พิการแล้วไง !!เรียนอาชีพได้จบแถมมีงานทำ

แสดงความคิดเห็น

นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ยุคการศึกษาเพื่อการมีงานทำ อาชีวะตอบโจทย์ผู้เรียนเพราะจบแล้วทำงานได้ เลี้ยงดูตัวเองไม่เป็นภาระให้ครอบครัว ปีการศึกษา 2557 วก.พุทธมณฑล เริ่มรับนักศึกษาที่เป็นผู้พิการทางร่างกายเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติทุกอย่างปัจจุบันวิทยาลัยมีนักศึกษาผู้พิการ 20% ของนักศึกษาทั้งหมด หรือประมาณ 60 คนเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีประมาณ 8 คนเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เหลือเรียน

นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

โดยปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรกที่รับนักศึกษาที่เป็นออทิสติก 1 คนเข้าเรียน ปวช.และอีก 1 คนมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี เรียนระดับปวส. พรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (วก.) พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กล่าวว่า นักศึกษาผู้พิการส่วนใหญ่ 98% บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งธรรมชาติของกลุ่มนี้จะสื่อสารในวงแคบ แต่จะถนัดใช้โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ช่วงแรกจึงรับเข้าเรียนแค่สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ต่อมาเริ่มปรับรูปแบบจัดการศึกษาทวิภาคี เด็กพิการก็ต้องไปฝึกปฏิบัติงานจริงที่สถานประกอบการเหมือนเด็กปกติ ก็พบว่าเขาทำได้มากกว่าเรียนทฤษฎีและสามารถทำงานในส่วนอื่นๆ ได้ ก็ขยายเปิดสาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาธุรกิจค้าปลีก เพิ่มเติมทำมาต่อเนื่อง 3 รุ่นได้รับการตอบรับดี สถานประกอบการก็พอใจชื่นชมว่าเด็กมีความรับผิดชอบสูง

ล่าสุดปีการศึกษา 2560 เปิดสาขาโรงแรม เน้นงานแม่บ้าน ปูเตียง เป็นต้น เวลานี้ก็มีโรงแรมในเครือมาริออท สนใจจะมาร่วมจัดการศึกษาทวิภาคีอยู่ระหว่างคุยรายละเอียด “วิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม เด็กพิการและเด็กปกติมาเรียนด้วยกัน ลงมือปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนจะจัดให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับเด็กพิการ และวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือ ทั้งจัดครูล่ามภาษามือประจำห้องเรียน ปัจจุบันมี 5 คนซึ่งครูเหล่านี้จะลงไปติดตามเมื่อเด็กไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีผู้ช่วยครู ซึ่งเป็นคนพิการที่จบวิชาชีพมาช่วยพูดคุยแนะนำ สำคัญที่สุดคือการสอนทักษะชีวิต เพราะผู้พิการมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะพิการหูหนวก จะมีปัญหาการจัดการชีวิต การอยู่ร่วมกับคนอื่น เราก็จัดค่ายทักษะชีวิต ให้เด็กปกติและเด็กหูหนวกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กปกติและเด็กพิการก็ปรับตัวอยู่ร่วมกัน สร้างสัมพันธ์อันดีมองข้ามความพิการแต่มองว่านี่คือ เพื่อน คอยช่วยเหลือกันและกัน” พรอนันต์ กล่าว

ปัจจุบันกฎหมายแรงงานกำหนดให้สถานประกอบที่มีพนักงาน 100 คนต้องจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการ 1 คนซึ่งเวลานี้หลายสถานประกอบการมีความต้องการพนักงานที่มีความพิการอย่างมาก แต่หน่วยงานองค์กรที่เตรียมความพร้อมคนพิการ ยังมีน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดผลักดันสำคัญที่จะอาชีวะในฐานะหน่วยผลิตสามารถสร้างแรงงานผู้พิการที่มีศักยภาพได้

วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)บอกว่า แม้หลายวิทยาลัยจะไม่ได้ประกาศเปิดรับนักศึกษาผู้พิการเป็นทางการ แต่ช่วง 2-3 ปีมามีนักเรียนพิการมาเรียนมากขึ้นส่วนใหญ่พิการทางร่างกาย เช่น หูหนวก พิการแขน ขา โปลิโอ เป็นต้น ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศ และจากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อวันที่31มี.ค.2560 พบว่า มีคนพิการขึ้นทะเบียน จำนวน 1,756,849 คน และที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง คาดการณ์ว่าจำนวนมีผู้พิการน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน

นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)

