รพ.ศรีธัญญาพบคนไทยพิการทางจิตกว่า1แสนคน
เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 “สร้างโอกาสและความหวังเสริมพลังคนพิการ” ว่า ทุกวันที่ 3 ธ.ค.ของทุกปี เป็นวันคนพิการสากลโดยความพิการมี 2 ส่วน คือความพิการทางด้านร่างกาย และความพิการทางด้านจิตใจ ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าในภูมิภาคเอเชียและเอเชียแปซิฟิก มีผู้ป่วยจิตเวชมากที่สุดซึ่งเกิดจากความยากจน อุบัติภัย และภัยธรรมชาติ สำหรับประเทศไทยมีผู้พิการจำนวน 1,675,753 คน เป็นเพศชาย 899,974 คน เพศหญิง 775,779 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นพิการทางร่างกาย หรือประมาณ 819,809 คน คิดเป็นร้อยละ 48.92 ส่วนผู้พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม มี 114,788 คน หรือร้อยละ 6.84 ผู้พิการทางสติปัญญา 114,237 คน หรือร้อยละ 6.81 ผู้พิการทางการเรียนรู้ 6,531 คนหรือร้อยละ 0.38 และออทิสติก 7,538 คน หรือร้อยละ 0.44
นพ.ศิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตรวมทั้งโรงพยาบาลศรีธัญญา ดูแลผู้พิการ 4 กลุ่ม คือ 1. ผู้พิการทางจิตใจและพฤติกรรม 2. ผู้พิการทางสติปัญญา 3. ผู้พิการทางการเรียนรู้ และ 4. กลุ่มออทิสติก ซึ่งการดูแลนั้นนอกจากจะบำบัดรักษา การฟื้นฟูด้วยยาแล้ว ยังเน้นกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพให้อยู่ได้ในสังคม นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิกจิตวิทยาในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆเพื่อบริการผู้พิการกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญการดูแลผู้พิการทางจิตใจและพฤติกรรมนั้นจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อให้อยู่ในสังคมไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเพื่อยืนยันว่าผู้พิการมีศักยภาพไม่แพ้คนทั่วไปเห็นได้จากการแข่งขันนานาประเทศ ผู้พิการไทยแข่งขันจนชนะได้
ด้าน พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสร้างงานสร้างอาชีพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยที่ผ่านมาระหว่างปี 2556-2558 มีผู้พิการที่เข้าร่วมในโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกทักษะอาชีพจำนวน 169 คน มี 43 คน ได้รับโอกาสในการทำงานกับบริษัทห้างร้านต่างๆ โดยขั้นตอนนั้นจะมีการคัดเลือกผู้พิการที่มีอาการดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้ แต่ยังต้องรับประทานยาต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกจะต้องผ่านการประเมินก่อนจะเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งแต่ละคนจะมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไป จากนั้นจึงประสานกับสังคมสงเคราะห์เพื่อหางานให้ ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะติดต่อมาที่โรงพยาบาลเองเพื่อขอจ้างงานกลุ่มคนกลุ่มนี้ บางคนไม่สามารถทำงานได้ตลอด 5 วัน แต่อาจทำได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเจ้าของกิจการเข้าใจและให้โอกาสในการทำให้คุณภาพชีวิตพวกเขาดีขึ้น.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/364789 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โรงพยาบาลศรีธัญญา นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 “สร้างโอกาสและความหวังเสริมพลังคนพิการ” เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดงานมหกรรมวันคนพิการสากลปี 2558 “สร้างโอกาสและความหวังเสริมพลังคนพิการ” ว่า ทุกวันที่ 3 ธ.ค.ของทุกปี เป็นวันคนพิการสากลโดยความพิการมี 2 ส่วน คือความพิการทางด้านร่างกาย และความพิการทางด้านจิตใจ ทั้งนี้ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าในภูมิภาคเอเชียและเอเชียแปซิฟิก มีผู้ป่วยจิตเวชมากที่สุดซึ่งเกิดจากความยากจน อุบัติภัย และภัยธรรมชาติ สำหรับประเทศไทยมีผู้พิการจำนวน 1,675,753 คน เป็นเพศชาย 899,974 คน เพศหญิง 775,779 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นพิการทางร่างกาย หรือประมาณ 819,809 คน คิดเป็นร้อยละ 48.92 ส่วนผู้พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม มี 114,788 คน หรือร้อยละ 6.84 ผู้พิการทางสติปัญญา 114,237 คน หรือร้อยละ 6.81 ผู้พิการทางการเรียนรู้ 6,531 คนหรือร้อยละ 0.38 และออทิสติก 7,538 คน หรือร้อยละ 0.44 นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศิริศักดิ์ กล่าวอีกว่า โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตรวมทั้งโรงพยาบาลศรีธัญญา ดูแลผู้พิการ 4 กลุ่ม คือ 1. ผู้พิการทางจิตใจและพฤติกรรม 2. ผู้พิการทางสติปัญญา 3. ผู้พิการทางการเรียนรู้ และ 4. กลุ่มออทิสติก ซึ่งการดูแลนั้นนอกจากจะบำบัดรักษา การฟื้นฟูด้วยยาแล้ว ยังเน้นกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพให้อยู่ได้ในสังคม นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคลินิกจิตวิทยาในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆเพื่อบริการผู้พิการกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญการดูแลผู้พิการทางจิตใจและพฤติกรรมนั้นจะต้องทำให้พวกเขารู้สึกมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อให้อยู่ในสังคมไม่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเพื่อยืนยันว่าผู้พิการมีศักยภาพไม่แพ้คนทั่วไปเห็นได้จากการแข่งขันนานาประเทศ ผู้พิการไทยแข่งขันจนชนะได้ ด้าน พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสร้างงานสร้างอาชีพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยที่ผ่านมาระหว่างปี 2556-2558 มีผู้พิการที่เข้าร่วมในโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกทักษะอาชีพจำนวน 169 คน มี 43 คน ได้รับโอกาสในการทำงานกับบริษัทห้างร้านต่างๆ โดยขั้นตอนนั้นจะมีการคัดเลือกผู้พิการที่มีอาการดีขึ้นสามารถอยู่ในสังคมได้ แต่ยังต้องรับประทานยาต่อเนื่อง โดยเริ่มแรกจะต้องผ่านการประเมินก่อนจะเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งแต่ละคนจะมีความเหมาะสมในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกันไป จากนั้นจึงประสานกับสังคมสงเคราะห์เพื่อหางานให้ ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการจะติดต่อมาที่โรงพยาบาลเองเพื่อขอจ้างงานกลุ่มคนกลุ่มนี้ บางคนไม่สามารถทำงานได้ตลอด 5 วัน แต่อาจทำได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเจ้าของกิจการเข้าใจและให้โอกาสในการทำให้คุณภาพชีวิตพวกเขาดีขึ้น. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/364789
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)