ชงศธ.รื้อใหญ่ดูแลสถานศึกษาทั่วประเทศ

แสดงความคิดเห็น

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา

วันที่ (3 ส.ค.) ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคลในกำกับ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานสายสามัญ ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่วนสถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีวศึกษา ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ให้ทำหน้าที่ดูแลโรงเรียนของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในกำกับแทน ซึ่งโรงเรียนในกำกับเหล่านี้จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเหมือนเดิม และมีสิทธิเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่ม แต่ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด โดยต่อไปจะทยอยปรับลดเงินอุดหนุนลงและมีทุนการศึกษาให้เด็กยากจน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ในอนาคตจะเห็นโรงเรียนต่างๆ ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา และผลิตนักเรียนเฉพาะทางมากขึ้น เช่น โรงเรียนเตรียมแพทย์ เป็นต้น

ศ.วิริยะ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ มีฐานะเป็นส่วนราชการ ที่กำหนดนโยบาย มีความเป็นอิสระ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการสรรหาแทนการแต่งตั้ง โดยเปิดให้ทั้งข้าราชการพลเรือน และบุคคลจากภาคเอกชน ที่มีตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 11 เข้ารับการสรรหาได้ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสม ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากที่ประชุมครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/339216 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ส.ค.58
วันที่โพสต์: 4/08/2558 เวลา 11:29:44 ดูภาพสไลด์โชว์ ชงศธ.รื้อใหญ่ดูแลสถานศึกษาทั่วประเทศ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา วันที่ (3 ส.ค.) ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายการศึกษา ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมสถานศึกษานิติบุคคลในกำกับ ซึ่งมีสาระสำคัญว่า สถานศึกษาที่เปิดสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานสายสามัญ ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่วนสถานศึกษาที่เปิดสอนสายอาชีวศึกษา ไม่ว่าจะของรัฐ เอกชน หรือท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ส่วนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็ให้ทำหน้าที่ดูแลโรงเรียนของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในกำกับแทน ซึ่งโรงเรียนในกำกับเหล่านี้จะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวเหมือนเดิม และมีสิทธิเก็บค่าเล่าเรียนเพิ่ม แต่ต้องไม่เกินเพดานที่กำหนด โดยต่อไปจะทยอยปรับลดเงินอุดหนุนลงและมีทุนการศึกษาให้เด็กยากจน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ ในอนาคตจะเห็นโรงเรียนต่างๆ ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษา และผลิตนักเรียนเฉพาะทางมากขึ้น เช่น โรงเรียนเตรียมแพทย์ เป็นต้น ศ.วิริยะ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนชื่อสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายการศึกษาพัฒนามนุษย์แห่งชาติ มีฐานะเป็นส่วนราชการ ที่กำหนดนโยบาย มีความเป็นอิสระ และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตำแหน่งเลขาธิการ สกศ.จะเปลี่ยนมาใช้วิธีการสรรหาแทนการแต่งตั้ง โดยเปิดให้ทั้งข้าราชการพลเรือน และบุคคลจากภาคเอกชน ที่มีตำแหน่งเทียบเท่าข้าราชการระดับ 11 เข้ารับการสรรหาได้ เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสม ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากที่ประชุมครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ในวันที่ 7 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาต่อไป. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/education/339216

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...