นวัตกรรมตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ (ทรู) "แอป" เพื่อสุขภาพและสังคม
เทคโนโลยีมีประโยชน์ถ้ารู้จักนำมาใช้ให้ถูกที่ถูกทาง สิ่งที่มาคู่กับสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลาย ก็คือบรรดา "แอปพลิเคชั่น" ซึ่งมีให้เลือกเพียบ จะฟรีหรือเสียตังค์ก็แล้วแต่ มี "แอป" ดี ๆ ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องฝีมือเราไม่เป็นลองใคร ขาดแค่โอกาส และการสนับสนุน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทรูเปิดตัวแอปพลิเคชั่นน่าสนใจ โดย "ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กร ประชาสัมพันธ์การตลาด และกิจกรรมองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า มองเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการสื่อสารที่จะมีส่วนช่วย พัฒนาการศึกษา และช่วยเหลือสังคมจึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิออทิสติกแห่งประเทศไทย สร้างแอปพลิเคชั่นทางการศึกษาสำหรับเด็กออสทิสติก Autistic Application เน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เสริมสมรรถภาพทางร่างกายและสติปัญญาให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตนเอง และดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
"พิชิต ธันโยดม" หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทเดียวกัน เสริมว่า Autistic Application เป็นแอปแรกในประเทศไทย เริ่มใช้งานจริงเมื่อ ส.ค.ปีที่แล้ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดดาวน์โหลดติดอันดับ 1 ในแอปเพื่อการศึกษาของประเทศแถบตะวันออกกลาง ติด 1 ใน 10 แอปการศึกษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน 25 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากถึง 198,200 ดาวน์โหลด ซึ่งต่อไปบริษัทจะพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อสังคมอื่น ๆ เช่น แอปช่วยคนตาบอด และชาวนา เป็นต้น
"ปรีดิ์ หวังเจริญ" นวัตกร ผู้ร่วมคิดค้น Autistic Application กล่าวว่า เห็นความสำคัญของแท็บแลตในการช่วยพัฒนาทักษะของเด็กออทิสติก ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่มีใครเห็นความสำคัญจึงเริ่มพัฒนาแอป ใช้เวลาศึกษาทดลองกว่า 6 เดือนกับเด็กเกือบ 40 คน เพื่อให้เข้าใจปัญหา และความต้องการของเด็กเหล่านี้โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิออทิสติก และผู้ปกครองเด็ก จนสำเร็จเป็น Autistic Application ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก Daily Tasks สอนกิจวัตรประจำวัน เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ สระผม ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะความมั่นใจ ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการลอกเลียนแบบ ส่วนที่ 2 Trace & Share สอนทักษะการลากเส้น ส่งเสริมให้รู้จักการรอคอยและการแบ่งปัน เพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการและการเข้าสังคม สุดท้าย Communication สอนการสื่อสารและออกเสียงโดยใช้สมุดภาพ สามารถเพิ่มภาพที่ต้องการเข้าไปได้ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสารกับบุคคลอื่น
"เรายัง พัฒนาแอปต่อเนื่องเพื่อให้ใช้งานได้มากขึ้น และพยายามแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 3 ภาษา คือ อังกฤษ จีน อาหรับ และหวังว่าแอปนี้จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านี้ได้"
ด้าน "อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์" ประธานมูลนิธิออทิสติก กล่าวว่า เด็กออทิสติกในประเทศไทยมีมากถึง 370,000 คน แต่มีบัตรคนพิการเพียง 4,000 คน ทำให้เด็กอีกเป็นจำนวนมากขาดความช่วยเหลือในการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เนื่องจากค่าใช้จ่ายมีราคาแพง ขณะที่สื่อทางเลือกอื่นที่มีก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เหมือน Autistic Application ที่ศึกษาจากเด็กจริง ๆ มีการทดลองหลายครั้งกว่าจะประสบผลสำเร็จ โดยเด็กที่ทดลองใช้งานมีพัฒนาการดีขึ้นและสามารถสื่อสารกับของคนรอบข้างได้ ดีกว่าเดิม
"มูลนิธิออทิสติกยังต้องการช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนแท็บเลต แต่แม้การใช้แอปจะมีประโยชน์แต่ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้นานเกินไป ทั้งระหว่างใช้ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำด้วย"
