จี้แก้กรมธรรม์คนพิการ ลดปัญหา ‘เหลื่อมล้ำ’

แสดงความคิดเห็น

การแก้ปัญหา" ความเหลื่อมล้ำ” ในสังคมไทยถือเป็นโจทย์สำคัญการขับเคลื่อนประเทศและต้องยอมรับว่า“การเข้าถึงระบบประกันภัย”ยังมีความเหลื่อมล้ำเช่นกัน โดยเฉพาะใน “กลุ่มผู้พิการ” ที่ยังถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง

จี้แก้กรมธรรม์คนพิการ ลดปัญหา ‘เหลื่อมล้ำ’

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมถึงภาคธุรกิจประกันภัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้พิการ เหล่านี้เป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตประจำวันให้อยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติ จึงได้จัดการเสวนารับฟังความคิดเห็นการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการ ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อผู้พิการด้วยการประกันภัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สำหรับการขายประกันภัยคนพิการ เฟสแรก เป็นประกันอุบัติเหตุเบี้ย 300 บาท โดยเสนอขายเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นของขวัญวันแม่ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และนำข้อเสนอจากเวทีเสวนามาปรับปรุงประกันคนพิการ เพื่อต่อยอดการขายในเฟส 2 ทันในงานสัปดาห์ประกันภัยเดือนก.ย.นี้

“สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์” เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เสนอแนวทางขับเคลื่อนกรมธรรม์ประกันเพื่อคนพิการระยะถัดไปใน "4 ประเด็น" 1. ควรแก้เงื่อนไขให้เกิดความเป็นธรรม โดยไม่ระบุความเป็นผู้พิการ 2. ผลิตภัณฑ์ที่ออกแล้วควรทยอยแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรมเช่นกัน 3. การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องทำเฉพาะกลุ่มสำหรับคนพิการ 4. ควรสร้างการรับข้อมูลข่าวสาร ทั้งคนพิการและภาพรวมของสังคม ช่วยยกระดับความคิดของคนในสังคมที่มีต่อคนพิการ

เนื่องจากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการนั้นยังพบว่า มีข้อจำกัดเต็มๆ คำว่า “คนพิการ” มีข้อเสนอให้ปรับแก้ไขกรมธรรม์ดังกล่าว เห็นว่า ไม่ควรจะระบุถึง “ความพิการ” โดยกว้าง ขอให้ลบคำว่า “คนพิการในกรมธรรม์” และมองความคนพิการมีความเสี่ยงในความไม่สมบูรณ์แข็งแรงของสุขภาพและร่างกาย ตามเงื่อนไขประกันชีวิตและประกันวินาศภัยนั้น จึงไม่รับประกัน ดังนั้นขอให้ไปโฟกัสที่ “ตรวจสุขภาพ” อย่างเป็นธรรม เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป

สำหรับกรมธรรม์นี้ในเฟสแรก นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเชิงจิตวิทยาในการส่งสัญญาณไม่แบ่งแยกคนพิการกับคนปกติ ทุกคนเท่าเทียมเข้าถึงสิทธิการประกันได้และด้วยเบี้ย 300 บาทต่อปีจะทำให้คนพิการในชนบทเข้าถึงได้ เจียดเงินเดือนละไม่ถึง 30 บาท จากรับเบี้ยคนพิการเดือนละ 800 บาท มาจ่ายความคุ้มครองได้

“พีรพงศ์ จารุสาร” เลขานุการสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บอกว่า กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการในเฟสแรกต้องบอกว่าไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยกับ “คนพิการ” เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท ถามว่าใครได้และที่สำคัญการจะมอบกรมธรรม์ในระยะเร่งด่วนแบบนี้ผู้รับ “ยังไม่ได้อ่านสัญญา” แม้จะเป็นกรมธรรม์ที่ผู้พิการเข้าถึงได้ง่ายและจ่ายเบี้ยถูก แต่มองได้ว่า “คนให้มีเจตนารมณ์ดีแต่คนรับมีความระแวง” ไม่น้อย

