สมศ. เผยคนพิการไทยได้งานทำเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 26 พร้อมแนะโรงเรียนคนพิการเสริมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

แสดงความคิดเห็น

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. โชว์ความพร้อมคนพิการไทยได้งานทำเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 26 พร้อมแนะโรงเรียนคนพิการเสริมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งจากภาพรวมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการล้วนได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้พิการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ.

โดยเฉพาะอัตราการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้มีงานทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยข้อมูลของกองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางาน (กกจ.) ในปี 2557 พบว่าอัตราการรับพนักงานพิการเข้าทำงานนั้น มากถึง 24,780 คน คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีอัตรารับเข้าทำงาน 19,167 คน

อย่างไรก็ตามจากการประเมินโดย สมศ. พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ ด้านจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ ด้านกายภาพบำบัด ด้านกิจกรรมบำบัด เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งขาดการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทำให้ในภาพรวมยังขาดการพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนา และการฝึกทักษะการเรียนการสอนสอดคล้องตามประเภทและระดับความพิการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นต้นแบบการศึกษาเพื่อคนพิการในระดับสากลอันเป็นการสนับสนุนให้คนพิการสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเท่าเทียม

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า จากภาพรวมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการล้วนได้รับการประเมินในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้พิการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราการศึกษาต่อด้านการอาชีศึกษาและระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้มีงานทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยข้อมูลของกองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางาน (กกจ.) ในปี 2557 ที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรับพนักงานพิการเข้าทำงานนั้น มากถึง 24,780 คน คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีอัตรารับเข้าทำงาน 19,167 คน แต่จากการประเมินโดย สมศ. พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ ด้านจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ ด้านกายภาพบำบัด ด้านกิจกรรมบำบัด เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งขาดการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทำให้ในภาพรวมยังขาดนวัตกรรมในการพัฒนา ยังไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและการฝึกทักษะการเรียนการสอนสอดคล้องตามประเภทและระดับความพิการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นต้นแบบการศึกษาเพื่อคนพิการในระดับสากล อันเป็นการสนับสนุนให้คนพิการสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเท่าเทียม

ทั้งนี้ สำหรับภาพรวมของประเทศไทยในขณะนี้ มีประชากรผู้บกพร่องทางร่างกายหรือพิการ ประมาณ 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจากผลสำรวจผู้พิการทั่วประเทศไทยอายุระหว่าง 2-30 ปี พบว่ามีเพียง ร้อยละ 18.3 เท่านั้น ที่กำลังศึกษาอยู่ แต่อีกร้อยละ 81.7 หรือกว่า 2.3 แสนคน ไม่ได้เรียนหนังสือ ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ซึ่งข้อบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือผู้มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาสต้องได้รับการสนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสเป็นพิเศษด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีโรงเรียนเฉพาะสำหรับผู้พิการทั้งสิ้น จำนวน 43 แห่ง ใน 35 จังหวัด สามารถรองรับผู้พิการได้ถึง 15,000 คน รูปแบบโรงเรียนแบบประจำในทุกช่วงชั้นตั้งแต่ระดับปฐมวัย - มัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 20 แห่ง ใน 20 จังหวัด รองรับได้ 5,000 คน 2.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 19 แห่ง ใน 19 จังหวัด รองรับได้ 7,000 คน 3.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 2 แห่งใน 2 จังหวัด รองรับได้ 300 คน และ 4.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ จำนวน 2 แห่ง ใน 2 จังหวัด รองรับได้ 400 คน

อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาจะเปิดโอกาสแก่ผู้พิการมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติก็ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่จะต้องร่วมมือกันขจัดอุปสรรคและเปิดโอกาสให้ผู้พิการในหลายๆ เรื่อง ทั้งการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่างๆ อำนวยความสะดวกอย่างทางลาด หรือทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่างสะดวกและปลอดภัยศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์กล่าวทิ้งท้าย สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ http://www.onesqa.or.th/th/index.php (ขนาดไฟล์: 160)

