" ปัจจุบัน การรักษาโรคทางจิตเวชนั้นมีด้วยกัน 4 วิธีการ ได้แก่ การกินยา, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การพูดคุยกับจิตแพทย์ (ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับเปลี่ยนตัวเอง) ฯลฯ แต่เพื่อให้การรักษานั้นตรงกับกลุ่มผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุดนั้น จะต้องสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตให้กว้างขึ้น โดยมุ่งให้ความรู้ไปยังชุมชน, โรงเรียน โดยเฉพาะโรงเรียนที่นักเรียนเรียนแล้วมีความสุข ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นก็ต้องการความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นสถานที่นำร่องที่ต้องเปิดกว้างเพื่อรับบริการด้านสุขภาพจิต ทั้งนี้เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาโรคทางจิตเวชได้หลากหลายวิธีเพื่อให้เด็กๆมีสุขภาพจิตที่ดีในระยะยาว สำหรับคนหนุ่มสาวที่มักชอบทำร้ายตัวเองจำเป็นต้องใช้เวลานานในการรักษา โดยการสร้างความคิดบวกให้กับคนกลุ่มนี้เกี่ยวกับการมองตัวเองว่าเป็นผู้ที่มีคุณค่า ซึ่งตรงนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากขึ้นจนในที่สุดเขาก็จะสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ใช่แค่เพียงการส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นในการรักษา แต่นั่นเป็นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบำบัดอาการเจ็บป่วยด้านจิตเวชซึ่งเท่ากับเป็นการให้สติกับผู้ป่วย หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยหันมาเร่งเยียวยาโรคทางใจให้มากขึ้น ที่สำคัญยังต้องศึกษาวิธีการแก้ปัญหาอาการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันออกไป นั่นจึงถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากและมักจะถูกกีดกันหรือไม่ได้รับข้อมูลที่เป็นเรื่องจริงจากผู้ป่วย จนบางครั้งทำให้ยากต่อการรักษา. ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/2603547

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...