กระตุ้นพัฒนาการ เด็กพิเศษ ควรให้โอกาสและเปิดพื้นที่ทางสังคม

แสดงความคิดเห็น

จากเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวในสังคมและเป็นกระแสฮือฮาสนั่นโลกสังคมออนไลน์สำหรับรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่มีผู้เข้าแข่งขันออกมาแสดงความสามารถร้องเพลง โดยผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าว ไม่ได้ทักทายผู้ชมและคณะกรรมการ นอกจากนี้ยังพูดจาห้วนขาดคำลงท้ายว่า "ครับ" บวกกับการแสดงออกด้านพฤติกรรมที่ถูกมองว่าไร้มารยาทสังคม กรณีดังกล่าวได้จุดประเด็นร้อนถึงความไม่เหมาะสมในหลายด้าน ซึ่งแต่ละคนก็ต่างมีเหตุผลและแง่มุมที่แตกต่างกันไป

กรณีนี้ในฐานะหมอเฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น พ.ญ.สุวรรณี เรืองเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ บอกว่า ขอชื่นชมผู้ปกครองของผู้แข่งขันที่ตัดสินใจพาเขามาเข้าร่วมคัดเลือก ตามความต้องการและแรงบันดาลในของเขา ซึ่งมิใช่เรื่องเสียหายอะไร เนื่องจากเวทีนี้มีขั้นตอนการคัดเลือกและพิจารณาหลายขั้นตอน ด้วยความสามารถของเขาก็น่าจะไม่ผ่านรอบคัดเลือด แต่เขาจะได้แสดงความสามารถเต็มศักยภาพตามแรงบันดาลใจ ผู้ปกครองก็ได้ทำบทบาทที่ดีที่สุดโดยการสร้างโอกาสให้ลูกได้ พื้นที่ในการแสดงออกและได้เรียนรู้สถานการณ์และผลตามความเป็นจริงในสังคม ถ้าหากเป็นเช่นนั้นทั้งผู้เข้าแข่งขันและครอบครัวก็จะได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ครั้งนี้อย่างมีความสุขตามความเป็นจริง ซึ่งต้องขอบอกว่าในสังคมไทยปัจจุบันต้องยอมรับว่า การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมยังไม่มากนัก โดยเฉพาะกับบุคคลที่ขาดโอกาส บุคคลพิเศษทุกประเภทตั้งแต่ ผู้พิการ แขนขา พิการทางสายตา การได้ยิน ผู้ป่วยทางจิตออทิสติกหรือผู้บกพร่องทางปัญญา ปัญหาหารเรียนรู้ และสื่อมวลชนจะเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความ ตระหนักให้กับบุคคลในสังคมทุกคน ให้มีความเคารพบุคคลอื่นไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เก่งหรือไม่เก่ง ดีหรือไม่ดี หน้าตาดีหรือไม่ บกพร่องสิ่งใด ก็ควรเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าของเขาไม่ควรดูถูกตำหนิ หรือเห็นเป็นเรื่องสนุก ตลกแบบแปลกๆ ไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม โดยเฉพาะกับบุคคลพิเศษ ควรได้รับการยอมรับแบบเข้าใจ ช่วยเหลือให้โอกาสตามศักยภาพเพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข

"กรณีนี้จะไม่ขอพูดว่าผู้แสดงเป็นอย่างไร เพราะไม่ว่าเขาจะเป็นบุคคลพิเศษหรือไม่โดยหลักสิทธิมนุษยชน เขาควรได้รับการปฏิบัติ ดูแลจากผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม และสื่อมวลชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ"

