บั่น!ตระกูล "ส" สปสช.หนึ่งในนั้น

แสดงความคิดเห็น

บัตรประกันสุขภาพล่วงหน้า

กระแสลดบทบาทหน่วยงานตระกูล “ส” เล่าลือกันว่าเป็นความพยายามของใครบางคนที่พุ่งเป้าตัดน้ำเลี้ยงขุมกำลังเครือข่ายเอ็นจีโอฝ่ายตรงข้าม สปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งใน “ส” ที่ว่า ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. บอกว่า เข้าใจว่าเดิมรัฐมนตรีว่าการไม่ได้ตั้งใจจะลดบทบาทหน่วยงานตระกูล “ส” เพียงแต่จะจัดวิธีการทำงานให้สามารถประสานงานกันได้ง่ายขึ้น นั่นคือสิ่งที่ให้สัมภาษณ์

ทพ.อรรถพร เล่าวิธีการทำงานสมัยก่อนให้ฟังว่า สปสช. เป็น “ส” หนึ่งที่ดูแลเงินเยอะมาก เวลาทำงานไม่ได้ทำงานคนเดียว ทำงานทางวิชาการก็ไปอาศัย สวรส. หรือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

“...แต่ ละปีเราเสียเงินเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉินเยอะมาก เราเสียเงินรักษาคนไข้โรคตับแข็ง เป็นมะเร็งตับเยอะมาก คนไข้มะเร็งปอด

แพทย์กำลังตรวจสุขภาพช่องปากคนไข้ สสส. ก็เป็นอีกหนึ่งในตระกูล “ส” ที่ช่วยรณรงค์เรื่องการลดสูบบุหรี่” สสส.ยิ่งรณรงค์ได้ผลมากเท่าไหร่ สปสช.ก็ยิ่งใช้เงินน้อยลงเท่านั้น ภาพที่เห็นคือการทำงานเป็นเครือข่าย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาผลวิจัยศึกษามาร่วมประชุมกัน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด

“...ยัง มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ไม่ได้มีเจตนาในการลดบทบาท ควบรวม แต่อาจจะหาวิธีการทำให้ “ส” ทั้งหลายทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์อะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นการมองโลกในแง่ดี ซึ่งอาจจะมีบางมุมมอง...ไม่ได้มองโลกในแง่ดีแบบนี้ก็ได้”

นายแพทย์ วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอกว่า สปสช.ในฐานะองค์กรบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่บริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนไทยที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลจาก ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการข้าราชการ

สปสช.บริหารงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับการกระจายให้เป็นธรรม มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพ...คุณภาพในการจัดบริการ รวมทั้งบริหารเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการของประชาชนกลุ่มที่มีความจำเป็น ด้านสุขภาพ” ในปี 2556 กองทุนหลักประกันฯได้รับงบประมาณจากกระทรวงการคลัง 141,302.745 ล้านบาท ครอบคลุมประชากรกว่า 48 ล้านคน ทั้งจากการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพนอกจากนี้ ยังได้รับการประเมินจากกระทรวงการคลังให้เป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีซ้อน...ปี 2551, ปี 2552 และปี 2554 แต่ในปี 2553 นั้นได้รางวัลผลการดำเนินงานชมเชย สำหรับ ในปี 2555 “สปสช.” ...ได้รับรางวัล ประเภทประสิทธิภาพด้านบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียนดีเด่นจากกระทรวงการคลัง โดยมีความพร้อมในการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ

“ทุนหมุนเวียน”...เป็นกองทุนที่กรมบัญชีกลางตั้งขึ้นมา ตราไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เพื่อที่จะให้เป็นเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินในงบประมาณปกติ คล้ายกองทุนที่ให้เอาเงินในกองทุนไปใช้มีความคล่องตัว ดำเนินงานเป็นส่วนเสริมหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีการประเมินด้วยว่าแต่ละองค์กรที่เอาเงินกองนี้ไปใช้ นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

