สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ

แสดงความคิดเห็น

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล

สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ แนะต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่ I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่โรงแรมเดอะสุโกศล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 "การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนของไทย สู่ประชาคมอาเซียน" ซึ่งจะจัดวันที่ 21-22 มี.ค. ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยนพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้เด็กไทยห่างไกลวิชาชีวิตมาก เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน อย่างสิงคโปร์ เวียดนาม พบว่าภาพรวมต้นทุนเด็กไทยอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากเปรียบเทียบภายในประเทศเห็นว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานคร ต้นทุนของเด็กอยู่ในระดับแย่ ส่วนภาคใต้กับภาคอีสาน เด็กมีต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับดี ดังนั้นการแก้ปัญหาเด็กไทยจะต้องได้เรียนรู้โจทย์ชีวิตไปทีละนิด ค่อยๆเติม และค่อยๆ แก้ปัญหา ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักวิชาการและภาคีเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชนในประเทศ รวมถึงกรณีศึกษาตัวอย่างดีๆ เพื่อร่วมกันไขรหัสสู่การเป็นสุดยอดของเด็ก นอกจากนี้เราต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่ I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งการจะทำให้ได้เด็กสุดยอดต้องให้เด็กได้เผชิญปัญหาอุปสรรค และความเครียดที่เหมาะสม หรือต้องให้เขาได้เจอวิชาชีวิต

ด้านผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธุ์ รองผอ.ฝ่ายวิชาการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบันว่า ร่างกายเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะเดียวกันก็มีปัญหาโรคอ้วนถึง 40% ด้านอารมณ์เด็กจำนวนมากเครียดจากการเรียน เป็นโรคซึมเศร้า เรียนแล้วนอนไม่หลับ ด้านสังคม เด็กมีปัญหาติดเกม ใช้เวลากับสื่อเทคโนโลยีมากจนไม่มีเวลาพูดคุยกับพ่อแม่ ยาเสพติดระบาดในสถานศึกษา ด้านสติปัญญา พบว่าเด็กไทย 6.5% บกพร่องด้านสติปัญญา และยังพบว่าเด็กไทยใน 38 จังหวัดมีระดับไอคิวที่น่าเป็นห่วงมาก.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/189891

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 13/03/2556 เวลา 02:58:21 ดูภาพสไลด์โชว์ สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สสส.เผยเด็กไทยต้นทุนชีวิตต่ำ แนะต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่ I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่โรงแรมเดอะสุโกศล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงข่าวการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 "การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนของไทย สู่ประชาคมอาเซียน" ซึ่งจะจัดวันที่ 21-22 มี.ค. ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยนพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้เด็กไทยห่างไกลวิชาชีวิตมาก เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน อย่างสิงคโปร์ เวียดนาม พบว่าภาพรวมต้นทุนเด็กไทยอยู่ในระดับปานกลาง แต่หากเปรียบเทียบภายในประเทศเห็นว่า ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง รวมกรุงเทพมหานคร ต้นทุนของเด็กอยู่ในระดับแย่ ส่วนภาคใต้กับภาคอีสาน เด็กมีต้นทุนชีวิตอยู่ในระดับดี ดังนั้นการแก้ปัญหาเด็กไทยจะต้องได้เรียนรู้โจทย์ชีวิตไปทีละนิด ค่อยๆเติม และค่อยๆ แก้ปัญหา ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นักวิชาการและภาคีเครือข่ายด้านเด็กและเยาวชนในประเทศ รวมถึงกรณีศึกษาตัวอย่างดีๆ เพื่อร่วมกันไขรหัสสู่การเป็นสุดยอดของเด็ก นอกจากนี้เราต้องฉีดวัคซีนทางสังคมให้แก่เด็ก โดยใช้บันได 3 ขั้น ได้แก่ I am รู้จักตัวเอง I have มีเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้ และI can สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งการจะทำให้ได้เด็กสุดยอดต้องให้เด็กได้เผชิญปัญหาอุปสรรค และความเครียดที่เหมาะสม หรือต้องให้เขาได้เจอวิชาชีวิต ด้านผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธุ์ รองผอ.ฝ่ายวิชาการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์เด็กไทยในปัจจุบันว่า ร่างกายเด็กที่มีอายุ 0-5 ปี มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะเดียวกันก็มีปัญหาโรคอ้วนถึง 40% ด้านอารมณ์เด็กจำนวนมากเครียดจากการเรียน เป็นโรคซึมเศร้า เรียนแล้วนอนไม่หลับ ด้านสังคม เด็กมีปัญหาติดเกม ใช้เวลากับสื่อเทคโนโลยีมากจนไม่มีเวลาพูดคุยกับพ่อแม่ ยาเสพติดระบาดในสถานศึกษา ด้านสติปัญญา พบว่าเด็กไทย 6.5% บกพร่องด้านสติปัญญา และยังพบว่าเด็กไทยใน 38 จังหวัดมีระดับไอคิวที่น่าเป็นห่วงมาก. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/189891

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...