ความร่วมมืออาเซียน ด้านคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

ภาพที่1 อาเซียน +6 ของประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ภาพที่2 อาเซียน +3  ของประชาคมอาเซียน : ASEAN Community ประกอบด้วย 3  ประเทศ ดังนี้ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และภาพที่3 โลโก้คนพิการทุกประเภท

อาเซียนมีเป้าหมายที่จะสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นประชาคมที่เอื้ออาทร (Caring Community) โดยครอบคลุมถึงประชาชนทุกคน รวมถึงเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ก่อนหน้านี้เคยกล่าวถึงความร่วมมืออาเซียนด้านสตรีไปแล้ว ในตอนนี้จะกล่าวถึงความร่วมมือด้านคนพิการบ้าง

กลไกหลักของอาเซียนในการดูแลคนพิการ คือ การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม (Senior Officials Meeting on Social Welfare and Development-SOMSWD) โดยที่ประชุมได้จัดทำความตกลงเพื่อคนพิการหลายฉบับ ฉบับที่สำคัญได้แก่ การเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทศวรรษอาเซียนเพื่อคนพิการ (ระหว่าง พ.ศ.2554-2563) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องคนพิการ การตั้งสภาอาเซียนเพื่อคนพิการ (ASEAN Disability Forum) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2554 เพื่อเป็นช่องทางให้คนพิการแสดงความคิดเห็น และปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของคนพิการในประชาคมอาเซียน (Bali Declaration on the Enhancement of the Role and Participation of Persons with Disabilities in the ASEAN Community) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554

ไทยเป็นผู้นำในการดูแลคนพิการในอาเซียน โดยได้ดำเนินการตามกรอบอาเซียนเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการสังคมและการพัฒนา พ.ศ.2554-2558 (ASEAN Strategic Framework for Social Welfare and Development 2011-2015) เช่นการฝึกอบรมเรื่องสิทธิคนพิการ การเสวนาระหว่างภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ-NGOs) เรื่องคนพิการ และการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้เชียวชาญด้านการประกอบธุรกิจเพื่อคนพิการ

นอกจากนี้ ไทยได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องสิทธิของคนพิการกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Workshop on the Rights of Persons with Disabilities and the UN Convention on the Rights of Persons with Disabilities(CRPD" ซึ่งเป็นการอธิบายสิทธิของคนพิการตามที่สหประชาชาติกำหนด และระหว่างการอบรม ผู้เข้าร่วมได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิของคนพิการด้วยการยกร่างเอกสารข้อแนะนำแห่งกรุงเทพฯ (Bangkok Recommendations) และได้แต่งตั้งอาจารย์มณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยอนุสัญญาสิทธิของคนพิการ (Committee on the Rights of Persons with Disabilities-CRPD) นับเป็นผู้แทนคนเดียวจากภูมิภาคอาเซียน

ปีนี้ไทยยังจะมีบทบาทในการสร้างเครือข่ายอาเซียน+3 (อาเซียนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ว่าด้วยการเสริมสร้างพลังคนพิการ ซึ่งจะทำให้นโยบายด้านคนพิการของประเทศในเครือข่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น โดยหน่วยงานของไทยคือสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (National Office for Empowerment of Persons with Disabilities (NEP"

จะเห็นได้ว่าอาเซียนมีพัฒนาการด้านคนพิการเพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าไทยมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการเหล่านี้ คนไทยจึงยิ้มได้อย่างภาคภูมิเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนรวมตัวกันเป็นประชาคมที่ดูแลรักษาประชาชนอย่างสมบูรณ์ : กองลาภ ทินกร ณ อยุธยา กรมสารสนเทศ

มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56

ที่มา: มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 2/03/2556 เวลา 03:48:07 ดูภาพสไลด์โชว์ ความร่วมมืออาเซียน ด้านคนพิการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ภาพที่1 อาเซียน +6 ของประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน ภาพที่2 อาเซียน +3 ของประชาคมอาเซียน : ASEAN Community ประกอบด้วย 3 ประเทศ ดังนี้ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และภาพที่3 โลโก้คนพิการทุกประเภท อาเซียนมีเป้าหมายที่จะสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นประชาคมที่เอื้ออาทร (Caring Community) โดยครอบคลุมถึงประชาชนทุกคน รวมถึงเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ ก่อนหน้านี้เคยกล่าวถึงความร่วมมืออาเซียนด้านสตรีไปแล้ว ในตอนนี้จะกล่าวถึงความร่วมมือด้านคนพิการบ้าง กลไกหลักของอาเซียนในการดูแลคนพิการ คือ การประชุมประจำปีของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสวัสดิการสังคมและการพัฒนาสังคม (Senior Officials Meeting on Social Welfare and Development-SOMSWD) โดยที่ประชุมได้จัดทำความตกลงเพื่อคนพิการหลายฉบับ ฉบับที่สำคัญได้แก่ การเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทศวรรษอาเซียนเพื่อคนพิการ (ระหว่าง พ.ศ.2554-2563) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องคนพิการ การตั้งสภาอาเซียนเพื่อคนพิการ (ASEAN Disability Forum) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2554 เพื่อเป็นช่องทางให้คนพิการแสดงความคิดเห็น และปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของคนพิการในประชาคมอาเซียน (Bali Declaration on the Enhancement of the Role and Participation of Persons with Disabilities in the ASEAN Community) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 ไทยเป็นผู้นำในการดูแลคนพิการในอาเซียน โดยได้ดำเนินการตามกรอบอาเซียนเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการสังคมและการพัฒนา พ.ศ.2554-2558 (ASEAN Strategic Framework for Social Welfare and Development 2011-2015) เช่นการฝึกอบรมเรื่องสิทธิคนพิการ การเสวนาระหว่างภาครัฐและองค์การพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ-NGOs) เรื่องคนพิการ และการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้เชียวชาญด้านการประกอบธุรกิจเพื่อคนพิการ นอกจากนี้ ไทยได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องสิทธิของคนพิการกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Workshop on the Rights of Persons with Disabilities and the UN Convention on the Rights of Persons with Disabilities(CRPD)) ซึ่งเป็นการอธิบายสิทธิของคนพิการตามที่สหประชาชาติกำหนด และระหว่างการอบรม ผู้เข้าร่วมได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิของคนพิการด้วยการยกร่างเอกสารข้อแนะนำแห่งกรุงเทพฯ (Bangkok Recommendations) และได้แต่งตั้งอาจารย์มณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภาและนายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยอนุสัญญาสิทธิของคนพิการ (Committee on the Rights of Persons with Disabilities-CRPD) นับเป็นผู้แทนคนเดียวจากภูมิภาคอาเซียน ปีนี้ไทยยังจะมีบทบาทในการสร้างเครือข่ายอาเซียน+3 (อาเซียนจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ว่าด้วยการเสริมสร้างพลังคนพิการ ซึ่งจะทำให้นโยบายด้านคนพิการของประเทศในเครือข่ายเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น โดยหน่วยงานของไทยคือสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (National Office for Empowerment of Persons with Disabilities (NEP)) จะเห็นได้ว่าอาเซียนมีพัฒนาการด้านคนพิการเพิ่มมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าไทยมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการเหล่านี้ คนไทยจึงยิ้มได้อย่างภาคภูมิเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนรวมตัวกันเป็นประชาคมที่ดูแลรักษาประชาชนอย่างสมบูรณ์ : กองลาภ ทินกร ณ อยุธยา กรมสารสนเทศ มติชนรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...