จากสถานการณ์ตรงนี้ได้สอศ.เห็นว่าต้องกำหนดทิศทางการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม และเท่าที่ได้ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาคนพิการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาพบว่าจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รูปแบบเดียวกับที่วิทยาลัยต่างๆทำอยู่ก็พบว่ามาถูกทางแต่ สอศ.จะไม่มองภาพแค่จัดการศึกษาให้ผู้พิการในระบบเท่านั้น แต่จะมองไกลถึงการจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้พิการ ที่มีข้อจำกัดใช้เวลาเรียนไม่มาก แต่จบแล้วนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น ซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งมีวิทยาลัยสารพัดช่างเป็นแกนหลัก

วณิชย์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ส่วนการจัดการศึกษาในระบบปกติ เน้นสร้างความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน วางระบบต่อท่อรับผู้พิการที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น จบโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าสู่การเรียนสายอาชีพ และเชื่อมต่อไปสู่สถานประกอบการให้รับคนพิการเข้าไปทำงาน "สอศ.จะคัดเลือกวิทยาลัยต้นแบบ 10 แห่งจัดการศึกษาคนพิการ จัดทำหลักสูตรยืดหยุ่น จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม และในเดือนสิงหาคมนี้จะคัดเลือกครูจากวิทยาลัยต้นแบบให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท ที่วิทยาลัยราชสุดา 30 ทุนในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้สนับสนุนงบประมาณ 14 ล้านบาทในการจัดทำหลักสูตรนี้ รวมถึงจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้ครูประมาณ 120 คน และเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการยั่งยืนและต่อเนื่องจะมีการจัดตั้งหน่วยงานภายในขึ้นมาดูแลด้วย” รองเลขาธิการ กอศ.บอกถึงแผนงาน การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้คนพิการ ไม่เพียงมีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพได้มากขึ้นเท่านั้น ยังสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มให้มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งกำลังแรงงานที่ช่วยสร้างประเทศชาติ.