แพทย์กำลังช่วยเหลือคนไข้ นาย แพทย์วินัย บอกว่า สปสช.เป็นองค์กรที่ได้รับเงินจากรัฐบาล แต่ละปีจะได้ตามรายหัวประชากร การตั้งเงินรายหัวจะตั้งโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2 ส่วนที่หนึ่ง “ข้อมูล ประชากร” จะรู้อยู่แล้วว่าแต่ละปีมีสิทธิบัตรทองกี่คน เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและการเกิดในปีนั้นๆ เด็กเกิดใหม่ได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้าปีนั้นเศรษฐกิจไม่ดีคนว่างงาน ก็หมดจากสิทธิประกันสังคมถ้าไม่ได้ส่งเงินต่อ ก็จะได้สิทธิบัตรทองโดยอัตโนมัติ ส่วนที่สอง “ข้อมูลการใช้บริการ” ...แยกเป็นผู้ป่วยนอกกับผู้ป่วยใน โดยข้อมูลผู้ป่วยในมีข้อมูลที่โรงพยาบาลให้บริการทุกแห่งต้องบันทึกส่งมาที่ สปสช. แล้วก็ต้องบอกรายละเอียดด้วยว่าคนไข้คนนั้นคือใคร โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งจะบอกด้วยว่าวินิจฉัยเป็นอย่างไร การรักษาเป็นอย่างไร เราจึงมีข้อมูลการให้บริการทุกรายที่แม่นมาก

ข้อมูลละเอียดในระดับบุคคล สปสช.จึงสามารถคำนวณต้นทุนได้ว่า ถ้าให้บริการผู้ป่วยนอก ต้นทุนจะอยู่ที่เท่าไหร่ นับรวมไปถึงการส่งเสริมป้องกันก็มีตัวเลขข้อมูลพร้อมทำให้คำนวณงบแต่ละปีได้ ชัดเจน เชื่อมโยงไปอีกว่า แต่ละปีขอเก็บงบเหมาจ่ายรายหัวจากรัฐบาลเท่าไหร่... 2,755 บาท ลองคิดดูว่าเบี้ยเท่านี้ แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมไปหมดเลย ทำให้ต้องใช้วิธีบริหารจัดการหลายอย่าง ลดต้นทุนบางอย่าง เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีราคาแพงก็ไปต่อรองราคา ยาที่ต้องใช้เยอะและยาก็เป็นต้นทุนทางการแพทย์ที่สำคัญเพราะใช้ปริมาณมาก ก็ใช้วิธีการประมูลรวมบ้าง ต่อรองราคาบ้าง...เราทำมา 3-4 ปี ประหยัดเงินชัดเจนเป็นหมื่นล้านบาท หัวใจสำคัญในการบริหารงาน เพื่อความอยู่รอด และเพื่อการให้บริการสุขภาพที่ดีที่สุดกับประชาชน

