สปส.เล็งเพิ่มค่ารักษา 3 โรคมะเร็ง ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกองทุน

แสดงความคิดเห็น

สำนักงานประกันสังคมสานต่อนโยบายบูรณาการมะเร็ง 3 กองทุน เล็งเพิ่มค่ารักษา "มะเร็งตับและท่อน้ำดี-กระเพาะปัสสาวะ-ต่อมลูกหมาก" ใช้เกณฑ์เดียวกับ สปสช. หากมีค่าใช้จ่ายสูงจะจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมตามระดับความรุนแรงของโรค ละ 15,000 บาท เพื่อประโยชน์ผู้ป่วยเป็นหลัก

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายบูรณาการสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ล่าสุดคณะกรรมการเตรียมการการจัดบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียวทั้งระบบ มีมติบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียว 5 ชนิด คือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556

เมื่อวันที่ 15 เมษายน นางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นอกจากการเตรียมพร้อมในเรื่องการบูรณาการโรคมะเร็งทั้ง 3 กองทุนแล้ว ขณะนี้อนุกรรมการการแพทย์ของ สปส. ยังอยู่ระหว่างการศึกษา ในเรื่องค่ารักษาโรคมะเร็งตามเกณฑ์เดียวกับที่ทาง สปสช.ใช้อยู่ เพิ่มเติมอีก 3 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งปัจจุบัน ทาง สปส.ให้ความคุ้มครอง รักษาโรคมะเร็ง 7 โรค ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ส่วนใหญ่ โดยจะมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลผู้ป่วยทั้งสองกองทุนเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีความสะดวกในการรับโอนผู้ป่วยและให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเท่าเทียมระหว่างกองทุน

นางสุพัชรีกล่าวอีกว่า ปัจจุบันระบบประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาแบบเหมาในช่วงแรกของการรักษาพยาบาล โรคมะเร็งทั้ง 7 ชนิด แต่หากมีค่าใช้จ่ายสูงก็จะจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) โดยผู้ประกันตน ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรค (RW) อยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป จะจ่ายค่ารักษาให้ระดับละ 15,000 บาท และหากมีการรักษาตามแนวทางที่ สปส.กำหนด โดยยึดมาตรฐานของราชวิทยาลัยแพทย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ สปสช.ใช้อยู่ในปัจจุบัน สปส.จะจ่ายค่ารักษาเพิ่มเติมให้แก่โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมหรือโรงพยาบาล คู่สัญญาที่โรงพยาบาลระบบประกันสังคมส่งต่อผู้ประกันตนไปเข้ารักษาซึ่งเป็น ผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ การจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติมนั้นจะจ่ายจริงตามอัตราที่กำหนด โดยโรคมะเร็งเต้านมจะจ่ายไม่เกิน 117,900 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งปากมดลูกไม่เกิน 75,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งรังไข่ไม่เกิน 272,100 ต่อรายต่อปี มะเร็งโพรงจมูกไม่เกิน 35,100 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งปอดไม่เกิน 246,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งหลอดอาหาร 15,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่เกิน 96,400 บาทต่อรายต่อปี ซึ่งหากคณะอนุกรรมการการแพทย์ได้ข้อสรุปผลการศึกษาแล้ว จะเสนอต่อคณะกรรมการการแพทย์ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอต่อบอร์ด สปส.ต่อไป

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366086618&grpid=&catid=12&subcatid=1203 (ขนาดไฟล์: 143)

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 18/04/2556 เวลา 02:34:11

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สำนักงานประกันสังคมสานต่อนโยบายบูรณาการมะเร็ง 3 กองทุน เล็งเพิ่มค่ารักษา "มะเร็งตับและท่อน้ำดี-กระเพาะปัสสาวะ-ต่อมลูกหมาก" ใช้เกณฑ์เดียวกับ สปสช. หากมีค่าใช้จ่ายสูงจะจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมตามระดับความรุนแรงของโรค ละ 15,000 บาท เพื่อประโยชน์ผู้ป่วยเป็นหลัก ตามที่รัฐบาลมีนโยบายบูรณาการสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพมาตรฐานเดียว 3 กองทุน ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ล่าสุดคณะกรรมการเตรียมการการจัดบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียวทั้งระบบ มีมติบูรณาการโรคมะเร็งมาตรฐานเดียว 5 ชนิด คือ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เมื่อวันที่ 15 เมษายน นางสุพัชรี มีครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นอกจากการเตรียมพร้อมในเรื่องการบูรณาการโรคมะเร็งทั้ง 3 กองทุนแล้ว ขณะนี้อนุกรรมการการแพทย์ของ สปส. ยังอยู่ระหว่างการศึกษา ในเรื่องค่ารักษาโรคมะเร็งตามเกณฑ์เดียวกับที่ทาง สปสช.ใช้อยู่ เพิ่มเติมอีก 3 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งกระเพาะปัสสาวะและมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งปัจจุบัน ทาง สปส.ให้ความคุ้มครอง รักษาโรคมะเร็ง 7 โรค ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ส่วนใหญ่ โดยจะมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลผู้ป่วยทั้งสองกองทุนเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีความสะดวกในการรับโอนผู้ป่วยและให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเท่าเทียมระหว่างกองทุน นางสุพัชรีกล่าวอีกว่า ปัจจุบันระบบประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาแบบเหมาในช่วงแรกของการรักษาพยาบาล โรคมะเร็งทั้ง 7 ชนิด แต่หากมีค่าใช้จ่ายสูงก็จะจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) โดยผู้ประกันตน ซึ่งมีระดับความรุนแรงของโรค (RW) อยู่ในระดับ 2 ขึ้นไป จะจ่ายค่ารักษาให้ระดับละ 15,000 บาท และหากมีการรักษาตามแนวทางที่ สปส.กำหนด โดยยึดมาตรฐานของราชวิทยาลัยแพทย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ สปสช.ใช้อยู่ในปัจจุบัน สปส.จะจ่ายค่ารักษาเพิ่มเติมให้แก่โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมหรือโรงพยาบาล คู่สัญญาที่โรงพยาบาลระบบประกันสังคมส่งต่อผู้ประกันตนไปเข้ารักษาซึ่งเป็น ผู้ให้การรักษา ทั้งนี้ การจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติมนั้นจะจ่ายจริงตามอัตราที่กำหนด โดยโรคมะเร็งเต้านมจะจ่ายไม่เกิน 117,900 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งปากมดลูกไม่เกิน 75,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งรังไข่ไม่เกิน 272,100 ต่อรายต่อปี มะเร็งโพรงจมูกไม่เกิน 35,100 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งปอดไม่เกิน 246,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งหลอดอาหาร 15,000 บาทต่อรายต่อปี มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่เกิน 96,400 บาทต่อรายต่อปี ซึ่งหากคณะอนุกรรมการการแพทย์ได้ข้อสรุปผลการศึกษาแล้ว จะเสนอต่อคณะกรรมการการแพทย์ เพื่อพิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอต่อบอร์ด สปส.ต่อไป ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366086618&grpid=&catid=12&subcatid=1203

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...