จากก้นบึ้งหัวใจ 'ครูสอนเด็กพิเศษ' ไม่มีหรอกลูกศิษย์ฉัน เป็น 'นายกฯ'

แสดงความคิดเห็น

คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี และคุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง ครูสอนเด็กพิเศษ

ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์ฉันเป็นนายกฯ ตำรวจ หมอ เวลาไม่สบายไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันจะไปโรงพยาบาลนั้นเพราะลูกศิษย์ฉันอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด...

ครู คือ ผู้สั่งสอนศิษย์ เป็นผู้ที่ถ่ายสอนศิลปศาสตร์วิชาให้แก่ศิษย์ เปรียบเสมือนแม่และพ่อคนที่สอง ที่คอยดูแล อบรม สั่งสอน รวมไปถึงอยากเห็นเราประสบความสำเร็จไม่ต่างจากพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา ดังส่วนเริ่มต้นในบทไหว้ครู ที่กล่าวว่า “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” ซึ่งแปลว่า ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีคุณยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ที่เหล่านักเรียนจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เมื่อถึงวันไหว้ครู

ในโอกาสวันครู ประจำปี 2559 ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ 2 คุณครูผู้เสียสละ ผู้ที่มีหัวใจแกร่ง เปี่ยมไปด้วยกุศลมากมาย จากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีแผนกการศึกษาพิเศษ จัดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลออทิสติก รวมไปถึงบกพร่องทางการได้ยิน นั้นคือ คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี ครูสอนเด็กพิเศษ ที่เล่าถึงประสบการณ์ในหน้าที่ครูกว่า 23 ปี ว่า

คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี

"เริ่มแรก คือ ตอนวัยรุ่น ครูได้ยินหลายคน พูดถึงเด็กพิเศษว่า เป็นคนบ้า เลยเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมต้องพูดถึงเด็กกลุ่มนี้แบบนั้น? เขาเป็นแบบนั้นจริงๆ หรอ? จึงตัดสินใจเลือกศึกษาในแผนการศึกษาพิเศษ ในตอนนั้นถือว่าเป็นสาขาที่ใหม่มาก และรู้สึกไม่ต้องแข่งขันกับใคร พอเรียนจบมีโอกาสมาสอนนักเรียนอย่างจริงจัง จึงอยากเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจของหลายๆ คน ว่า เราควรช่วยเด็กกลุ่มนี้ ไม่ใช่ใช้คำพูดว่าเขา"

ตั้งแต่มาเป็นครูสอนเด็กพิเศษเคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานอย่างไรบ้าง? ครูนี กล่าวว่า"เมื่อมาทำงานจึงทราบเลยว่า ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ตัวเรา หากมีความตั้งใจและจริงใจ แทบจะขจัดปัญหาที่เข้ามา แม้บางครั้งผู้ปกครองอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอน แต่ครูไม่ได้มองว่านั่นเป็นปัญหา กลับมองว่า เราควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ควรทำให้พวกเขาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียน เพื่อปรับทัศนคติที่มีต่อเด็ก รวมถึงคนรอบข้าง ทำให้รู้ว่าเด็กพิเศษสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ อย่ามองว่าเขาเป็นเด็กพิเศษ ที่ไม่มีหัวใจ ไม่มีจิตใจ แท้จริงแล้ว เด็กเหล่านี้ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้าง"

ถ้าพูดถึงเรื่อง ความประทับใจ ตั้งแต่สอนเด็กพิเศษมา ก็น่าจะเป็นการที่เขาจำเราได้ ครั้งหนึ่งครูเคยไปราชานุกูล พอลงจากรถปรากฏว่า มีเด็กคนหนึ่งวิ่งมากอดแน่นมาก แล้วบอกว่า "ครูนี คิดถึงจังเลย" พอเราได้ยินก็รู้สึกดีนะ รู้สึกหายเหนื่อย เพราะอย่างน้อยเด็กก็ยังจำเราได้ ส่วนอีกคนที่ได้ยินข่าวมา เขาไปเป็นพนักงานพับผ้าที่โรงงาน คอยพับผ้าแล้วนำใสแพ็กใส่ห่อ ก็ได้รับคำชมจากผู้จ้างว่า เขาเป็นเด็กพิเศษก็จริง แต่สามารถทำงานได้ดีกว่าคนปกติ ตรงที่เขาเป็นคนตรงต่อเวลา ทำงานก็คือทำงาน ไม่มีแอบอู้ นี่ก็ทำให้เรารู้ว่า ลูกศิษย์ของเราสามารถพัฒนาได้จริงๆ สิ่งที่ครูพูดหรือสอนไม่ได้เสียเปล่า

