ตัวเลขเด็กกลุ่มพิเศษเพิ่มขึ้น...สพฐ.คัดกรองจัดสอนให้เหมาะ

แสดงความคิดเห็น

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการ จากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.ได้หยิบยกมาหารือในที่ประชุม คือ ประเด็นการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วยดูแล คัดกรอง และส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการได้รับการดูแลพิเศษ หรือเด็กกลุ่มพิเศษ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ.ทำหน้าที่ดูแลอยู่นั้น มีจำนวนถึง 20% แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี ประมาณ 10-15% 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น มีประมาณ 8% 3.กลุ่มเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ประมาณ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา ประมาณ 2%

"เด็กทั้ง 5 กลุ่มนี้อาจจะมีความบกพร่องทับซ้อนกันบ้าง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการดำเนินการเพื่อสร้างและพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนนั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพบว่าปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การ แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุของปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาและพัฒนาช่วยเหลือซึ่งทำ ให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากกว่าตามแก้ปัญหาภายหลัง" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะต้องทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความ เข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอว่าควรจะมี คณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุดและมีเจ้าหน้าที่จากภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ จะต้องสร้างกลไกช่วยเหลือดูแลนักเรียนในลักษณะองค์รวม เช่น กรณีเกิดเหตุการณ์กระทำรุนแรงต่อเด็ก โรงเรียนจะมีหน้าที่ดูแลเบื้องต้น มีเขตพื้นที่การศึกษาคอยให้การสนับสนุน และ สพฐ.เป็นหน่วยงานประสาน ทั้งนี้ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ก่อนและในอนาคตที่หากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำ โรงเรียน แล้วทั้งหมดจะทำงานช่วยเหลือกัน พร้อมกันนี้ต้องทำหลักสูตร คู่มือสำหรับครูที่เป็นองค์ความรู้ในเรื่องการดูแลช่วยเหลือนัก เรียน ครอบคลุมการควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน เช่น เรื่องการลงโทษอะไรที่ทำได้ อะไรทำไม่ได้ ฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะเป็นจุดเน้นสำคัญที่ สพฐ.ต้องดำเนินการยกระดับให้มีความเข้มข้นมากขึ้น

ขอบคุณ http://www.ryt9.com/s/bmnd/1637616

ที่มา: บ้านเมืองออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 27/04/2556 เวลา 02:56:12

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการ จากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.ได้หยิบยกมาหารือในที่ประชุม คือ ประเด็นการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วยดูแล คัดกรอง และส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการได้รับการดูแลพิเศษ หรือเด็กกลุ่มพิเศษ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายที่สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ.ทำหน้าที่ดูแลอยู่นั้น มีจำนวนถึง 20% แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ แอลดี ประมาณ 10-15% 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น มีประมาณ 8% 3.กลุ่มเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ ประมาณ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา ประมาณ 2% "เด็กทั้ง 5 กลุ่มนี้อาจจะมีความบกพร่องทับซ้อนกันบ้าง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการดำเนินการเพื่อสร้างและพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนนั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อพบว่าปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การ แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุของปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาและพัฒนาช่วยเหลือซึ่งทำ ให้การดูแลมีประสิทธิภาพมากกว่าตามแก้ปัญหาภายหลัง" เลขาธิการ กพฐ. กล่าว นายชินภัทร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะต้องทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความ เข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอว่าควรจะมี คณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุดและมีเจ้าหน้าที่จากภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ นอกจากนี้ จะต้องสร้างกลไกช่วยเหลือดูแลนักเรียนในลักษณะองค์รวม เช่น กรณีเกิดเหตุการณ์กระทำรุนแรงต่อเด็ก โรงเรียนจะมีหน้าที่ดูแลเบื้องต้น มีเขตพื้นที่การศึกษาคอยให้การสนับสนุน และ สพฐ.เป็นหน่วยงานประสาน ทั้งนี้ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ก่อนและในอนาคตที่หากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำ โรงเรียน แล้วทั้งหมดจะทำงานช่วยเหลือกัน พร้อมกันนี้ต้องทำหลักสูตร คู่มือสำหรับครูที่เป็นองค์ความรู้ในเรื่องการดูแลช่วยเหลือนัก เรียน ครอบคลุมการควบคุมพฤติกรรมของนักเรียน เช่น เรื่องการลงโทษอะไรที่ทำได้ อะไรทำไม่ได้ ฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจะเป็นจุดเน้นสำคัญที่ สพฐ.ต้องดำเนินการยกระดับให้มีความเข้มข้นมากขึ้น ขอบคุณ… http://www.ryt9.com/s/bmnd/1637616

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...