การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคน – คุณหมอขอบอก...เรื่องดีๆ ที่ต้องอ่าน

แสดงความคิดเห็น

พญ.สุวรรณี เรืองเดช ผอ. รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตามที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของรายการหนึ่ง กรณีกรรมการพูดถึงผู้เข้าแข่งขันบางคน ผู้เขียนคงไม่ไปก้าวล่วงถึงตัวบุคคลไม่ว่าตัวกรรมการหรือผู้เข้าแข่งขัน แต่ พญ.สุวรรณี เรืองเดช ผอ.

รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะจิตแพทย์อยากใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจกับสังคมต่อเรื่องที่เกิดขึ้น

พญ.สุวรรณี บอกว่า สังคมไม่ควรมุ่งเน้นไปที่เด็กว่าเขาเป็นอะไร เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งแสดงพฤติกรรม อารมณ์ในที่สาธารณะที่แตกต่างไปจากคนอื่น ซึ่งอาจจะดูเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ตาม ประเด็นสำคัญที่สุดคือการตอบสนองจากคนรอบข้างในสังคมต่อเขาต่างหาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติเราเดินไปตามท้องถนนเห็นคน ๆ หนึ่งแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับกาลเทศะ หมอคิดว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่งในการที่เราจะแสดงต่อใคร เราควรเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ไปกระทำการใด ๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าเขาด้อยกว่าเรา ไม่ว่าจะด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรม ท่าทาง ท่าทีอะไรต่าง ๆ ไม่ตลกขบขัน จนถึงกับดูถูกเหยียดหยาม ตำหนิ คือมาตรฐานของสังคมไม่ว่าใครก็ตามควรจะมีการสร้างวัฒนธรรมแบบนี้มีการตระหนักรู้เช่นนี้ คิดว่าประเด็นนี้ต่างหากเป็นประเด็นสำคัญที่น่าจะใช้โอกาสนี้ในการสื่อสาร

ประเด็นต่อไปที่หลายคนอาจพูดถึงคือเหมาะสมหรือไม่ที่ผู้ปกครองพาเด็กมาออกรายการ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งในฐานะที่หมอเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และเป็นแม่ด้วยนั้น หมอมองว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองทำนั้น หมอชื่นชมเขามากเรื่องความกล้าหาญในการพาลูกมาแข่งขันเวทีที่ชื่อค่อนข้าง เหมือนสนามทดลองพรสวรรค์ หมอคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรสนับสนุน ต้องชื่นชม และผู้เข้าแข่งขันเขาก็มีความตั้งใจสูงมาก บอกว่าเห็นซูซาน บอย แล้วเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากทำสิ่งนี้ ยกตัวอย่างเรามีลูกที่สมมุติว่าต้องมีการสอบแข่งขันทางวิชาการ เราก็รู้ว่าการสอบต้องเป็นเด็กเก่ง พ่อแม่คนที่ลูกอาจจะสอบได้ที่ไม่ดีเลยก็ยังพาลูกไปสอบ เพราะเขารู้ว่าทุกกระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมพัฒนาการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าลูกจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม แต่เขาจะได้เรียนรู้จากสิ่งนั้นและเกิดพัฒนาการ หากผู้ปกครองและสังคมตอบสนองกับเขาอย่างถูกต้อง สมมุติ กรณีผู้เข้าแข่งขันคุณพ่อคุณแม่พามาออดิชั่นแล้วเขาอยากมา ถามว่าเสียหายหรือไม่ ก็ไม่เสียหาย ถ้าดูตามพรสวรรค์เขาจะไม่ผ่านเข้ารอบแรกอยู่แล้ว หน้าที่ของกรรมการก็ต้องถามว่าเพราะอะไรถึงอยากมา กรณีนี้ถามว่าความต้องการของผู้เข้าแข่งขันสมบูรณ์หรือไม่ ถือว่าสมบูรณ์เพราะเขาได้มาแล้ว และคุณค่าของเขายังมีอยู่ และเขาได้รู้ว่าได้ทำตามชีวิตสูงสุดของเขา โดยพยายามร้องตามความสามารถของเขาอย่างเต็มที่แล้วก็จบ ประเด็นตรงนี้ต่างหากที่สังคมควรมอง พวกเราในสังคมควรเรียนรู้ว่าเราควรปฏิบัติกับทุกคนในสังคมให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะแสดงออกเหมาะหรือไม่เหมาะ แปลกหรือไม่แปลก ตรงนี้ต่างหากที่หมอคิดว่าคนไทยเราขาดตรงนี้

การเคารพสิทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องให้เกียรติเขา หมอคิดว่าทุกคนน่าจะรู้ว่าเขาอาจจะไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งสังคมไทยยังมีสิ่งเหล่านี้อยู่เยอะ ดังนั้นน่าจะใช้โอกาสนี้ในการสร้างวัฒนธรรมดี ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยของเรา ปัจจุบันเด็กพิเศษ ผู้ป่วยทางจิตเวช ในสังคมไทยยังถูกมองเป็นตราบาปอยู่เยอะ เพราะคนในสังคมยังมีความกลัว ไม่อยากสุงสิงด้วย และมองว่าตลกโปกฮา ขบขัน ถ้าสังคมแสดงออกไม่ดีกับเขา หมอคิดว่ามากน้อยเขาย่อมรู้สึก จากปฏิกิริยาที่แสดงออก ไม่ว่าระดับสติปัญญาขนาดไหนเขารับรู้ได้แน่นอน แต่ผลกระทบทางใจจะรุนแรงขนาดไหน มีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง แต่อย่าลืมว่าบุคคลพิเศษเขามีพ่อแม่พี่น้อง มีครอบครัว ผลกระทบต่อตัวเขาเองอาจจะไม่มากนัก แต่คนรอบข้างเขามีผลกระทบไม่น้อยเลย

อยากฝากไปยังทุกภาคส่วน ชุมชน สังคม โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในสังคมที่จะหล่อหลอมสิ่งเหล่านี้ให้ เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับบุคคล รวมถึงสังคม ต้องเคารพให้เกียรติมนุษย์ทุกคนเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าเขาจะเก่งหรือไม่เก่ง หล่อไม่หล่อ สวยไม่สวย ดีหรือไม่ดี แล้วเสนอมุมมองในทางบวก ว่าทุกคนสามารถที่จะดีขึ้นได้ เก่งขึ้นได้ หมอคิดว่าจะเป็นจุดที่จะทำให้สังคมของเรามีมุมมองทางบวกได้

นอกเหนือจากการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว สิ่งที่บุคคลพิเศษพยายามเรียกร้องคือ ทุกคนไม่ต้องการให้คนมาสงสาร แต่อยากให้โอกาสและยอมรับว่าเขาคือคน ๆ หนึ่งในสังคม ให้โอกาสตามศักยภาพที่เขาเป็น หมอคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ สิ่งเหล่านี้เราพูดกันอยู่เรื่อย ๆ แต่ทำอย่างไรจะแสดงออกทั้งระดับปัจเจกบุคคลและแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ……นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/210033 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 8/06/2556 เวลา 04:22:18 ดูภาพสไลด์โชว์  การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นคน – คุณหมอขอบอก...เรื่องดีๆ ที่ต้องอ่าน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พญ.สุวรรณี เรืองเดช ผอ. รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ตามที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของรายการหนึ่ง กรณีกรรมการพูดถึงผู้เข้าแข่งขันบางคน ผู้เขียนคงไม่ไปก้าวล่วงถึงตัวบุคคลไม่ว่าตัวกรรมการหรือผู้เข้าแข่งขัน แต่ พญ.สุวรรณี เรืองเดช ผอ. รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะจิตแพทย์อยากใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจกับสังคมต่อเรื่องที่เกิดขึ้น พญ.สุวรรณี บอกว่า สังคมไม่ควรมุ่งเน้นไปที่เด็กว่าเขาเป็นอะไร เพราะไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าเมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งแสดงพฤติกรรม อารมณ์ในที่สาธารณะที่แตกต่างไปจากคนอื่น ซึ่งอาจจะดูเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมก็ตาม ประเด็นสำคัญที่สุดคือการตอบสนองจากคนรอบข้างในสังคมต่อเขาต่างหาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติเราเดินไปตามท้องถนนเห็นคน ๆ หนึ่งแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ไม่เหมาะกับกาลเทศะ หมอคิดว่าเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่งในการที่เราจะแสดงต่อใคร เราควรเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ไปกระทำการใด ๆ ที่ทำให้รู้สึกว่าเขาด้อยกว่าเรา ไม่ว่าจะด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรม ท่าทาง ท่าทีอะไรต่าง ๆ ไม่ตลกขบขัน จนถึงกับดูถูกเหยียดหยาม ตำหนิ คือมาตรฐานของสังคมไม่ว่าใครก็ตามควรจะมีการสร้างวัฒนธรรมแบบนี้มีการตระหนักรู้เช่นนี้ คิดว่าประเด็นนี้ต่างหากเป็นประเด็นสำคัญที่น่าจะใช้โอกาสนี้ในการสื่อสาร ประเด็นต่อไปที่หลายคนอาจพูดถึงคือเหมาะสมหรือไม่ที่ผู้ปกครองพาเด็กมาออกรายการ ถ้ามองอีกมุมหนึ่งในฐานะที่หมอเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และเป็นแม่ด้วยนั้น หมอมองว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองทำนั้น หมอชื่นชมเขามากเรื่องความกล้าหาญในการพาลูกมาแข่งขันเวทีที่ชื่อค่อนข้าง เหมือนสนามทดลองพรสวรรค์ หมอคิดว่านี่เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรสนับสนุน ต้องชื่นชม และผู้เข้าแข่งขันเขาก็มีความตั้งใจสูงมาก บอกว่าเห็นซูซาน บอย แล้วเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากทำสิ่งนี้ ยกตัวอย่างเรามีลูกที่สมมุติว่าต้องมีการสอบแข่งขันทางวิชาการ เราก็รู้ว่าการสอบต้องเป็นเด็กเก่ง พ่อแม่คนที่ลูกอาจจะสอบได้ที่ไม่ดีเลยก็ยังพาลูกไปสอบ เพราะเขารู้ว่าทุกกระบวนการเรียนรู้เป็นการส่งเสริมพัฒนาการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ ไม่ว่าลูกจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม แต่เขาจะได้เรียนรู้จากสิ่งนั้นและเกิดพัฒนาการ หากผู้ปกครองและสังคมตอบสนองกับเขาอย่างถูกต้อง สมมุติ กรณีผู้เข้าแข่งขันคุณพ่อคุณแม่พามาออดิชั่นแล้วเขาอยากมา ถามว่าเสียหายหรือไม่ ก็ไม่เสียหาย ถ้าดูตามพรสวรรค์เขาจะไม่ผ่านเข้ารอบแรกอยู่แล้ว หน้าที่ของกรรมการก็ต้องถามว่าเพราะอะไรถึงอยากมา กรณีนี้ถามว่าความต้องการของผู้เข้าแข่งขันสมบูรณ์หรือไม่ ถือว่าสมบูรณ์เพราะเขาได้มาแล้ว และคุณค่าของเขายังมีอยู่ และเขาได้รู้ว่าได้ทำตามชีวิตสูงสุดของเขา โดยพยายามร้องตามความสามารถของเขาอย่างเต็มที่แล้วก็จบ ประเด็นตรงนี้ต่างหากที่สังคมควรมอง พวกเราในสังคมควรเรียนรู้ว่าเราควรปฏิบัติกับทุกคนในสังคมให้เหมือนกัน ไม่ว่าจะแสดงออกเหมาะหรือไม่เหมาะ แปลกหรือไม่แปลก ตรงนี้ต่างหากที่หมอคิดว่าคนไทยเราขาดตรงนี้ การเคารพสิทธิ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต้องให้เกียรติเขา หมอคิดว่าทุกคนน่าจะรู้ว่าเขาอาจจะไม่เหมือนคนอื่น ซึ่งสังคมไทยยังมีสิ่งเหล่านี้อยู่เยอะ ดังนั้นน่าจะใช้โอกาสนี้ในการสร้างวัฒนธรรมดี ๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยของเรา ปัจจุบันเด็กพิเศษ ผู้ป่วยทางจิตเวช ในสังคมไทยยังถูกมองเป็นตราบาปอยู่เยอะ เพราะคนในสังคมยังมีความกลัว ไม่อยากสุงสิงด้วย และมองว่าตลกโปกฮา ขบขัน ถ้าสังคมแสดงออกไม่ดีกับเขา หมอคิดว่ามากน้อยเขาย่อมรู้สึก จากปฏิกิริยาที่แสดงออก ไม่ว่าระดับสติปัญญาขนาดไหนเขารับรู้ได้แน่นอน แต่ผลกระทบทางใจจะรุนแรงขนาดไหน มีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง แต่อย่าลืมว่าบุคคลพิเศษเขามีพ่อแม่พี่น้อง มีครอบครัว ผลกระทบต่อตัวเขาเองอาจจะไม่มากนัก แต่คนรอบข้างเขามีผลกระทบไม่น้อยเลย อยากฝากไปยังทุกภาคส่วน ชุมชน สังคม โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในสังคมที่จะหล่อหลอมสิ่งเหล่านี้ให้ เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับบุคคล รวมถึงสังคม ต้องเคารพให้เกียรติมนุษย์ทุกคนเหมือน ๆ กัน ไม่ว่าเขาจะเก่งหรือไม่เก่ง หล่อไม่หล่อ สวยไม่สวย ดีหรือไม่ดี แล้วเสนอมุมมองในทางบวก ว่าทุกคนสามารถที่จะดีขึ้นได้ เก่งขึ้นได้ หมอคิดว่าจะเป็นจุดที่จะทำให้สังคมของเรามีมุมมองทางบวกได้ นอกเหนือจากการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แล้ว สิ่งที่บุคคลพิเศษพยายามเรียกร้องคือ ทุกคนไม่ต้องการให้คนมาสงสาร แต่อยากให้โอกาสและยอมรับว่าเขาคือคน ๆ หนึ่งในสังคม ให้โอกาสตามศักยภาพที่เขาเป็น หมอคิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ สิ่งเหล่านี้เราพูดกันอยู่เรื่อย ๆ แต่ทำอย่างไรจะแสดงออกทั้งระดับปัจเจกบุคคลและแสดงออกผ่านสื่อต่าง ๆ……นวพรรษ บุญชาญ : รายงาน ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/1490/210033

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...