ดังนั้น ขอเสนอว่า ควรบอกเงื่อนไขสัญญาชี้แจงให้ชัดก่อนเพื่อทำให้ผู้พิการเกิดความสบายใจ ยอมรับในสัญญาว่าจะไม่มีเงื่อนไขและข้อบิดพลิ้วในภายหลังมาอ้างความพิการมาทำผิดสัญญาไม่ได้ “วิทยุต บุนนาค” นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า คอนเซปต์ของคำว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญปี 2559 ที่พึ่งผ่านร่างประชามติ ห้ามมีการเหลื่อมล้ำ ทุกคนมีสิทธิเสมอภาค ไม่จำกัดคนพิการ ฉะนั้น บริษัทประกันควรสร้างความเท่าเทียมกับคนพิการ มีความคุ้มครองหลากหลายให้กับคนพิการ เพราะคนพิการมีความเสี่ยงเท่ากับคนปกติ คนหูหนวก ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ตอนนี้คนเล่นเกมโปเกม่อนอาจจะยังมีความเสี่ยงกว่าคนพิการ ดังนั้นระยะถัดไป นอกจากความคุ้มครองเสียชีวิตแล้ว ขอให้มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สามารถไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน จ่ายเบี้ยเท่าไหร่ก็ได้รับความคุ้มครองเท่านั้น

อย่างไรก็ดีท้ายสุด “คนึงนิจ สุจิตจร” ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย คปภ. ยอมรับว่า กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการไม่เคยมีมาก่อน เป็นเฉพาะกลุ่มมาก สำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้ความร่วมมือจากสมาคมฯ และผู้ประกอบการ ทำเร่งด่วนเพียงไม่ถึง 1 เดือน ในการนำร่องจึงหยิบเอาแบบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุไมโครอินชัวรันส์ เบี้ยประกันราคาถูก ความคุ้มครองอย่างง่าย เป็นหลักประกันการดำรงชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงดูแลครอบครัว

“ขณะนี้ อยู่ระหว่างพิจารณากลุ่มผู้พิการเพิ่มเติมให้ความคุ้มครองหลากหลายและต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้พิการให้ชัดเจนในเงื่อนไขและสัญญา อาจจะยังเข้าใจไม่ครบถ้วน อย่างกรมธรรม์ในเฟสแรกก็พยายามเพิ่มความคุ้มครองนอกเหนือกรณีเสียชีวิต โดยมีความคุ้มครองรักษาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยในและชดเชยรายได้รายวันเป็นต้น”

ปัจจุบันสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย มีจำนวนถึง 1.59 ล้านคนเป็นผู้ชาย 853,779 คน ผู้หญิง 743,996 คน มีสาเหตุความพิการ ไม่ทราบสาเหตุสัดส่วน 32.92% เจ็บป่วย 30.07% พิการแต่กำเนิด 19.51% เกิดอุบัติเหตุ 14.20% มากกว่า 1 สาเหตุ 2.81% และพันธุกรรม 0.48%

สำหรับประเภทความพิการทาง การเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายถึง 765,561 คนหรือมีสัดส่วนถึง 80% ของผู้พิการทั้งหมด ที่เหลือเป็นความพิการทางการมองเห็นและการได้ยินรวมถึงสื่อความหมาย อย่างไรก็ตามคนพิการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป 37.67% เกษตรกรรม 36.23% กิจการส่วนตัวและอาชีพอิสระ 11.47% ลูกจ้างเอกชน 6.66% อาชีพอื่นๆ 6.53% และรับราชการและรัฐวิสาหกิจ 1.44%

ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/714153 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: bangkokbiznews.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 24 ส.ค.59
วันที่โพสต์: 25/08/2559 เวลา 13:31:19 ดูภาพสไลด์โชว์ จี้แก้กรมธรรม์คนพิการ ลดปัญหา ‘เหลื่อมล้ำ’

