มก.-ญี่ปุ่นสร้างชุมชนต้นแบบนครปฐมดูแลสุขภาพ-สวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวถึงโครงการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จ.นครปฐม ว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งได้มอบทุน จำนวน 3,498,200 บาท แก่คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ตามที่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและ สวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจ.นครปฐม ด้วยแนวคิดใช้การแพทย์ผสมผสานมาเป็นตัวขับเคลื่อน เน้นการรักษาสุขภาพและโรคต่างๆ ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิตวิถีชาวบ้าน เข้ากับองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตลอดจนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพัฒนา ทำหน้าที่บริหารโครงการฯ กำหนดแนวทางจัดการเรียนและสร้างองค์ความรู้ในแต่ละตำบล โดยร่วมกับสมาคมการแพทย์ผสมผสานไทยและองค์การต่างๆ ในจ.นครปฐม ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ร.พ.สต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุ อสม. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบล คือ ร.พ.สต.ดอนยายหอม อ.เมืองนครปฐม ร.พ.สต.ยายชา อ.สามพราน ร.พ.ห้วยพลู อ.นครชัยศรี ร.พ.สต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน ร.พ.สต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสนร.พ.สต.ห้วยด้วนอ.ดอนตูมและร.พ.สต.คลองโยงอ.พุทธมณฑล
รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและอยู่อย่างมีความสุขใน ภาวะสังคมปัจจุบัน สร้างศักยภาพให้แก่บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในการดูแลเอาใจใส่ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุและอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุประจำตำบล คาดว่าผลที่จะได้รับ ผู้สูงอายุในพื้นที่ 7 ตำบล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้น บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้ในชุมชน มีศูนย์ข้อมูลการดูแลสุขภาพและสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กล่าวถึงโครงการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จ.นครปฐม ว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลญี่ปุ่นซึ่งได้มอบทุน จำนวน 3,498,200 บาท แก่คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ตามที่ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างชุมชนต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพและ สวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจ.นครปฐม ด้วยแนวคิดใช้การแพทย์ผสมผสานมาเป็นตัวขับเคลื่อน เน้นการรักษาสุขภาพและโรคต่างๆ ด้วยการสร้างความเชื่อมโยงกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ภาวะแวดล้อม การใช้ชีวิตวิถีชาวบ้าน เข้ากับองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อทำให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองตลอดจนมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาและพัฒนา ทำหน้าที่บริหารโครงการฯ กำหนดแนวทางจัดการเรียนและสร้างองค์ความรู้ในแต่ละตำบล โดยร่วมกับสมาคมการแพทย์ผสมผสานไทยและองค์การต่างๆ ในจ.นครปฐม ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ร.พ.สต.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชมรมผู้สูงอายุ อสม. เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เป็นรูปธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 7 ตำบล คือ ร.พ.สต.ดอนยายหอม อ.เมืองนครปฐม ร.พ.สต.ยายชา อ.สามพราน ร.พ.ห้วยพลู อ.นครชัยศรี ร.พ.สต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน ร.พ.สต.วังน้ำเขียว อ.กำแพงแสนร.พ.สต.ห้วยด้วนอ.ดอนตูมและร.พ.สต.คลองโยงอ.พุทธมณฑล รอง อธิการบดี มก. กล่าวว่า โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชน ผ่านกระบวนการสร้างองค์ความรู้ ส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและอยู่อย่างมีความสุขใน ภาวะสังคมปัจจุบัน สร้างศักยภาพให้แก่บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในการดูแลเอาใจใส่ ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุและอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุประจำตำบล คาดว่าผลที่จะได้รับ ผู้สูงอายุในพื้นที่ 7 ตำบล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพดีขึ้น บุตรหลานและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้เบื้องต้นในการดูแลผู้สูงอายุ อย่างถูกต้องและเหมาะสม มีกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้ในชุมชน มีศูนย์ข้อมูลการดูแลสุขภาพและสวัสดิการผู้สูงอายุในชุมชน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในชุมชนในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROeVlXb3dNVEU1TURNMU5nPT0=§ionid=TURNek1RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4T1E9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)