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/285681

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 มิ.ย.60
วันที่โพสต์: 3/07/2560 เวลา 10:55:15 ดูภาพสไลด์โชว์ พิการแล้วไง !!เรียนอาชีพได้จบแถมมีงานทำ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ยุคการศึกษาเพื่อการมีงานทำ อาชีวะตอบโจทย์ผู้เรียนเพราะจบแล้วทำงานได้ เลี้ยงดูตัวเองไม่เป็นภาระให้ครอบครัว ปีการศึกษา 2557 วก.พุทธมณฑล เริ่มรับนักศึกษาที่เป็นผู้พิการทางร่างกายเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติทุกอย่างปัจจุบันวิทยาลัยมีนักศึกษาผู้พิการ 20% ของนักศึกษาทั้งหมด หรือประมาณ 60 คนเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีประมาณ 8 คนเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เหลือเรียน นักเรียนคนพิการ ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยปีการศึกษา 2560 เป็นปีแรกที่รับนักศึกษาที่เป็นออทิสติก 1 คนเข้าเรียน ปวช.และอีก 1 คนมีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี เรียนระดับปวส. พรอนันต์ ภักดีบุญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพ (วก.) พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม กล่าวว่า นักศึกษาผู้พิการส่วนใหญ่ 98% บกพร่องทางการได้ยิน ซึ่งธรรมชาติของกลุ่มนี้จะสื่อสารในวงแคบ แต่จะถนัดใช้โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ช่วงแรกจึงรับเข้าเรียนแค่สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ต่อมาเริ่มปรับรูปแบบจัดการศึกษาทวิภาคี เด็กพิการก็ต้องไปฝึกปฏิบัติงานจริงที่สถานประกอบการเหมือนเด็กปกติ ก็พบว่าเขาทำได้มากกว่าเรียนทฤษฎีและสามารถทำงานในส่วนอื่นๆ ได้ ก็ขยายเปิดสาขาไฟฟ้ากำลัง สาขาธุรกิจค้าปลีก เพิ่มเติมทำมาต่อเนื่อง 3 รุ่นได้รับการตอบรับดี สถานประกอบการก็พอใจชื่นชมว่าเด็กมีความรับผิดชอบสูง ล่าสุดปีการศึกษา 2560 เปิดสาขาโรงแรม เน้นงานแม่บ้าน ปูเตียง เป็นต้น เวลานี้ก็มีโรงแรมในเครือมาริออท สนใจจะมาร่วมจัดการศึกษาทวิภาคีอยู่ระหว่างคุยรายละเอียด “วิทยาลัยจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม เด็กพิการและเด็กปกติมาเรียนด้วยกัน ลงมือปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนจะจัดให้มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับเด็กพิการ และวิทยาลัยมีระบบช่วยเหลือ ทั้งจัดครูล่ามภาษามือประจำห้องเรียน ปัจจุบันมี 5 คนซึ่งครูเหล่านี้จะลงไปติดตามเมื่อเด็กไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ มีผู้ช่วยครู ซึ่งเป็นคนพิการที่จบวิชาชีพมาช่วยพูดคุยแนะนำ สำคัญที่สุดคือการสอนทักษะชีวิต เพราะผู้พิการมีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยเฉพาะพิการหูหนวก จะมีปัญหาการจัดการชีวิต การอยู่ร่วมกับคนอื่น เราก็จัดค่ายทักษะชีวิต ให้เด็กปกติและเด็กหูหนวกมาทำกิจกรรมร่วมกัน เด็กปกติและเด็กพิการก็ปรับตัวอยู่ร่วมกัน สร้างสัมพันธ์อันดีมองข้ามความพิการแต่มองว่านี่คือ เพื่อน คอยช่วยเหลือกันและกัน” พรอนันต์ กล่าว ปัจจุบันกฎหมายแรงงานกำหนดให้สถานประกอบที่มีพนักงาน 100 คนต้องจ้างพนักงานที่เป็นผู้พิการ 1 คนซึ่งเวลานี้หลายสถานประกอบการมีความต้องการพนักงานที่มีความพิการอย่างมาก แต่หน่วยงานองค์กรที่เตรียมความพร้อมคนพิการ ยังมีน้อย ซึ่งตรงนี้เป็นจุดผลักดันสำคัญที่จะอาชีวะในฐานะหน่วยผลิตสามารถสร้างแรงงานผู้พิการที่มีศักยภาพได้ วณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.)บอกว่า แม้หลายวิทยาลัยจะไม่ได้ประกาศเปิดรับนักศึกษาผู้พิการเป็นทางการ แต่ช่วง 2-3 ปีมามีนักเรียนพิการมาเรียนมากขึ้นส่วนใหญ่พิการทางร่างกาย เช่น หูหนวก พิการแขน ขา โปลิโอ เป็นต้น ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศ และจากข้อมูลกรมส่งเสริมและพัฒนาคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เมื่อวันที่31มี.ค.2560 พบว่า มีคนพิการขึ้นทะเบียน จำนวน 1,756,849 คน และที่ยังไม่มาขึ้นทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง คาดการณ์ว่าจำนวนมีผู้พิการน่าจะมีประมาณ 2 ล้านคน นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) จากสถานการณ์ตรงนี้ได้สอศ.เห็นว่าต้องกำหนดทิศทางการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการอย่างเป็นรูปธรรม และเท่าที่ได้ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาคนพิการในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาพบว่าจัดการศึกษาแบบเรียนรวม รูปแบบเดียวกับที่วิทยาลัยต่างๆทำอยู่ก็พบว่ามาถูกทางแต่ สอศ.จะไม่มองภาพแค่จัดการศึกษาให้ผู้พิการในระบบเท่านั้น แต่จะมองไกลถึงการจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้พิการ ที่มีข้อจำกัดใช้เวลาเรียนไม่มาก แต่จบแล้วนำไปประกอบอาชีพได้ เช่น ซ่อมโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งมีวิทยาลัยสารพัดช่างเป็นแกนหลัก วณิชย์ กล่าวด้วยว่า ขณะที่ ส่วนการจัดการศึกษาในระบบปกติ เน้นสร้างความร่วมมือกันทุกหน่วยงาน วางระบบต่อท่อรับผู้พิการที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เช่น จบโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าสู่การเรียนสายอาชีพ และเชื่อมต่อไปสู่สถานประกอบการให้รับคนพิการเข้าไปทำงาน "สอศ.จะคัดเลือกวิทยาลัยต้นแบบ 10 แห่งจัดการศึกษาคนพิการ จัดทำหลักสูตรยืดหยุ่น จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม และในเดือนสิงหาคมนี้จะคัดเลือกครูจากวิทยาลัยต้นแบบให้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโท ที่วิทยาลัยราชสุดา 30 ทุนในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ซึ่งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้สนับสนุนงบประมาณ 14 ล้านบาทในการจัดทำหลักสูตรนี้ รวมถึงจะเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นให้ครูประมาณ 120 คน และเพื่อให้การจัดการอาชีวศึกษาเพื่อคนพิการยั่งยืนและต่อเนื่องจะมีการจัดตั้งหน่วยงานภายในขึ้นมาดูแลด้วย” รองเลขาธิการ กอศ.บอกถึงแผนงาน การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาให้คนพิการ ไม่เพียงมีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้เรียนสายอาชีพได้มากขึ้นเท่านั้น ยังสนองยุทธศาสตร์ชาติ ในด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มศักยภาพของคนทุกกลุ่มให้มีคุณภาพ เป็นอีกหนึ่งกำลังแรงงานที่ช่วยสร้างประเทศชาติ. ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/285681

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...