พ.ญ.สุวรรณี ยังบอกอีกว่า เราจะมีวิธีสังเกตว่าเขาเป็นบุคคลพิเศษหรือคนปกติได้ต้องดูจากอาการ ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่าภาวะออทิสซึม(Autism) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจากสมองผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้จะอยู่แต่ในโลกของตนเอง และขาดความสนใจที่จะมีสังคมร่วมกับคนอื่น เราเรียกเด็กที่สมองผิดปกติทำให้เด็กแสดงความบกพร่องออกมา 3 ด้าน ใหญ่ๆได้แก่ 1. ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่แสดงสีหน้าท่าทางในการตอบรับและสื่อสารกับผู้อื่น ไม่สบตา เรียกไม่หัน 2.ความบกพร่องในการสื่อสาร เช่น พูดช้าหรือไม่พูดและไม่มีความพยายามในการสื่อสาร พูดตามหรือพูดสลับคำ 3.การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น หมกหมุ่นอยู่กับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำซ้ำๆ มากเกินไป เราทุกคนและสังคมสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการเขาและสังคมสามารถช่วย กระตุ้นพัฒนาการเขาให้ดีขึ้นได้ คือ เน้นฝึกความสามารถของเด็กเป็นส่วนๆโดยให้เด็ก ทำในสิ่งที่คิดว่าควรทำได้ตามวัย เช่น เรียนรู้เรื่องสี เรื่องรูปทางเรื่องการใช้คำพูดโดยให้เด็กทำซ้ำๆทำบ่อยๆจนเด็กท่อง จำได้ หรือเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิธีให้รางวัลหรือทำโทษ

แนวคิดการฝึกมุ่งหวังครอบครัวต้องช่วยพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ เช่น สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นระหว่างเด็กกับพ่อแม่การแสดงออกทางอารมณ์และ การสื่อสารที่เหมาะสม การฝึกในรูปแบบนี้ช่วยให้เด็กออทิสติกหลายคน "ดูคล้าย"เด็กทั่วไปแต่มักจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป คำพูดและกิริยาอาการของเด็ก จะขาดมิติทางสังคม ไม่มีชีวิตชีวา ขาดความคิดสังคมควรช่วยกันสร้างโอกาสและพื้นที่ให้เขามีโอกาสได้ พัฒนาทักษะต่างๆและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมและที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ ต้องสังเกตจึงจะค้นพบ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการได้ ดังนั้นครอบครัวจึงมีความสำคัญมากสำหรับเด็กออกทิสติก หรือเด็กพิเศษ

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1679685

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 27/06/2556 เวลา 02:58:29

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

จากเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวในสังคมและเป็นกระแสฮือฮาสนั่นโลกสังคมออนไลน์สำหรับรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่มีผู้เข้าแข่งขันออกมาแสดงความสามารถร้องเพลง โดยผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าว ไม่ได้ทักทายผู้ชมและคณะกรรมการ นอกจากนี้ยังพูดจาห้วนขาดคำลงท้ายว่า "ครับ" บวกกับการแสดงออกด้านพฤติกรรมที่ถูกมองว่าไร้มารยาทสังคม กรณีดังกล่าวได้จุดประเด็นร้อนถึงความไม่เหมาะสมในหลายด้าน ซึ่งแต่ละคนก็ต่างมีเหตุผลและแง่มุมที่แตกต่างกันไป กรณีนี้ในฐานะหมอเฉพาะทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น พ.ญ.สุวรรณี เรืองเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ บอกว่า ขอชื่นชมผู้ปกครองของผู้แข่งขันที่ตัดสินใจพาเขามาเข้าร่วมคัดเลือก ตามความต้องการและแรงบันดาลในของเขา ซึ่งมิใช่เรื่องเสียหายอะไร เนื่องจากเวทีนี้มีขั้นตอนการคัดเลือกและพิจารณาหลายขั้นตอน ด้วยความสามารถของเขาก็น่าจะไม่ผ่านรอบคัดเลือด แต่เขาจะได้แสดงความสามารถเต็มศักยภาพตามแรงบันดาลใจ ผู้ปกครองก็ได้ทำบทบาทที่ดีที่สุดโดยการสร้างโอกาสให้ลูกได้ พื้นที่ในการแสดงออกและได้เรียนรู้สถานการณ์และผลตามความเป็นจริงในสังคม ถ้าหากเป็นเช่นนั้นทั้งผู้เข้าแข่งขันและครอบครัวก็จะได้เรียนรู้ จากประสบการณ์ครั้งนี้อย่างมีความสุขตามความเป็นจริง ซึ่งต้องขอบอกว่าในสังคมไทยปัจจุบันต้องยอมรับว่า การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมยังไม่มากนัก โดยเฉพาะกับบุคคลที่ขาดโอกาส บุคคลพิเศษทุกประเภทตั้งแต่ ผู้พิการ แขนขา พิการทางสายตา การได้ยิน ผู้ป่วยทางจิตออทิสติกหรือผู้บกพร่องทางปัญญา ปัญหาหารเรียนรู้ และสื่อมวลชนจะเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความ ตระหนักให้กับบุคคลในสังคมทุกคน ให้มีความเคารพบุคคลอื่นไม่ว่าเขาจะเป็นใคร เก่งหรือไม่เก่ง ดีหรือไม่ดี หน้าตาดีหรือไม่ บกพร่องสิ่งใด ก็ควรเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าของเขาไม่ควรดูถูกตำหนิ หรือเห็นเป็นเรื่องสนุก ตลกแบบแปลกๆ ไม่ว่าเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม โดยเฉพาะกับบุคคลพิเศษ ควรได้รับการยอมรับแบบเข้าใจ ช่วยเหลือให้โอกาสตามศักยภาพเพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข "กรณีนี้จะไม่ขอพูดว่าผู้แสดงเป็นอย่างไร เพราะไม่ว่าเขาจะเป็นบุคคลพิเศษหรือไม่โดยหลักสิทธิมนุษยชน เขาควรได้รับการปฏิบัติ ดูแลจากผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม และสื่อมวลชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับบุคคลอื่นๆ" พ.ญ.สุวรรณี ยังบอกอีกว่า เราจะมีวิธีสังเกตว่าเขาเป็นบุคคลพิเศษหรือคนปกติได้ต้องดูจากอาการ ซึ่งในทางการแพทย์เรียกว่าภาวะออทิสซึม(Autism) เป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจากสมองผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้จะอยู่แต่ในโลกของตนเอง และขาดความสนใจที่จะมีสังคมร่วมกับคนอื่น เราเรียกเด็กที่สมองผิดปกติทำให้เด็กแสดงความบกพร่องออกมา 3 ด้าน ใหญ่ๆได้แก่ 1. ความบกพร่องในการมีปฏิสัมพันธ์ เช่น ไม่แสดงสีหน้าท่าทางในการตอบรับและสื่อสารกับผู้อื่น ไม่สบตา เรียกไม่หัน 2.ความบกพร่องในการสื่อสาร เช่น พูดช้าหรือไม่พูดและไม่มีความพยายามในการสื่อสาร พูดตามหรือพูดสลับคำ 3.การแสดงออกทางพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น หมกหมุ่นอยู่กับการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำซ้ำๆ มากเกินไป เราทุกคนและสังคมสามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการเขาและสังคมสามารถช่วย กระตุ้นพัฒนาการเขาให้ดีขึ้นได้ คือ เน้นฝึกความสามารถของเด็กเป็นส่วนๆโดยให้เด็ก ทำในสิ่งที่คิดว่าควรทำได้ตามวัย เช่น เรียนรู้เรื่องสี เรื่องรูปทางเรื่องการใช้คำพูดโดยให้เด็กทำซ้ำๆทำบ่อยๆจนเด็กท่อง จำได้ หรือเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิธีให้รางวัลหรือทำโทษ แนวคิดการฝึกมุ่งหวังครอบครัวต้องช่วยพัฒนาทักษะชีวิตด้านต่างๆ เช่น สัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นระหว่างเด็กกับพ่อแม่การแสดงออกทางอารมณ์และ การสื่อสารที่เหมาะสม การฝึกในรูปแบบนี้ช่วยให้เด็กออทิสติกหลายคน "ดูคล้าย"เด็กทั่วไปแต่มักจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดหายไป คำพูดและกิริยาอาการของเด็ก จะขาดมิติทางสังคม ไม่มีชีวิตชีวา ขาดความคิดสังคมควรช่วยกันสร้างโอกาสและพื้นที่ให้เขามีโอกาสได้ พัฒนาทักษะต่างๆและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมและที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ ต้องสังเกตจึงจะค้นพบ และช่วยส่งเสริมพัฒนาการได้ ดังนั้นครอบครัวจึงมีความสำคัญมากสำหรับเด็กออกทิสติก หรือเด็กพิเศษ ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1679685

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...