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

การแก้ปัญหา" ความเหลื่อมล้ำ” ในสังคมไทยถือเป็นโจทย์สำคัญการขับเคลื่อนประเทศและต้องยอมรับว่า“การเข้าถึงระบบประกันภัย”ยังมีความเหลื่อมล้ำเช่นกัน โดยเฉพาะใน “กลุ่มผู้พิการ” ที่ยังถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง จี้แก้กรมธรรม์คนพิการ ลดปัญหา ‘เหลื่อมล้ำ’ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัย (คปภ.) รวมถึงภาคธุรกิจประกันภัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้พิการ เหล่านี้เป็นกลุ่มที่สามารถพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตประจำวันให้อยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติ จึงได้จัดการเสวนารับฟังความคิดเห็นการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการ ตามโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเพื่อผู้พิการด้วยการประกันภัย เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สำหรับการขายประกันภัยคนพิการ เฟสแรก เป็นประกันอุบัติเหตุเบี้ย 300 บาท โดยเสนอขายเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นของขวัญวันแม่ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และนำข้อเสนอจากเวทีเสวนามาปรับปรุงประกันคนพิการ เพื่อต่อยอดการขายในเฟส 2 ทันในงานสัปดาห์ประกันภัยเดือนก.ย.นี้ “สุภรธรรม มงคลสวัสดิ์” เลขาธิการมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ เสนอแนวทางขับเคลื่อนกรมธรรม์ประกันเพื่อคนพิการระยะถัดไปใน "4 ประเด็น" 1. ควรแก้เงื่อนไขให้เกิดความเป็นธรรม โดยไม่ระบุความเป็นผู้พิการ 2. ผลิตภัณฑ์ที่ออกแล้วควรทยอยแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรมเช่นกัน 3. การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องทำเฉพาะกลุ่มสำหรับคนพิการ 4. ควรสร้างการรับข้อมูลข่าวสาร ทั้งคนพิการและภาพรวมของสังคม ช่วยยกระดับความคิดของคนในสังคมที่มีต่อคนพิการ เนื่องจากปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการนั้นยังพบว่า มีข้อจำกัดเต็มๆ คำว่า “คนพิการ” มีข้อเสนอให้ปรับแก้ไขกรมธรรม์ดังกล่าว เห็นว่า ไม่ควรจะระบุถึง “ความพิการ” โดยกว้าง ขอให้ลบคำว่า “คนพิการในกรมธรรม์” และมองความคนพิการมีความเสี่ยงในความไม่สมบูรณ์แข็งแรงของสุขภาพและร่างกาย ตามเงื่อนไขประกันชีวิตและประกันวินาศภัยนั้น จึงไม่รับประกัน ดังนั้นขอให้ไปโฟกัสที่ “ตรวจสุขภาพ” อย่างเป็นธรรม เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป สำหรับกรมธรรม์นี้ในเฟสแรก นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเชิงจิตวิทยาในการส่งสัญญาณไม่แบ่งแยกคนพิการกับคนปกติ ทุกคนเท่าเทียมเข้าถึงสิทธิการประกันได้และด้วยเบี้ย 300 บาทต่อปีจะทำให้คนพิการในชนบทเข้าถึงได้ เจียดเงินเดือนละไม่ถึง 30 บาท จากรับเบี้ยคนพิการเดือนละ 800 บาท มาจ่ายความคุ้มครองได้ “พีรพงศ์ จารุสาร” เลขานุการสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บอกว่า กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการในเฟสแรกต้องบอกว่าไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรเลยกับ “คนพิการ” เสียชีวิตจ่าย 