กทม.คิดแหกกฎ ‘หลักสูตร’ กระทรวงศึกษาฯ

แสดงความคิดเห็น

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักการศึกษา (สนศ.) ศึกษาข้อกฎหมายว่ากทม.มีอำนาจในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนหรือไม่ จากเดิมที่ได้ดำเนินการตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มาโดยตลอด แต่พบว่าที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยมีความล้มเหลว ปัจจุบันนักเรียนศธ. และนักเรียนของกทม. ยังไม่มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ดีขึ้น ยังพบปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และขาดกระบวนการทางการคิด ส่งผลให้เด็กคิดไม่เป็น จึงอยากมีการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนกทม. ขึ้นมาเอง เนื่องจากตนเห็นว่ากระบวนการที่จะไปสู่เป้าหมายความสำเร็จของการศึกษาของนักเรียน ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ตนเห็นว่าการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นจะต้องเน้นที่ตัวครูผู้สอน มากกว่ายึดตามหลักสูตรที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหากกทม.สามารถกำหนดหลักสูตรได้เอง จะมีการปรับแผนการจัดการศึกษา โดยจะให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ลง และจะเน้นการเพิ่มกิจกรรมและเปิดพื้นที่ความสนใจส่วนบุคคล อาทิ ดนตรี กีฬาและศิลปะ เป็นต้น เพื่อผลักดันความสามารถพิเศษและเน้นการสร้างกระบวนการทางความคิดของเด็กมากกว่า การอ่านและท่องจำเช่นปัจจุบันที่ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้เด็กประสบ ความสำเร็จในการเรียนและการใช้ชีวิต หากพบว่ากทม.ในฐานะท้องถิ่น สามารถกำหนดหลักสูตรหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนใดได้ กทม.จะเร่งดำเนินการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและพัฒนามากขึ้น แต่หากพบว่าไม่สามารถปรับหลักสูตรต้นแบบจากศธ.ได้ ก็จะพยายามเพิ่มเติมความรู้หรือแนวทางการสอนที่เป็นประโยชน์กับเด็กกทม.เข้า ไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. นางผุสดี กล่าวต่อว่า จากการศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอื่น มีจุดที่น่าสนใจที่กทม.ควรนำมาใช้ ตนจึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนจากประเทศฟินแลนด์ที่จะมี โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (PISA) อย่างต่อเนื่อง ใน 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่าน ซึ่งถือเป็นวิชาที่เน้นสาระสำคัญให้คนมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและวิเคราะห์เป็น กทม.จึงนำมาใช้วัดคุณภาพกับเด็กกทม. ซึ่งผลออกมาเมื่อเปรียบเทียบคะแนนยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะทำให้กทม.สามารถวิเคราะห์กระบวนความคิดของเด็ก เพื่อนำไปหาข้อบกพร่อง และนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับต่างประเทศได้

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/219919/กทม.คิดแหกกฎ”หลักสูตร”กระทรวงศึกษาฯ (ขนาดไฟล์: 167)

เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57
วันที่โพสต์: 5/03/2557 เวลา 14:07:35 ดูภาพสไลด์โชว์ กทม.คิดแหกกฎ ‘หลักสูตร’ กระทรวงศึกษาฯ

1 จริงมั้ย 5/03/2557 14:07:35

แนะนำเลยนะ วิชาไร้สาระไม่ควรมีเช่น การเข้าพักแรมต่างจังหวัดหรือแม้แต่ทัศนศึกษา มันดูเหมือนดีแต่ไร้สาระมากเด็กต้องห่างครอบครัว2/3วันเพื่อเดินทางไกลเสียทั้งเงินทั้งเวลาและเสี่ยงกับอุบัติเหตุซึ่งก็มีให้เห็นอยู่ประจำมันคุ้มกันมั้ย ถ้าจะมีค่ายพักแรมก็น่าจะให้เด็กอยู่ค่ายในโรงเรียนวันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็ยังดีซะกว่า ทำไมต้องสร้างปัญหาให้เด็กที่เขาตั้งใจมาเรียน ไม่ใช่หวังได้วิชาพักค่ายที่ต้องเดินทางไปอยู่ในป่าในเขา ไม่ใช่ทหารพรานหรือคิดจะไปทำนาทำไร่ วิชาห่วยๆพอเถอะ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักการศึกษา (สนศ.) ศึกษาข้อกฎหมายว่ากทม.มีอำนาจในการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนหรือไม่ จากเดิมที่ได้ดำเนินการตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)มาโดยตลอด แต่พบว่าที่ผ่านมา ระบบการศึกษาไทยมีความล้มเหลว ปัจจุบันนักเรียนศธ. และนักเรียนของกทม. ยังไม่มีพัฒนาการทางการศึกษาที่ดีขึ้น ยังพบปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และขาดกระบวนการทางการคิด ส่งผลให้เด็กคิดไม่เป็น จึงอยากมีการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนกทม. ขึ้นมาเอง เนื่องจากตนเห็นว่ากระบวนการที่จะไปสู่เป้าหมายความสำเร็จของการศึกษาของนักเรียน ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้นำไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ตนเห็นว่าการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนนั้นจะต้องเน้นที่ตัวครูผู้สอน มากกว่ายึดตามหลักสูตรที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหากกทม.สามารถกำหนดหลักสูตรได้เอง จะมีการปรับแผนการจัดการศึกษา โดยจะให้มีการลดจำนวนกลุ่มสาระการเรียนรู้ลง และจะเน้นการเพิ่มกิจกรรมและเปิดพื้นที่ความสนใจส่วนบุคคล อาทิ ดนตรี กีฬาและศิลปะ เป็นต้น เพื่อผลักดันความสามารถพิเศษและเน้นการสร้างกระบวนการทางความคิดของเด็กมากกว่า การอ่านและท่องจำเช่นปัจจุบันที่ตนคิดว่าไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้เด็กประสบ ความสำเร็จในการเรียนและการใช้ชีวิต หากพบว่ากทม.ในฐานะท้องถิ่น สามารถกำหนดหลักสูตรหรือเปลี่ยนแปลงในส่วนใดได้ กทม.จะเร่งดำเนินการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและพัฒนามากขึ้น แต่หากพบว่าไม่สามารถปรับหลักสูตรต้นแบบจากศธ.ได้ ก็จะพยายามเพิ่มเติมความรู้หรือแนวทางการสอนที่เป็นประโยชน์กับเด็กกทม.เข้า ไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่าฯกทม. นางผุสดี กล่าวต่อว่า จากการศึกษาระบบการศึกษาของประเทศอื่น มีจุดที่น่าสนใจที่กทม.ควรนำมาใช้ ตนจึงได้ศึกษารูปแบบการบริหารจัดการเรียนการสอนจากประเทศฟินแลนด์ที่จะมี โครงการประเมินผลการศึกษานานาชาติ (PISA) อย่างต่อเนื่อง ใน 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และการอ่าน ซึ่งถือเป็นวิชาที่เน้นสาระสำคัญให้คนมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถคิดและวิเคราะห์เป็น กทม.จึงนำมาใช้วัดคุณภาพกับเด็กกทม. ซึ่งผลออกมาเมื่อเปรียบเทียบคะแนนยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจะทำให้กทม.สามารถวิเคราะห์กระบวนความคิดของเด็ก เพื่อนำไปหาข้อบกพร่อง และนำไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ทัดเทียมกับต่างประเทศได้ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/Content/bangkok/219919/กทม.คิดแหกกฎ”หลักสูตร”กระทรวงศึกษาฯ เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 2 มี.ค.57

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...