นาย แพทย์วินัย ย้ำว่า สปสช.เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นมาเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ประชาชน เราเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนที่มีสิทธิบัตรทอง ฉะนั้นวัตถุประสงค์จึงอยู่ที่ประชาชนเป็นหลัก อยากจะให้เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง การเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่ละอย่างทำให้เกิดการใช้เงินที่มากน้อยไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง วันนี้พูดคุยกับเครือข่ายคนพิการภาคประชาชนเสนอว่า คนพิการที่หูหนวกตั้งแต่อายุน้อยๆ หากได้รับการฝังประสาทหูเทียมตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้การได้ยินกลับมาได้ใกล้เคียงปกติ ปัญหามีว่า...รากปราสาทหู เทียม 1 ชิ้นราคา 8 แสนบาท สปสช.จะบริหารยังไง…สมมติว่า 1 ปีมีคนมาฝังรากประสาทหูเทียม 100 ราย ก็ 80 ล้านบาทเข้าไปแล้ว...ก็ต้องชั่งน้ำหนัก วิธีการสำคัญอยู่ในขั้นปฏิบัติ สปสช.จะส่งความต้องการเหล่านี้ไปให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสืบหาความคุ้ม ค่าทางด้านการลงทุนสาธารณสุข ถ้าหากจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ตรงนี้ไป จะทำให้ประชาชนจำนวนเท่าไหร่ได้รับประโยชน์ จะทำให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ หรือว่า...ถ้าไม่ลงทุน ตรงนี้แล้วเอาเงินงบประมาณที่มีจำกัดไปทุ่มให้กับคนไข้ที่เป็นโรคบางอย่าง คนไข้ที่ต้องผ่าตัดหัวใจ คนไข้ที่ต้องผ่าตัดสมอง คนไข้ที่เป็นโรคไต อะไรจะคุ้มค่ามากกว่ากัน สปสช.ก็ อาศัยช่องทางหน่วยงานราชการที่มีอยู่หลายหน่วยมาช่วยสนับสนุน ศึกษาวิจัย เพื่อที่จะบอกว่า ด้วยเงินที่มีเท่านี้ จะลงทุนกับเรื่องใด...“ประโยชน์เกิดกับประชาชนส่วนใหญ่ แต่ประเทศก็ไม่เกิดภาระ” นี่ คือวันวานและวันนี้ของ สปสช. นอกจากจะทำให้คนไข้ได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มากขึ้น แล้ว รัฐยังใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับอนาคต ตระกูล “ส” จะถูกลดบทบาทลงหรือไม่ มากน้อยอย่างไร...ชวนให้คนไทยทั้งประเทศติดตาม.

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/338928

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 16/04/2556 เวลา 03:48:18 ดูภาพสไลด์โชว์  บั่น!ตระกูล "ส" สปสช.หนึ่งในนั้น