ในฐานะที่เป็นครูสอนเด็กพิเศษ อยากให้สังคมรู้ว่า เด็กพิเศษสามารถพัฒนาได้ ฉะนั้นอย่าปล่อยหรือทิ้งเขา แม้ว่าพวกเขาจะพัฒนาและเรียนรู้ไม่เท่าเด็กปกติ แต่พวกเขาก็ยังต้องการความช่วยเหลือ และต้องได้รับการพัฒนา ครูอยากให้มองเขาเป็นส่วนหนึ่ง อย่าคิดว่าเขาต่างจากคนทั่วไป เปิดโอกาสให้เขามีที่ยืนร่วมกับคนอื่นๆ เช่นกัน

ด้านคุณครูอีกท่านหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้เริ่มต้นสอนเด็กพิเศษมาก่อน แต่ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ทำให้คุณครูท่านนี้หันมาดูแลและสอนเด็กพิเศษอย่างจริงจังมากว่า 20 ปี เช่นกัน นั้นคือคุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง "ก่อนหน้านี้ครูสอนนักเรียนปกติ แต่ที่ตัดสินใจมาสอนเด็กห้องพิเศษ เพราะเห็นว่าเขาอ่อน พอมาเป็นครูสอนเด็กห้องพิเศษ ต้องปรับตัวเยอะนะ เรียกว่าต้องปรับกันทุกๆ ปี เพราะครูเป็นคนใจร้อน ฉะนั้นไม้เรียวต้องวางห่างๆ มือ กลัวว่าจะคว้ามาตีเด็ก ต่อมาก็ไปอบรมใบประกาศนียบัตร 200 ชม. เพื่อมาเป็นครูสอนเด็กพิเศษ จากนั้นก็สอนมาตลอด"

คุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง ครูสอนเด็กพิเศษ

สิ่งประทับใจในการสอนเด็กพิเศษ? ครูแดง เล่าว่า "มีนักเรียนคนหนึ่ง เขาจบไปนานแล้ว ตอนเรียนเขาชอบร้องเพลงมาก โดยเฉพาะเพลงคู่ เขามักจะมาชวนครูร้องด้วยกัน มีครั้งหนึ่งครูแดงแกล้งร้องผิด เขาก็บอกว่า ไม่! ไม่ใช่! ต้องร้องแบบนี้ต่างหาก แล้วเขาเป็นคนพูดไม่ชัด สำหรับครูมันเลยมองว่า เป็นภาพที่น่ารัก"

"สำหรับวันครูปีนี้ ครูแดงอยากให้สังคมภายนอกเข้าใจเด็กพิเศษ อย่าเพิ่งไปตัดสินพวกเขาที่ภายนอก กว่าที่ครูจะทราบว่า เขาชอบอะไรหรือเป็นคนแบบไหนก็ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นอยากให้ใช้เวลาในการมองพวกเขา ในฐานะที่เป็นครูสอนเด็กพิเศษ ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์ฉันเป็นนายกฯ ตำรวจ หมอ เวลาไม่สบายไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันจะไปโรงพยาบาลนั้นเพราะลูกศิษย์ฉันอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด อยากให้ครูสู้ต่อไป พวกท่านมีกุศลในตัวอยู่แล้ว เพื่อเด็กพิเศษ เพื่อการพัฒนาของพวกเขา เพราะเขาก็คืออนาคตของชาติคนหนึ่ง"

แม้ว่าความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การมีพัฒนาการมากขึ้น แต่มันเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดกำลังใจหายเหนื่อย อีกทั้งทำให้ได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นที่ว่าในสังคมไทยว่า ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ยังรอการให้โอกาสและความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ “จึงเปรียบเสมือนเขาอยู่ในโลกที่มืดแล้วเราก็เป็นคนที่จุดเทียนแล้วส่งให้เขา” หากคนในสังคมจุดเทียนต่อๆ กันไปคนละเล่มโลกที่เคยมืดมิดก็จะสว่าง

อย่างไรก็ตาม อาชีพครูที่เปรียบเหมือนเรือจ้าง ระหว่างทางอาจพบอุปสรรคหนักหนา คนพายเรือก็จะฝ่าฟัน เพื่อให้นักเรียนของตนไปถึงจุดหมาย แม้จุดหมายของหน้าจะไม่ใช่เงินทองมากมาย ชื่อเสียงที่โด่งดัง แต่การเห็นความสำเร็จของเด็กๆ นั้นแหละ คือ สิ่งมีค่าสำหรับคนที่เรียกตัวเองว่า "ครู" "ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมครูบาอาจารย์ผู้ให้โอวาทเหล่านั้น"