100,000 บาท ถามว่าใครได้และที่สำคัญการจะมอบกรมธรรม์ในระยะเร่งด่วนแบบนี้ผู้รับ “ยังไม่ได้อ่านสัญญา” แม้จะเป็นกรมธรรม์ที่ผู้พิการเข้าถึงได้ง่ายและจ่ายเบี้ยถูก แต่มองได้ว่า “คนให้มีเจตนารมณ์ดีแต่คนรับมีความระแวง” ไม่น้อย ดังนั้น ขอเสนอว่า ควรบอกเงื่อนไขสัญญาชี้แจงให้ชัดก่อนเพื่อทำให้ผู้พิการเกิดความสบายใจ ยอมรับในสัญญาว่าจะไม่มีเงื่อนไขและข้อบิดพลิ้วในภายหลังมาอ้างความพิการมาทำผิดสัญญาไม่ได้ “วิทยุต บุนนาค” นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า คอนเซปต์ของคำว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญปี 2559 ที่พึ่งผ่านร่างประชามติ ห้ามมีการเหลื่อมล้ำ ทุกคนมีสิทธิเสมอภาค ไม่จำกัดคนพิการ ฉะนั้น บริษัทประกันควรสร้างความเท่าเทียมกับคนพิการ มีความคุ้มครองหลากหลายให้กับคนพิการ เพราะคนพิการมีความเสี่ยงเท่ากับคนปกติ คนหูหนวก ไม่ได้แตกต่างเช่นกัน ตอนนี้คนเล่นเกมโปเกม่อนอาจจะยังมีความเสี่ยงกว่าคนพิการ ดังนั้นระยะถัดไป นอกจากความคุ้มครองเสียชีวิตแล้ว ขอให้มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สามารถไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน จ่ายเบี้ยเท่าไหร่ก็ได้รับความคุ้มครองเท่านั้น อย่างไรก็ดีท้ายสุด “คนึงนิจ สุจิตจร” ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย คปภ. ยอมรับว่า กรมธรรม์ประกันภัยเพื่อคนพิการไม่เคยมีมาก่อน เป็นเฉพาะกลุ่มมาก สำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้ความร่วมมือจากสมาคมฯ และผู้ประกอบการ ทำเร่งด่วนเพียงไม่ถึง 1 เดือน ในการนำร่องจึงหยิบเอาแบบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุไมโครอินชัวรันส์ เบี้ยประกันราคาถูก ความคุ้มครองอย่างง่าย เป็นหลักประกันการดำรงชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงดูแลครอบครัว “ขณะนี้ อยู่ระหว่างพิจารณากลุ่มผู้พิการเพิ่มเติมให้ความคุ้มครองหลากหลายและต้องสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้พิการให้ชัดเจนในเงื่อนไขและสัญญา อาจจะยังเข้าใจไม่ครบถ้วน อย่างกรมธรรม์ในเฟสแรกก็พยายามเพิ่มความคุ้มครองนอกเหนือกรณีเสียชีวิต โดยมีความคุ้มครองรักษาในโรงพยาบาล กรณีผู้ป่วยในและชดเชยรายได้รายวันเป็นต้น” ปัจจุบันสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย มีจำนวนถึง 1.59 ล้านคนเป็นผู้ชาย 853,779 คน ผู้หญิง 743,996 คน มีสาเหตุความพิการ ไม่ทราบสาเหตุสัดส่วน 32.92% เจ็บป่วย 30.07% พิการแต่กำเนิด 19.51% เกิดอุบัติเหตุ 14.20% มากกว่า 1 สาเหตุ 2.81% และพันธุกรรม 0.48% สำหรับประเภทความพิการทาง การเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายถึง 765,561 คนหรือมีสัดส่วนถึง 80% ของผู้พิการทั้งหมด ที่เหลือเป็นความพิการทางการมองเห็นและการได้ยินรวมถึงสื่อความหมาย อย่างไรก็ตามคนพิการประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป 37.67% เกษตรกรรม 36.23% กิจการส่วนตัวและอาชีพอิสระ 11.47% ลูกจ้างเอกชน 6.66% อาชีพอื่นๆ 6.53% และรับราชการและรัฐวิสาหกิจ 1.44% ขอบคุณ... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/714153

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...