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

บัตรประกันสุขภาพล่วงหน้า กระแสลดบทบาทหน่วยงานตระกูล “ส” เล่าลือกันว่าเป็นความพยายามของใครบางคนที่พุ่งเป้าตัดน้ำเลี้ยงขุมกำลังเครือข่ายเอ็นจีโอฝ่ายตรงข้าม สปสช. หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหนึ่งใน “ส” ที่ว่า ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. บอกว่า เข้าใจว่าเดิมรัฐมนตรีว่าการไม่ได้ตั้งใจจะลดบทบาทหน่วยงานตระกูล “ส” เพียงแต่จะจัดวิธีการทำงานให้สามารถประสานงานกันได้ง่ายขึ้น นั่นคือสิ่งที่ให้สัมภาษณ์ ทพ.อรรถพร เล่าวิธีการทำงานสมัยก่อนให้ฟังว่า สปสช. เป็น “ส” หนึ่งที่ดูแลเงินเยอะมาก เวลาทำงานไม่ได้ทำงานคนเดียว ทำงานทางวิชาการก็ไปอาศัย สวรส. หรือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข “...แต่ ละปีเราเสียเงินเรื่องอุบัติเหตุฉุกเฉินเยอะมาก เราเสียเงินรักษาคนไข้โรคตับแข็ง เป็นมะเร็งตับเยอะมาก คนไข้มะเร็งปอด แพทย์กำลังตรวจสุขภาพช่องปากคนไข้สสส. ก็เป็นอีกหนึ่งในตระกูล “ส” ที่ช่วยรณรงค์เรื่องการลดสูบบุหรี่” สสส.ยิ่งรณรงค์ได้ผลมากเท่าไหร่ สปสช.ก็ยิ่งใช้เงินน้อยลงเท่านั้น ภาพที่เห็นคือการทำงานเป็นเครือข่าย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาผลวิจัยศึกษามาร่วมประชุมกัน เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด “...ยัง มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ไม่ได้มีเจตนาในการลดบทบาท ควบรวม แต่อาจจะหาวิธีการทำให้ “ส” ทั้งหลายทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์อะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดเหล่านี้เป็นการมองโลกในแง่ดี ซึ่งอาจจะมีบางมุมมอง...ไม่ได้มองโลกในแง่ดีแบบนี้ก็ได้” นายแพทย์ วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอกว่า สปสช.ในฐานะองค์กรบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีหน้าที่บริหาร กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนไทยที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลจาก ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการข้าราชการ สปสช.บริหารงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับการกระจายให้เป็นธรรม มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพ...คุณภาพในการจัดบริการ รวมทั้งบริหารเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการของประชาชนกลุ่มที่มีความจำเป็น ด้านสุขภาพ” ในปี 2556 กองทุนหลักประกันฯได้รับงบประมาณจากกระทรวงการคลัง 141,302.745 ล้านบาท ครอบคลุมประชากรกว่า 48 ล้านคน ทั้งจากการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพนอกจากนี้ ยังได้รับการประเมินจากกระทรวงการคลังให้เป็นกองทุนที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีซ้อน...ปี 2551, ปี 2552 และปี 2554 แต่ในปี 2553 นั้นได้รางวัลผลการดำเนินงานชมเชย สำหรับ ในปี 2555 “สปสช.” ...ได้รับรางวัล ประเภทประสิทธิภาพด้านบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียนดีเด่นจากกระทรวงการคลัง โดยมีความพร้อมในการบริหารจัดการกองทุนอย่างเป็นระบบ “ทุนหมุนเวียน”...เป็นกองทุนที่กรมบัญชีกลางตั้งขึ้นมา ตราไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เพื่อที่จะให้เป็นเงินที่ไม่ใช่เป็นเงินในงบประมาณปกติ คล้ายกองทุนที่ให้เอาเงินในกองทุนไปใช้มีความคล่องตัว ดำเนินงานเป็นส่วนเสริมหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีการประเมินด้วยว่าแต่ละองค์กรที่เอาเงินกองนี้ไปใช้ นำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน แพทย์กำลังช่วยเหลือคนไข้นาย แพทย์วินัย บอกว่า สปสช.