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563371

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 ม.ค.59
วันที่โพสต์: 20/01/2559 เวลา 11:20:45 ดูภาพสไลด์โชว์ จากก้นบึ้งหัวใจ 'ครูสอนเด็กพิเศษ' ไม่มีหรอกลูกศิษย์ฉัน เป็น 'นายกฯ'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี และคุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง ครูสอนเด็กพิเศษ ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์ฉันเป็นนายกฯ ตำรวจ หมอ เวลาไม่สบายไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันจะไปโรงพยาบาลนั้นเพราะลูกศิษย์ฉันอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด... ครู คือ ผู้สั่งสอนศิษย์ เป็นผู้ที่ถ่ายสอนศิลปศาสตร์วิชาให้แก่ศิษย์ เปรียบเสมือนแม่และพ่อคนที่สอง ที่คอยดูแล อบรม สั่งสอน รวมไปถึงอยากเห็นเราประสบความสำเร็จไม่ต่างจากพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา ดังส่วนเริ่มต้นในบทไหว้ครู ที่กล่าวว่า “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” ซึ่งแปลว่า ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีคุณยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ที่เหล่านักเรียนจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เมื่อถึงวันไหว้ครู ในโอกาสวันครู ประจำปี 2559 ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้สัมภาษณ์ 2 คุณครูผู้เสียสละ ผู้ที่มีหัวใจแกร่ง เปี่ยมไปด้วยกุศลมากมาย จากโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีแผนกการศึกษาพิเศษ จัดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลออทิสติก รวมไปถึงบกพร่องทางการได้ยิน นั้นคือ คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี ครูสอนเด็กพิเศษ ที่เล่าถึงประสบการณ์ในหน้าที่ครูกว่า 23 ปี ว่า คุณครูเกสรา วงศ์จอม หรือ ครูนี "เริ่มแรก คือ ตอนวัยรุ่น ครูได้ยินหลายคน พูดถึงเด็กพิเศษว่า เป็นคนบ้า เลยเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมต้องพูดถึงเด็กกลุ่มนี้แบบนั้น? เขาเป็นแบบนั้นจริงๆ หรอ? จึงตัดสินใจเลือกศึกษาในแผนการศึกษาพิเศษ ในตอนนั้นถือว่าเป็นสาขาที่ใหม่มาก และรู้สึกไม่ต้องแข่งขันกับใคร พอเรียนจบมีโอกาสมาสอนนักเรียนอย่างจริงจัง จึงอยากเปลี่ยนความคิดและความเข้าใจของหลายๆ คน ว่า เราควรช่วยเด็กกลุ่มนี้ ไม่ใช่ใช้คำพูดว่าเขา" ตั้งแต่มาเป็นครูสอนเด็กพิเศษเคยเจอปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงานอย่างไรบ้าง? ครูนี กล่าวว่า"เมื่อมาทำงานจึงทราบเลยว่า ปัญหาจริงๆ อยู่ที่ตัวเรา หากมีความตั้งใจและจริงใจ แทบจะขจัดปัญหาที่เข้ามา แม้บางครั้งผู้ปกครองอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอน แต่ครูไม่ได้มองว่านั่นเป็นปัญหา กลับมองว่า เราควรให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ควรทำให้พวกเขาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียน เพื่อปรับทัศนคติที่มีต่อเด็ก รวมถึงคนรอบข้าง ทำให้รู้ว่าเด็กพิเศษสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ อย่ามองว่าเขาเป็นเด็กพิเศษ ที่ไม่มีหัวใจ ไม่มีจิตใจ แท้จริงแล้ว เด็กเหล่านี้ต้องการกำลังใจจากคนรอบข้าง" ถ้าพูดถึงเรื่อง ความประทับใจ ตั้งแต่สอนเด็กพิเศษมา ก็น่าจะเป็นการที่เขาจำเราได้ ครั้งหนึ่งครูเคยไปราชานุกูล พอลงจากรถปรากฏว่า มีเด็กคนหนึ่งวิ่งมากอดแน่นมาก แล้วบอกว่า "ครูนี คิดถึงจังเลย" พอเราได้ยินก็รู้สึกดีนะ รู้สึกหายเหนื่อย เพราะอย่างน้อยเด็กก็ยังจำเราได้ ส่วนอีกคนที่ได้ยินข่าวมา เขาไปเป็นพนักงานพับผ้าที่โรงงาน คอยพับผ้าแล้วนำใสแพ็กใส่ห่อ ก็ได้รับคำชมจากผู้จ้างว่า เขาเป็นเด็กพิเศษก็จริง แต่สามารถทำงานได้ดีกว่าคนปกติ ตรงที่เขาเป็นคนตรงต่อเวลา ทำงานก็คือทำงาน ไม่มีแอบอู้ นี่ก็ทำให้เรารู้ว่า ลูกศิษย์ของเราสามารถพัฒนาได้จริงๆ สิ่งที่ครูพูดหรือสอนไม่ได้เสียเปล่า ในฐานะที่เป็นครูสอนเด็กพิเศษ อยากให้สังคมรู้ว่า เด็กพิเศษสามารถพัฒนาได้ ฉะนั้นอย่าปล่อยหรือทิ้งเขา แม้ว่าพวกเขาจะพัฒนาและเรียนรู้ไม่เท่าเด็กปกติ แต่พวกเขาก็ยังต้องการความช่วยเหลือ และต้องได้รับการพัฒนา ครูอยากให้มองเขาเป็นส่วนหนึ่ง อย่าคิดว่าเขาต่างจากคนทั่วไป เปิดโอกาสให้เขามีที่ยืนร่วมกับคนอื่นๆ เช่นกัน ด้านคุณครูอีกท่านหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้เริ่มต้นสอนเด็กพิเศษมาก่อน แต่ด้วยใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ทำให้คุณครูท่านนี้หันมาดูแลและสอนเด็กพิเศษอย่างจริงจังมากว่า 20 ปี เช่นกัน นั้นคือคุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง "ก่อนหน้านี้ครูสอนนักเรียนปกติ แต่ที่ตัดสินใจมาสอนเด็กห้องพิเศษ เพราะเห็นว่าเขาอ่อน พอมาเป็นครูสอนเด็กห้องพิเศษ ต้องปรับตัวเยอะนะ เรียกว่าต้องปรับกันทุกๆ ปี เพราะครูเป็นคนใจร้อน ฉะนั้นไม้เรียวต้องวางห่างๆ มือ กลัวว่าจะคว้ามาตีเด็ก ต่อมาก็ไปอบรมใบประกาศนียบัตร 200 ชม. เพื่อมาเป็นครูสอนเด็กพิเศษ จากนั้นก็สอนมาตลอด" คุณครูอารีรักษ์ สิทธิโอสา หรือ ครูแดง ครูสอนเด็กพิเศษ สิ่งประทับใจในการสอนเด็กพิเศษ? ครูแดง เล่าว่า "มีนักเรียนคนหนึ่ง เขาจบไปนานแล้ว ตอนเรียนเขาชอบร้องเพลงมาก โดยเฉพาะเพลงคู่ เขามักจะมาชวนครูร้องด้วยกัน มีครั้งหนึ่งครูแดงแกล้งร้องผิด เขาก็บอกว่า ไม่! ไม่ใช่! ต้องร้องแบบนี้ต่างหาก แล้วเขาเป็นคนพูดไม่ชัด สำหรับครูมันเลยมองว่า เป็นภาพที่น่ารัก" "สำหรับวันครูปีนี้ ครูแดงอยากให้สังคมภายนอกเข้าใจเด็กพิเศษ อย่าเพิ่งไปตัดสินพวกเขาที่ภายนอก กว่าที่ครูจะทราบว่า เขาชอบอะไรหรือเป็นคนแบบไหนก็ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นอยากให้ใช้เวลาในการมองพวกเขา ในฐานะที่เป็นครูสอนเด็กพิเศษ ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์ฉันเป็นนายกฯ ตำรวจ หมอ เวลาไม่สบายไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันจะไปโรงพยาบาลนั้นเพราะลูกศิษย์ฉันอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด อยากให้ครูสู้ต่อไป พวกท่านมีกุศลในตัวอยู่แล้ว เพื่อเด็กพิเศษ เพื่อการพัฒนาของพวกเขา เพราะเขาก็คืออนาคตของชาติคนหนึ่ง" แม้ว่าความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การมีพัฒนาการมากขึ้น แต่มันเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดกำลังใจหายเหนื่อย อีกทั้งทำให้ได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นที่ว่าในสังคมไทยว่า ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ยังรอการให้โอกาสและความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ “จึงเปรียบเสมือนเขาอยู่ในโลกที่มืดแล้วเราก็เป็นคนที่จุดเทียนแล้วส่งให้เขา” หากคนในสังคมจุดเทียนต่อๆ กันไปคนละเล่มโลกที่เคยมืดมิดก็จะสว่าง อย่างไรก็ตาม อาชีพครูที่เปรียบเหมือนเรือจ้าง ระหว่างทางอาจพบอุปสรรคหนักหนา คนพายเรือก็จะฝ่าฟัน เพื่อให้นักเรียนของตนไปถึงจุดหมาย แม้จุดหมายของหน้าจะไม่ใช่เงินทองมากมาย ชื่อเสียงที่โด่งดัง แต่การเห็นความสำเร็จของเด็กๆ นั้นแหละ คือ สิ่งมีค่าสำหรับคนที่เรียกตัวเองว่า "ครู" "ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมครูบาอาจารย์ผู้ให้โอวาทเหล่านั้น" ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/563371

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...