ล่าสุด "ทรูมูฟ เอช" ยังร่วมมือโรงพยาบาลในเครือสมิติเวช และบีเอ็นเอช เปิดตัวแอปพลิชั่น "Samitivej Connect by TrueMove H" และ "BNH Connect by TrueMove H" โดย "แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร"ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช กล่าวว่า วิถีคนเมืองมีภารกิจรัดตัวเร่งรีบท่ามกลางจราจรติดขัด การมาโรงพยาบาลแต่ละครั้งไม่ได้ทำได้ง่าย มิติใหม่ของโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช คือออกไปหาคนไข้ไปดูแลให้เขาอุ่นใจเรื่องสุขภาพ ถือเป็น Innovative Personal Care โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้แนะนำขั้นตอนที่ถูกต้องเช่น ควรมาพบแพทย์ หรือส่ง ambulance ไปรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้คนไข้มั่นใจได้ว่า อยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา
"เราร่วมกับทรูมูฟเอชนำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์มาใช้กับทางการแพทย์ โดยพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลคนไข้ได้ดียิ่ง ขึ้น ผ่านแอปบนมือถือให้คนไข้ติดต่อแพทย์หรือพยาบาลได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะความรวดเร็วในการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยสำคัญมาก เพียงเสี้ยววินาทีอาจหมายถึงชีวิต"
การนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาเชื่อม โยงระบบงานโรงพยาบาลเพื่อการให้บริการแบบไร้ข้อจำกัด แอปล่าสุดถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ เปิดให้บริการมีฟังก์ชั่นดังนี้ ผู้ช่วยส่วนตัว Personalized Health Secretary มีทีมเจ้าหน้าที่รู้ใจตอบทุกคำถามเรื่องสุขภาพ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน, โทร.หาเพื่อนรู้ใจของคุณหรือคนที่คอยดูแลคุณ เช่น สามี ภรรยา หรือ ลูก, เตือนนัดหมายแพทย์ และเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยจะรู้ตำแหน่งของคุณได้ เฟสแรกให้สิทธิพิเศษผู้รับบริการโรงพยาบาลเครือสมิติเวช และบีเอ็นเอช กว่า 5,000 ราย เฟส 2 จะพัฒนาเพื่อดูแลกลุ่มคนไข้เฉพาะโรคที่ต้องเข้าถึงข้อมูล และการดูแลใกล้ชิด ได้แก่ โรคไต เบาหวาน และหัวใจ เป็นต้น
ขอบคุณ … http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366002642&grpid=&catid=06&subcatid=0603
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผู้บริหารกลุ่มบริษัท ทรูแสดงแอพพริเคชั่นบนสมาทร์โฟน เทคโนโลยีมีประโยชน์ถ้ารู้จักนำมาใช้ให้ถูกที่ถูกทาง สิ่งที่มาคู่กับสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลาย ก็คือบรรดา "แอปพลิเคชั่น" ซึ่งมีให้เลือกเพียบ จะฟรีหรือเสียตังค์ก็แล้วแต่ มี "แอป" ดี ๆ ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทยให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องฝีมือเราไม่เป็นลองใคร ขาดแค่โอกาส และการสนับสนุน เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มทรูเปิดตัวแอปพลิเคชั่นน่าสนใจ โดย "ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารองค์กร ประชาสัมพันธ์การตลาด และกิจกรรมองค์กร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า มองเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการสื่อสารที่จะมีส่วนช่วย พัฒนาการศึกษา และช่วยเหลือสังคมจึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิออทิสติกแห่งประเทศไทย สร้างแอปพลิเคชั่นทางการศึกษาสำหรับเด็กออสทิสติก Autistic Application เน้นพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เสริมสมรรถภาพทางร่างกายและสติปัญญาให้เด็กกลุ่มนี้พัฒนาตนเอง และดำรงชีวิตได้อย่างปกติ "พิชิต ธันโยดม" หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทเดียวกัน เสริมว่า Autistic Application เป็นแอปแรกในประเทศไทย เริ่มใช้งานจริงเมื่อ ส.ค.