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/2227090

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 13 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 14/08/2558 เวลา 11:46:43 ดูภาพสไลด์โชว์ สมศ. เผยคนพิการไทยได้งานทำเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 26 พร้อมแนะโรงเรียนคนพิการเสริมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. โชว์ความพร้อมคนพิการไทยได้งานทำเพิ่มมากขึ้นร้อยละ 26 พร้อมแนะโรงเรียนคนพิการเสริมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งจากภาพรวมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการล้วนได้รับการประเมินคุณภาพในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้พิการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. โดยเฉพาะอัตราการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้มีงานทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยข้อมูลของกองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางาน (กกจ.) ในปี 2557 พบว่าอัตราการรับพนักงานพิการเข้าทำงานนั้น มากถึง 24,780 คน คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีอัตรารับเข้าทำงาน 19,167 คน อย่างไรก็ตามจากการประเมินโดย สมศ. พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ ด้านจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ ด้านกายภาพบำบัด ด้านกิจกรรมบำบัด เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งขาดการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทำให้ในภาพรวมยังขาดการพัฒนานวัตกรรมในการพัฒนา และการฝึกทักษะการเรียนการสอนสอดคล้องตามประเภทและระดับความพิการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นต้นแบบการศึกษาเพื่อคนพิการในระดับสากลอันเป็นการสนับสนุนให้คนพิการสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเท่าเทียม ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า จากภาพรวมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 ที่ผ่านมา พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการล้วนได้รับการประเมินในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งการเปิดโอกาสให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้พิการได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอัตราการศึกษาต่อด้านการอาชีศึกษาและระดับอุดมศึกษา ส่งผลให้มีงานทำและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยข้อมูลของกองพัฒนาระบบบริการจัดหางาน กรมการจัดหางาน (กกจ.) ในปี 2557 ที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรับพนักงานพิการเข้าทำงานนั้น มากถึง 24,780 คน คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีอัตรารับเข้าทำงาน 19,167 คน แต่จากการประเมินโดย สมศ. พบว่าโรงเรียนสำหรับผู้พิการยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา และส่งเสริมจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ ด้านจิตวิทยาการศึกษาพิเศษ ด้านกายภาพบำบัด ด้านกิจกรรมบำบัด เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ซึ่งขาดการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทำให้ในภาพรวมยังขาดนวัตกรรมในการพัฒนา ยังไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและการฝึกทักษะการเรียนการสอนสอดคล้องตามประเภทและระดับความพิการ เพื่อมุ่งสู่การเป็นต้นแบบการศึกษาเพื่อคนพิการในระดับสากล อันเป็นการสนับสนุนให้คนพิการสามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ สำหรับภาพรวมของประเทศไทยในขณะนี้ มีประชากรผู้บกพร่องทางร่างกายหรือพิการ ประมาณ 1.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจากผลสำรวจผู้พิการทั่วประเทศไทยอายุระหว่าง 2-30 ปี พบว่ามีเพียง ร้อยละ 18.3 เท่านั้น ที่กำลังศึกษาอยู่ แต่อีกร้อยละ 81.7 หรือกว่า 2.3 แสนคน ไม่ได้เรียนหนังสือ ดังนั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 10 ที่ระบุว่า "การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ซึ่งข้อบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือผู้มีร่างกายพิการ ทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาสต้องได้รับการสนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสเป็นพิเศษด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทย มีโรงเรียนเฉพาะสำหรับผู้พิการทั้งสิ้น จำนวน 43 แห่ง ใน 35 จังหวัด สามารถรองรับผู้พิการได้ถึง 15,000 คน รูปแบบโรงเรียนแบบประจำในทุกช่วงชั้นตั้งแต่ระดับปฐมวัย - มัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 20 แห่ง ใน 20 จังหวัด รองรับได้ 5,000 คน 2.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 19 แห่ง ใน 19 จังหวัด รองรับได้ 7,000 คน 3.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 2 แห่งใน 2 จังหวัด รองรับได้ 300 คน และ 4.สถานศึกษาที่สอนเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ จำนวน 2 แห่ง ใน 2 จังหวัด รองรับได้ 400 คน อย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาจะเปิดโอกาสแก่ผู้พิการมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติก็ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่จะต้องร่วมมือกันขจัดอุปสรรคและเปิดโอกาสให้ผู้พิการในหลายๆ เรื่อง ทั้งการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งมวลชน และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะต่างๆ อำนวยความสะดวกอย่างทางลาด หรือทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้สามารถออกมาใช้ชีวิตภายนอกได้อย่างสะดวกและปลอดภัยศาสตราจารย์ดร.ชาญณรงค์กล่าวทิ้งท้าย สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเข้าไปที่ http://www.onesqa.or.th/th/index.php ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/2227090

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...