เป็นองค์กรที่ได้รับเงินจากรัฐบาล แต่ละปีจะได้ตามรายหัวประชากร การตั้งเงินรายหัวจะตั้งโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2 ส่วนที่หนึ่ง “ข้อมูล ประชากร” จะรู้อยู่แล้วว่าแต่ละปีมีสิทธิบัตรทองกี่คน เพิ่มขึ้นหรือลดลง ซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและการเกิดในปีนั้นๆ เด็กเกิดใหม่ได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้าปีนั้นเศรษฐกิจไม่ดีคนว่างงาน ก็หมดจากสิทธิประกันสังคมถ้าไม่ได้ส่งเงินต่อ ก็จะได้สิทธิบัตรทองโดยอัตโนมัติ ส่วนที่สอง “ข้อมูลการใช้บริการ” ...แยกเป็นผู้ป่วยนอกกับผู้ป่วยใน โดยข้อมูลผู้ป่วยในมีข้อมูลที่โรงพยาบาลให้บริการทุกแห่งต้องบันทึกส่งมาที่ สปสช. แล้วก็ต้องบอกรายละเอียดด้วยว่าคนไข้คนนั้นคือใคร โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งจะบอกด้วยว่าวินิจฉัยเป็นอย่างไร การรักษาเป็นอย่างไร เราจึงมีข้อมูลการให้บริการทุกรายที่แม่นมาก ข้อมูลละเอียดในระดับบุคคล สปสช.จึงสามารถคำนวณต้นทุนได้ว่า ถ้าให้บริการผู้ป่วยนอก ต้นทุนจะอยู่ที่เท่าไหร่ นับรวมไปถึงการส่งเสริมป้องกันก็มีตัวเลขข้อมูลพร้อมทำให้คำนวณงบแต่ละปีได้ ชัดเจน เชื่อมโยงไปอีกว่า แต่ละปีขอเก็บงบเหมาจ่ายรายหัวจากรัฐบาลเท่าไหร่... 2,755 บาท ลองคิดดูว่าเบี้ยเท่านี้ แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับครอบคลุมไปหมดเลย ทำให้ต้องใช้วิธีบริหารจัดการหลายอย่าง ลดต้นทุนบางอย่าง เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีราคาแพงก็ไปต่อรองราคา ยาที่ต้องใช้เยอะและยาก็เป็นต้นทุนทางการแพทย์ที่สำคัญเพราะใช้ปริมาณมาก ก็ใช้วิธีการประมูลรวมบ้าง ต่อรองราคาบ้าง...เราทำมา 3-4 ปี ประหยัดเงินชัดเจนเป็นหมื่นล้านบาท หัวใจสำคัญในการบริหารงาน เพื่อความอยู่รอด และเพื่อการให้บริการสุขภาพที่ดีที่สุดกับประชาชน นาย แพทย์วินัย ย้ำว่า สปสช.เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นมาเพื่อพิทักษ์สิทธิ์ประชาชน เราเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชนที่มีสิทธิบัตรทอง ฉะนั้นวัตถุประสงค์จึงอยู่ที่ประชาชนเป็นหลัก อยากจะให้เพิ่มสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง การเพิ่มสิทธิประโยชน์แต่ละอย่างทำให้เกิดการใช้เงินที่มากน้อยไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง วันนี้พูดคุยกับเครือข่ายคนพิการภาคประชาชนเสนอว่า คนพิการที่หูหนวกตั้งแต่อายุน้อยๆ หากได้รับการฝังประสาทหูเทียมตั้งแต่เล็กๆ จะทำให้การได้ยินกลับมาได้ใกล้เคียงปกติ ปัญหามีว่า...รากปราสาทหู เทียม 1 ชิ้นราคา 8 แสนบาท สปสช.จะบริหารยังไง…สมมติว่า 1 ปีมีคนมาฝังรากประสาทหูเทียม 100 ราย ก็ 80 ล้านบาทเข้าไปแล้ว...ก็ต้องชั่งน้ำหนัก วิธีการสำคัญอยู่ในขั้นปฏิบัติ สปสช.จะส่งความต้องการเหล่านี้ไปให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสืบหาความคุ้ม ค่าทางด้านการลงทุนสาธารณสุข ถ้าหากจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ตรงนี้ไป จะทำให้ประชาชนจำนวนเท่าไหร่ได้รับประโยชน์ จะทำให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ หรือว่า...ถ้าไม่ลงทุน ตรงนี้แล้วเอาเงินงบประมาณที่มีจำกัดไปทุ่มให้กับคนไข้ที่เป็นโรคบางอย่าง คนไข้ที่ต้องผ่าตัดหัวใจ คนไข้ที่ต้องผ่าตัดสมอง คนไข้ที่เป็นโรคไต อะไรจะคุ้มค่ามากกว่ากัน สปสช.ก็ อาศัยช่องทางหน่วยงานราชการที่มีอยู่หลายหน่วยมาช่วยสนับสนุน ศึกษาวิจัย เพื่อที่จะบอกว่า ด้วยเงินที่มีเท่านี้ จะลงทุนกับเรื่องใด...“ประโยชน์เกิดกับประชาชนส่วนใหญ่ แต่ประเทศก็ไม่เกิดภาระ” นี่ คือวันวานและวันนี้ของ สปสช. นอกจากจะทำให้คนไข้ได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มากขึ้น แล้ว รัฐยังใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับอนาคต ตระกูล “ส” จะถูกลดบทบาทลงหรือไม่ มากน้อยอย่างไร...ชวนให้คนไทยทั้งประเทศติดตาม. ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/338928

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...