ปีที่แล้ว และประสบความสำเร็จอย่างสูง มียอดดาวน์โหลดติดอันดับ 1 ในแอปเพื่อการศึกษาของประเทศแถบตะวันออกกลาง ติด 1 ใน 10 แอปการศึกษาที่ได้รับความนิยมสูงสุดใน 25 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดมากถึง 198,200 ดาวน์โหลด ซึ่งต่อไปบริษัทจะพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อสังคมอื่น ๆ เช่น แอปช่วยคนตาบอด และชาวนา เป็นต้น "ปรีดิ์ หวังเจริญ" นวัตกร ผู้ร่วมคิดค้น Autistic Application กล่าวว่า เห็นความสำคัญของแท็บแลตในการช่วยพัฒนาทักษะของเด็กออทิสติก ซึ่งในประเทศไทย ยังไม่มีใครเห็นความสำคัญจึงเริ่มพัฒนาแอป ใช้เวลาศึกษาทดลองกว่า 6 เดือนกับเด็กเกือบ 40 คน เพื่อให้เข้าใจปัญหา และความต้องการของเด็กเหล่านี้โดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิออทิสติก และผู้ปกครองเด็ก จนสำเร็จเป็น Autistic Application ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรก Daily Tasks สอนกิจวัตรประจำวัน เช่น การแปรงฟัน อาบน้ำ สระผม ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะความมั่นใจ ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก และการลอกเลียนแบบ ส่วนที่ 2 Trace & Share สอนทักษะการลากเส้น ส่งเสริมให้รู้จักการรอคอยและการแบ่งปัน เพื่อช่วยในการพัฒนาทักษะด้านวิชาการและการเข้าสังคม สุดท้าย Communication สอนการสื่อสารและออกเสียงโดยใช้สมุดภาพ สามารถเพิ่มภาพที่ต้องการเข้าไปได้ช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะด้านภาษาและการสื่อสารกับบุคคลอื่น "เรายัง พัฒนาแอปต่อเนื่องเพื่อให้ใช้งานได้มากขึ้น และพยายามแปลเป็นภาษาต่างประเทศกว่า 3 ภาษา คือ อังกฤษ จีน อาหรับ และหวังว่าแอปนี้จะเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านี้ได้" ด้าน "อ.ชูศักดิ์ จันทยานนท์" ประธานมูลนิธิออทิสติก กล่าวว่า เด็กออทิสติกในประเทศไทยมีมากถึง 370,000 คน แต่มีบัตรคนพิการเพียง 4,000 คน ทำให้เด็กอีกเป็นจำนวนมากขาดความช่วยเหลือในการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพ เนื่องจากค่าใช้จ่ายมีราคาแพง ขณะที่สื่อทางเลือกอื่นที่มีก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้เหมือน Autistic Application ที่ศึกษาจากเด็กจริง ๆ มีการทดลองหลายครั้งกว่าจะประสบผลสำเร็จ โดยเด็กที่ทดลองใช้งานมีพัฒนาการดีขึ้นและสามารถสื่อสารกับของคนรอบข้างได้ ดีกว่าเดิม "มูลนิธิออทิสติกยังต้องการช่วยเหลือเด็กที่ขาดแคลนแท็บเลต แต่แม้การใช้แอปจะมีประโยชน์แต่ผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้นานเกินไป ทั้งระหว่างใช้ควรมีผู้ใหญ่ให้คำแนะนำด้วย" ล่าสุด "ทรูมูฟ เอช" ยังร่วมมือโรงพยาบาลในเครือสมิติเวช และบีเอ็นเอช เปิดตัวแอปพลิชั่น "Samitivej Connect by TrueMove H" และ "BNH Connect by TrueMove H" โดย "แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร"ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช กล่าวว่า วิถีคนเมืองมีภารกิจรัดตัวเร่งรีบท่ามกลางจราจรติดขัด การมาโรงพยาบาลแต่ละครั้งไม่ได้ทำได้ง่าย มิติใหม่ของโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช คือออกไปหาคนไข้ไปดูแลให้เขาอุ่นใจเรื่องสุขภาพ ถือเป็น Innovative Personal Care โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้แนะนำขั้นตอนที่ถูกต้องเช่น ควรมาพบแพทย์ หรือส่ง ambulance ไปรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทำให้คนไข้มั่นใจได้ว่า อยู่ในการดูแลของผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา "เราร่วมกับทรูมูฟเอชนำการส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์มาใช้กับทางการแพทย์ โดยพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลคนไข้ได้ดียิ่ง ขึ้น ผ่านแอปบนมือถือให้คนไข้ติดต่อแพทย์หรือพยาบาลได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะความรวดเร็วในการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยสำคัญมาก เพียงเสี้ยววินาทีอาจหมายถึงชีวิต" การนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาเชื่อม โยงระบบงานโรงพยาบาลเพื่อการให้บริการแบบไร้ข้อจำกัด แอปล่าสุดถือเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ เปิดให้บริการมีฟังก์ชั่นดังนี้ ผู้ช่วยส่วนตัว Personalized Health Secretary มีทีมเจ้าหน้าที่รู้ใจตอบทุกคำถามเรื่องสุขภาพ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน, โทร.หาเพื่อนรู้ใจของคุณหรือคนที่คอยดูแลคุณ เช่น สามี ภรรยา หรือ ลูก, เตือนนัดหมายแพทย์ และเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน โดยจะรู้ตำแหน่งของคุณได้ เฟสแรกให้สิทธิพิเศษผู้รับบริการโรงพยาบาลเครือสมิติเวช และบีเอ็นเอช กว่า 5,000 ราย เฟส 2 จะพัฒนาเพื่อดูแลกลุ่มคนไข้เฉพาะโรคที่ต้องเข้าถึงข้อมูล และการดูแลใกล้ชิด ได้แก่ โรคไต เบาหวาน และหัวใจ เป็นต้น ขอบคุณ … http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366002642&grpid=&catid=06&subcatid=0603
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)