สพฐ.เพิ่มความเข้มระบบดูแลนักเรียน
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.หยิบยกหารือที่ประชุม คือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วย ดูแล รวมทั้งคัดกรองและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเด็กกลุ่มพิเศษที่ ต้องดูแลพิเศษจำนวนถึง 20% แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือแอลดี 10-15%, 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น 8%, 3.กลุ่ม เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา 2%
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก จึงต้องเริ่มค้นหาสาเหตุปัญหาและแก้ไขตั้งแต่แรก ดังนั้น ในปีการ ศึกษา 2556 สพฐ.จะยกระดับความเข้มข้นของระบบการดูแลนักเรียน โดยที่ประชุมเสนอแนะว่าควรจัดทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มี ประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุด และมีเจ้าหน้าที่ภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ดำเนินการก่อน และอนาคตหากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำโรงเรียนแล้วทั้งหมด จะทำงานช่วยเหลือกัน
ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/340635 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.หยิบยกหารือที่ประชุม คือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วย ดูแล รวมทั้งคัดกรองและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเด็กกลุ่มพิเศษที่ ต้องดูแลพิเศษจำนวนถึง 20% แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือแอลดี 10-15%, 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น 8%, 3.กลุ่ม เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา 2% เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยไม่ได้ดูที่ต้นเหตุปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก จึงต้องเริ่มค้นหาสาเหตุปัญหาและแก้ไขตั้งแต่แรก ดังนั้น ในปีการ ศึกษา 2556 สพฐ.จะยกระดับความเข้มข้นของระบบการดูแลนักเรียน โดยที่ประชุมเสนอแนะว่าควรจัดทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มี ประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุด และมีเจ้าหน้าที่ภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ดำเนินการก่อน และอนาคตหากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำโรงเรียนแล้วทั้งหมด จะทำงานช่วยเหลือกัน ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/edu/340635
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)